การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

Capability Maturity Model Integration (CMMI®) โดยสถาบัน CMMI ประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมแพร่หลายทั่วโลก CMMI® เป็นแนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตและการบริการด้านซอฟต์แวร์ให้มีการบริหารจัดการโครงการที่ดี มีวิธีการวัดผลหรือการประเมินกระบวนการที่เป็นมาตรฐาน ทำให้ผู้ประกอบการสามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพ การสนับสนุนผู้ประกอบการในการปรับปรุงกระบวนการด้านซอฟต์แวร์ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และการบริการ (Software Products and Services)ด้วยมาตรฐานนี้ จึงนับเป็นกลไกสำคัญที่ไม่เพียงจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่ยังทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยเข้มแข็งและเติบโตได้อย่างยั่งยืนในเวทีซอฟต์แวร์ระดับโลก อีกด้วย

Show

โครงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้รับมาตรฐาน CMMI® มีจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์ให้ผ่านการรับรองมาตรฐาน CMMI® เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการพัฒนาและการบริการให้มีคุณภาพ โดยโครงการฯ จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนแก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการประเมินมาตรฐาน CMMI® แล้วอย่างเป็นทางการ

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

บทความน่ารู้

[บทความน่ารู้ : Nov 8, 2021]

5 เคล็ดลับสำหรับผู้นำการพัฒนากระบวนการทำงาน

เราทราบกันดีว่ากระบวนการที่ดีจะช่วยลดปัญหา เพิ่มคุณภาพของการผลิตซอฟต์แวร์ สร้างการเรียนรู้ในการทำงานให้กับพนักงานในระยะยาว ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจ นอกจากนี้ กระบวนการที่ดียังช่วยให้เราผลิตสินค้าหรือบริการในสภาวะการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างเหมาะสมซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ ผลกำไร และชื่อเสียงให้กับองค์กร ...

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

[บทความน่ารู้ : July 1, 2021]

ทำ Process Improvement อย่างไรให้เหมาะสมและเกิดความคล่องตัวต่อการเปลี่ยนเเปลงในยุคปัจจุบัน

เเน่นอนว่าเป้าหมายหนึ่งของการสร้างกระบวนการคือคุณภาพ และสิ่งที่จะช่วยให้เรารู้ว่าต้องทำอะไรเพื่อสร้างสินค้าและ/หรือบริการที่ดีมีคุณภาพก็คือมาตรฐาน คุณทราบหรือไม่ว่าอีกเป้าหมายหนึ่งของกระบวนการคือความคล่องตัว และลดความซับซ้อน ...

[บทความน่าร : May 6, 2021]

การมีกระบวนการทำงานที่ดีสำคัญอย่างไรกับบริษัท SME

เราเป็นเเค่บริษัทเล็กๆ มีอะไรก็คุยกันเเละทำให้เสร็จ การมีกระบวนการทำงานจะสำคัญอย่างไร หลายคนมีคำถามในใจ ถ้าคุณมีคนเเค่สองหรือสามคนในบริษัท การคุยกันเเละตัดสินใจเลยว่าจะทำอย่างไรก็อาจจะง่าย คุณสามารถมีเวลาพูดคุยเเละหาทางทำงานร่วมกันได้ คุยกับทุกคนได้ ...

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

วัตถุประสงค์

  • สนับสนุนผู้ประกอบการในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาและบริการด้านซอฟต์แวร์ และผ่านการรับรองมาตรฐาน CMMI®
  • กระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับปรุงกระบวนการด้านซอฟต์แวร์ตามมาตรฐาน CMMI® อย่างต่อเนื่อง และสามารถต่อยอดสู่ระดับวุฒิภาวะที่สูงขึ้น
  • สนับสนุนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ สร้างบุคลากรที่มีความรู้ด้านการปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement-SPI)

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และบริการ
  • ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ต้องการประยุกต์ใช้ และขอการรับรองมาตรฐาน CMMI®

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

การสนับสนุนและเงินสนับสนุน

โมเดล

  • CMMI Development (CMMI-DEV)
  • CMMI Services (CMMI-SVC)
  • การรับรองใหม่ (Appraisal)

สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่เคยทำ CMMI และสนใจที่จะขอรับการสนับสนุนในโมเดล DEV หรือ SVC หรือผู้ประกอบการที่เคยทำ DEV แล้วและอยากทำ SVC เพื่อสร้างมาตรฐานบริการ

เงินสนับสนุน

CMMI-DEV/SVC Level 2

75% ของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานทั้งหมด แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

CMMI-DEV/SVC Level 3

75% ของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานทั้งหมด แต่ไม่เกิน 400,000 บาท

CMMI-DEV/SVC Level 5

75% ของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานทั้งหมด แต่ไม่เกิน 400,000 บาท

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

  • การต่ออายุ (Re-appraisal)

