นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

ในโลกยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก ทั้งช่วยในการติดต่องาน ธุรกิจ พูดคุยกับเพื่อนฝูง การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการทำงานต่าง ๆ ให้ง่ายดายและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นแหล่งความบันเทิงต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งล่อตาล่อใจผู้ใช้งานในยุคนี้เป็นอย่างมาก

ในขณะที่เทคโนโลยีก่อให้เกิดประโยชน์ก็ย่อมก่อให้เกิดโทษและส่งผลเสียได้เช่นเดียวกัน หากใช้อย่างไม่มีความพอดีและพอเพียง อย่างที่เราเริ่มเห็นปัญหาของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต สมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ คือ

  1. ติดโซเชียล ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ หรือแม้ว่าวัยชราก็ล้วนเข้าถึงโซเชียลเน็ตเวิร์คในยุคนี้แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Twitter, Facebook, Instagram ซึ่งบางคนใช้โลกโซเชียลเป็นสื่อคู่ขนานไปกับโลกแห่งความเป็นจริงในชีวิตประจำวันของตัวเองเลยก็มี
  2. ติดแชท อีกหนึ่งปัญหาของการใช้อินเตอร์เน็ตที่ทำให้เกิดการหลอกลวง เนื่องจากพูดคุยกับคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จักผ่านการแชท อีกทั้งยังทำให้เกิดการหมกหมุ่นกับโลกออนไลน์มากกว่าการใช้ชีวิตอยู่กับคนรอบข้าง
  3. ติดเกม ในปัจจุบันเป็นปัญหาใหญ่มาก โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชนที่ทำให้ต้องเสียเวลาไปกับการเล่นเกม อีกทั้งบางเกมยังต้องมีการซื้อไอเทม ทำให้เด็ก ๆ และผู้ปกครองต้องเสียเงินไปเป็นจำนวนมากอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์

แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ได้ด้วยการรู้จักการใช้เทคโนโลยีด้วยความพอดี วันนี้เราจึงได้นำแนวทางการใช้เทคโนโลยีอย่างพอดีเพื่อให้เกิดประโยชน์มาแนะนำกัน

  1. ใช้ให้ถูกที่ ถูกเวลา ทั้งการแชท การเล่นเกม หรือการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ล้วนมีข้อดีทำให้เรามีช่องทางการรับรู้ข่าวสาร อีกทั้งยังเป็นสื่อบันเทิงที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้เป็นอย่างดี แต่ต้องเป็นการรู้จักใช้ให้ถูกที่ ถูกเวลา เพราะอาจทำให้เสียความรับผิดชอบในหน้าที่และเสียสุขภาพได้
  2. ใช้เทคโนโลยีอย่างมีวิจารณญาณ วิจารณญาณเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในยุคที่ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วว่องไว เพราะฉะนั้นผู้ใช้งานเทคโนโลยีในโลกแห่งอินเตอร์เน็ตต้องใช้วิจารณญาณกับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ได้รับมาด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้
    • เช็คก่อนแชร์ ก่อนที่จะส่งต่อหรือแชร์ข้อมูลอะไร ควรตรวจสอบที่มาที่ไปและความถูกต้องเสียก่อน
    • หยุดวิจารณ์ บางทีการวิพากษ์วิจารณเรื่องต่าง ๆ ในโลกโซเชียลอาจทำให้เสียเวลา เสียสุขภาพจิตที่ต้องโต้เถียงกับคนที่เราไม่รู้จักที่มีความเห็นไม่ตรงกัน
    • อย่าเชื่อทุกอย่างในโลกออนไลน์ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่ล้วนถูกส่งต่อและดัดแปลงมาแล้วทั้งสิ้น จึง ควรจะตรวจสอบความถูกต้องเสียก่อนจะเป็นการดีที่สุด
  3. จัดสรรเวลาให้เกิดความพอดี อย่างการเล่นเกมก็ควรจัดสรรแบ่งเวลา กำหนดเวลาให้ตัวเองวันละ 1-2 ชั่วโมงหรือเล่นเฉพาะวันหยุด การเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์คก็เล่นเมื่อมีเวลาว่าง ไม่เล่นในเวลางาน ส่วนการแชทก็เอาแต่พอดี ไม่ควรหมกมุ่น และอย่าให้ต้องมาเสียเวลาเพราะติดแชท 

เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่หากเรานำมาใช้ด้วยความไม่พอดี ไม่รู้จักความพอเพียงในการใช้งาน สิ่งที่เป็นประโยชน์กลับจะกลายเป็นทำให้เกิดโทษและเกิดผลเสียต่อการดำเนินชีวิตได้ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือการรู้เท่าทัน รู้จักใช้ และใช้เทคโนโลยีอย่างพอดีและมีสติจึงจะเป็นหนทางที่ดีและเกิดประโยชน์มากที่สุด

จุดประสงค์ (เมื่อเรียนจบ นักเรียนจะสามารถ)

  • อธิบายวิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว

  • วิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  • อภิปรายวิธีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

  • นำสื่อหรือแหล่งข้อมูลไปใช้ให้ถูกต้องตามข้อตกลงการใช้งาน

6.1 ภัยคุกคามจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและารป้องกัน

การใช้งานไอที (Information Technology: IT) การติดต่อสื่อสารและการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ซึ่งถ้าขาดความรอบคอบอาจก่อให้เกิดปัญหาการหลอกลวง รวมทั้งเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมได้

6.1.1 วิธีการคุกคาม

  1. การคุกคามโดยใช้หลักจิตวิทยาเป็นการคุกคามที่ใช้การหลอกลวงเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการโดยไม่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญด้านไอที เช่น การหลอกเอาระหัสผ่าน โดยส่งข้อความหรือโทร

  2. การคุกคามด้วยเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม เช่น ข้อมูลความรุนแรง การยุยงให้เกิดความวุ่นวาย การพนัน สื่อลามกอนาจาร เนื้อหาหมิ่นประมาท การกระทำผิดต่อกฏหมายและจริยธรรม

  3. การคุกคามโดยใช้โปรแกรม เป็นการคุกคามโดยใช้โปรแกรมเป็นเครื่องมือสำหรับก่อปัญหาด้านไอที เรียกว่า มัลแวร์ (malicious software: malware) เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) เวิร์ม (worm) ประตูกล (backdoor/trapdoor) ม้าโทรจัน (trojan horse virus) ระเบิดเวลา (logic bomb) โปรแกรมดักจับข้อมูล หรือสปายแวร์ (spyware) โปรแกรมโฆษณา หรือแอดแวร์ (advertising supported software) โปรแกรมเรียกค่าไถ่ (ransomware)

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) คือโปรแกรมที่เขียนด้วยเจตนาร้าย

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

เวิร์ม (worm) โปรแกรมอันตราย แพร่ไปบนเครือข่ายด้วยตัวเอง

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

ประตูกล(backdoor/trapdoor) โปรแกรมที่เปิดช่องโหวเพื่อให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าไปคุกคาม

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

ม้าโทรจัน (trojan horse virus) โปรแกรมหลอกลวงให้ผู้ใช้ติดตั้ง เข้าทำลายข้อมูล หรือลวงข้อมูล

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

ระเบิดเวลา (logic bomb) โปรแกรมอันตรายทำงานเมื่อถูกกระตุ้น อาจแอบส่งข้อมูลหรือลบข้อมูล

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

โปรแกรมดักจับข้อมูล หรือสปายแวร์ (spyware) โปรแกรมแอบขโมยข้อมูลเพื่อนำไปหาประโยชน์

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

โปรแกรมโฆษณา หรือแอดแวร์ (advertising supported software) โปรแกรมแสดงโฆษณา

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

โปรแกรมเรียกค่าไถ่ (ransomware) โปรแกรมขัดขวาการเข้าถึงไฟล์ จนกว่าจะจ่ายเงิน จึงจะได้รับรหัสผ่าน

