การไฟฟ าส วนภ ม ภาค ม ท ไหนบ างอ บล

กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง ดำเนินธุรกิจหลักในการผลิต จัดให้ได้มา และจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ผู้ใช้ไฟฟ้าตามกฎหมายกำหนดและประเทศใกล้เคียง พร้อมทั้งธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการไฟฟ้าภายใต้กรอบพระราชบัญญัติ กฟผ.

ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าในธุรกิจใหญ่

การผลิตไฟฟ้า

กฟผ. ผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งตั้งอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศรวมจำนวนทั้งสิ้น 50 แห่ง มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 15,789.58 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าหลายประเภท ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน 3 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 6 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (พลังน้ำ) 27 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (ลม แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ) 9 แห่ง โรงไฟฟ้าดีเซล 4 แห่ง และโรงไฟฟ้าอื่น ๆ 1 แห่ง

การรับซื้อไฟฟ้า

นอกจากการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. แล้ว กฟผ. ยังรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ 13 ราย รวมกำลังผลิต 14,948.50 เมกะวัตต์ และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก รวมกำลังผลิต 8,756.82 เมกะวัตต์ รวมทั้งรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และประเทศมาเลเซีย รวมกำลังผลิต 3,877.60 เมกะวัตต์

การส่งไฟฟ้า

กฟผ. ดำเนินการจัดส่งไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. และที่รับซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายอื่นผ่านระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งมีโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ที่ระดับแรงดัน 500 กิโลโวลต์ 230 กิโลโวลต์ 132 กิโลโวลต์ 115 กิโลโวลต์ และ 69 กิโลโวลต์ เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่รับซื้อโดยตรงจาก กฟผ. กฟน. และ กฟภ. ซึ่งนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในประเทศต่อไป นอกจากนี้ กฟผ. ยังจำหน่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าของประเทศเพื่อนบ้านด้วย ได้แก่ สปป.ลาว ด้วยระบบส่งไฟฟ้าแรงดัน 115 กิโลโวลต์ และ 22 กิโลโวลต์ และประเทศมาเลเซีย ด้วยระบบไฟฟ้าแรงสูงกระแสตรง (HVDC) 300 กิโลโวลต์

ธุรกิจอื่นๆ

ธุรกิจเกี่ยวเนื่องของ กฟผ.

ในปี 2561 กฟผ. ได้ดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์สร้างรายได้เพิ่มจากความสามารถและทรัพยากรที่ กฟผ. มีอยู่ โดยให้บริการด้านธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าอย่างมีคุณภาพแก่หน่วยงานภายนอก ได้แก่ งานวิศวกรรมและก่อสร้างโรงไฟฟ้า งานเดินเครื่องและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแก่กลุ่มลูกค้าโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) รวมถึงโรงไฟฟ้าจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์วัตถุพลอยได้จากการผลิตไฟฟ้า งานบำรุงรักษาระบบส่ง และงานบริการด้านธุรกิจโทรคมนาคม อีกทั้งได้ขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจเข้าสู่ประเทศในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย โดยในปี 2561 กฟผ. ได้มีการดำเนินธุรกิจภายในประเทศ และในต่างประเทศที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

