เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

รายชื่อภาษา

อาฟรีกานส์, แอลเบเนีย, อัมฮารา, อาหรับ, อาร์มีเนีย, อัสสัม, อาเซอร์ไบจาน, เบงกอล (บังกลาเทศ), เบงกอล (อินเดีย), บาสก์, เบลารุส, บอสเนีย, บัลแกเรีย, คาตาลัน, เคิร์ดกลาง, เชอโรคี, จีน (ประยุกต์), จีน (ดั้งเดิม), โครเอเชีย, เช็ก, เดนมาร์ก, ดารี - เปอร์เซีย (อัฟกานิสถาน), ดัตช์, เยอรมัน, กรีก, อังกฤษ (สหราชอาณาจักร), อังกฤษ (สหรัฐ), เอสโตเนีย, ฟินแลนด์, ฟิลิปีโน, ฝรั่งเศส (แคนาดา), ฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส), กาลิเซีย, จอร์เจีย, คุชราต, เฮาซา, ฮีบรู, ฮินดี, ฮังการี, ไอซ์แลนด์, อิกโบ, อินโดนีเซีย, ไอริช, อิตาลี, ญี่ปุ่น, กันนาดา, คาซัค, เขมร, คีเช, คินยาร์วานดา, กอนกานี, เกาหลี, คีร์กีซ, ลาว, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, ลักเซมเบิร์ก, มาซิโดเนีย, มลายู, มาลายาลัม, มอลตา, เมารี, มราฐี, มองโกเลีย, เนปาล, โซโทเหนือ, นอร์เวย์ (บ็อกมาล), นอร์เวย์ (ไนนอสก์), โอเดีย, เปอร์เซีย (อิหร่าน), ปัญจาบ (อาหรับ), ปัญจาบ (กูร์มูคี), โปแลนด์, โปรตุเกส (บราซิล), โปรตุเกส (โปรตุเกส), เคชวา, โรมาเนีย, รัสเซีย, เกลิกสกอต, เซอร์เบีย (ซิริลลิก บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา), เซอร์เบีย (ซิริลลิก เซอร์เบีย), เซอร์เบีย (ละติน), สินธิ (อาหรับ), สิงหล, สโลวัก, สโลวีเนีย, สเปน (สเปน), สเปน (เม็กซิโก), สวาฮีลี, สวีเดน, ทาจิก, ทมิฬ, ตาตาร์, เตลูกู, ไทย, ทิกรินยา, เซ็ตสวานา, ตุรกี, เติร์กเมน, ยูเครน, อูรดู, อุยกูร์, อุซเบกิสถาน, วาเลนเซีย, เวียดนาม, เวลส์, โวลอฟ, โคซา, โยรูบา, ซูลู

Microsoft เปิดให้ผู้ใช้งานอัปเกรดเป็น Windows 11 ได้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งหากนับถึงวันที่เขียนบทความนี้ Windows 11 ก็เพิ่งมีอายุได้ครบปีพอดี และล่าสุดเพิ่งมีการปล่อยอัปเดตครั้งใหญ่เวอร์ชัน 22H2 ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่ ๆ สมการรอคอยเพียบ แถมขุดฟีเจอร์เก่า ๆ ที่เคยหายไปจาก Windows 10 กลับมาด้วยทั้ง drag & drop, พรีวิวหน้าโฟลเดอร์ ทำให้คนใช้อยู่นี่ไม่ต้องลังเลกันเลยว่าจะอัปหรือไม่อัปดี

อย่างไรก็ดี ไม่ใช่คอมทุกเครื่องจะมีสิทธิ์ได้อัปใช้เวอร์ชันใหม่นี้ เพราะอย่างที่ทราบกันว่าคอมเครื่องไหนจะใช้งาน Windows 11 ได้ จำเป็นต้องผ่านเงื่อนไขสำคัญ 4 ข้อที่ Microsoft กำหนดไว้ ได้แก่