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

  • การหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง (phishing) มีลักษณะเป็นอย่างไร และมีวิธีการตรวจสอบและป้องกันอย่างไร

  • หากมีเพื่อนแชร์ข้อมูลของนักเรียนในทางเสียหาย และไม่เป็นความจริงนักเรียนคิดว่ามีผลกระทบกับตัวนักเรียนหรือไม่อย่างไร และนักเรียนจะแก้ปัญหานี้อย่างไร

  • นักเรียนเห็นเพื่อนนำเสนอข้อมูลของผู้อื่นทางเครือข่ายสังคมออนไลน์และนักเรียนแชร์ต่อโดยไม่ตรวจสอบข้อมูล นักเรียนคิดว่ามีผลกระทบกับตัวนักเรียน และผู้เสียหายหรือไม่อย่างไร นักเรียนมีวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างไร

6.1.2 รูปแบบการป้องกันภัยคุกคาม

การป้องกันภัยคุกคามด้านไอที คือการตรวจสอบและยืนยันตัวตนของผู้ใช้งาน โดยดำเนินการได้ 3 รูปแบบ คือ

  1. ตรวจสอบจากสิ่งที่ผู้ใช้รู้ ได้แก่ บัญชีผู้ใช้ (user) และรหัสผ่าน (password)

  2. ตรวจสอบจากสิ่งที่ผู้ใช้มี ได้แก่ บัตรสมาร์ตการ์ด โทเก้น

  3. ตรวจสอบจากสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้ใช้ เช่น ม่านตา ลายนิ้วมือ ใบหน้า เสียง

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

6.1.3 ข้อแนะนำในการตั้งและใช้งานรหัสผ่าน

  • ควรตั้งให้เป็นไปตามเงื่อนไขตามระบบที่ใช้งาน รหัสผ่านที่ดี ประกอบด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก ตัวเลข สัญลักษณ์ เช่น Y1nG@zcd

  • หลีกเลี่ยงการตั้งรหัสผ่าน ด้วย วันเดือนปีเกิด ชื่อผู้ใช้ ชื่อจังหวัด ชื่อตัวละคร สิ่งของต่าง ที่เกี่ยวข้อง

  • ตั้งใช้จดจำง่าย แต่คาดเดายาก ด้วยบุคคลหรือโปรแกรม

  • บัญชีแต่ละระบบ ควรใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน

  • ไม่บันทึกรหัสผ่านแบบอัตโนมัติ

  • ไม่บอกรหัสผ่านของตนเองให้ผู้อื่น ไม่ว่ากรณีใด ๆ

  • หลีกเลี่ยงการบันทึกรหัสผ่านลงกระดาษ สมุดโน้ต

  • หมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ

  • ออกจากระบบทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งานบริการต่าง ๆ

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

6.2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

6.2.1 การศึกษาเงื่อนไขการใช้งาน การใช้งานทุกระบบมีการกำหนดเงื่อนไขในการใช้งานทั้งเว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่าง ๆ มีการแจ้งเตือนเงื่อนไขก่อนติดตั้งและใช้งาน เช่น ข้อกำหนดที่ต้องรับโฆษณา การอนุญาตเข้าถึงภาพถ่าย หรือข้อมูลรายชื่อในสมาร์ตโฟน เงื่อนไขการใช้งาน อาจถูกกำหนดด้วยข้อตกลงในลักษณะต่าง ๆ เช่น

  • ลิขสิทธิ์ (copyright) หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

  • Creative Commons หรือ สัญญาอนุญาตแบบเปิด เป็นลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่งที่เปิดโอกาสให้สาธารณะได้ทำผลงานนั้นไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ผู้ที่นำผลงานไปใช้จะต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้บนผลงาน ผ่าน 4 สัญลักษณ์ที่แทนแต่ละเงื่อนไข

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

หมายถึงสามารถใช้ เผยแพร่ และดัดแปลงได้ แต่ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของผลงาน

