การเปล ยนแปลงของปลาก ดเม อเจออ ณหภ ม ท ต างก น

การถนอมอาหารนั้น ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป ซึ่งมีส่วนช่วยให้สามารถเก็บรักษาอาหารไว้บริโภคได้นาน สะดวกต่อการเก็บไว้รับประทานในภายหลัง และเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับอาหารที่เหลือแล้ว นอกจากนี้ ยังสามารถยืดอายุของอาหารได้ไม่ให้เน่าเสียด้วยการแปรรูปและการถนอมอาหาร โดยอาหารแต่ละประเภทก็มีวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น อาหารสด อาหารแห้ง หรืออาหารปรุงสำเร็จ โดยจะมีวิธีใดบ้างนั้น บทความนี้มีคำตอบ!

สารบัญ

การถนอมอาหารคืออะไร?

การถนอมอาหารนั้น ถือว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยเก็บรักษาอาหารให้อยู่ได้ยาวนาน หากว่าเราเก็บอาหารสดเอาไว้ตามธรรมชาติวันนึงก็จะเสียและต้องทิ้งในที่สุด ดังนั้นการถนอมอาหารด้วยการแปรรูปจึงทำให้อาหารมีรูปลักษณ์ รสชาติ กลิ่นที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ยังคงคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณอาหารไว้เช่นเดิม นับว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์สามารถเก็บอาหารบริโภคได้ในวันอื่นๆหรือช่วงนอกฤดูกาลของอาหารประเภทนั้นๆ

การเปล ยนแปลงของปลาก ดเม อเจออ ณหภ ม ท ต างก น

แชร์วิธีการถนอมอาหารยังไงยังไงให้อยู่ได้นาน

ความสำคัญในการแปรรูปและถนอมอาหาร

1.การแปรรูปและการถนอมอาหารช่วยบรรเทาการขาดแคลนอาหาร ในช่วงการเกิดภัยธรรมชาติ ภาวะแห้งแล้ง หรือสงคราม

2.การแปรรูปและการถนอมอาหารช่วยกระจายอาหารทั่วถึงความต้องการของประชากรได้อย่างพอเพียง

3.การแปรรูปและการถนอมอาหารช่วยให้มีอาหารพอเพียงและมีอาหารบริโภคนอกฤดูกาลเมื่อพ้นฤดูการผลิตของผลิตผลเกษตรนั้นๆ

4.การแปรรูปและการถนอมอาหารเป็นการใช้อาหารเหลือให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยยืดอายุอาหารให้เก็บไว้ได้นานมากกว่าการสด

5.การแปรรูปและการถนอมอาหารทำให้เกิดความสะดวกในการขนส่ง โดยอาหารไม่เน่าเสีย คงสภาพ และรักษาสารอาหาร ไว้อย่างครบถ้วนสามารถพกพาไปในพื้นที่ห่างไกลได้

6.การแปรรูปและการถนอมอาหารช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร และลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด

หลักการแปรรูปและถนอมอาหารทั้ง 5 วิธี

การแปรรูปและการถนอมอาหารสามารถทำได้หลากหลายวิธี ดังนี้

1. การทำให้แห้ง

การเปล ยนแปลงของปลาก ดเม อเจออ ณหภ ม ท ต างก น

ถนอมอาหารด้วยการทำให้แห้ง

สำหรับการถนอมอาหารด้วยการทำให้แห้ง หรือเป็นการลดความชื้นออกจากอาหารให้ต่ำกว่าจุดที่จุลินทรีย์เจริญเติบโตได้ โดยการกำจัดน้ำส่วนใหญ่ที่อยู่ในอาหารออกจากอาหาร ซึ่งจะมีผลให้กระบวนการ Metabolism และการเจริญของจุลินทรีย์เกิดได้ช้าลง ทั้งยังเป็นการลดอัตราเร็วของปฏิกิริยาการเหม็นหืนของไขมัน เนื่องจากปฏิกิริยา Hydrolysis โดยมีหลักการถนอมอาหารให้แห้งได้ ดังนี้

  • การใช้แสงแดดจากธรรมชาติโดยการผึ่งแดดหรือลม

สำหรับวิธีการถนอมอาหารให้แห้งวิธีแรกเลยก็คือ การใช้แสงแดดจากธรรมชาติโดยการผึ่งแดดหรือผึ่งลมทิ้งไว้จนกว่าอาหารจะแห้ง ซึ่งวิธีการดังกล่าวมักจะนิยมใช้กันโดยทั่วไป สามารถทำได้ง่ายๆไม่ต้องใช้เงินเยอะ แต่อาหารที่ได้ออกมาอาจจะคุณภาพที่ค่อนข้างต่ำ สาเหตุเป็นเพราะว่าเราไม่สามารถกำหนดหรือควบคุมแสงแดด และลมที่จะทำให้อาหารแห้งได้