สำหรับผู้ประกอบการที่เคยทำ CMMI แล้วและใกล้กำหนดระยะเวลาการประเมินใหม่ (ใกล้ครบ 3 ปี ) หรือหมดอายุเกิน 3 ปี หรือต้องการประเมินใหม่ด้วยโมเดลและระดับวุฒิภาวะเดิม หรือประเมินใหม่ด้วยโมเดลเดิมในระดับวุฒิภาวะที่สูงขึ้น

เงินสนับสนุน

CMMI-DEV/SVC Level 3

75% ของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานทั้งหมด แต่ไม่เกิน 300,000 บาท

CMMI-DEV/SVC Level 5

75% ของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานทั้งหมด แต่ไม่เกิน 300,000 บาท

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

คุณสมบัติและเงื่อนไขการสมัคร

เป็นนิติบุคคลที่ต้องการขอการรับรอง หรือต่ออายุการรับรองมาตรฐาน CMMI®

เป็นนิติบุคคล มีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 และทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาท

เป็นกิจการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี และยื่นชำระภาษีถูกต้องตามกฎหมาย

เป็น SMEs ตามนิยาม สสว.

คือ รายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท สำหรับภาคการผลิต และรายได้ไม่เกิน 300 ล้านบาท สำหรับภาคบริการ

ไม่เป็นผู้ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ในโครงการประเภทเดียวกัน

ผู้บริหารให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในการจัดสรรทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในการร่วมโครงการฯ

ต้องมีบุคลากรด้านการปรับปรุงกระบวนการ หรือ Software Process Improvement (SPI) เต็มเวลา อย่างน้อย 1 คน

เพื่อให้สามารถเข้าร่วมกิจกรรมตลอดทั้งโครงการฯ ได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การจัดสรรจำนวนบุคลากรด้านการปรับปรุงกระบวนการ (SPI) ให้พิจารณาตามขนาดขององค์กร

ยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขทุกข้อของโครงการฯ

เงื่อนไขการสนับสนุน

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

  • ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องชำระค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน เต็มจำนวนโดยตรงให้แก่ผู้ให้บริการให้คำปรึกษา® CMMI Service Provider (CSP) และนำหลักฐานการชำระเงิน ยื่นขอเบิกเงินสนับสนุนจากโครงการฯ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
  • โครงการฯ จะสนับสนุนค่าที่ปรึกษาและค่าตรวจประเมิน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ที่เกิดขึ้นจากการว่าจ้างที่ปรึกษา (CSP) เท่านั้น
  • โครงการฯ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะสนับสนุนเฉพาะผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่ดำเนินกิจกรรมและเข้ารับการประเมินภายในระยะเวลาที่ระบุในแผนการดำเนินงานที่นำเสนอเท่านั้น หากมีเหตุอันไม่สามารถดำเนินงานได้ตามแผนงาน ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องทำหนังสือแจ้งถึงโครงการฯ หากไม่ปฏิบัติตาม โครงการฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการสนับสนุน
  • โครงการฯ จะสนับสนุนเฉพาะผู้ที่ผ่านการประเมินและมีผลประกาศอย่างเป็นทางการจากสถาบัน CMMI ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ชื่อหน่วยงานที่ผ่านการรับรองจะต้องตรงกับชื่อหน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุน
  • การเบิกจ่ายเงินสนับสนุนเป็นการชำระเพียงครั้งเดียวในลักษณะการชำระคืน (Reimbursement) ตามเงื่อนไข เมื่อผู้เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านการประเมินและมีผลอย่างเป็นทางการจากสถาบัน CMMI ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ กระบวนการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนจะเริ่มเมื่อโครงการฯ เข้าประเมินปิด และได้รับเอกสารการขอเบิกจ่ายถูกต้องครบถ้วน

เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

  • ต้องจัดส่งแผนการดำเนินงาน (Action Plan) และหากมีการปรับแผนต้องแจ้ง พร้อมส่งแผนงานฉบับใหม่ให้กับโครงการฯ
  • ต้องจัดทำ และส่งรายงานความก้าวหน้ารายเดือน (Monthly Progress Report) ในรูปแบบที่กำหนด ภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน
  • ต้องยินยอมให้ผู้เชี่ยวชาญสมทบเข้าสังเกตการณ์การดำเนินงาน โดยต้องส่งแผนการดำเนินงานให้โครงการฯ และผู้เชี่ยวชาญสมทบตามระยะเวลาที่โครงการฯ กำหนด
  • ต้องยินยอมให้โครงการฯ และผู้เชี่ยวชาญเข้าติดตามความก้าวหน้าตลอดระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการฯ
  • ยินดีให้ข้อมูลเพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ดัชนีอุตสาหกรรม และ/หรือการศึกษาวิเคราะห์อื่นๆ เพื่อประโยชน์ของโครงการฯ

