กว ชาการท อย ในกล ม 118 รายช อรณรงค แก ม.112

ประชาชนรณรงค์ให้ยกเลิกมาตรา 112 เมื่อ 29 พ.ค. 2555 หลังพบว่าสถิติคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีจำนวนมากขึ้นตั้งแต่รัฐประหาร 2549

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้ประกาศ "คำสำคัญ" ต่อสาธารณะในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังแฮชแท็ก #ยกเลิก112 ขึ้นเทรนด์ยอดนิยมอันดับ 1 ของทวิตเตอร์เมืองไทย โดยมีผู้ทวีตและรีทวีตเกือบ 5 แสนครั้งในรอบ 24 ชม.

พล.อ.ประยุทธ์ขอให้สังคมไทยตระหนักว่าในรอบ 2-3 ปีมานี้ ไม่มีผู้ใดถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เลย

"มาตรา 112 ไม่ได้ใช้เลย เพราะอะไรรู้ไหม เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงพระเมตตา ไม่ให้ใช้ นี่คือสิ่งที่ท่านทรงทำให้แล้ว แล้วคุณก็ละเมิดกันไปเรื่อยเปื่อยแบบนี้ หมายความว่ายังไง ต้องการอะไรกัน วันนี้ผมจำเป็นต้องพูด เพราะต้องการให้บ้านเมืองสงบ" พล.อ.ประยุทธ์กล่าวเมื่อ 15 มิ.ย.

ก่อนหน้านั้น 5 วัน ดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ ตอบโต้กระแสการรณรงค์ทางทวิตเตอร์ให้ยกเลิกมาตรา 112 หลังวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยชาวไทยหายตัวไปอย่างลึกลับในประเทศกัมพูชา โดยดอนชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า การ "ปั่นกระแส" ทางโลกโซเชียลทำได้ง่าย ซึ่ง "เพื่อนอาเซียน" หลายคนที่ได้มาพูดคุยกับเขาล้วนแต่แสดงความห่วงใยในปัญหานี้ เพราะมีปัญหาลักษณะเดียวกัน

  • วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ : สำรวจจุดเกิดเหตุและคำบอกเล่าจากผู้เห็นเหตุการณ์ "อุ้มหาย"
  • วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ : จักรภพ เพ็ญแข บอก “ถ้าฟ้าเปิด หลักฐานจะมา” กรณีการตามหาความยุติธรรมในสังคมไทย
  • วันเฉลิม : ย้อนรอยผู้ลี้ภัย ใครถูก “อุ้มหาย” บ้างหลังรัฐประหาร 2557
  • ประชุมสภา : รมว.ต่างประเทศยืนยัน วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่ “ภัยคุกคามต่อความมั่นคง” พร้อมเปิดบทสนทนากับทูตว่าด้วย ม. 112
  • วันเฉลิม: นายกฯ เตือนเยาวชนที่เคลื่อนไหวเรื่องผู้ลี้ภัย-ม.112 ระวังเสียอนาคต ด้านผู้นำ นศ.บอก "ไม่กลัว"

ในการชี้แจงต่อสภา ดอน ซึ่งรับตำแหน่งรัฐมนตรีในกระทรวงการต่างประเทศตั้งแต่หลัง พล.อ.ประยุทธ์ก่อรัฐประหารปี 2557 ยกบทสนทนาของเขากับทูตานุทูต 22 ประเทศ เมื่อ 2-3 ปีก่อน ถึงกฎหมายนี้ว่า

"หากจะพูดถึงคนที่ห่วงใยและกังวลเกี่ยวกับมาตรานี้ คงแยกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ กลุ่มแรกคือ 67 ล้านคนซึ่งไม่เห็นว่ามีปัญหา อีกกลุ่มอาจจะมีไม่ถึง 100 คนที่บอกว่าเป็นปัญหา เพราะ 67 ล้านคนเขาเห็นว่าเรื่องอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับสถาบันหรือตามที่รับรู้มาล้วนแต่เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติแก่ตัวเขา ส่วนน้อยอีกฟากหนึ่งถือว่ามีปัญหาในมุมมองของเขา"

กว ชาการท อย ในกล ม 118 รายช อรณรงค แก ม.112

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

วันเฉลิมไม่มีหมายจับคดีมาตรา 112 แต่เคยมีชื่อปรากฏใน "ผังหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ซึ่งจัดทำโดยฝ่ายความมั่นคง