  • ใช้ซีพียู x86 ขั้นต่ำคือ Intel Gen 8 หรือ AMD Ryzen 2000 ขึ้นไป
  • บอร์ดรองรับชิปความปลอดภัย TPM เวอร์ชัน 2.0 ขึ้นไป
  • แรมขั้นต่ำ 4 GB
  • ความจุ 64 GB ขึ้นไป

ปัจจุบันเชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ใช้คอมเก่าสเปคไม่ผ่านขั้นต่ำนี้อยู่ แต่ก็ยังพยายามหาวิธีทำให้เครื่องตัวเองลง Windows 11 ให้ได้ ผ่านการงัดกลยุทธ์ต่าง ๆ มาใช้ เช่น สร้างไฟล์ ISO ติดตั้ง Windows ที่มีการปรับแต่งไฟล์ภายในให้สามารถ bypass รุ่นซีพียูหรือ TPM 2.0 ได้ ซึ่งพอเอามาลงแบบ clean install ก็ปรากฏว่าใช้งานได้จริง ฟีเจอร์ทุกอย่างมาครบ แต่ติดอยู่อย่างเดียวคือ อัปเกรดเป็นเวอร์ชันใหม่ ๆ ไม่ได้

เรื่องนี้ Microsoft เคยมีการออกมาพูดถึงแล้วว่าจริง ๆ ไม่ได้ปิดกั้นการลง Windows 11 บนฮาร์ดแวร์รุ่นเก่า (Unsupported Hardware) ยังสามารถลงได้ปกติ เพียงแต่หากเวอร์ชันใหญ่ ๆ มาถึงเครื่องจะไม่มีการขึ้นให้อัปบน Windows Update (ได้เฉพาะแพตช์ความปลอดภัย) พูดง่าย ๆ ว่าอัปเดตใหญ่มันเทียบเท่ากับการข้ามรุ่นจาก Windows 10 มา 11 เลย ถ้าใครอยากอัปก็ต้องไปใช้วิธีลงแบบ clean install ผ่านแฟลชไดรฟ์เหมือนเดิม ซึ่งจะทำให้ไฟล์หาย และพอรุ่นใหญ่ครั้งหน้ามาอีกก็ต้องใช้วิธีนี้ไปเรื่อย ๆ

อย่างไรก็ตาม หากเราต้องยอมรับชะตากรรมอย่างที่ว่ามาจริง ๆ วันนี้ก็คงไม่เกิดบทความนี้ขึ้นมา เพราะล่าสุดทีมงานได้ค้นพบวิธีที่จะทำให้คอมเก่าที่ลง Windows 11 เวอร์ชันแรกไว้ สามารถอัปเกรดเป็น Windows 11 เวอร์ชันใหม่ 22H2 ได้แล้ว โดยที่ไฟล์ยังอยู่ครบเหมือนเดิม ใช้งานฟีเจอร์ใหม่ ๆ ได้ แต่บอกไว้ก่อนว่าเหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงได้เท่านั้น เพราะเราไม่มีทางรู้ได้ว่าเครื่องไหนลงไปแล้วจะเจอปัญหาด้านความเสถียรรึเปล่า เอาเป็นว่าใครพร้อมก็ตามมาดูวิธีกันได้เลยครับ

ขั้นตอนการอัปเกรด Windows 11 เวอร์ชันใหม่บนคอมเก่า

  1. ตรวจสอบเวอร์ชันเดิมของ Windows 11 ที่ลงอยู่ตอนนี้ก่อน เพื่อที่เวลาอัปแล้วจะได้มั่นใจว่าเวอร์ชันโดนเปลี่ยนจริง โดยไปที่หน้า Settings > System > About
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