เกณฑ์การพิจารณา

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

  • ส่งใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัคร(ทางออนไลน์) ถูกต้อง ครบถ้วน ภายในเวลาที่กำหนด
  • มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพกระบวนการพัฒนาและการบริการด้านซอฟต์แวร์
  • มีความพร้อมด้านการเงิน บุคลากรและการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม CMMI®
  • ผู้บริหารและบุคลากรมีความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำมาตรฐาน CMMI®
  • ผู้บริหารให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการจัดสรรกำลังคนและทรัพยากรอื่นๆ อย่างเหมาะสม
  • บริษัทมีงานโครงการทั้งระยะสั้นและยาว เพื่อเข้ารับการประเมินตามเวลาที่กำหนด
  • มีประสบการณ์การทำมาตรฐานสากล เช่น ISO/IEC 20000, ISO/IEC 27000, ISO/IEC 29110/ ITIL จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
  • ผลการคัดเลือกของคณะกรรมการให้ถือเป็นสิ้นสุด

ปฏิทินกิจกรรม

ระยะเวลาโครงการ​ พฤษภาคม 2565 – เมษายน 2567 (รวม 24 เดือน)

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

ประชาสัมพันธ์และเปิดรับสมัคร

3 พ.ค. – 29 ก.ค. 65

ประชาสัมพันธ์และเปิดรับสมัครผ่านทางเวบไซต์

รับสมัครเข้าร่วมโครงการ

3 พ.ค. – 29 ก.ค. 65

ผู้เข้าร่วมโครงการทำแบบประเมินความพร้อมเข้าร่วมโครงการ ก่อนสมัครเข้าร่วมโครงการผ่านเวบไซต์ พร้อมลงจองเวลาสัมภาษณ์ ส่งใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัครทางออนไลน์ โดยคณะผู้จัดสงวนสิทธิ์ลงจองเวลาสันภาษณ์ สำหรับผู้สมัครที่ส่งเอกสารครบถ้วนทางออนไลน์แล้วเท่านั้น

สัมภาษณ์และคัดเลือก

15 มิ.ย. - 15 ส.ค. 65

คณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติ เอกสารและนัดหมายสัมภาษณ์ ณ. อาคารซอฟต์แวร์พาร์ค ถนนแจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี

ปฐมนิเทศ

7 ต.ค. 65

ชี้แจงข้อตกลง แนวทางดำเนินการ การเบิกจ่าย และวิธีการใช้ระบบรายงานผลดำเนินการ ณ. อาคารซอฟต์แวร์พาร์ค ถนนแจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี

กิจกรรมรับคำปรึกษาปรับปรุงกระบวนการและประเมินขอการรับรอง

ต.ค. 65 – มี.ค. 67

ระยะเวลาดำเนินการ ตามระดับวุฒิภาวะ ดังนี้

  • ML 2: 12 เดือน
  • ML 3: 16 เดือน
  • ML 5: 18 เดือน

การดำเนินโครงการ

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

วิธีสมัครเข้าร่วมโครงการฯ

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

เอกสารประกอบการสมัคร

เอกสารทุกฉบับลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตราบริษัท ลงนามโดยผู้มีอำนาจตามปรากฏในหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท

ใบสมัคร

พิมพ์ออกมาจากการสมัครออนไลน์

ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท

(Company Profile) 1 ชุด

หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท

เอกสารสำเนาอายุไม่เกิน 1 เดือน

หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ. 2)

เอกสารสำเนาอายุไม่เกิน 1 เดือน

หนังสือผู้ถือหุ้น (บอจ. 5)

เอกสารสำเนาอายุไม่เกิน 1 เดือน

งบการเงินย้อนหลัง 3 ปี

เอกสารสำเนา

บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม

เอกสารสำเนา

CMMI ให้โอกาส...ได้รับการสนับสนุนและร่วมงานจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

ยงยุทธ ทรงศิริเดช

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ฟีดแบค 180 จำกัด

CMMI สามารถประยุกต์ใช้กับโครงการที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์ได้ และเราก็พิสูจน์แล้วว่าทำได้ และทำได้ดีจริงๆ

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

วรินทร สีสุขดี

Assistant General Manager

บริษัท เมอร์เคเทอร์ จำกัด

CMMI ช่วยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ขยายธุรกิจได้อย่างราบรื่นไปยังกลุ่มต่างประเทศ

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

ณัฐจิระ ฮอนดา

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท พรอมท์นาว จำกัด

เปลี่ยนจากมวยวัด...เป็นแคทวอล์ค ได้ด้วยการทำมาตรฐาน CMMI รูปแบบการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

การ ขอร บ ส งเสร ม ก จการ ซอฟต แวร

บัณฑิตา พึ่งพุ่ม

กรรมการ

บริษัท วีเจ้นซ์ จำกัด

มาตรฐาน CMMI ช่วยตอบฟีดแบคจากลูกค้า ที่อยากได้บริษัทดีๆ ให้ได้ซอฟต์แวร์ดีๆ มีคุณภาพและสามารถดูแลบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องได้