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ข้อถกเถียงเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 เกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะ ถ้าย้อนกลับไปดูความเคลื่อนไหวในรอบทศวรรษที่ผ่านมา เราพบอย่างน้อย 2 เหตุการณ์สำคัญ คือ "ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์" นำโดยนักวิชาการที่เรียกตัวเองว่า "คณะนิติราษฎร์" และปรากฏการณ์ ไทยพีบีเอส-สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

"ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์"

ข้อเสนอทางวิชาการสุดแหลมคมเกิดขึ้นเมื่อ 27 มี.ค. 2554 เมื่อคณะนิติราษฎร์โยนหินถามทางเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา โดยมีสาระสำคัญ 7 ข้อ

  • ให้ยกเลิกมาตรา 112 ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร
  • เพิ่มหมวดลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  • แบ่งแยกการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ออกจากการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  • กำหนดโทษโดยไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ แต่กำหนดเพดานโทษสูงสุด
  • เพิ่มเหตุยกเว้นความผิดกรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
  • เพิ่มเหตุยกเว้นโทษกรณีข้อความที่กล่าวหานั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง และการพิสูจน์นั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
  • กำหนดให้สำนักราชเลขาธิการมีอำนาจเป็นผู้กล่าวโทษเท่านั้น

ที่มา : iLaw สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ที่คณะนิติราษฎร์จัดทำขึ้น เนื่องจากเว็บไซต์ของคณะนิติราษฎร์ไม่สามารถเข้าถึงได้ในปัจจุบัน

กว ชาการท อย ในกล ม 118 รายช อรณรงค แก ม.112

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang/BBC Thai

คำบรรยายภาพ,

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำคณะนิติราษฎร์

คณะนิติราษฎร์ คือ การรวมตัวกันของอาจารย์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) อย่างน้อย 5 คน ประกอบด้วย วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช, ธีระ สุธีวรางกูร, ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล, และปิยบุตร แสงกนกกุล (ต่อมาประสิทธิ์ได้ถอนตัวไปในภายหลังเมื่อมีการรณรงค์เรื่องมาตรา 112 แต่มีสมาชิกเพิ่มเติมคือ จันทจิรา เอี่ยมมยุรา, ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ และสาวตรี สุขศรี) โดยยึดฤกษ์ 4 ปีรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ก่อนขยายแนวร่วมและพัฒนาเครือข่ายเป็น "คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112" หรือ ครก.112 ในวันที่ 15 ม.ค. 2555 ประกาศล่าชื่อประชาชนร่วมเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ต่อรัฐสภา

ในวันเปิดตัว ครก.112 นักวิชาการ นักกฎหมาย นักเขียน ศิลปิน และสื่อมวลชนจำนวน 112 คนประเดิมลงชื่อผลักดันร่างกฎหมายยกเลิกมาตรา 112 ก่อนใช้เวลาอีก 112 วันรวบรวมรายชื่อของประชาชน

27 พ.ค. 2555 ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. และ รวี สิริอิสสระนันท์ หรือวาด รวี นักเขียน เป็นตัวแทนอ่านแถลงการณ์ของ ครก. 112 โดยระบุว่ามีผู้ร่วมลงชื่อแก้กฎหมายทั้งสิ้น 38,281 คน แบ่งเป็น ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลาง 2,632 คน ภาคเหนือ 2,605 คน ภาคอีสาน 22,357 คน และภาคใต้ 118 คน

"นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 เป็นต้นมา นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่การเคลื่อนไหวทางอุดมการณ์เพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้แผ่ซ่านลงลึกไปถึงผู้คนรากหญ้า คนรากหญ้าเข้าใจถึงปัญหาของมาตรา 112 เนื่องจากพวกเขาเล็งเห็นถึงปัญหาที่ใหญ่กว่าตัวบทกฎหมาย นั่นคือปัญหาของการดึงเอาสถาบันกษัตริย์ลงมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ปัญหาของการแทรกแซงการเมืองระบอบประชาธิปไตยโดยอำนาจนอกระบบ และปัญหาของวงจรอุบาทว์ทางการเมืองของการรัฐประหาร 'ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์' จึงสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นจากดินถึงฟ้า" แถลงการณ์ ครก.112 ระบุ

