ร ฐไหน ประเทศอ งกฤษ ไม ม ว ดไทย

ถึงวันที่ 10 พ.ย. มีผู้ไปลงชื่อเสนอร่างกฎหมายยกเลิก มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ในการรณรงค์ "หมดเวลา 112" (www.no112.org) ที่เสนอโดยนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ นายอานนท์ นำภา และคณะ มากกว่า 214,000 รายชื่อแล้ว

นอกจากตัวเลขที่เพิ่มเป็นหลักแสนในช่วงเวลาไม่กี่วัน สถิติอื่น ๆ ได้ทำให้เราเห็นแล้วว่าข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (lese-majeste law) ได้กลับมาเป็นประเด็นถกเถียงหลักในสังคมอีกครั้งในระดับประเทศ

ในระดับนานาชาติ ที่ประชุม"การทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะ" (Universal Periodic Review หรือ UPR) ครั้งที่ 3 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เมื่อ 10 พ.ย. ตัวแทนจากชาติประชาธิปไตยตะวันตก ได้แก่ เบลเยียม แคนาดา ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี นอร์เวย์ สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ได้เรียกร้องในที่ประชุมให้ไทยดำเนินการแก้ไขหรือทบทวนประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือที่มักเรียกว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยชี้ว่ากฎหมายมาตรานี้เป็นเครื่องมือในการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก ขณะที่สหรัฐฯ แสดงความกังวลต่อ "การขยายขอบเขต" การใช้กฎหมายนี้ และผลกระทบที่มีต่อเสรีภาพในการแสดงออก

ตั้งแต่ พ.ย. ปีที่แล้วถึงปลาย ต.ค. ปีนี้ มีผู้ถูกดำเนินคดี ม.112 จำนวน 154 คนใน 159 คดี โดยเป็นเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี 12 คน โดยนายพริษฐ์ หรือ "เพนกวิน" ถูกดำเนินคดีมากที่สุดถึง 21 คดี

กฎหมายมาตรานี้ระบุว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี"

นอกจากนี้ ประเด็นดังกล่าวก็ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองกระแสหลัก จุดยืนเรื่อง ม.112 ของพรรคและนักการเมืองเป็นปัจจัยชี้ขาดสำหรับหลายคนว่าจะหันมาหรือเลิกสนับสนุนคนและพรรคเหล่านั้นอยู่หรือไม่ จากกรณีที่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ที่บอกว่า "ตัวกฎหมายไม่เคยมีปัญหา...", แถลงการณ์พรรคก้าวไกลที่บอกว่า "...มีปัญหาในทุกมิติ ...จะพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อแก้ไข ม.112" ไปจนถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่พูดในนามนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและพรรคร่วมรัฐบาล ว่า "เราไม่มีนโยบายในการแก้ไขมาตรา 112 อย่างแน่นอน" เป็นต้น

ขณะที่ความพยายามจะแก้ไขและรักษากฎหมายนี้ยังปะทะกันต่อไป บีบีซีไทยชวนดูกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา

สหราชอาณาจักร

ร ฐไหน ประเทศอ งกฤษ ไม ม ว ดไทย

ที่มาของภาพ, Reuters

ปัจจุบันสหราชอาณาจักรไม่ได้ใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ย้อนไปเมื่อปี 2010 สกอตแลนด์ได้ยกเลิกกฎหมายอาญาที่ว่าด้วยความผิดฐานปลุกระดมและดูหมิ่นประมุขของรัฐนั่นก็คือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง ไปแล้ว

จากรายงานการประชุมพิจารณายกเลิกกฎหมายในครั้งนั้น เฟอร์กัส อิววิง รัฐมนตรีด้านความปลอดภัยชุมชนของสกอตแลนด์ บอกว่า ถึงเวลาที่สกอตแลนด์ต้องยกเลิกความผิดอาญาฐานปลุกระดมและการดูหมิ่นตามชาติอื่น ๆ ในสหราชอาณาจักรแล้ว

นายอิววิง บอกว่า บทบัญญัติเหล่านี้เป็นแค่ของแปลกไว้ให้นักเรียนกฎหมายได้ครุ่นคิดเพื่อความสนุกสนาน และที่สำคัญกว่านั้น การที่สหราชอาณาจักรมีกฎหมายเหล่านี้อยู่เป็นการเปิดทางให้คณะผู้ปกครองในประเทศต่าง ๆ ที่กดขี่ประชาชนตัวเองใช้เป็นข้ออ้างง่าย ๆ ที่จะใช้กฎหมายในลักษณะเดียวกัน

