องค์ประกอบ ของศาสนา 6 ประการ

องค์ประกอบของศาสนา

องค์ประกอบ ของศาสนา 6 ประการ


  ศาสนาที่จะเป็นศาสนาอย่างสมบูรณ์ได้ต้องมีองค์ประกอบครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ทางวิชาการที่นักการศาสนาจัดไว้ โดยจะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1.    ศาสดา ต้องมีศาสดาเป็นผู้ก่อตั้งศาสนาและศาสดาต้องมีชีวิตอยู่จริงในประวัติศาสตร์ เช่น ศาสนายิวมีโมเสสเป็นศาสดา ศาสนาพุทธมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา ศาสนาคริสต์มีพระเยซูเป็นศาสดา และศาสนาอิสลามมีนบีมุฮัมมัดเป็นศาสดา

2.    ศาสนธรรม ต้องมีศาสนธรรม คือ คำสอนซึ่งเป็นหลักของศาสนา ต้องมีคัมภีร์เป็นที่รวบรวมคำสอน เช่น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีคัมภีร์พระเวท ศาสนาพุทธ มีพระไตรปิฎก ศาสนาอิสลาม มีคัมภีร์อัลกุรอาน

3.    ศาสนพิธี ต้องมีพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องมาจากคำสอนของศาสนา เช่น พิธีสวมสายยัชโญปวีต หรือสายธุรำของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พิธีอุปสมบทของศาสนาพุทธ พิธีล้างบาปของศาสนายิว และศาสนาคริสต์ และพิธีฮัจญ์ของศาสนาอิสลาม

4.    ปูชนียวัตถุ หรือปูชนียสถานทางศาสนา เช่น พระพุทธรูปและสังเวชนียสถานในศาสนาพุทธ ไม้กางเขนและวิหารเมืองเยรูซาเลมในศาสนาคริสต์ รูปของพระคุรุและเมืองอมฤตสระของศาสนาซิกข์

5.    ศาสนบุคคล ต้องมีคณะบุคคลสืบทอดคำสอนของศาสนา ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติตามหลัก คำสอนของศาสนาโดยตรง เช่น พระ นักบวช นักพรต บาทหลวง ในศาสนาต่างๆ

6.    ศาสนสถาน ต้องมีศาสนสถานเพื่อประกอบศาสนกิจและศาสนพิธีต่างๆ ศาสน-สถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้แก่ เทวสถาน หรือเทวาลัย ของศาสนาพุทธ ได้แก่ วัด อุโบสถ ศาลาการเปรียญ วิหาร ของศาสนาคริสต์ ได้แก่ โบสถ์ วิหาร ของศาสนาอิสลาม ได้แก่ สุเหร่า หรือมัสยิด เป็นต้น

7.    ศาสนิกชน ต้องมีศาสนิกชนผู้นับถือเลื่อมใสศรัทธาในศาสนานั้น ซึ่งศาสนิกชนดังกล่าว มักเรียกตามชื่อของศาสนาที่ตนนับถือ เช่น ฮินดูชน พุทธศาสนิกชน คริสต์ศาสนิกชน อิสลามิกชนหรือมุสลิม เป็นต้น

8.    การกวดขันเรื่องความภักดี ต้องมีการกวดขันเรื่องความภักดีในศาสนา เช่น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูกวดขันเรื่องการดำเนินชีวิตตามหลักอาศรม 4 ศาสนาพุทธกวดขัน เรื่องไตรสรณคมน์ ศาสนาคริสต์กวดขันเรื่องการไปสวดมนต์ที่โบสถ์ในวันอาทิตย์ ศาสนาอิสลามกวดขันเรื่องหลักปฏิบัติหรือหน้าที่ในศาสนา


      องค์ประกอบทั้ง 8 ประการนี้ ในบางศาสนาอาจขาดข้อใดข้อหนึ่งไป แต่ก็ยังถือว่าเป็นศาสนา เช่น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ขาดองค์ประกอบข้อที่หนึ่ง คือ ศาสดาไม่ได้มีชีวิตอยู่จริงในประวัติศาสตร์ ศาสนาอิสลามขาดองค์ประกอบข้อ 5 คือ ศาสนบุคคล เพราะผู้นับถือศาสนา อิสลามไม่มีการถือเพศเป็นบรรพชิต คงมีแต่เพศฆราวาสเท่านั้น


 หนังสือ DF 404 ศาสนศึกษา
กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

องค์ประกอบ ของศาสนา 6 ประการ

ศาสนาพุทธมีองค์ประกอบ หลัก 5 ประการ

1.ศาสดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทีเราชาวพุทธเคารพบูชา

2.ศาสนธรรม หลักธรรมคำสอน เช่น อริยสัจ4 ศีล สมาธิ ปัญญา

3.ศาสนทายาท ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา 4 กลุ่มหลักๆ เราฆราวาส ก็อยุ่ในกลุ่มศาสนทายาท เป็น อุบาสก (ชาย) อุบาสิกา (หญิง) พระสงฆ์ ก็เป็นส่วนหนึ่ง ในกลุ่มภิกษุ จะมีดีบ้างเสียบ้าง มีมาแต่สมัยพุทธกาล เป็นเรื่องปกติ

4.ศาสนสถาน สถานที่ใช้ประกอบพิธีต่างๆ วัด โบสถ์ วิหาร เจดีย์

5.ศาสนพิธี การทำบุญตักบาตร ให้ทาน การรักษาศีล ฝึกจิต สวดมนต์ ภาวนา

เห็นไหมศาสนาของเรามีอะไรตั้งมากมาย เรื่องแค่เศษเสี้ยวจะทำให้ศาสนาพุทธ เสียหายหรือเสื่อมสลายคงเป็นไปได้ยาก

