Https th.wikipedia.org wiki ภาพ 3 ม ต

จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทยที่แตกต่างจากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็ดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองได้อย่างสวยงามลงตัว มีวิวัฒนาการทางด้านรูปแบบและวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต จิตรกรรมไทยเป็นลักษณะอุดมคติ เป็นภาพ 2 มิติ โดยนำสิ่งใกล้ไว้ตอนล่างของภาพ สิ่งไกลไว้ตอนบนของภาพ ใช้สีแบบเอกรงค์ คือ ใช้หลายสี แต่มีสีที่โดดเด่นเพียงสีเดียว

ลายไทย เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคาร สิ่งของ เครื่องใช้ ต่าง ๆ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันซึ่งนำเอารูปร่างจาก ธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกระหนก ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายเครือเถา เป็นต้น หรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้น

จิตรกรรมไทย เป็นวิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า มีเรื่องที่เกี่ยวกับ ศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอดจนการแสดงการเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย วิวัฒนาการของงานจิตรกรรมไทย แบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรมที่ปรากฏในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ

จิตรกรรมไทยแบบประเพณี[แก้]

Https th.wikipedia.org wiki ภาพ 3 ม ต
จิตรกรรมฝาผนัง

จิตรกรรมไทยแบบประเพณี เป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงาม แสดงความรู้สึกชีวิตจิตใจและความเป็นไทย ที่มีความอ่อนโยน ละมุนละไม สร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนได้ลักษณะประจำชาติ มีลักษณะและรูปแบบพิเศษ นิยมเขียนบนฝาผนังภายในอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา และอาคารที่เกี่ยวกับบุคคลชั้นสูง เช่น โบสถ์ วิหาร พระที่นั่ง วัง บนผืนผ้า บนกระดาษ และบนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ โดยเขียนด้วยสีฝุ่น ตามกรรมวิธีของช่างเขียนไทยแต่โบราณ เนื้อหาที่เขียนมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตพุทธ พุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิ วรรณคดีและชีวิตไทย พงศาวดารต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยมเขียนประดับผนังพระอุโบสถ วิหารอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธีทางศาสนา ลักษณะจิตรกรรมไทยเป็นศิลปะแบบอุดมคติ (Idealistic) ผนวกเข้ากับเรื่องราวที่กึ่งลึกลับมหัศจรรย์ ซึ่งคล้ายกับงานจิตรกรรมในประเทศแถบตะวันออกหลาย ๆ ประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา จีนและญี่ปุ่น เป็นต้น เป็นภาพที่ระบายสีแบนเรียบ ด้วยสีค่อนข้างสดใส และมีการตัดเส้นเป็นภาพ 2 มิติ ให้ความรู้สึกเพียงด้านกว้างและยาว ไม่มีความลึก ไม่มีการใช้แสงและเงามาประกอบ จิตรกรรมไทยแบบประเพณีมีลักษณะพิเศษในการจัดวางภาพแบบเล่าเรื่องเป็นตอน ๆ ตามผนังช่องหน้าต่าง โดยรอบโบสถ์ วิหาร และผนังด้าน หน้าและหลังพระประธาน ภาพจิตรกรรมไทยมีการใช้สีแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย ทั้งเอกรงค์ และพหุรงค์ โดยเฉพาะการใช้สีหลายๆ สีแบบพหุรงค์นิยมมากในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะได้สีจากต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายด้วย ทำให้ภาพจิตรกรรมไทยมีความสวยงามและสีสันที่หลากหลายมากขึ้น

รูปแบบลักษณะตัวภาพในจิตรกรรมไทยซึ่งจิตรกรไทยได้สร้างสรรค์ออกแบบไว้เป็นรูปแบบอุดมคติที่แสดงออกทางความคิดให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและความสำคัญ ของภาพ เช่น รูปเทวดา นางฟ้า กษัตริย์ นางพญา นางรำ จะมีลักษณะเด่นงามสง่าด้วยลีลาอันชดช้อย แสดงอารมณ์ความรู้สึกปีติยินดี หรือเศร้าโศกเสียใจด้วยอากัปกิริยาท่าทาง ถ้าเป็นรูปยักษ์ มาร ก็แสดงออกด้วยท่าทางที่บึกบึน แข็งขัน ส่วนพวกวานรแสดงความลิงโลด คล่องแคล่วว่องไวด้วยลีลาท่วงท่าและหน้าตา สำหรับพวกชาวบ้านธรรมดาสามัญก็จะเน้นความตลกขบขัน สนุกสนานร่าเริงหรือเศร้าเสียใจออกทางใบหน้า ส่วนช้างม้าเหล่าสัตว์ทั้งหลายก็มีรูปแบบแสดงชีวิตเป็นธรรมชาติ ซึ่งจิตรกรไทยได้พยายามศึกษา ถ่ายทอดอารมณ์ สอดแทรกความรู้สึกในรูปแบบได้อย่างลึกซึ้ง เหมาะสม และสวยงาม

จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย[แก้]

จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย (Thai Contemporary Painting) จิตรกรรมไทยร่วมสมัยเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการของโลก ความเจริญทางการศึกษา การคมนาคม การพาณิชย์ การปกครอง การรับรู้ข่าวสาร ความเป็นไปของโลกที่อยู่ห่างไกล ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและแนวทางการแสดงออกของศิลปินในยุคต่อๆ มาซึ่งได้พัฒนาไปตามสภาพแวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิด และความนิยมในสังคม สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่งอย่างมีคุณค่าเช่นเดียวกัน อนึ่งสำหรับลักษณะเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยร่วมสมัยนั้น ส่วนใหญ่เป็นแนวทางเดียวกันกับลักษณะศิลปะแบบตะวันตกในลัทธิต่างๆ ตามความนิยมของศิลปินแต่ละคน

อ้างอิง[แก้]

คณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำหนังสือเมืองไทยของเรา เล่ม 2. (2535) เมืองไทยของเรา ฉบับที่สอง. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ISBN 974-7771-27-6. หน้า 44.

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดามีเนื้อที่ประมาณ 1.14 ล้านตารางกิโลเมตร (4.4 แสนตารางไมล์) อยู่ระหว่างจุด 3 จุด ได้แก่ เปอร์โตริโก ปลายสุดของรัฐฟลอริดาในสหรัฐอเมริกา และเกาะเบอร์มิวดา ซึ่งเป็นเกาะตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแอตแลนติกและดินแดนในปกครองของสหราชอาณาจักร มีพื้นที่ครอบคลุมช่องแคบฟลอริดา หมู่เกาะบาฮามาส และหมู่เกาะแคริบเบียนทั้งหมด แต่แนวคิดที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว่า (เนื่องจากปรากฏในงานเขียนจำนวนมาก) ระบุว่า จุดปลายสุดของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ได้แก่ ชายฝั่งแอตแลนติกของไมแอมี, ซานฮวน (บนเกาะเปอร์โตริโก) และเกาะเบอร์มิวดา ด้วยเหตุว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามแนวชายฝั่งด้านใต้โดยรอบหมู่เกาะบาฮามาสและช่องแคบฟลอริดา

พื้นที่ดังกล่าวเป็นหนึ่งในเส้นทางเดินเรือพาณิชย์ที่หนาแน่นที่สุดในโลก โดยมีเรือผ่านพื้นที่นี้เป็นประจำทุกวันมุ่งหน้าไปยังเมืองท่าในทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป และหมู่เกาะแคริบเบียน เรือสำราญที่ผ่านพื้นที่นี้ก็มีมากเช่นกัน เรือเที่ยวเองก็มักจะมุ่งหน้าไปและกลับระหว่างฟลอริดากับแคริบเบียนอยู่เป็นปกติ นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ซึ่งมีการสัญจรทางอากาศอย่างหนาแน่น ทั้งอากาศยานพาณิชย์และส่วนตัว ซึ่งมุ่งหน้าไปยังฟลอริดา แคริบเบียน และทวีปอเมริกาใต้

ที่มา[แก้]

