ม.ราม ภ ม ภาค ร บบ ตรน กศ กษาท ไหน

มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ส่วนกลาง) เลขที่ 2086 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10240

Show

วิทยาเขตมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตปัจฉิมสวัสดิ์ - สุวรรณภาศรี ซอยรามคําแหง 2 แขวงดอกไม้ เขต ประเวศ กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10250หนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหงเพลง ต้นไม้มาร์ชรามคำแหง สุพรรณิการ์สี น้ำเงิน ทองฉายา"ลูกพ่อขุน"เครือข่ายASAIHLเว็บไซต์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อังกฤษ: Ramkhamhaeng University; อักษรย่อ: มร. – RU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ดำเนินการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา อันเป็นระบบเดียวกับ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในอดีต) ซึ่งรับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่มีการสอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน

หลักการและเหตุผล[แก้]

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากประเทศไทยมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้นักเรียน นักศึกษา ไม่มีที่เล่าเรียน ดังปรากฏปัญหาเป็นประจำมาทุก ๆ ปี เพราะมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีนักศึกษาเป็นจำนวนมาก แต่ที่เล่าเรียนคับแคบ ไม่อาจรับนักศึกษาเพิ่มจำนวนขึ้นได้ และเพื่อให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นตลาดวิชา รับนักศึกษาได้ทั่วไป โดยมาฟังคำสอนที่มหาวิทยาลัยก็ได้ หรือ จะรับซื้อคำสอนจากมหาวิทยาลัยไปเรียนด้วยตนเองแล้วมาสมัครสอบ ก็ได้ เป็นการให้การศึกษาแก่ชนทุกชั้น เพื่อสร้างคุณภาพความรู้ความสามารถของประชาชนคนไทยให้สูงขึ้นทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ และเป็นการสกัดกั้นมิให้นักศึกษาไปหาที่เล่าเรียนในต่างประเทศ อันเป็นการสูญเสียเงินตราต่างประเทศปีหนึ่ง ๆ มิใช่น้อย และเป็นการแก้ปัญหาข้อกล่าวว่า นักศึกษาไม่มีที่เล่าเรียนจะได้หมดสิ้นไป

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยรามคำแหงก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 บนบริเวณที่ดินประมาณ 300 ไร่เศษ บนถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร

เดิมมหาวิทยาลัยในประเทศไทยช่วงก่อน พ.ศ. 2490 เป็นมหาวิทยาลัยในรูปแบบปิด ต้องสอบคัดเลือก มีเพียงมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ที่เป็นมหาวิทยาลัยในรูปแบบตลาดวิชา ไม่มีการสอบคัดเลือกและเปิดรับทุกคนที่ต้องการศึกษาเล่าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2490 มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองถูกบีบบังคับให้เปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" และภายหลังจึงถูกแปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยปิด เมื่อ พ.ศ. 2495 ทำให้มหาวิทยาลัยในประเทศไทยทั้งหมดต้องสอบคัดเลือก และเกิดการตกค้างของผู้ที่ต้องการเรียนต่อระดับอุดมศึกษาแต่ไม่สามารถสอบติดมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก จนเกิดการขาดแคลนสถาบันอุดมศึกษา แม้จะมีการเปิดมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอื่น ๆ เพิ่มเติม ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนสถาบันอุดมศึกษาได้ ภายหลังจึงมีผู้เสนอให้มีการนำรูปแบบของอดีตมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง กลับมาเปิดเป็นมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ และเป็นที่มาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 กำหนดให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยแบบตลาดวิชา กล่าวคือ ให้เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักศึกษา โดยไม่จำกัดจำนวน และไม่มีการสอบคัดเลือกนับตั้งแต่ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2514 ทั้งนี้เพื่อแก้ไขการขาดแคลนสถานที่เรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในขณะนั้น ต่อมาได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541 ขึ้นใช้บังคับแทนกฎหมายฉบับเดิม

การตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2512 คือ ประมวล กุลมาตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคสหประชาไทย โดยในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่ได้ระบุชื่อมหาวิทยาลัย และสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2512 โดยตั้งคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งมี พลเอก ประภาส จารุเสถียร เป็นประธานกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยละเอียด คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งกำหนดชื่อมหาวิทยาลัยในร่างพระราชบัญญัตินั้นว่า "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ..." โดย แคล้ว นรปติ ส.ส. จังหวัดขอนแก่น เป็นผู้เสนอให้ใช้ชื่อมหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514

ระยะแรก คณะรัฐมนตรีได้อนุญาตให้ใช้อาคารสถานที่แสดงสินค้านานาชาติ ที่ ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร เป็นที่ตั้งชั่วคราว จนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2515 จึงได้อนุญาตให้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งถาวร และได้มีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ สถานที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2515 โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่นแรก ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ซึ่งถือว่าเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้วันที่ 26 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยรามคำแหง

ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล จึงจัดให้มีการบรรยายในชั้นเรียน สำหรับผู้ที่จะเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน และจัดให้มีสื่อการสอนทางไกลเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง เช่น ตำราเรียน การบรรยายผ่านวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้นักศึกษาที่มีภาระการงาน หรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเดินทางมาเรียนอย่างสม่ำเสมอได้ อย่างไรก็ตาม ในบางสาขาวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติหรือจำเป็นต้องศึกษาจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยหรือภาควิชาอาจกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน โดยเฉพาะคณะวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะอื่น ๆ ในบางรายวิชา

ที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงและวิทยาเขต[แก้]

มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ส่วนกลาง)[แก้]

แรกเริ่มที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่แสดงสินค้านานาชาติที่ ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ (ขณะนั้น) จำนวน 300 ไร่เศษ เป็นสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัย ระยะแรกที่ทำการเปิดสอนได้ใช้อาคารแสดงสินค้าที่มีอยู่เดิมเป็นที่ทำการและห้องเรียนของมหาวิทยาลัย ต่อมาได้มีการก่อสร้างอาคารที่ทำการคณะ/สำนัก/สถาบัน รวมทั้งอาคารเรียน ฯลฯ เพิ่มขึ้นแทนอาคารแสดงสินค้าเดิมเหล่านั้น จะเห็นว่า ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงไปมาก บริเวณของมหาวิทยาลัยเต็มไปด้วยอาคารหลากหลายที่ทันสมัย บรรยากาศเป็นมหาวิทยาลัยวิชาการ อีกทั้งภูมิทัศน์สวยงาม สะอาด และสะดวกสบาย

มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก เป็นสถานที่ตั้งที่ทำการของทุกคณะ/สำนัก/สถาบันต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางการบริหารและการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตปัจฉิมสวัสดิ์ – สุวรรณนภาศรี (รามคำแหง 2 – บางนา)[แก้]

มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้จัดตั้ง วิทยาเขตปัจฉิมสวัสดิ์ – สุวรรณนภาศรี (วิทยาเขตบางนา) ในปี พ.ศ. 2522 (และเริ่มเปิดทำการสอนปี พ.ศ. 2527) บนที่ดินที่ได้รับการบริจาค จำนวน 150 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 8 ถนนบางนา-ตราด เพื่อรองรับการขยายตัวของจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วิทยาเขตบางนาจึงใช้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนกระบวนวิชาชั้นปีที่ 1 ของระดับปริญญาตรีทุกสาขา ต่อมาได้ใช้เป็นสถานที่สอนระดับปริญญาโทบางโครงการ

มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย ขึ้น เพื่อการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งได้มีการจัดการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งหลักสูตรโครงการพิเศษต่าง ๆ จังหวัดสุโขทัยนั้นในอดีตคือกรุงสุโขทัยในยุคสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ได้มีมติเห็นชอบโครงการยกฐานะ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย เป็นมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย ในการนี้ มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้รับงบประมาณแผ่นดินเตรียมการก่อสร้างอาคารเรียน ฯลฯ เปิดสอนคณะธุรกิจการบริการ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ รวมไปถึงปริญญาตรีส่วนภูมิภาค เปิดที่สาขาวิทยบริการแห่งนี้ด้วย