"ในประเทศเหล่านั้น นอกจาก[กฎหมายนั้น]จะส่งผลกระทบที่น่ากังวล - ผู้คนกลัวเกินไปที่จะวิพากษ์วิจารณ์ทางการและชนชั้นนำ - แต่ประชาชนก็ถูกดำเนินคดีอยู่เป็นประจำเพราะการแสดงออกด้วย" นายอิววิง กล่าว

เขาบอกว่าการยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ หรือที่ใช้คำว่า "leasing-making" ในกฎหมายสกอตแลนด์ จะช่วยให้สหราชอาณาจักรมี "อำนาจทางศีลธรรม" มากขึ้นเวลาต้องเจรจากับรัฐที่กดขี่ประชาชน

อย่างไรก็ดี การยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในครั้งนั้นก็เป็นการกระทำในเชิงทฤษฎีเท่านั้น โดยนายอิววิงบอกว่าไม่มีรายงานว่ามีการดำเนินคดีนี้ตั้งแต่ปี 1715 แล้ว

ร ฐไหน ประเทศอ งกฤษ ไม ม ว ดไทย

ที่มาของภาพ, Getty Images

นอกจากกฎหมายดังกล่าวแล้ว สิ่งที่ใกล้เคียงกับกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ที่สุดน่าจะเป็นพระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848 (Treason Felony Act 1848)

รายงานข่าวของหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนเมื่อปี 2013 ระบุว่า แม้ว่ากฎหมายนี้จะไม่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ปี 1897 หรือ 124 ปี มาแล้ว แต่ก็ยังมีอยู่ นั่นหมายความตามมาตราที่ 3 ของพระราชบัญญัตินั้น การสนับสนุนการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ แม้จะทำอย่างสันติก็ตาม ถือเป็นความผิดอาญาโดยมีโทษจำคุกตลอดชีวิต

ย้อนไปเมื่อปี 2001 เดอะการ์เดียน ซึ่งได้ริเริ่มรณรงค์การก่อตั้งสาธารณรัฐก่อนหน้านั้น ได้ยื่นเรื่องต่อศาลให้ยกเลิกกฎหมายโบราณฉบับนี้โดยให้เหตุผลว่าขัดต่อเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งถูกรับรองในพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน ปี 1998 แต่แล้วก็ถูกสภาขุนนางปัดเรื่องตกไปโดยให้เหตุผลว่าไม่มีความจำเป็น เพราะว่าเดอะการ์เดียนก็เคยตีพิมพ์บทความที่สนับสนุนการปกครองแบบสาธารณรัฐและก็ไม่เคยถูกดำเนินคดีแต่อย่างใด

ยุโรป

ร ฐไหน ประเทศอ งกฤษ ไม ม ว ดไทย

ที่มาของภาพ, AFP

คำบรรยายภาพ,

สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 กษัตริย์สเปน

สเปน

เมื่อกลางเดือน ก.พ. ปีนี้ แร็ปเปอร์ชาวสเปน ปาโบล แคสเซล ถูกตัดสินจำคุก 9 เดือน ข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์และสถาบันต่าง ๆ ของรัฐ และเชิดชูการก่อการร้าย จากการข้อความในทวิตเตอร์และเนื้อเพลงของเขา

คืนก่อนหน้าที่เขาจะถูกบุกเข้าจับกุมหลังเข้าไปขังตัวเองอยู่ในมหาวิทยาลัยแยย์ดาในแคว้นคาตาลูญญา เขาทวีตข้อความบอกว่า "เราไม่สามารถปล่อยให้พวกเขากำหนดได้ว่าเราสามารถพูดอะไรได้ รู้สึกอะไรได้ และทำอะไรได้" โดยบอกว่าเขาจะเข้าคุกด้วยความภาคภูมิใจและเลือกที่จะไม่ลี้ภัยด้วย

ร ฐไหน ประเทศอ งกฤษ ไม ม ว ดไทย

ที่มาของภาพ, Reuters

คำบรรยายภาพ,

ปาโบล แคสเซล ถูกบุกเข้าจับกุมหลังเข้าไปขังตัวเองอยู่ในมหาวิทยาลัยแยย์ดาในแคว้นคาตาลูญญา

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 490 ของสเปนระบุว่า บุคคลใดที่พูดจาให้ร้ายหรือหมิ่นประมาทกษัตริย์ ราชินี รัชทายาท และสมาชิกราชวงศ์ จะถูกจำคุกระหว่าง 6 เดือนถึง 2 ปี

นอกจากกล่าวหาสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 กษัตริย์สเปน และพระราชบิดา อดีตกษัตริย์ฮวน คาร์ลอส ว่าก่ออาชญากรรมหลายข้อหาแล้ว ทวีตและเนื้อเพลงของปาโบลยังกล่าวหาว่าตำรวจทรมานและสังหารผู้ประท้วงและผู้อพยพด้วย

