ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

ตู้เย็น ถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทุกบ้านต้องมี เพราะใช้สำหรับเก็บอาหาร และถนอมอาหาร ยิ่งใครที่เป็นคนชอบทำอาหาร ตู้เย็นเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้วัตถุดิบในการทำอาหารนั้นสามารถอยู่ได้นานยิ่งขึ้น บางครั้งมีการซื้อวัตถุดิบตุนเอาไว้ในตู้เย็นทำให้มีของแช่อัดแน่นเต็มตู้เย็น จะหยิบออกมาใช้ก็ลำบาก แถมตู้เย็นยังมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ และทำให้ความเย็นของตู้เย็นส่งไปไม่ทั่วถึง เป็นผลทำให้วัตถุดิบในตู้เย็นเสียเร็วขึ้น

องค์ประกอบภายในตู้เย็นมีอะไรบ้าง ?

ก่อนที่จะไปถึงเรื่องการถนอมอาหาร มาทำความรู้จักกับองค์ประกอบของตู้เย็นกันก่อนว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งแต่ละส่วนก็เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต่างกันด้วย โดยองค์ประกอบในตู้เย็นหลักๆ มีดังต่อไปนี้ (ไล่จากบนลงล่าง) ถ้าอยากเก็บอาหารในตู้เย็นให้อยู่ได้นาน ต้องเลือกวางให้ถูก !!