การกล่าวอ้างถึงการหายสาบสูญอย่างผิดปกติในพื้นที่เบอร์มิวดาปรากฏในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1950 ในบทความของแอสโซซิเอด เพลส โดยเอ็ดเวิร์ด ฟาน วินเคิล โจนส์ อีกสองปีต่อมา นิตยสารเฟท ได้ตีพิมพ์ "ความลึกลับที่ประตูหลังของเรา" บทความสั้นโดย จอร์จ แอกซ์. แซนด์ ซึ่งครอบคลุมเครื่องบินและเรือจำนวนมากที่หายสาบสูญไป รวมไปถึงการหายสาบสูญของฝูงบิน 19 ฝูงบินกองทัพเรือสหรัฐซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดทีบีเอ็ม อแวงเกอร์ห้าลำ ซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกบิน บทความของแซนด์ได้เป็นงานเขียนแรก ๆ ซึ่งทำให้เกิดเป็นแนวคิดอันเป็นที่รู้จักกันดีของพื้นที่สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา อันเป็นสถานที่ที่เกิดการหายสาบสูญอย่างหาสาเหตุไม่ได้ การหายสาบสูญของฝูงบิน 19 ได้ปรากฏในนิตยสารอเมริกันลีเจียน ฉบับประจำเดือนเมษายน ค.ศ. 1962 โดยกล่าวอ้างว่าผู้บังคับฝูงบินได้กล่าวว่า "เรากำลังเข้าสู่เขตน้ำขาว ไม่มีอะไรดูปกติเลย เราไม่รู้ว่าเราอยู่ที่ไหน น้ำทะเลเป็นสีเขียว ไม่ใช่สีขาว" นอกจากนี้ ยังได้มีการกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่คณะกรรมการสืบสวนของกองทัพเรือยังได้ระบุว่าเครื่องบินทั้งหมดได้ "บินสู่ดาวอังคาร" บทความของแซนด์เป็นงานเขียนชิ้นแรกซึ่งเสนอว่ามีปัจจัยเหนือธรรมชาติที่มีผลต่อเหตุการณ์หายสาบสูญของฝูงบิน 19 ในนิตยสารอาร์กอสซี ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1964 บทความของวินเซนต์ เอช. แกดดิส "สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาร้ายกาจ" ซึ่งโต้แย้งว่าฝูงบิน 19 และการหายสาบสูญไปอื่น ๆ เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบของเหตุการณ์ประหลาด ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ในปีต่อมา แกดดิสได้ขยายบทความของเขาไปเป็นหนังสือ ชื่อว่า อินวิสซิเบิลฮอไรซอนส์ (Invisible Horizons)

ถัดมาในปี ค.ศ. 1969 นายวอลเลซ สเปนเซอร์ ได้เขียนหนังสือว่าด้วยสามเหลี่ยมปริศนานี้โดยเฉพาะออกจำหน่ายในชื่อว่า ลิมโบออฟเดอะลอสต์ (Limbo of the Lost) ถัดจากนั้น ก็มีหนังสือออกจำหน่ายตามมาอีกมากมายเกี่ยวกับความลึกลับของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ซึ่งก็มียอดจำหน่ายดีแทบทุกเล่ม ที่มีชื่อเสียงเป็นพิเศษคือบทความที่มีชื่อว่า เดอะเดวิลส์ไทรแองเกิล (The Devil's Triangle) ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1974 ซึ่งเป็นเนื้อหาสำหรับคนที่ชื่นชอบความลึกลับเกี่ยวกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเป็นอันมาก หนังสือแทบทุกเล่มมุ่งประเด็นไปยังมุมมองที่ว่า เบื้องหลังของการสูญหายนี้เกิดจากเทคโนโลยีของสิ่งทรงภูมิปัญญามากกว่าประเด็นอื่น เช่นมนุษย์ต่างดาวหรือมนุษย์ที่อาศัยอยู่ใต้มหาสมุทรบริเวณนั้น ต่างก็หาหลักฐานและทฤษฎีมาถกเถียงกัน และบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดามีอาณาบริเวณที่กว้างมาก ตั้งแต่ ฟลอริด้า-เปอร์โตริโก-เกาะเบอร์มิวดา กินพื้นที่ประมาณ 4.4 แสนตารางไมล์ เพราะฉะนั้นการค้นหาเพื่อพิสูจน์ในสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็มีองค์กรของรัฐและเอกชนต่างให้ความสนใจในการสำรวจ โดยหวังว่าจะเจอหลักฐานอะไรก็ตามที่นำมาใช้ไขปริศนาของดินแดนบริเวณนี้ได้

คำอธิบาย[แก้]

แก๊สมีเทน[แก้]

ในปี พ.ศ. 2553 โจเซฟ โมนาแกน ได้เสนอว่า สาเหตุที่เรือจมและเครื่องบินตก เกิดจากแก๊สมีเทนที่ก่อตัวขึ้น โดยแก๊สดังกล่าวอยู่ใต้ท้องทะเลในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา โดยเมื่อแก๊สเหล่านี้ขึ้นสู่พื้นผิว มันจะทะยานสู่อากาศ และขยายตัวเป็นวงกว้างและก่อตัวเป็นฟองแก๊สขนาดใหญ่ เมื่อเรือลำใดผ่านเข้าไปในบริเวณนั้น ก็จะเข้าไปสู่ฟองแก๊สมีเทนขนาดยักษ์ จนทำให้เรือเหล่านี้สูญเสียการควบคุม และจมลงในที่สุด