ครั้งนึงศาสนาพุทธเคยถือกำเนิดและเจริญรุ่งเรืองในชมพูทวีป (อินเดีย) ช่วงเวลานึงเคยเจริญงอกงามในสยามประเทศ ในวันนึงอาจเจริญงอกงามในเมียนมาร์ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปได้ ไม่ต่างอะไรกับการตั้งฐานผลิตในภาคธุรกิจ แต่ศาสนาพุทธก็มิได้เสื่อมสลาย

ในวันวิสาขบูชา 2561 นี้ ขอให้ท่านช่วยแชร์ บทความสั้นๆ นี้ให้มาก เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนถาวร ตลอดไป สาธุ อนุโมทามิ.

Skip to content

องค์ประกอบ ของศาสนา 6 ประการ

‘ศาสนา’ คือ ปรากฏการณ์ทางจิต ที่สร้างความเชื่อ ความศรัทธา ให้แก่สังคมหมู่มาก ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของคุณค่า ตลอดจนวัฒนธรรมหลายๆอย่าง มีความสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์อย่างแน่นเฟ้น โดยคำสอนเต็มไปด้วยความลึกซึ้งและมีองค์ประกอบมากมายหลายอย่าง แต่องค์ประกอบที่จัดว่ามีความสำคัญสูงสุดมี 5 เรื่อง ได้แก่…

องค์ประกอบ ของศาสนา 6 ประการ

  • ศาสดา หรือผู้ก่อตั้งศาสนา เป็นผู้บัญญัติคำสอนดั้งเดิม
  • คัมภีร์ ที่รวบรวมคำสอน หลักปฏิบัติ เรื่องเล่าต่างๆ
  • สาวก คือ ผู้ปฏิบัติตามคำสอน เป็นผู้สืบทอดศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
  • ศาสนสถาน คือ สถานที่สำคัญเอาไว้ประกอบศาสนกิจ มีกฎและข้อห้ามบางประการ
  • สัญลักษณ์ คือ สิ่งที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ของศาสนานั้นๆ เช่น พิธีกรรม , รูปปั้น , รูป เป็นต้น

ศาสดา

คือ ผู้ก่อตั้งศาสนา สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เทวนิยมกับอเทวนิยม

ศาสดาแห่งเทวนิยม คือ ศาสนทูตของพระเจ้า เป็นผู้นำสารจากพระเจ้าลงมาแสดงแก่มนุษย์ แบ่งออกเป็นอีก 3 ประเภท คือ

  • ศาสดาอวตารลงมา คือ จากร่างกายของพระเจ้าจุติลงมาในร่างของมนุษย์ เมื่อทำหน้าที่ของตนเองเสร็จแล้ว ก็จะกลับสู่สวรรค์อย่างเดิม เช่น เทพในศาสนาอินดู อย่างพระนารายณ์ , เทพศาสนาคริสต์ พระเยซู แต่นักศาสนาบางคน เช่น ฮีโอโดตุส ไม่ยอมรับโดยเชื่อว่าพระเยซูไม่ใช่บุตรของพระเจ้า แต่เป็นบุตรบุญธรรมต่างหาก
  • ศาสดาเป็นนักพรตหรือฤาษี ที่บำเพ็ญบารมีจนกล้าแกร่ง จนกระทั่งได้เห็น,ได้ยินเสียงของเทพเจ้าได้ และนำมาจารึกเป็นคัมภีร์ขึ้นมา เช่น คัมภีร์พระเวท คือ จากการได้ยินของฤาษี กัสยประ, ภารทวาชะ , เคาตมะ เป็นต้น
  • ศาสดาเป็นผู้พยากรณ์ ผู้พยากรณ์ คือ ผู้นำสารของพระเจ้า พร้อมทำนายเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดกับมนุษย์ เช่น ในศาสนายิว เชื่อเรื่องพระผู้มาโปรดอย่างโมเสส เป็นต้น

ศาสดาของศาสนาอเทวนิยม คือ ‘มนุษย์’ ผู้ค้นพบหลักความจริงด้วยตนเอง เสร็จแล้วก็รวบรวมหลักธรรมคำสอน แล้วนำมาสอนในวงกว้าง พร้อมทั้งตั้งศาสนาของตนเองขึ้น ซึ่งอเทวนิยม เน้นการสอนไม่ให้กราบไหว้วิงวอนขอพรจากสิ่งที่มองไม่เห็น เน้นการพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ…

  • พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าแห่งศาสนาพุทธ ท่านเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นครูแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งปวง
  • ศาสดามหาพรตแห่งศาสนาเชน เน้นการบำเพ็ญแบบทรมานตนเอง ด้วยวิธีอหิงสาอย่างเข้มงวด ปฏิเสธหลักเทวนิยมแบบพราหมณ์
  • ศาสดานักปราชญ์ คือ ศาสดาที่ไม่ได้ออกบวช โดยดำเนินชีวิตอยู่อย่างผู้ครองเรือนทั่วไป หากแต่สนใจในศาสนาพร้อมปฏิบัติอย่างจริงจัง มีความเข้าใจในหลักคำสอนอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งเน้นสอนหลักปฏิบัติตนในครอบครัวและในสังคม เช่น ขงจื้อ , เล่าจื้อ เป็นต้น
    องค์ประกอบ ของศาสนา 6 ประการ

Post navigation