  • ด้านบนตู้เย็นหรือหลังตู้เย็น ในส่วนนี้หลายคนอาจจะคิดว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับตู้เย็น แต่จริงๆ แล้วด้านบนตู้เย็น หรือที่บางคนเรียกว่า “หลังตู้เย็น” ก็เป็นส่วนหนึ่งของตู้เย็นด้วยเช่นกัน ในส่วนนี้เหมาะสำหรับใช้วางวัตถุดิบที่ไม่ต้องใช้ความเย็นในการถนอมอาหาร หรือมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอยู่แล้ว แต่ก็ต้องระวังให้ดี เพราะด้านบนตู้เย็นจะมี การปล่อยความร้อนออกมาจากมอเตอร์ของตู้เย็น (ความร้อนที่ออกมาไม่ได้ร้อนมาก แต่คุณจะสามารถสัมผัสถึงความร้อนได้) แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรวางสิ่งของไว้ด้านบนของตู้เย็น เช่น ไมโครเวฟ เตาอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ รวมถึงสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก เพราะอาจส่งผลต่อการทำงานของตู้เย็นได้อีกด้วย
  • ช่องฟรีซ เป็นส่วนที่ได้รับความเย็นมากที่สุด ทำให้วัตถุดิบหรืออาหารที่แช่เอาไว้ในช่องนี้จะแข็ง ช่วยรักษาคุณภาพอาหารและคงความสดใหม่ จึงเป็นช่องที่เหมาะสำหรับการถนอมวัตถุดิบหรืออาหารระยะยาว เช่น เนื้อสัตว์แช่แข็ง ผลไม้แช่แข็ง น้ำแข็ง และใช้เพื่อถนอมอาหารที่ปรุงสุกเอาไว้แล้ว (อาหารที่คุณทำสต็อกเอาไว้ทานวันอื่นๆ) เวลาที่จะนำไปทำอาหาร หรือนำไปทานก็แค่เอาออกจากช่องฟรีซมาแล้วรอจนน้ำแข็งละลาย จากนั้นก็นำไปใช้งาน หรืออุ่นทานได้เลย หากเป็นของที่จะรีบใช้ภายในวันนั้นๆ หรือภายในไม่กี่ชั่วโมงไม่ควรนำไปแช่ช่องฟรีซ เพราะว่าจะทำให้เสียเวลาในการละลายน้ำแข็งนาน
  • ชั้นใต้ช่องฟรีซ หากคุณต้องการแช่อาหารจำพวกของสด ที่ต้องนำมาประกอบอาหารภายในวันนั้นๆ หรือในเร็วๆ วัน แต่ยังอยากให้อาหารคงความสดเอาไว้อยู่ ก็ควรเก็บเอาไว้ในช่องนี้ เพราะชั้นใต้ช่องฟรีซเหมาะสำหรับเก็บวัตถุดิบที่เสียได้ง่าย ต้องการความเย็นที่มากพอในการรักษาความสด และถนอมให้วัตถุดิบอยู่ได้นาน อย่างเช่น เนื้อสัตว์ หมู ไก่ รวมถึงพวกอาหารทะเลอย่าง กุ้ง ปลาหมึก ซึ่งอาหารบางชนิดหากใส่ในช่องฟรีซตรงๆ อาจทำให้เมื่อนำมาปรุงอาหาร รสสัมผัสของวัตถุดิบอาจจะไม่เหมือนเดิมได้ นอกจากนั้น ชั้นใต้ช่องฟรีซยังเหมาะสำหรับแช่ของที่ต้องการให้เย็นเร็วขึ้น แต่ไม่เย็นจนแข็งเหมือนกับการแช่ในช่องฟรีซ เช่น เครื่องดื่มกระป๋อง น้ำอัดลม (เพราะว่าในน้ำอัดลม หรือน้ำกระป๋องจะมีแก๊ส หากนำไปแช่ในช่องฟรีซตรงๆ อาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างการระเบิดได้)
  • ชั้นวางช่องกลาง ในส่วนนี้เราขอรวมชั้นวางด้านบน และด้านล่างเป็นส่วนเดียวกัน บางคนก็จะเรียกช่องตรงนี้ว่า “ช่องกลาง” เพราะถือว่าเป็นช่องสำหรับแช่อาหารธรรมดา หรืออาหารที่ไม่ได้ต้องการความเย็นมากนัก เช่น ไข่ นม โยเกิร์ต ไส้กรอก หรือของที่ผ่านกระบวนการแปรรูปมาแล้ว นอกจากนั้นยังเป็นชั้นที่มีพื้นที่ในการวางค่อนข้างมาก ทำให้สามารถแช่อาหารได้เยอะ
  • ช่องแช่ผัก เป็นช่องที่อยู่ด้านล่างสุดของตู้เย็น และเป็นช่องลิ้นชักโปร่งใส ซึ่งจะมีลักษณะเป็นกระบะสำหรับใส่วัตถุดิบ ใช้สำหรับแช่ผัก และผลไม้ ที่ไม่ได้ต้องการความเย็นมากนัก แต่ยังต้องอาศัยความเย็นในการคงความสดเอาไว้อยู่ เพราะถ้าแช่ผักในช่องที่โดนความเย็นตรงๆ จะทำให้ผักเหี่ยวได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องใส่เอาไว้ในช่องนี้ แต่ไม่ควรใส่ให้ทับกันจนเยอะเกินไป เพราะอาจทำให้ผักเน่าเสียได้ 
  • ชั้นวางข้างประตู ส่วนนี้เป็นส่วนที่คุณเปิดใช้งานตู้เย็นบ่อยๆ ดังนั้นของที่วางตรงข้างประตูควรเป็นของที่สามารถเก็บได้นานๆ และไม่ต้องการความเย็นในการถนอมอาหารมากนัก และควรมีขนาดกว้างและแข็งแรงพอสำหรับวางขวดน้ำ หรือ ภาชนะบรรจุน้ำ รวมถึงช่องสำหรับวางไข่ วัตถุดิบ หรืออาหารที่เหมาะสำหรับวางในส่วนนี้ อย่างของจำพวก เครื่องดื่ม เครื่องปรุงรส  ยา น้ำดื่มต่างๆ ที่ใช้งานบ่อยๆ เพราะเป็นส่วนที่หยิบได้ง่ายกว่าส่วนอื่นๆ หากที่ช่องวางไข่ด้านข้างตู้เย็นไม่เพียงพอ อาจจะใช้ กล่องเก็บไข่ เพื่อเพิ่มพื้นที่และเป็นการจัดระเบียบตู้เย็นได้อีกด้วย