    โน้ตบุ๊คที่เอามาทดสอบลงเป็นตัวอย่างให้ดูครั้งนี้คือ ASUS Vivobook Pro 15 N552VX (ปี 2015) ใช้ซีพียู Core i7-6700HQ (Gen 6) เครื่องนี้มีการลง Windows 11 เวอร์ชัน 21H2 เอาไว้เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 ด้วยวิธี clean install ผ่านแฟลชไดรฟ์ ซึ่งพอใช้เครื่องมือ Installation Assistant ลองอัปเป็น 22H2 ดู ก็ขึ้นฟ้องทันทีว่าไม่ผ่านขั้นต่ำ คือชัวร์แล้วว่าอัปไม่ได้แน่นอน
  2. เข้าไปที่หน้าเว็บ ดาวน์โหลด Windows 11 ของ Microsoft ที่หมวด Create Windows 11 Installation Media กดปุ่ม Download Now จะได้ไฟล์ mediacreationtool.exe ขึ้นมา
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

  3.  เปิด mediacreationtool.exe แล้วดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อสร้างไฟล์ ISO สำหรับใช้ติดตั้ง Windows 11 ขั้นแรกกดปุ่ม Accept
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

    ติ๊กถูกที่ “Use the recommended options for this PC” และกด Next
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

    ติ๊กเลือกที่ ISO File และกด Next
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

    เลือก directory ตรงไหนก็ได้ ให้เหลือพื้นที่พอสร้างไฟล์อย่างน้อย 5 GB จากนั้นกด Save
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

    รอให้การดำเนินการสร้างไฟล์เสร็จ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที (ขึ้นอยู่กับความเร็วดิสก์และอินเทอร์เน็ต)
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

    เสร็จแล้วกดปุ่ม Finish ก็จะได้ไฟล์ Windows.iso ขึ้นมาบนหน้าที่เราเซฟไว้
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

  4. ไปที่หน้าไฟล์ Windows.iso ที่เรากดเซฟ คลิกขวาที่ไฟล์ เลือก Mount
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

  5. ไฟล์ ISO จะไปแสดงขึ้นเป็นไดรฟ์ใหม่ของเครื่อง (ในตัวอย่างเป็นไดรฟ์ F) ซึ่งภายในจะรวมไฟล์ Setup สำหรับติดตั้ง Windows 11 อยู่ ให้เราสร้าง โฟลเดอร์ใหม่ ขึ้นมาอันหนึ่ง ตั้งชื่อว่าอะไรก็ได้ (ในตัวอย่างคือโฟลเดอร์ Windows 11 22H2) จากนั้นให้ Copy ไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดรฟ์นั้นไปวางในโฟลเดอร์ใหม่ โดยใช้วิธี Copy & Paste หรือลากวางก็ได้ และหาก Copy เสร็จหมดแล้วก็ให้ Unmount ไดรฟ์ไฟล์ ISO ทิ้งได้เลย
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

  6. เราจะใช้ไฟล์ .dll ในการปรับแต่ง setup ตัวนี้ เพื่อ bypass การตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของเครื่อง โดยเข้าไปดาวน์โหลดที่หน้าเว็บไซต์ JenSD เลื่อนลงไปล่าง ๆ ให้คลิกที่ลิงก์ jensd.be/download/appraiserres.zip (สำรอง) จะได้ไฟล์ appraiserres.zip ขึ้นมา
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

  7. คลิกขวาที่ไฟล์ appraiserres.zip เลือก Extract All เพื่อแตกไฟล์ จะได้ไฟล์ appraiserres.dll ขึ้นมา ให้นำไฟล์นี้ไปวางไว้ที่โฟลเดอร์ใหม่ที่สร้างไว้เมื่อตอนต้น (Windows 11 22H2) > sources
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

    จะมีถามให้แทนที่ไฟล์เก่าด้วย กด Replace ไป
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

  8. ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการติดตั้งอัปเดตแล้ว ย้อนกลับไปที่หน้าหลักของโฟลเดอร์ใหม่ เปิดไฟล์ setup.exe ขึ้นมา (คลิกขวา Run as Administrator) จะขึ้นหน้าแรกของ Setup ให้ติ๊กออกที่ข้อความ “I want to help make installation better” ด้านล่าง และคลิกเมนู “Change how Setup downloads updates” ด้านบน จากนั้นติ๊กเลือกเป็น Not right now และกด Next
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