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

หมายถึง สามารถใช้ เผยแพร่ และดัดแปลงได้ แต่ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา และยินยอมให้ผู้อื่นนำไปใช้หรือเผยแพร่ต่อได้

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

หมายถึง สามารถใช้ และเผยแพร่ได้ ห้ามดัดแปลง แต่ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

หมายถึง สามารถใช้ และเผยแพร่ได้ แต่ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภท 1

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิทางวรรณกรรม ศิลปกรรม และประดิษฐกรรม

ซึ่งผู้บริโภคต้นคิดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554) ในขณะที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ได้ให้ความหมาย ลิขสิทธิ์ว่า สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่ม โดยการใช้สติปัญญาความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเอง ในการสร้างสรรค์โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น หน่วยงานที่สร้างสรรค์จะต้องเป็นงานประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างจะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

6.2.2 การปกป้องความเป็นส่วนตัว

ความเป็นส่วนตัว (privacy) เป็นสิทธิ์พื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ทุกคน ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ เจ้าของสามารถปกป้องและควบคุมการเปิดเผยข้อมูลของตนเองให้กับผู้อื่นและสาธารณะได้

การเข้าถึงข้อมูลในเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัว เช่น เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันบางตัวที่ติดตามความเคลื่อนไหว หรือพฤติกรรมของผู้ใช้เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมสำหรับปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ นอกจากจะถูกละเมิดแล้ว ผู้ใช้อาจยินยอมที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เนื่องจากรู้เท่าไม่ถึงการณ์

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

นักเรียนจะปกป้องข้อมูลส่วนตัวได้อย่างไรบ้าง

ใส่ใจให้มากขึ้น ต้องอ่านข้อตกลงและเงื่อนไขให้เข้าใจ หรือติดตั้งโปรแกรมว่ามีเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือไม่

ตึกตรองให้รอบคอบ ก่อนเปิดเผยข้อมูลและกิจกรรมส่วนตัว หรือแชร์ข้อมูลผู้อื่น ผ่านทางสังคมออนไลน์ต้องถามตัวเองทุกครั้งว่าการเปิดเผยสิ่งเหล่านั้นจะส่งผลกระทบอย่างไรทั้งในปัจจุบันและอนาคต

หากมีอีเมล์ หรือข้อความจากสื่อสังคมออนไลน์ส่งมาจากคนที่ไม่รู้จักนักเรียนจะทำอย่างไร?

6.2.3 แนวทางการใช้ไอทีอย่างปลอดภัย

  • ศึกษาเงื่อนไขและข้อตกลงก่อนการติดตั้งหรือใช้งานไอที

  • มีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการใช้ไอที เพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

  • เข้าใจกฏ กติกา และมารยาททางสังคมในการใช้งานไอที

  • ไม่ใช้บัญชีร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากไม่สามารถควบคุมความปลอดภัยได้ และเสี่ยงต่อการั่วไหลของรหัสผ่านและข้อมูลส่วนตัว

  • หลีกเลี่ยงการใช้งานเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม หรือไม่แน่ใจว่าเป็นหน่วยงานใด

  • สำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ และเก็บไว้หลายแหล่ง เมื่อมีเหตุการณ์สูญหาย ก็จะสามารถนำข้อมูลที่สำรองมาใช้งานได้

  • ปรับปรุงระบบปฏิบัติการและโปรแกรมต่าง ๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

  • ติดตั้งซอฟต์แวร์เท่าที่จำเป็น และไม่ติดตั้งโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

  • สังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น จากการใช้งาน เช่น โปรแกรมแปลกปลอมปรากฏขึ้น

  • ระวังการใช้งานไอทีเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ เช่น WIFI อัตโนมัติ

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

  • ลักษณะการใช้งานไอทีของนักเรียนนั้นมีความเสี่ยงหรือไม่ เพราะเหตุใด

  • การติดต่อสื่อสารออนไลน์ ในบางครั้งอาจใช้สัญลักษณ์หรืออักษรย่อที่เป็นสากลแทนการพิมพ์ข้อความ เพื่อการสื่อความหมาย เช่น LOL หมายถึงการหัวเราะ นักเรียนหาสัญลักษณ์หรืออักษรย่ออื่นๆที่ใช้ในการสื่อสาร