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น Toshiba รุ่น GR-D189 (SH) 1 ประตู ขนาด 6.4 Q

฿5,490

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น Toshiba รุ่นGR-D188 (BM) 1 ประตู ขนาด 6.5 Q

฿6,190

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น Toshiba รุ่น GR-D175 (SH) 1 ประตู ขนาด 6.2 Q

฿5,990

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น Toshiba รุ่น GR-D175 (OM) 1 ประตู ขนาด 6.2 Q

฿5,990

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น Toshiba รุ่น GR-D175 (BM) 1 ประตู ขนาด 6.2 Q

฿5,990

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น Toshiba รุ่น GR-D148 (SH) 1 ประตู ขนาด 5.2 Q

฿5,690

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น Toshiba รุ่นGR-D145 (SH) 1 ประตู ขนาด 5 Q

฿5,390

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น Toshiba รุ่นGR-D149 (SH) 1 ประตู 5.2Q

฿5,190

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น Toshiba รุ่นGR-D149 (BM) 1 ประตู 5.2Q

฿5,190

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น Haier รุ่นHR-ADBX18CS 1ประตู 6.3Q สีเทา

฿5,290

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น Haier รุ่นHR-ADBX15CS 1ประตู 5.2Q สีเทา

฿4,790

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น Haier รุ่นHR-ADBX15CB 1 ประตู 5.2Q สีฟ้า

฿4,790

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น Haier รุ่นHR-ADBX15CC 1ประตู 5.2Q สีช็อคโกแลต

฿4,790

เทคนิคการจัดเก็บอาหารในตู้เย็น

  • จัดวางของที่หมดอายุก่อนไว้ด้านหน้า และของที่อยู่ได้นานไว้ด้านหลัง
  • แปะป้ายบอกวันหมดอายุ เพื่อที่จะทำให้สามารถหยิบมาใช้งานได้ง่าย
  • ใช้ภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ เช่น กล่องเก็บอาหาร อุปกรณ์จัดเก็บในตู้เย็น ที่ช่วยในการช่วยจัดเก็บของให้เป็นระเบียบ และง่ายต่อการใช้งาน
  • ขวดน้ำ ควรจะจัดในแนวนอน จะได้ไม่กินพื้นที่ภายในตู้เย็น หรือจัดวางไว้ที่ข้างตู้เย็น
  • เก็บอาหารประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน เช่น ของที่จะหมดอายุใกล้ๆ กัน หรือพวกผักผลไม้ที่ควรเก็บแยกออกจากหมู หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

หากว่าเรามีวิธีที่จะช่วยประหยัดไฟตู้เย็นได้ก็น่าสนใจไม่น้อยใช่ไหมครับ เพราะจะเป็นการช่วยให้ประหยัดพลังงานพร้อมลดค่าไฟ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ของบ้านลงไปได้อีกเยอะ หากคุณกำลังมองหาวิธีประหยัดไฟจากการใช้ตู้เย็น มาลองทำตามเทคนิคต่อไปนี้กันเพื่อช่วยประหยัดไฟให้ตู้เย็น แถมยังช่วยถนอมตู้เย็นให้ใช้ไปได้อีกนานด้วย

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น LG 4 ประตู SIDE BY SIDE LG InstaView รุ่น GC-X247CSAV.ANSPLMT 21.7 คิว

฿79,900

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น LG 2 ประตู รุ่น GN-B372SLCG ขนาด 11 คิว ระบบ Smart Inverter Compressor

฿11,990

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น LG 2 ประตู รุ่น GN-B372SWCL ขนาด 11 คิว ระบบ Smart Inverter Compressor

฿11,990

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น LG 2 ประตู รุ่น GN-B222SQBB ขนาด 7.4 คิว ระบบ Smart Inverter Compressor