ร ฐไหน ประเทศอ งกฤษ ไม ม ว ดไทย

ที่มาของภาพ, EPA

คำบรรยายภาพ,

การจับกุม ปาโบล แคสเซล ทำให้เกิดกระแสประท้วงในหลายเมืองของสเปนรวมถึงบาร์เซโลนา

ย้อนไปเมื่อปี 2018 แร็ปเปอร์ชื่อ วาทอนิค (Valtònyc) โดนศาลตัดสินจำคุกข้อหาเชิดชูการก่อการร้ายและดูหมิ่นราชวงศ์สเปน หลังจากที่บอกว่าจะยิงนักการเมืองฝ่ายขวาและก็มีบ่วงแขวนคอสำหรับใช้กับกษัตริย์สเปน

  • ทรัพย์สินลับของอดีตกษัตริย์สั่นคลอนราชบัลลังก์สเปน
  • อดีตกษัตริย์สเปนเสด็จฯ ต่างแดน หลังคดีทุจริตอื้อฉาว
  • อดีตกษัตริย์สเปน ชู้รัก และเรื่องฉาวในราชสำนัก

ร ฐไหน ประเทศอ งกฤษ ไม ม ว ดไทย

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

วาทอนิค

เดนมาร์ก

มาตรา 268 ของประมวลกฎหมายอาญา ระบุว่า บุคคลใดที่ว่าร้ายผู้อื่นโดยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริงอาจถูกจำคุกสูงสุด 2 ปี โดยมาตรา 115 ระบุว่า หากเป็นการว่าร้ายกษัตริย์ โทษดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าซึ่งเท่ากับว่าไม่เกิน 4 ปี ส่วนหากเป็นการกระทำต่อพระราชินีและรัชทายาทให้เพิ่มโทษดังกล่าวขึ้นครึ่งหนึ่งซึ่งก็คือไม่เกิน 3 ปี

ร ฐไหน ประเทศอ งกฤษ ไม ม ว ดไทย

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และเจ้าชายเฮนริก

ย้อนไปเมื่อปี 2011 เว็บไซต์ข่าว Politicken ของเดนมาร์กรายงานว่า นักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมสองคนจะโดนตั้งข้อหากระทำผิดตามมาตรา 115 หลังจากบุกเข้าไปประท้วงระหว่างงานเลี้ยงรับรองระหว่างการประชุม COP15 เมื่อปี 2009 ที่กรุงโคเปนเฮเกน ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นประธาน

อย่างไรก็ดี ในเดือน ส.ค. ปี 2011 เว็บไซต์ข่าวเดอะการ์เดียนรายงานว่า นักเคลื่อนไหว 11 คนที่มีส่วนร่วมในการบุกเข้าไปในครั้งนั้น ถูกตัดสินจำคุกเพียงสองสัปดาห์โดยรอลงอาญาเท่านั้น

ร ฐไหน ประเทศอ งกฤษ ไม ม ว ดไทย

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์และสมเด็จพระราชินีแม็กซิมา

เนเธอร์แลนด์

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 111 ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 1881 ระบุว่า ผู้ที่ดูหมิ่นกษัตริย์อาจถูกจำคุกได้สูงสุด 5 ปี ส่วนการดูหมิ่นพระราชินี รัชทายาท หรือคู่สมรสของรัชทายาท มีโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี ตามมาตรา 112

อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากเว็บไซต์ Overheid.nl ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานรัฐบาลต่าง ๆ ระบุว่า มาตรา 111 และ 112 สิ้นผลบังคับใช้ไปตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ปี 2020 ซึ่งน่าจะหมายความว่าบุคคลที่ว่าร้ายและดูหมิ่นกษัตริย์และสมาชิกราชวงศ์จะถูกตัดสินด้วยโทษเดียวกับประชาชนทั่วไป

ย้อนไปเมื่อปี 2016 ชายชาวดัตช์วัย 40 ปี ถูกศาลตัดสินจำคุก 30 วัน หลัง "ตั้งใจดูหมิ่น" โดยกล่าวหาสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ผ่านทางเฟซบุ๊กว่าเป็นฆาตกร ขโมย และผู้ข่มขืน

ย้อนไปตอนนั้น มีพรรคการเมืองในเนเธอแลนด์ที่เสนอยกเลิกกฎหมายนี้และสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ก็ทรงให้คำมั่นสัญญาว่าจะยอมรับไม่ว่าผลลัพธ์การถกเถียงเรื่องนี้จะออกมาแบบไหน