  • นักเรียนจะสำรองข้อมูลอย่างไรและควรจะสำรองข้อมูลที่มากน้อยเพียงใด

  • ถ้าเพื่อนของนักเรียนติดเกมและชอบซื้อของออนไลน์ นักเรียนคิดว่าเป็นพฤติกรรมที่ควรส่งเสริมหรือไม่ อาการเหล่านี้เรียกว่าอะไร และจะแนะนำเพื่อนอย่างไร

6.2.4 การใช้ไอทีอย่างสร้างสรรค์

การใช้ไอทีอย่างสร้างสรรค์ คือ การใช้งานไอทีให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม ผู้ใช้จำเป็นต้องมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เพราะไอทีช่วยให้เข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาจำนวนมากอย่างรวดเร็ว

จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฏศีลธรรม ตามที่กำหนดในพจนานุกรม ดังนั้น จริยธรรมด้านไอที จึงหมายถึง การประพฤติที่ดีในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับไอที เช่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัว ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

  • แหล่งข้อมูลและเนื้อหาที่นักเรียนมาเข้าถึงและใช้งานนั้นเป็นข้อมูล หรือเนื้อหาที่สร้างสรรค์หรือไม่ และมีความน่าเชื่อถือเพียงใด

  • นักเรียนจะนำไอทีไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ได้อย่างไร

  • ยกตัวอย่างการใช้งานไอทีในชีวิตประจำวัน พร้อมอธิบายว่าเป็นการใช้อย่างมีจริยธรรมหรือไม่ ให้อธิบาย

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

นักเรียนจะมีวิธีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความปลอดภัยและมีความสุขได้อย่างไร

นักเรียนมีวิธีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบอย่างไร ในการเรียนรู้

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ.
ปฏิเสธการรับข้อมูล โดยไม่เปิดดู ไม่บันทึก และไม่กดไลค์ (Like).
ไม่ส่งต่อ ไม่แชร์ ไม่เผยแพร่ เพราะนอกจะกระจายข้อมูลที่ไม่เป็นจริงแล้ว ยังอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์.
แจ้งครูหรือผู้ปกครอง.

นักศึกษาได้ประโยชน์อย่างไรจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านต่างๆ

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทต่อการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี ทั้งในและนอกสถานศึกษา หน่วยงานต่างๆ ใช้บทเรียนออนไลน์ในการฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ความรู้เพิ่มเติม นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่ทั้งครูและนักเรียนหรือบุคคลทั่วไป ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลเรื่องต่างๆ ในการทำรายงาน ...

การใช้เทคโนโลยีเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต้องทำอย่างไร

เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่หากเรานำมาใช้ด้วยความไม่พอดี ไม่รู้จักความพอเพียงในการใช้งาน สิ่งที่เป็นประโยชน์กลับจะกลายเป็นทำให้เกิดโทษและเกิดผลเสียต่อการดำเนินชีวิตได้ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือการรู้เท่าทัน รู้จักใช้ และใช้เทคโนโลยีอย่างพอดีและมีสติจึงจะเป็นหนทางที่ดีและเกิดประโยชน์มากที่สุด

ความรับผิดชอบต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง *

1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทาร้าย หรือละเมิดผู้อื่น 2.ต้องไม่รบกวนการทางานของผู้อื่น 3.ต้องไม่สอดแนมหรือ แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น 4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ 6.ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธ์ 7.ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากร ...

นักเรียนมีวิธีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบอย่างไร ในการเรียนรู้ นักศึกษาได้ประโยชน์อย่างไรจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านต่างๆ การใช้เทคโนโลยีเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต้องทำอย่างไร ความรับผิดชอบต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง * การใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย 5 ข้อ บทที่ 6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีอะไรบ้าง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย หมายถึง 3. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย pdf การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ppt