฿9,490

ขายดี

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น LG 2 ประตู รุ่นGN-B202SQBB ขนาด 6.6 คิว ระบบ Smart Inverter Compressor

฿8,490

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น 2 ประตู SHARP รุ่นSJ-C19E-WMS ขนาด 5.9 Q

฿6,990

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น SHARP รุ่นSJ-C15E-BLU 2ประตู 5.4Q

฿6,590

ปรับอุณหภูมิ ตู้ เย็น Toshiba INVERTER

Add to wishlist

ตู้เย็น SHARP รุ่นSJ-X230TC-SL 2ประตู 7.9Q INVERTER

฿10,490

  1. เลือกตำแหน่งติดตั้งตู้เย็นให้เหมาะสม ควรติดตั้งตู้เย็นในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หลีกเลี่ยงการติดตั้งไว้ใกล้แหล่งความร้อน เช่น เตาไฟ หม้อหุงข้าว หรือบริเวณที่โดนแสงแดดโดยตรง ที่สำคัญควรติดตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนังทั้งด้านข้างและด้านหลัง อย่างน้อย 15 เซนติเมตร เพื่อเว้นระยะห่างให้ตู้เย็นระบายความร้อนได้สะดวก อีกทั้งยังช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ถึง 39%
  2. ปรับอุณหภูมิตู้เย็นให้เหมาะสม  วิธีปรับอุณหภูมิตู้เย็น โดยทั่วไปตู้เย็นต้องทำความเย็นอยู่ที่ 2-5 องศาเซลเซียส ส่วนช่องแช่แข็งควรจะมีอุณหภูมิอยู่ที่  -18 ถึง -20 องศาเซลเซียส แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับปริมาณของที่แช่อยู่ในตู้เย็นด้วย หากมีของอยู่เยอะก็ควรปรับอุณหภูมิให้เย็นพอดีที่ของจะแช่อยู่ได้โดยไม่เสียเร็ว แต่ถ้ามีของแช่อยู่ในตู้เย็นน้อยก็ควรปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้นอีกนิด เพื่อประหยัดพลังงานตู้เย็นได้อีกหน่อย แต่อย่างไรก็ดีอย่าลืมสังเกตอุณหภูมิจากสภาพแวดล้อมด้วย โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนฤดูกาลจากหน้าหนาวเป็นหน้าร้อน หรือหน้าร้อนเป็นหน้าหนาว ที่ควรต้องปรับอุณหภูมิตู้เย็นให้เหมาะสมด้วยค่ะ
  3. ไม่เปิดตู้เย็นบ่อย หรือเปิดทิ้งไว้นาน ๆ  ทุกครั้งที่มีการเปิดตู้เย็น อุณหภูมิภายนอกซึ่งมีความร้อนจะเข้าไปแทรกแซงอุณหภูมิภายในตู้เย็นที่เย็นกว่าให้ปรวนแปร จนคอมเพรสเซอร์ต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อรักษาอุณหภูมิให้กลับมาเย็นคงที่เหมือนเดิม ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรเปิดตู้เย็นเท่าที่จำเป็น และอย่าเปิดตู้เย็นทิ้งไว้นาน ๆ เพื่อลดการทำงานของตู้เย็นลง จะได้ประหยัดไฟได้มากขึ้น เช่น ตู้เย็น 2 ประตู ขนาด 7.9 คิวบิกฟุต กำลังไฟฟ้า 179 วัตต์ ใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง หากมีปริมาณของแช่มากขึ้น และเปิดบ่อย ในสภาพอากาศร้อน จะใช้ไฟมากถึง 76.03 หน่วยต่อเดือน เท่ากับว่าต้องเสียค่าไฟ 0.30-0.40 บาทต่อชั่วโมงเลย
