คร มแพลงตอนแบบห วป ม ในว ตส นต ว

เซลล์ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก

สิ่งมีชีวิตที่ค้นพบบนโลกของเรานั้นมีมากมาย หลายสายพันธุ์ ค้นพบตามแหล่งที่อยู่อาศัยต่างๆ ทั้งบนดิน ใต้ดินและในแหล่งน้ำ ในบทเรียนนี้จะกล่าวถึงสิ่งที่ชีวิตขนาดเล็กที่พบในแหล่งน้ำส่วนใหญ่ มีขนาดเล็ก นั้นคือ แพลงก์ตอน มีขนาดเล็กมากจึงทำให้เรามีโอกาสที่จะมองเห็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ได้น้อย อย่างไรก็ตามหากเราลองตักน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ มาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ก็จะทำให้เรามองเห็นแพลงก์ตอนตัวใสหลากสีสันได้ชัดเจนขึ้นและจะพบว่าแพลงก์ตอนเป็นสิ่งมีชีวิตอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความหลากหลายทางด้านจำนวนชนิดที่สูงมาก นอกจากนี้จะสังเกตเห็นว่าแพลงก์ตอนที่เราพบจากแหล่งน้ำแต่ละแหล่งก็จะมีองค์ประกอบของชนิดและปริมาณแตกต่างกันไป เช่น องค์ประกอบของชนิดและปริมาณแพลงก์ตอนในน้ำจืดก็จะไม่เหมือนกับในน้ำทะเล และองค์ประกอบของชนิดแพลงก์ตอนในน้ำที่มีคุณภาพดีก็จะไม่เหมือนกับที่เราพบในน้ำเสีย เป็นต้น ซึ่งความแตกต่างนี้เกิดขึ้นเนื่องจากแพลงก์ตอนแต่ละชนิด มีความต้องการอาหารและสามารถเติบโตได้ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง

คร มแพลงตอนแบบห วป ม ในว ตส นต ว

ตัวอย่างแพลงก์ตอน ที่มา : https://pixabay.com , FotoshopTofs

การแบ่งกลุ่มของแพลงก์ตอน

  1. แบ่งโดยยึดหลักโภชนาการ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1.1 แพลงก์ตอนพืช (phytoplankton) ได้แก่ พืชกลุ่มที่มีสารในเซลล์ทำให้สามารถดูดซับพลังงานแสงและใช้พลังงานแสงร่วมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์แสงและสร้างสารอินทรีย์ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต แพลงก์ตอนพืช จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มีความสามารถในการสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารเองได้ ดังนั้นแพลงก์ตอนพืชจึงจัดเป็นผู้ผลิตปฐมภูมิ ของห่วงโซ่ และสายใยอาหาร เราสามารถพบแพลงก์ตอนพืชได้ทั้งในระบบนิเวศน้ำจืด ระบบนิเวศน้ำเค็ม ตลอดจนในระบบนิเวศน้ำกร่อย โดยแพลงก์ตอนพืชส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งมีชีวิตพวกสาหร่ายไม่ว่าจะเป็นสาหร่ายที่เป็นโปรคาริโอตหรือสาหร่ายที่เป็นยูคาริโอต โดยพบว่าในทะเลและทะเลสาบ จะพบแพลงก์ตอนพืชในกลุ่มไดอะตอมและกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลท เป็นกลุ่มหลัก ส่วนในแหล่งน้ำจืด จะพบสาหร่ายสีเขียว โดยเฉพาะพวกเดสมิด เป็นกลุ่มหลัก นอกจากนี้เราสามารถแบ่งกลุ่มแพลงก์ตอนพืชออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามขนาดเซลล์ของแพลงก์ตอนได้ 1.2 แพลงก์ตอนสัตว์ (zooplankton) ได้แก่ สัตว์เซลล์เดียว (โปรโตซัว) จนถึงสัตว์หลายเซลล์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ทั้งระยะตัวเต็มวัยและในวัยอ่อน มีทั้งหมด 16 phylum แพลงก์ตอนสัตว์จัดอยู่ในอันดับที่สองและอันดับที่สามของห่วงโซ่อาหารในแหล่งน้ำ โดยกินทั้งแพลงก์ตอนพืชและสัตว์เป็นอาหาร ดังนั้นแพลงก์ตอนสัตว์จัดว่าเป็นผู้บริโภค แพลงก์ตอนสัตว์ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศ เนื่องจากแพลงก์ตอนสัตว์จะเป็นตัวช่วยในกระบวนการหมุนเวียนพลังงานและถ่ายทอดสารอาหารต่างๆ จากแพลงก์ตอนพืชไปสู่สิ่งมีชีวิตในระดับที่สูงขึ้นต่อไปของห่วงโซ่ และสายใยอาหาร แพลงก์ตอนสัตว์ต่างจากแพลงก์ตอนพืชคือ แพลงก์ตอนสัตว์ไม่มีความสามารถในการสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารได้เช่นเดียวกับแพลงก์ตอนพืช เราสามารถพบแพลงก์ตอนสัตว์ได้ทั้งในระบบนิเวศน้ำจืด ระบบนิเวศน้ำเค็ม ตลอดจนในระบบนิเวศน้ำกร่อยเช่นเดียวกับแพลงก์ตอนพืช โดยแพลงก์ตอนสัตว์ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ เช่น โปรโตซัว สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก ตลอดจนตัวอ่อนของสัตว์ต่างๆ ที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ
  2. แบ่งแพลงก์ตอนออกตามรูปแบบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ได้แก่ 2.1 แพลงก์ตอนชั่วคราว คือสิ่งมีชีวิตที่บางช่วงระยะของชีวิต ตรงกับนิยามของแพลงก์ตอน เช่น ลูกปลา ลูกกุ้ง ที่ตัวเล็กๆๆ ยังไม่มีระยางค์ในการเคลื่อนที่และปล่อยให้ตัวเองลอยไปตามกระแสน้ำ 2.2 แพลงค์ตอนถาวร คือเป็นแพลงค์ตอนที่มีระยะการเจริญเติบโตตั้งแต่เกิดจนตาย