กว ชาการท อย ในกล ม 118 รายช อรณรงค แก ม.112

ที่มาของภาพ, Hataikarn Treesuwan/BBC Thai

คำบรรยายภาพ,

แผ่นรณรงค์ของ ครก.112

ขณะที่หัวหอกหลักอย่างวรเจตน์ ผู้รับหน้าที่อธิบายหลักการ เหตุผล ความจำเป็น สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มอง "ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์" ว่า "ประชาชนสามัญชนกำลังจะลุกขึ้นยืนตัวตรง และความพยายามนี้หลายคนยังรับไม่ได้" เมื่อเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 เข้าสู่ความรับรู้ของสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบ ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาที่ตัวเขาค่อนข้างมาก และแม้ทางเดินจะยาวก็ต้องเดินต่อไป

"ผมเรียนว่าความสำเร็จนั้นเป็นคนละเรื่องกับความพยายาม เราพยายาม ความสำเร็จเป็นเรื่องในอนาคต ผมรู้สึกว่าการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อาจจะช้าเกินไปแล้ว หรืออาจจะสายเกินไปแล้ว แต่ว่าแน่นอนนี่เป็นสิ่งที่ฝ่ายชนชั้นนำควรต้องประเมินว่าความรู้สึกของคนในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วในกระแสโลกาภิวัตน์ การปรับตัวเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้" วรเจตน์กล่าว

ตลอดเส้นทาง 112 วันที่ปัญญาชนกลุ่มนี้ออกรณรงค์ ล่ารายชื่อประชาชน พวกเขาต้องเผชิญกับแรงต่อต้านอย่างต่อเนื่อง

  • 27 ม.ค. 2555 ประชาชนที่เรียกตัวเองว่า "กลุ่มแนวร่วมคนไทยหัวใจรักชาติ" นำโดย ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ และ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ได้เผาหุ่นฟางคล้ายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ บริเวณทางเข้า มธ. ก่อนยื่นรายชื่อประชาชน 53,948 รายชื่อต่อศาลฎีกา เพื่อขออำนาจตุลาการเข้ารับผิดชอบในการหยุดยั้งการทำลายชาติเพื่อความมั่นคงปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรไทย
  • 30 ม.ค. 2555 คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (กบม.) มีมติไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ มธ. เคลื่อนไหวกรณีมาตรา 112 อีกต่อไป เพราะเกรงจะกลายเป็น 6 ตุลา 2519 รอบสอง
  • 1 ก.พ. 2555 ประชาชนที่เรียกตัวเองว่า "กลุ่มแนวร่วมองค์กรรักในหลวงเมืองโคราช" เดินขบวนไปรอบเขตเทศบาลเมืองโคราชเพื่อคัดค้านความเคลื่อนไหวของคณะนิติราษฎร์
  • 2 ก.พ. 2555 กลุ่มศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของคณะวารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มธ. ที่เรียกตัวเองว่า "กลุ่มวารสารฯ ต้านนิติราษฎร์" นำโดย ยุทธนา มุกดาสนิท ผู้กำกับภาพยนตร์ ยื่นหนังสือถึงอธิการบดี มธ. ให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณาจารย์คณะนิติราษฎร์ ในการกระทำที่อาจมีความผิดทั้งทางวินัยและกฎหมาย โดยเห็นว่า "เป็นการใช้วิชาการบังหน้าจุดมุ่งหมายบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์" พร้อมเรียกร้องให้หยุดใช้ชื่อมหาวิทยาลัยไปสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวที่ล่วงละเมิดสถาบัน
  • 29 ก.พ. 2555 วรเจตน์ ถูกชายลึกลับดักชกบริเวณลานจอดรถคณะนิติศาสตร์ มธ. ก่อนทราบในภายหลังว่าเป็นพี่น้องฝาแฝดวัย 30 ปี ซึ่งอ้างเหตุในการลงมือว่าเป็นเพราะความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน

ที่มา : บีบีซีไทยรวบรวมข้อมูลจากข่าวที่ปรากฏในสื่อสำนักต่าง ๆ

กว ชาการท อย ในกล ม 118 รายช อรณรงค แก ม.112

ที่มาของภาพ, AFP/Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ในระหว่าง ครก.112 รณรงค์ให้ยกเลิกมาตรา 112 อำพล ตั้งนพกุล หรือ "อากง" ผู้ต้องขังตามคำพิพากษาให้จำคุก 20 ปี คดีเอสเอ็มเอสหมิ่นสถาบัน เสียชีวิตในเรือจำพิเศษกรุงเทพฯ เมื่อ 8 พ.ค. 2555 หลังมีอาการปวดท้อง

นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ มองว่า การทำร้ายวรเจตน์ เป็นเพราะ "ท่าทีที่บังอาจถึงขนาดที่จะเป็นผู้หนึ่งที่จะปรับเปลี่ยนสถาบันกษัตริย์" และ "เราทุกคนจะต้องโดนอย่างเดียวกับที่อาจารย์วรเจตน์โดน เพราะกำลังทำสิ่งที่มันท้าทายต่ออำนาจที่ดำรงอย่างค่อนข้างยืนนานในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2490 เป็นต้นมา ไม่มีหนทางเรียบง่ายหรือสบาย อะไรจะเกิดก็ต้องพร้อมยอมรับมัน"

แต่ถึงกระนั้น ครก.112 มองว่า การต่อต้านปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์ เป็นการ "ขัดขืนความเป็นจริงทางสังคม" และ "แสดงออกอย่างไร้เหตุผล"

29 พ.ค. 2555 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มธ. และ ครก.112 นำทีมยื่นร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับ ครก.112 ต่อสภาผู้แทนราษฎร ทว่า 4 เดือนต่อมา ประธานรัฐสภา "สั่งจำหน่ายเรื่อง" โดยให้เหตุผลว่า "หลักการไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550"

ในวันที่ทราบข่าว ชาญวิทย์หลุดคำว่า "ผิดหวัง" ถึง 3 รอบในระหว่างกล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ "ทิศทางการเมืองไทยจากอดีตถึงอนาคต" แก่นักศึกษาไทยในมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ประเทศสหรัฐฯ และตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการ "เกี้ยเซี้ย" ระหว่าง "อำนาจเก่า" กับ "อำนาจใหม่" โดยที่คนข้างล่างก็ต้องรับเคราะห์รับกรรมไป

ปรากฏการณ์ "112 ริกเตอร์" จึงไปได้ไกลที่สุดแค่ "ถึงสภา" ก่อนปิดฉากลงเมื่อ "สภา 300 เสียง" ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ชิงตีตกร่างกฎหมายดังกล่าว ชนิดที่ไม่ได้เรียกเจ้าของร่างไปชี้แจงแสดงเหตุผลแม้แต่ครั้งเดียว

กว ชาการท อย ในกล ม 118 รายช อรณรงค แก ม.112

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นเมื่อ 24 ม.ค. 2555 ว่ารัฐบาลไม่มีแนวคิดในการแก้ไขมาตรา 112 ขอมุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และ "เราทุกคนต้องไม่เอาสถาบันเข้ามายุ่งเกี่ยว"

ไทยพีบีเอส-สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ปรากฏการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นทางหน้าจอโทรทัศน์เมืองไทย หนีไม่พ้น การปรากฏตัวของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มธ. ทางทีวีสาธารณะ ไทยพีบีเอส เมื่อ 6 ปีก่อน

สมศักดิ์เป็น 1 ใน 4 แขกรับเชิญของรายการ "ตอบโจทย์ประเทศไทย" ตอน "สถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ" ดำเนินรายการโดย ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา เนื้อหามี 5 ตอน กำหนดออกอากาศระหว่าง 11-15 มี.ค. 2556

ตอนที่ 1 สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีต รมว.ต่างประเทศ

ตอนที่ 2 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ มธ.

ตอนที่ 3 พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร อดีตหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ

ตอนที่ 4 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยาม

ตอนที่ 5 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และ สุลักษณ์ ศิวรักษ์

กว ชาการท อย ในกล ม 118 รายช อรณรงค แก ม.112

ที่มาของภาพ, Thai PBS News

คำบรรยายภาพ,

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ผู้นำเสนอแนวคิดปฏิรูปสถาบัน ปรากฏตัวในฟรีทีวี