พื้นที่การศึกษา[แก้]

ม.ราม ภ ม ภาค ร บบ ตรน กศ กษาท ไหน
ภาพถ่ายทางอากาศของมหาวิทยาลัยรามคำแหงและศูนย์กีฬาหัวหมาก

มหาวิทยาลัยรามคำแหง แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 5 ส่วน กับ 1 วิทยาเขต และ 1 ศูนย์การศึกษา (วิทยาเขต)

  • ส่วนที่ 1 คือส่วนของพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี (กองคลัง กองแผนงาน), อาคารวิทยบริการและบริหาร (กองบริการการศึกษา), อาคารเรียนรวม (เวียงคำ), อาคารเรียนรวม (เวียงผา), ธนาคารทหารไทย สาขามหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก), อาคารคณะรัฐศาสตร์ 1, อาคารศรีศรัทธา (อาคารคณะรัฐศาสตร์ 2), อาคารจอดรถพิเศษ 8 ชั้น, อาคารสำนักพิมพ์, สถาบันการศึกษานานาชาติ, โรงกลาง (โรงอาหารกลาง), อาคารนพมาศ (บัณฑิตศึกษา), หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช, อาคารบรรยายรวม (กงไกรลาศ), อาคารห้องน้ำชาย-ห้องน้ำหญิง, อาคารบรรยายรวม (ศิลาบาตร), เซเว่นอีเลฟเว่น สาขาที่ 14146, อาคารศิลาบาตร (SBB), ศูนย์ฝึกซ้อมกอล์ฟในร่ม KLB 601, สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล, ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก), อาคารงานแพทย์และอนามัย
  • ส่วนที่ 2 คือส่วนพื้นที่การจัดศึกษา ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ, อาคารบรรยายรวมคณะบริหารธุรกิจ, อาคารท่าชัย (บัณฑิตวิทยาลัย), อาคารสุโขทัย เป็นที่ตั้งของ (คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะสื่อสารมวลชน คณะทัศนมาตรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ สถาบันภาษา สถาบันบริการวิชาการทางอิเล็กทรอนิกส์ โครงการพิเศษปริญญาโท), ธนาคารออมสิน สาขามหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก), อาคารคณะเศรษฐศาสตร์ 1 และ 2, อาคารสถาบันคอมพิวเตอร์, สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษา, อาคารโรงยิม 4, อาคารห้องน้ำชาย-ห้องน้ำหญิง, ตึกรับส่งข้อสอบ
  • ส่วนที่ 3 ครอบคลุมไปยัง อาคารเบกพล, ที่ทำการคณะนิติศาสตร์ (1), คณะนิติศาสตร์ใหม่ (2), ที่ก่อสร้างอาคาร สำนักหอสมุดกลางแห่งใหม่ สำนักหอสมุดกลาง, อาคารสวรรคโลก, คณะศึกษาศาสตร์ (1), คณะศึกษาศาสตร์ (2), สำนักกีฬา, สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยรามคำแหง, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายประถม, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง (อนุบาล), สนามเทนนิส, โรงยิม 2, โรงยิม 3, อาคารเบกพล (กองอาคารและสถานที่)
  • ส่วนที่ 4 เป็นที่ตั้งของ คณะมนุษยศาสตร์ 1 และ 2, คณะวิทยาศาสตร์, อาคารเรียนคณะวิทยาศาสตร์, อาคารคีรีมาศ (อาคารปฏิบัติการคณะวิทยาศาสตร์), โรงอาหาร, คณะวิศวกรรมศาสตร์, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายมัธยม, อาคารเรียนศรีจุฬาลักษณ์ (ของคณะมนุษยศาสตร์), อาคารเรียนพิริยราม (คณะศึกษาศาสตร์ และปริญญาโทโครงการพิเศษ), อาคารของภาควิชาสถิติ, โรงยิม 1
  • ส่วนที่ 5 เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช, สระน้ำ, พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์เป็นพระที่นั่งปราสาทโถงกลางสระน้ำ สร้างในแบบปราสาทจตุรมุข
  • ส่วนที่ 6 เป็นที่ตั้งของ กองงานวิทยาเขตบางนา จัดการเรียนการสอนของ นักศึกษาชั้นปริญญาตรี ปีที่ 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 และปริญญาโท ตั้งแต่ พ.ศ. 2541 ธนาคารออมสินสาขามหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 (วิทยาเขตบางนา)
  • ส่วนที่ 7 อยู่ที่จังหวัดสุโขทัย ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ได้มีมติเห็นชอบโครงการยกฐานะ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย เป็นมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย ในการนี้ มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้รับงบประมาณแผ่นดินเตรียมการก่อสร้างอาคารเรียน ฯลฯ คณะธุรกิจการบริการ และคณะสาธารณสุขศาสตร์