การจัดจำแนกแพลงก์ตอนพืชออกเป็นกลุ่มต่างๆ ตามขนาดเซลล์

ขนาดสูงสุดของเซลล์

(Maximum cell dimension)

ประเภทแพลงก์ตอน

(Plankton category)

1. ขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตร

Macroplankton

2. ขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร ที่สามารถลากได้โดยแพลงก์ตอนเน็ทขนาดตา (mesh size) 0.06 มิลลิเมตร

Microplankton

3. ขนาด 5-60 μm

Nanoplankton

4. ขนาดเล็กกว่า 5 μm

Ultraplankton

ปัจจัยที่มีผลต่อความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืช

  1. สารอาหาร (Inorganic nutrients) ในช่วงที่สารอาหารขาดแคลน หากเพิ่มปริมาณสารอาหารนั้นการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืชจะเพิ่มขึ้น จนถึงจุดที่มีสารอาหารเหลือเฟือการเจริญเติบโตจะเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุด ถ้าเพิ่มปริมาณธาตุอาหารสูงขึ้นอีก การเจริญเติบโตจะลดลงตามกฎ Law of limiting factor สารอาหารจำเป็นที่มีปริมาณน้อยที่สุดจะเป็นตัวจำกัดสารอาหารอื่นๆ โดยพืชจะนำสารอาหารที่ต้องการไปใช้จนกว่าสารอาหารจำเป็นที่มีปริมาณน้อยที่สุดจะถูกใช้หมดไป ซึ่งธาตุอาหารที่สำคัญและมีจำกัด คือ P และ N
  2. แสง (Light) แพลงก์ตอนพืชต้องการแสงอย่างน้อย 1% เพื่อการสังเคราะห์แสง ถ้าไม่มีแสงหรือมีไม่เพียงพอแพลงก์ตอนพืชจะตาย เช่น เมื่อเกิดเมฆครึ้มติดต่อกันหลายวันหรือน้ำขุ่นมาก แพลงก์ตอนที่บริเวณผิวน้ำได้รับแสงเต็มที่ อาจเจริญเติบโตเพิ่มปริมาณจนอาจจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตหรือทำให้ชนิดอื่นตายได้
  3. ความหนาแน่นของพรรณไม้น้ำ ซึ่งเป็นคู่แข่งในการแย่งใช้ธาตุอาหารกับแพลงก์ตอนพืช ถ้ามีพรรณไม้น้ำในบ่อมาก แร่ธาตุจากการใส่ปุ๋ยจะถูกพรรณไม้น้ำนำไปใช้มากกว่า นอกจากนี้พรรณไม้น้ำบางชนิดที่ลอยอยู่ผิวน้ำหรือมีใบคลุมน้ำ จะขัดขวางการส่องสว่างของแสง ทำให้จำกัดการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืชอีกทางหนึ่ง

ประโยชน์ของแพลงก์ตอน

  1. แพลงก์ตอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศทั้งในแง่การเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค ตลอดจนผู้ย่อยสลายที่มีความสำคัญยิ่งในการหมุนเวียนพลังงานตลอดจนสารอาหารต่างภายในระบบนิเวศ
  2. แพลงก์ตอนพืช จัดเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตหลักอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสร้างก๊าซออกซิเจน ซึ่งจัดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
  3. ในทะเลที่มีแพลงก์ตอนในกลุ่มไดอะตอมเป็นจำนวนมาก ซึ่งสาหร่ายไดอะตอมที่ตายลงทับถมกันอยู่ภายใต้ทะเลจะเกิดซากไดอะตอมสามารถนำมาทำประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำยาสีฟัน ยาขัดรองเท้า เป็นต้น
  4. แพลงก์ตอนสัตว์บางชนิด เช่น โรติเฟอร์ สามารถนำมาทำการเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารของลูกปลาวัยอ่อน ซึ่งจัดเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถทำรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัวได้
  5. แพลงก์ตอนไม่ว่าจะเป็นแพลงก์ตอนพืชหรือแพลงก์ตอนสัตว์บางชนิดสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ เช่น สาหร่ายเทาน้ำ แมงกะพรุน เคย ลูกก้งลูกปลาขนาดเล็ก เป็นต้น
  6. แพลงก์ตอนบางชนิดสามารถใช้เป็นตัวชี้บ่งทางชีวภาพ (bioindicator) สำหรับสภาวะแวดล้อมได้ เช่น โปรโตซัวบางชนิดสามารถบ่งบอกถึงคุณภาพของแหล่งน้ำนั้นว่าดีหรือเสียได้

แหล่งที่มา

มาลินี ฉัตรมงคล, ชิดชัย จันทร์ตั้งสี. (2548). แพลงก์ตอน. (1). บริษัท เวิร์ค สแควร์ จำกัด

สุปิยนิตย์ ไม้แพ. แพลงก์ตอน” สัตว์ตัวเล็กแต่ยิ่งใหญ่ในมวลน้ำ. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562, จาก http://www1a.biotec.or.th/BRT/index.php/2010-08-09-09-38-28/161-plankton-animal