พลันที่สมศักดิ์เปิดหน้าให้สัมภาษณ์ในตอนที่ 2 ว่าด้วยการปฏิรูปสถาบัน และปัญหาในการบังคับใช้มาตรา 112 ก็ได้เริ่มเกิดเสียงวิจารณ์อย่างเซ็งแซ่จากผู้คนบางส่วนในสังคม ก่อนพัฒนาเป็นการเปิดฉากถล่มรายการ พิธีกร และสถานี เมื่อเทปดีเบตระหว่าง "2 ส." สมศักดิ์-สุลักษณ์ ถูกเผยแพร่เป็นตอนที่ 4 แม้ฝ่ายหลังจะประกาศตัวเป็น "คนรักเจ้า" แต่ไม่อาจทำให้ประชาชนบางส่วนหายเคลือบแคลงสงสัยในวัตถุประสงค์ของการจัดรายการ จึงมีคำชี้แจงจากทีมงานบรรณาธิการรายการ "ตอบโจทย์ประเทศไทย" ว่า "เพื่อเปิดพื้นที่ในการพูดคุยถึงประเด็นขัดแย้งทางสังคมที่มีอยู่จริงอย่างใคร่ครวญตามแนวทางสันติ"

สุดท้ายผู้บริหารไทยพีบีเอสได้ตัดสินใจ "แขวน" เทปสุดท้ายที่ตั้งใจจะออกอากาศวันที่ 15 มี.ค. 2556 โดยอ้างเหตุผลเรื่องความปลอดภัยของสถานี หลังประชาชนที่เรียกตัวเองว่าเครือข่าย "ฅนไทยผู้รักชาติ" ราว 30 คน นำโดย ชินเทีย เอี่ยมสะอาด บุกไปชุมนุมที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถ.วิภาวดีรังสิต เพื่อกดดันให้ "งดออกอากาศ"

"ภายใต้สถานการณ์ที่ตึงเครียดและมีปัจจัยอื่นแวดล้อม อันอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของทีมงาน ทีมผู้บริหารจึงตัดสินใจชะลอการออกอากาศรายการตอบโจทย์ตอนที่ 5 เพื่อทบทวนให้เกิดความรอบด้านและพิจารณาความเหมาะสมรวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้น" แถลงการณ์ฉบับวันที่ 15 มี.ค. 2555 ซึ่งลงนามโดย สมชัย สุวรรณบรรณ ผอ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ระบุตอนหนึ่ง

อย่างไรก็ตามผู้บริหารไทยพีบีเอสอ้างว่า "ตัดสินใจโดยไม่มีแรงกดดัน" จากภายนอก และจะนำเรื่องร้องเรียนเข้าสู่การพิจารณาของอนุกรรมการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ตามมาตรา 46 พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551

คำบรรยายวิดีโอ,

ส.ศิวรักษ์ เกิดในรัชสมัยของรัชกาลที่ 7 เขาผ่านชีวิตใต้ร่มพระบารมีของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีมา 4 พระองค์

ในวันที่รายการหายไปจากจอ เพจเฟซบุ๊กของรายการ "ตอบโจทย์ประเทศไทย" ก็ปิดตัวลงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น เหลือไว้เพียงข้อความสุดท้ายจาก ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ผู้ดำเนินรายการ

"ผมและทีมงานทุกคนมีมติเป็นเอกฉันท์ ขอยุติการทำรายการ 'ตอบโจทย์ประเทศไทย' นับจากบัดนี้เป็นต้นไป เนื่องจากไม่สามารถตอบโจทย์ได้อีกต่อไปว่าเรายังจะรักษาความเชื่อมั่นในเสรีภาพของสื่อสารมวลชน ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญไว้ได้อย่างไร เรายินดีเลือกที่จะสละรายการเพื่อรักษาหลักการ เรายินดีที่จะถูกประณาม คุกคาม เพื่อจะจุดไฟท่ามกลางความมืดหวาดขลาดกลัวต่อการสนทนาเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ให้สว่างไสว เพื่อนำการกล่าวร้ายโจมตีในที่มืดออกสู่ที่แจ้ง ให้คนได้ถกแถลงแสดงเหตุผลและหักล้างกันด้วยปัญญา มิใช่อารมณ์" ภิญโญระบุในแถลงการณ์เมื่อ 16 มี.ค. 2555

อย่างไรก็ตาม เทปดีเบตของสมศักดิ์-สุลักษณ์ตอนสุดท้ายได้กลับมาฉายในวันที่ 18 มี.ค. 2556 ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวของฝ่ายผู้เห็นต่างในระลอกใหม่