  • ธุรกิจวิศวกรรมและก่อสร้างโรงไฟฟ้า กฟผ. ได้รับความไว้วางใจจากบริษัท กัลฟ์เอ็นเนอร์จีดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ให้เป็นผู้ดำเนินงานบริการที่ปรึกษาวิศวกรรมควบคุมงานก่อสร้างให้แก่โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมศรีราชา และโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมปลวกแดง ของบริษัท กัลฟ์ เอสอาร์ซี จำกัด และบริษัท กัลฟ์ พีดี จำกัด ตามลำดับ
  • ธุรกิจงานบริการเดินเครื่องและบำรุงรักษา กฟผ. ได้รับความไว้วางใจจากบริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น, บริษัท ผลิตไฟฟ้านวนคร จำกัด, บริษัท เบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น จำกัด และกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ในเครือ Gulf ให้เป็นผู้ดำเนินงานด้านบริการเดินเครื่องและบำรุงรักษา ตลอดระยะเวลาการให้บริการ กฟผ. ได้ดำเนินงานตามวาระอย่างมีคุณภาพ จนทำให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจ สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นอย่างมาก อีกทั้งได้ขยายตลาดงานบริการเดินเครื่องและบำรุงรักษาไปยัง สปป.ลาว และอินโดนีเซีย นอกจากจะเป็นการเสริมสร้างรายได้จากธุรกิจเกี่ยวเนื่องให้แก่ กฟผ. แล้ว ยังถือเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ระบบไฟฟ้าของประเทศไทย และยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศด้วยเช่นกัน
  • ธุรกิจผลิตภัณฑ์จากวัตถุพลอยได้ กฟผ. มีนโยบายในการนำวัตถุพลอยได้ที่เกิดจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ได้แก่ เถ้าลอยลิกไนต์ เถ้าหนักลิกไนต์ และยิปซัมสังเคราะห์ กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สีเขียว จึงทำให้เกิดการดำเนินธุรกิจวัตถุพลอยได้ขึ้น โดยเน้นนวัตกรรมด้านสินค้า (Product Innovation) เป็นการพัฒนาวัตถุพลอยได้ให้มีประสิทธิภาพและคุณสมบัติดียิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น และให้ทันกับยุคเทคโนโลยีดิจิทัล 4.0 โดยมีการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในประเทศรวมถึงนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาวัตถุพลอยได้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
  • ธุรกิจบำรุงรักษาระบบส่ง กฟผ. เป็นที่รู้จักอย่างดีในฐานะผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบส่งกำลังไฟฟ้าแรงสูงในประเทศไทย ซึ่งมีระบบส่งไฟฟ้าที่ครอบคลุมทั้งประเทศทุกภาคส่วน ภายใต้บทบาท Enhanced Single Buyer (ESB) ของประเทศ โดย กฟผ. มีนโยบายส่งมอบบริการที่มีความพร้อมให้ลูกค้าด้วยคุณภาพที่ดี เพื่อส่งเสริมระบบไฟฟ้าของประเทศไทยให้มั่นคงเชื่อถือได้ กฟผ. มีนโยบายทำธุรกิจปฏิบัติการและบำรุงรักษาระบบส่งให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บริการ เช่น ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมและลูกค้าทั่วไป
  • ธุรกิจโทรคมนาคม กฟผ. ได้นำทรัพยากรโครงข่ายใยแก้วนำแสงที่มีอยู่มาบริหารให้เกิดคุณค่า โดยให้บริการทางด้านโทรคมนาคม ภายใต้กฎระเบียบและการกำกับดูแลของคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามให้กับ กฟผ. มีบริการต่าง ๆ ได้แก่ การให้บริการวงจรช่องสัญญาณโทรคมนาคม (Domestic and International Bandwidth) และบริการเส้นใยแก้วนำแสง (Dark Fiber) แก่หน่วยงานภายนอก มีผู้ใช้งานทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน กฟผ. พร้อมเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการพัฒนาประเทศในการขยายโครงข่าย 4G 5GIoT และโครงข่ายพื้นฐานโทรคมนาคมอื่น ๆ ในอนาคต ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินนโยบาย Digital Economy ของภาครัฐ เพื่อก้าวไปสู่ Thailand 4.0 เป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคนวัตกรรม และยุค “Disruptive Technology” ดังนั้นจึงมีการเตรียมความพร้อมรองรับสำหรับให้บริการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ให้เป็นไปตามความต้องการของหน่วยงานที่มารับบริการ โดยพัฒนารูปแบบการให้บริการใหม่ ๆ เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้งาน

    การดำเนินงานของบริษัทในเครือ

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ลงทุนเพื่อประกอบธุรกิจด้านการผลิตไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยมีบริษัทในเครือจำนวน 5 บริษัท

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค

สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในสังกัด โดยแบ่งการบริหารงานเป็น 4 ภาค แต่ละภาค ประกอบด้วยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต จำนวน 3 เขต รวมเป็น 12 เขต ดังนี้

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีกี่แผนก

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (โครงสร้าง ๗ แผนก) - งานศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ๔. แผนกก่อสร้าง ๕. แผนกคลังพัสดุหลัก/แผนกคลังพัสดุบริการ 5. แผนกบัญชีและประมวลผล - งานด้านกฎหมาย 9. แผนกบริการลูกค้า ๓. แผนกปฏิบัติการและบำรุงรักษา หน้าที่และความรับผิดชอบ (Job Description) ๒. แผนกมิเตอร์ ๗. แผนกบริหารงานทั่วไป

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีหน้าที่อะไร และมีกี่จังหวัด

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. (Provincial Electricity Authority ตัวย่อ PEA) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บริการจำหน่ายไฟฟ้าแก่ประชาชนในส่วนภูมิภาคทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย ยกเว้น จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบของการไฟฟ้านครหลวง

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดูแลกี่จังหวัด

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาครับผิดชอบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ 74 จังหวัดของประเทศไทย ยกเว้น กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 99 ของพื้นที่ประเทศไทย หรือประมาณ 510,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้า 21,347,929 ราย