  4. แช่ของให้พอดีและไม่นำของร้อนจัดเข้าตู้เย็น  ควรนำของมาแช่ให้พอดี ไม่แน่นจนเกินไป และหมั่นจัดระเบียบของด้านในตู้เย็นจะดีกว่า เพราะหากของเยอะเกินไปตู้เย็นก็ทำงานหนักขึ้น ทั้งยังทำให้ตู้เย็นใช้พลังงานเยอะแถมกินไฟมาก รวมถึงไม่ควรนำของร้อนจัดเข้าตู้เย็นทันที เพราะจะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนักขึ้น แนะนำให้ตั้งของหรืออาหารทิ้งไว้ให้เย็นก่อน แล้วค่อยนำไปแช่ในตู้เย็น
  5. เลือกตำแหน่งแช่ของให้เหมาะสม  เหตุผลที่ตู้เย็นต้องแบ่งช่องไว้หลาย ๆ ช่อง ก็เพราะอาหารแต่ละอย่างต้องการความเย็นที่ต่างกัน เพื่อถนอมอาหารและยืดเวลาให้มีอายุได้นานขึ้น เช่น ช่องแช่แข็งก็มีไว้สำหรับแช่ของที่จำเป็นต้องเก็บในที่เย็นจัด หรือเอาไว้ทำน้ำแข็งไว้รับประทาน ส่วนช่องเล็ก ๆ ด้านล่างแผงความเย็นก็มีไว้สำหรับเก็บเนื้อสัตว์ ช่องถัดมาด้านล่างก็มีไว้เก็บของทั่วไป และช่องล่างสุดก็มีไว้สำหรับแช่ผัก-ผลไม้ ซึ่งถ้าหากเราไม่จัดเก็บอาหารให้ถูกต้องตามตำแหน่งให้ความเย็น ตู้เย็นก็ต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อให้อาหารที่นำไปแช่มีความเย็นพอที่จะมีอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้นนั่นเอง
  6. หมั่นละลายน้ำแข็งและทำความสะอาดเสมอ  หมั่นละลายน้ำแข็งในตู้เย็น เมื่อน้ำแข็งเริ่มเกาะหนา เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้ตู้เย็นทำงานหนัก อีกทั้งยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ดังนั้นควรละลายน้ำแข็งตู้เย็นและทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้ผ้าหรือฟองน้ำชุบน้ำสบู่บิดหมาด ๆ และเช็ดให้ทั่วทั้งด้านในและด้านนอกตัวตู้เย็น จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดบิดหมาด ๆ เช็ดซ้ำ และใช้ผ้าแห้งเช็ดคราบน้ำออกอีกครั้งในรอบสุดท้าย นอกจากนี้ไม่ควรใช้ของแข็งหรือของมีคม เช่น มีด งัดแงะน้ำแข็งออกจากช่องแช่แข็ง เพราะอาจทำให้แผงความเย็นชำรุดและเกิดความเสียหายได้
  7. หมั่นเช็กสภาพของยางขอบตู้เย็นอยู่เสมอ เพราะยางขอบตู้เย็นเสื่อมสภาพ จะทำให้ตู้เย็นปิดไม่สนิทและเปลืองไฟมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ของที่แช่อยู่ในตู้เย็นไม่ได้รับความเย็นเท่าที่ควร ดังนั้นเราก็ควรตรวจสอบสภาพการใช้งานของยางขอบตู้เย็นอยู่เสมอ ด้วยการเปิดประตูตู้เย็น แล้วลองวางธนบัตรหรือแผ่นกระดาษไว้ตรงขอบประตูตู้เย็น จากนั้นก็ปิดประตูตู้เย็นตามปกติ ถ้าธนบัตรที่หนีบไว้ยังค้างอยู่แน่นหนาก็แสดงว่ายางขอบตู้เย็นยังมีสภาพการใช้งานดีอยู่ แต่ถ้าปิดประตูตู้เย็นแล้วธนบัตรร่วงหล่นลงมา ก็แสดงว่าถึงเวลาต้องซื้อยางขอบตู้เย็นอันใหม่มาเปลี่ยนแล้ว