    กด Accept
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

    ติ๊กเลือกที่ Keep personal files and apps จะเป็นการเก็บไฟล์เก่า, แอป และโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องเอาไว้ให้ทั้งหมด จากนั้นกด Next
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

    เมื่อตรวจสอบรายละเอียดผ่านครบหมดแล้ว ก็กด Install เพื่อติดตั้งได้เลย
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

    ใช้เวลาในการติดตั้งตัวอัปเกรดประมาณ 15-30 นาที (ตามความเร็วเครื่อง)
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

    เมื่อเสร็จแล้วเครื่องจะบังคับ Restart หนึ่งรอบ จากนั้นก็จะพา introduce เข้าหน้าต้อนรับเหมือนตอนลงครั้งแรกให้ดูรอบหนึ่ง ถือเป็นการลงเสร็จสิ้นเรียบร้อยครับ
    ㅤㅤ
  9. เมื่อไปเช็คดูที่หน้า Settings > System > About อีกครั้งก็จะเห็นว่าฮาร์ดแวร์ทุกอย่างก็ยังรุ่นเก่าเหมือนเดิม แต่สามารถอัปเกรดเป็น Windows 11 เวอร์ชัน 22H2 ได้แล้ว พร้อมอัปเดตวันที่เป็นวันล่าสุดที่ติดตั้งเวอร์ชันนี้ลงไป
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

    ไฟล์, แอป และโปรแกรมต่าง ๆ ยังอยู่ครบเหมือนเดิม การตั้งค่าทุกอย่างยังเหมือนเดิม แต่ได้ฟีเจอร์ใหม่เพิ่มขึ้นมา สังเกตจากหน้าตาของ File Explorer จะเปลี่ยนเป็นแบบมีหน้า Home แล้ว แถม Start Menu ก็มีการสร้างโฟลเดอร์ย่อยได้แล้ว ซึ่งยืนยันว่าเป็น 22H2 จริง ๆ
    เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

    ที่สำคัญหลังลงรู้สึกว่าใช้งานได้ลื่นกว่าเวอร์ชันแรกมาก เพราะก่อนหน้านี้เคยฝืนลงอันเก่าไป เจออาการ File Explorer ค้างหนัก และเด้งออกเองบ่อยสุด ๆ ตอนแรกนึกว่าเป็นที่ซีพียูเก่าเราเอาไม่อยู่ซะอีก ที่ไหนได้ น่าจะเกิดจากซอฟต์แวร์ตัวแรกนั้นยังไม่เสถียรมากกว่า ตอนนี้ให้ความรู้สึกเหมือนย้อนกลับไปลงใช้ Windows 10 ยังไงอย่างงั้นเลยครับ

ปัญหาที่พบเจอบนบางเครื่อง ทำให้ติดตั้งไม่ได้

1. กดเลือก Keep personal files and apps ไม่ได้

กรณีที่กดเลือก Keep personal files and apps ไม่ได้ในขั้นตอนที่ 8 เกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัย ข้อแรกคือไฟล์ ISO ที่นำมาใช้ลงนี้ไม่ได้เป็นเวอร์ชันภาษาเดียวกับที่ใช้ติดตั้งในเครื่องครั้งแรก ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ไฟล์ ISO อื่นที่หาโหลดมาเอง (ต้องสร้างจากขั้นตอนที่ 3 เท่านั้น)

เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

แต่หากทำตามแล้วก็ยังเป็นอยู่ ก็อาจเกิดจากปัจจัยที่ 2 คือภาษาของ Windows ถูกติดตั้งไว้เป็นแบบ Multi-language คือยังไม่ได้เลือกภาษาประจำเครื่องให้ชัดเจน ฉะนั้นเราต้องไปตั้งค่าเลือกให้ก่อน โดยเริ่มจากเข้าไปเช็คว่าใช่กรณีนี้จริง ผ่าน Command Prompt ให้คลิกขวาเปิด cmd ขึ้นมาแบบ Run as Administrator จากนั้นพิมพ์คำสั่ง DISM /online /get-intl และกด Enter

เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

เครื่องที่เจอกรณีนี้จะแสดงออกมาว่ามีภาษาติดตั้งไว้พร้อมกันมากกว่า 1 ภาษาขึ้นไป ฉะนั้นเราต้องเลือกให้เหลือ 1 (แนะนำให้ใช้เป็น en-US เพื่อความง่าย) โดยเข้าไปเปลี่ยนที่หน้า Windows Recovery Environment ข้างนอก

วิธีเปิดให้คอมบูตเข้าโหมด Windows Recovery Environment ก็คือ กดปุ่ม Shift ค้างก่อนกดปุ่ม Restart เครื่อง เมื่อเปิดกลับมาอีกครั้งก็จะเป็นเมนูหน้าสีฟ้า กดเลือก Troubleshoot > Advanced options > Command Prompt (ต่อด้วยกด Skip this drive หากมี)

เมื่อหน้า Command Prompt โชว์ขึ้นมา ให้พิมพ์คำสั่ง DISM /image:C: /set-uilang:en-US แล้วกด Enter

เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

เครื่องก็จะเลือกภาษาเดียวให้เรียบร้อย เสร็จแล้วกาออกจาก Command Prompt ย้อนกลับมาหน้าแรกแล้วกด Continue เพื่อเข้าหน้า Desktop ปกติ จากนั้นก็ลองทำตามขั้นตอนที่ 8 ดูอีกรอบว่าหายมั้ย

2. Setup ขึ้นฟ้องว่าพื้นที่อาจไม่พอ ทั้ง ๆ ที่เหลือเยอะอยู่

กรณีนี้เกิดขึ้นในขั้นตอนที่ 8 เหมือนกันแต่เป็นช่วงท้าย คือมีหลายคนโดนขึ้นฟ้องว่าตรวจสอบไม่ได้ว่ามีพื้นที่เพียงพอรึเปล่า ทั้ง ๆ ที่เหลือเผื่อไว้แล้วถึง 40-50 GB (พอต่อการลง Windows แน่ ๆ) ซึ่งก็ไม่รู้ว่าแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุอะไร

เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คนส่วนมากที่เจออาการนี้มีร่วมกันคือ ใช้ SSD ความจุ 128 GB ในการลง Windows อยู่ ซึ่งเดาว่าอาจไปมีผลกับการตรวจสอบของตัว Setup ที่อยากให้เหลือเผื่อเยอะกว่านี้ไว้ก่อน (กันเหนียว) ไม่ก็เป็นบั๊กตรวจสอบที่ Microsoft ยังไม่ได้แก้ไข กรณีแบบนี้จึงแนะนำให้ใช้ SSD ความจุ 256 GB ขึ้นไปในการลง Windows 11 ดีกว่าถึงจะเหมาะสมที่สุดครับ

โอเค ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับกับขั้นตอนการอัปเกรด Windows 11 เวอร์ชัน 22H2 บนคอมรุ่นเก่าที่ไม่ฮาร์ดแวร์รองรับแล้ว เชื่อว่าถ้าเวอร์ชันปีหน้ามาอีก หากไม่มีอะไรผิดพลาดก็น่าจะยังใช้วิธีนี้อัปได้อยู่ (แต่ถ้าไม่ได้แล้วจะมาแนะนำอันใหม่ให้นะถ้ามี) ส่วนตัวใช้งานเองตอนนี้รู้สึกว่ายังไม่เจอปัญหาผิดปกติอะไร แต่ถ้าให้แนะนำจริง ๆ ก็ยังไม่อยากให้ทำบนเครื่องหลักที่ใช้งานประจำ เพราะยังไงมันก็ไม่ official มีความเสี่ยงเยอะที่จะเจอบั๊ก การกลับไปใช้ Windows 10 ยังคงเป็นทางเลือกที่อุ่นใจกว่าครับ

เปิดใช้งาน windows 11 ครั้งแรก