  • นายกฯ ดัตช์ชี้ มกุฎราชกุมารีสามารถอภิเษกสมรสกับสตรีได้
  • เกิดอะไรขึ้นในเนเธอร์แลนด์ เมื่อกษัตริย์นักบินขอขมาราษฎร
  • กษัตริย์เนเธอร์แลนด์เผยความลับเรื่องทรงงานเป็นนักบินพาณิชย์

ร ฐไหน ประเทศอ งกฤษ ไม ม ว ดไทย

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป แห่งเบลเยียม

เบลเยียม

ว็บไซต์ข่าวโพลิติโค (Politico) ระบุว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเบลเยียมจากปี 1847 กำหนดให้ผู้ทำผิดอาจต้องรับโทษถึง 3 ปี อย่างไรก็ดี คำพิพากษาของศาลเบลเยียมกรณีที่สเปนต้องการจะขอให้ส่งตัว วาทอนิค แร็ปเปอร์ชาวสเปน ซึ่งลี้ภัยอยู่ที่เบลเยียมก็ทำให้เห็นตำแหน่งแห่งที่ของกฎหมายนี้ประเทศ

สื่อท้องถิ่นในแคว้นคาตาลูญญาของสเปนรายงานเมื่อปลาย ต.ค. ที่ผ่านมาว่า ศาลรัฐธรรมนูญเบลเยียมตัดสินว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของประเทศไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเพราะไม่ให้ความเคารพต่อเสรีภาพในการแสดงออกและก็ยังขัดต่ออนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European Convention on Human Rights หรือ ECHR) ด้วย

สวีเดน

ข้อมูลจากสถาบันสื่อมวลชนนานาชาติระบุว่า การดูหมิ่นกษัตริย์และสมาชิกราชวงศ์ยังเป็นความผิดทางอาญา โดยมีโทษถึง 4 ปี หรือ 6 ปี ถ้าเป็นการดูหมิ่นอย่างร้ายแรง

  • "ทำผิด" แบบไหน ถึงโดนแจ้งข้อหาตามมาตรา 112
  • กษัตริย์เบลเยียม “เสียพระทัยอย่างที่สุด”ต่อความโหดร้ายที่ประเทศเคยทำสมัยปกครองคองโก
  • กัมพูชาออกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
  • สมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ผู้นำพาญี่ปุ่นสู่อนาคต

เอเชีย

ร ฐไหน ประเทศอ งกฤษ ไม ม ว ดไทย

ที่มาของภาพ, AFP/GETTY IMAGES

คำบรรยายภาพ,

สมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ทรงเริ่มต้นรัชสมัย "เรวะ" ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2019

ญี่ปุ่น

สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า กฎหมายหมิ่นลักษณะนี้ในญี่ปุ่นถูกยกเลิกหลังสงครามโลกครั้งที่สองโดยนายพลดักลาส แมกอาเธอร์ ของสหรัฐฯ ที่บอกว่า สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น "มีกฎหมายปกป้องไม่มากไม่น้อยไปกว่าที่มีให้กับประชาชนคนอื่น ๆ ในญี่ปุ่น"

มาเลเซีย

หนังสือพิมพ์เดอะสเตรทไทม์สรายงานเมื่อปี 2019 ว่า เลียว วุย เคียง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ไม่มีแผนจะเดินตามรอยออกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแบบไทย

จากข้อมูลโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) กฎหมายการยุยงปลุกปั่นปี 1948 (The Sedition Act of 1948) ของมาเลเซียระบุว่า กระทำการซึ่งก่อให้เกิดความเกลียดชัง ต่อรัฐบาล ศาล ประมุขแห่งรัฐ (สุลต่าน) และความเกลียดชัง ระหว่างเชื้อชาติหรือ ชนชั้น มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 ริงกิต (เกือบ 40,000 บาท)

กัมพูชา

ย้อนไปเมื่อเดือน ก.พ. ปี 2018 รัฐบาลกัมพูชาอนุมัติกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี สำหรับผู้กระทำผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์

ร ฐไหน ประเทศอ งกฤษ ไม ม ว ดไทย

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

สถาบันกษัตริย์กัมพูชามักถูกมองว่ามีบทบาทเป็นเพียงสัญลักษณ์ของชาติ พระราชอำนาจของกษัตริย์ลดลงอย่างมากในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา หลังจากนายฮุน เซน เข้าบริหารประเทศ ด้านองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนมองว่า กฎหมายใหม่อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ในประเทศที่ศาลมักถูกกล่าวหาว่ากระทำตามบัญชาของสมเด็จฮุน เซน