นอกจากนี้ยังมีส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นหน่วยจัดการเรียนการสอนและพื้นที่ในความดูแลของมหาวิทยาลัย คือ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ต่างจังหวัด 23 แห่ง จัดการเรียนการสอนปริญญาตรี, โท (บางคณะ) และสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ[แก้]

มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เริ่มขยายการเรียนการสอนสู่ต่างประเทศ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ปวงชนชาวไทยในต่างประเทศทั่วโลก เพื่อนำการอุดมศึกษาไทยสู่สากลอย่างเป็นรูปธรรม และพัฒนาการอุดมศึกษาไทยแข่งขันในเวทีการศึกษาโลก พัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมทั้งสร้างชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยรามคำแหงและประเทศชาติให้กว้างไกลทั่วสากล หลักสูตรที่เปิดสอนในต่างประเทศ เปิดสอนระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และกำลังจะเปิดสอนระดับปริญญาเอก ปัจจุบัน ขยายสู่ 29 ประเทศทั่วโลก มีศูนย์สอบ 38 แห่งในประเทศต่าง ๆ และกำลังขยายเพิ่มขึ้น การจัดสอบได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกระทรวงการต่างประเทศ ในการให้ความอนุเคราะห์สถานที่สอบ และการดำเนินการจัดสอบ ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย และสถานกงสุลใหญ่ในประเทศต่าง ๆ ที่มีผู้สมัครเรียน ประเทศที่มีศูนย์สอบมหาวิทยาลัยรามคำแหง 29 ประเทศ

สถาปัตยกรรมที่สำคัญในมหาวิทยาลัย[แก้]

  • พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เป็นจุดเด่นของพระราชวังบางปะอิน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งในมหาวิทยาลัยรามคำแหงก็มีพระที่นั่งจำลององค์นี้ ตั้งอยู่กลางสระน้ำ ด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นสัญลักษณ์ที่ชาวรามคำแหงภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
  • เรือสุพรรณหงส์จำลอง อยู่กลางสระน้ำภายในเรือประดิษฐานพระพุทธรูปจำลอง ซึ่งมีความสวยงามโดดเด่น
  • พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ท่านไว้กลางมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า "ลานพ่อขุน" ที่นี่ จึงเป็นจุดรวมใจของชาวรามคำแหงทั้งมวล
  • ศาลาไทยประยุกต์ อยู่หน้าอาคารสุโขทัย เป็นศาลาประยุกต์ กลางน้ำ จัดเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานร่วมสมัย
  • หอนาฬิกา จัดเป็นหอนาฬิกาขนาดใหญ่ มีความสูงเท่ากับตึก 4 ชั้น หน้าปัด เป็นสถาปัตยกรรมศิลาจารึก เป็นกระจกสีฟ้า เดินเวลาแบบดิจิตอล
  • หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นอาคารแบบประยุกต์ 2 ชั้น โดยด้านหน้ามีหลังคาเป็นศิลาจารึก โดยภายในอาคารมีห้องรับรองไว้สำหรับเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมาประกอบพระกรณียกิจที่มหาวิทยาลัย และใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย

วิชาการ[แก้]

มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2514 ซึ่งในครั้งแรกเปิดสอนใน 4 คณะ คือ คณะนิติศาสตร์, คณะบริหารธุรกิจ, คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ โดยมีผู้สนใจสมัครเป็นนักศึกษาในครั้งแรกจำนวน 37,198 คน ต่อมาใน พ.ศ. 2517 ได้เปิดเพิ่มอีกสามคณะ คือ คณะวิทยาศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ กระทั่งในปี พ.ศ. 2540 ได้เปิดสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์ เนื่องจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีผู้สนใจเข้าศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก จนสถานที่เรียนที่หัวหมากเริ่มแออัด มหาวิทยาลัยจึงได้ เปิดวิทยาเขตรามคำแหง 2 หรือวิทยาเขตบางนา ขึ้นในปี พ.ศ. 2527 ที่ถนนบางนา-ตราด กม. 8 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ บนเนื้อที่ 150 ไร่เศษ โดยใช้เป็นที่เรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล จึงจัดให้มีการบรรยายในชั้นเรียน สำหรับผู้ที่จะเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน และจัดให้มีสื่อการสอนทางไกลเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง เช่น ตำราเรียน การบรรยายผ่านวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ นักศึกษาที่มีภาระการงาน หรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเดินทางมาเรียนอย่างสม่ำเสมอได้ อย่างไรก็ตาม ในบางสาขาวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติหรือจำเป็นต้องศึกษาจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยหรือภาควิชาอาจกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน โดยเฉพาะ คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะอื่น ๆ ในบางรายวิชา

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีกระบวนวิชาที่เปิดสอน ในระดับปริญญาตรีประมาณ 2,600 กระบวนวิชา ระดับปริญญาโท 130 กระบวนวิชาจัดการศึกษาครอบคลุมทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทุกระดับจำนวนทั้งสิ้น 256 หลักสูตร เป็นระดับปริญญาตรี 111 หลักสูตร, ประกาศนียบัตรบัณฑิต 8 หลักสูตร, ปริญญา จัดการสอนในหลักสูตรระดับอนุปริญญา 23 สาขาวิชา, ระดับปริญญาตรี 60 สาขาวิชา, ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 สาขาวิชาระดับ, ปริญญาโท 30 สาขาวิชา โดยมีคณะวิชาที่รับผิดชอบ 8 คณะ และหน่วยงานเทียบเท่าคณะรับผิดชอบการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาอีก 1 หน่วยงาน รวมทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรปริญญาเอก, หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ และเปิดคณะศิลปกรรมศาสตร์, คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, คณะธุรกิจการบริการ และคณะสาธารณสุขศาสตร์

กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์[แก้]

  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • คณะรัฐศาสตร์
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะมนุษยศาสตร์
  • คณะสื่อสารมวลชน
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • คณะธุรกิจการบริการ
  • สถาบันการศึกษานานาชาติ
  • สำนักวิชาสังคมศาสตร์

กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[แก้]

  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์

กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ[แก้]

  • คณะสาธารณสุขศาสตร์
  • คณะทัศนมาตรศาสตร์
  • คณะพยาบาลศาสตร์
  • โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์
  • โครงการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์
  • โครงการจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์

นอกจากนี้ ยังมีหลายหน่วยงานที่จัดหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา เช่น สถาบันภาษา, กองกิจการนักศึกษา เป็นต้น อีกทั้งมหาวิทยาลัยยังมีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนเฉพาะระดับสูงกว่าปริญญาตรีอีกด้วย อันได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง และสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง|สถาบันภาษา

กลุ่มบัณฑิตศึกษา[แก้]

  • บัณฑิตวิทยาลัย

การบริหารงาน[แก้]

นายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง[แก้]

อธิการบดี[แก้]

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีผู้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดี ดังรายนามต่อไปนี้

มหาวิทยาลัยรามคำแหง รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง 1. ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์

13 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (วาระที่ 1) 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 – 22 มิถุนายน พ.ศ. 2516 (วาระที่ 2) 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (วาระที่ 3)

[3] [4] [5] 2. ศาสตราจารย์กำธร พันธุลาภ

2 กันยายน พ.ศ. 2517 – 1 กันยายน พ.ศ. 2519 (วาระที่ 1) 21 กันยายน พ.ศ. 2519 – 20 กันยายน พ.ศ. 2521 (วาระที่ 2)

[6] [7]

3. รองศาสตราจารย์ ดร.อภิรมย์ ณ นคร

3 ตุลาคม พ.ศ. 2523 – 2 ตุลาคม พ.ศ. 2525

[8]

4. รองศาสตราจารย์สุขุม นวลสกุล

15 มกราคม พ.ศ. 2526 – 14 มกราคม พ.ศ. 2528 (วาระที่ 1) 15 เมษายน พ.ศ. 2528 – 14 เมษายน พ.ศ. 2530 (วาระที่ 2)

[9] [10] 5. ศาสตราจารย์ ดร.ธรรมนูญ โสภารัตน์

13 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2532

[11]

6. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล

6 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 – 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 (วาระที่ 1) 20 กันยายน พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2537 (วาระที่ 2)

[12] [13]

7. รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข

13 มกราคม พ.ศ. 2537 – 12 มกราคม พ.ศ. 2539 (วาระที่ 1) 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 (วาระที่ 2) 20 สิงหาคม พ.ศ. 2541 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2545 (วาระที่ 3) 16 มกราคม พ.ศ. 2546 – 16 มกราคม พ.ศ. 2550 (วาระที่ 4)

[14] [15] [16] [17] เก็บถาวร 2015-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

8. รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสนสุข

18 มิถุนายน พ.ศ. 2550 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

[18]

9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์

21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (วาระที่ 1) 3 มีนาคม พ.ศ. 2559 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2563 (วาระที่ 2)

[19] [20]

10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สืบพงษ์ ปราบใหญ่

12 กันยายน พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

[21]

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย[แก้]

การจัดอันดับโดยเว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยรามคำแหง อยู่ในอันดับที่ 2847 ของโลก และอันดับที่ 26 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

อ้างอิง[แก้]

  • ↑ "เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยฯ". www.oasc.ru.ac.th.
  • [https://web.archive.org/web/20211023002716/http://www.mua.go.th/university-2.html เก็บถาวร 2021-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (2023) เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง [นายวีระพล ตั้งสุวรรณ] สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566.จาก https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17228932.pdf
  • ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (2023) เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง [นายสืบพงษ์ ปราบใหญ่] สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566.จาก https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17178624.pdf มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2023) ข้อมูลจำนวนนักศึกษาที่มีสถานภาพปัจจุบัน สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566.จาก http://www.oasc.ru.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=264&Itemid=165

ม.ราม คณะไหนไม่ต้องฝึกงาน

รายละเอียด คณะที่ไม่ต้องฝึกงานเช่น คณะนิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ(เว้น สาขาวิชาการบัญชี มีการฝึกงาน) คณะมนุษยศาสตร์ เป็นต้นครับ

เรียนม.รามจบเร็วสุดกี่ปี

เรียนรามจบแน่จบไว ภายใน2ปีครึ่ง

ม.รามคําแหง มีสาขาอะไรบ้าง

คณะและสถาบันที่จัดการเรียนการสอน มีดังนี้ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันการศึกษานานาชาติ และสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ม.รามคําแหง มีจังหวัดไหนบ้าง

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครศรีธรรมราช.

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดอุทัยธานี.

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดปราจีนบุรี.

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดอำนาจเจริญ.

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครพนม.

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดแพร่.