  • การพาความร้อน โดยมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมได้

วิธีการถนอมอาหารให้แห้งวิธีต่อมาคือจะต้องอาศัยหลักการนำความร้อน หรือหลักการพาความร้อน การแผ่รังสี ที่เราสามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมได้ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมความชื้น โดยมีการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การอบ การระเหย และการใช้เมมเบรน แต่ถึงอย่างไรนั้นเราก็จะต้องเลือกใช้วิธีถนอมอาหารให้เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท เพื่อให้อาหารที่ผ่านกระบวนการทำให้แห้งแบบควบคุมสภาวะแวดล้อมได้จะคงคุณค่าทางโภชนาการเอาไว้ให้ได้มากที่สุด ดังนั้นจึงทำให้อาหารที่ผ่านการถนอมอาหารวิธีนี้มีคุณภาพนั่นเอง

2. การใช้ความร้อน

ต่อมาจะเป็นการถนอมอาหารด้วยการใช้ความร้อนในการทำลายจุลินทรีย์ และเอนไซม์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติในอาหาร แต่ก็จะทำให้โปรตีนเปลี่ยนสภาพไปด้วย โดยการถนอมอาหารโดยใช้ความร้อน และแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ

  • การใช้ความร้อนระดับพลาสเจอร์ไรซ์ (Pasteurization)

สำหรับวิธีการถนอมอาหารนี้จะเป็นกระบวนการที่ใช้ความร้อนที่ไม่รุนแรง โดยอุณหภูมิที่ใช้จะต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส เพื่อยืดอายุของอาหารให้อยู่ได้นานขึ้นหลายวัน โดยเหมาะสำหรับอาหารประเภท น้ำผลไม้ และนม เป็นต้น

  • การใช้ความร้อนระดับสเตอริไลซ์ (Sterilization)

และวิธีการถนอมอาหารด้วยการใช้ความร้อนระดับสเตอริไลซ์นี้ เป็นการทำให้อาหารปราศจากเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และทำลายจุลินทรีย์ หรือสปอร์ อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเน่าเสียซึ่งสามารถที่จะเจริญเติบโตในอาหารได้ที่อุณหภูมิในการเก็บรักษาตามปกติ และไม่ต้องแช่เย็น โดยความร้อนในการสเตอริไลซ์จะสูงกว่าจุดเดือด คือประมาณ 100-130 องศาเซลเซียส วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น UHT (Ultra High Temperature) โดยจะใช้อุณหภูมิ 135-150 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1-4 วินาที เป็นต้น

3. การใช้ความเย็น

การเปล ยนแปลงของปลาก ดเม อเจออ ณหภ ม ท ต างก น

ถนอมอาหารทะเลด้วยการแช่เย็นให้ถึงจุดเยือกแข็ง

การถนอมอาหารด้วยการใช้ความเย็นนั้น เป็นการลดอุณหภูมิของอาหารให้ต่ำลงมากว่า 10 องศาเซลเซียสเพื่อทำให้กระบวนการ Metabolism ที่เป็นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์รวมทั้งเอนไซม์เกิดได้ช้าลง จึงช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ส่งผลให้ชะลอการเน่าเสีย และลดอัตราการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของอาหารลง โดยสามารถแบ่งวิธีถนอมอาหารด้วยการใช้ความเย็นได้ ดังนี้

  • แช่เย็นควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ ต่ำกว่า –1°C ถึง 8 °C

สำหรับวิธีถนอมอาหารด้วยการแช่เย็นไว้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า -1 ถึง 8 °C เพื่อช่วยชะลอการเกิดปฏิกิริยาทางชีวเคมี และทำให้จุลินทรีย์เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ช้าลง ดังนั้นจึงทำให้คุณค่าทางโภชนาการเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด และนอกจากการแช่เย็นแล้วยังมีการใช้วิธีการแปรรูป อย่างเช่น การหมัก หรือการฉายรังสี ร่วมอีกด้วย

  • แช่เย็นให้ถึงจุดเยือกแข็ง

การถนอมอาหารวิธีต่อมาเป็นการนำอาหารไปแช่เย็นให้ถึงจุดเยือกแข็ง หรือเป็นการลดอุณหภูมิของอาหารให้ต่ำลงกว่าจุดเยือกแข็ง และอย่างที่ทราบกันดีว่าภายในอาหารก็จะมีส่วนประกอบของน้ำอยู่ด้วย จึงทำให้น้ำที่อยู่ในอาหารเปลี่ยนสภาพไปเป็นน้ำแข็ง โดยวิธีนี้จะเป็นการตรึงน้ำกับน้ำแข็งและความเข้มข้นของตัวทำละลายในน้ำที่ยังไม่แข็งตัว จะส่งผลทำให้ค่า วอเตอร์แอคทีวิตี้ (aw: Water Activity) หรืออัตราส่วนความดันไอของน้ำในอาหารต่อความดันไอของน้ำบริสุทธิ์ที่มีอุณหภูมิและความดันเดียวกันลดลง จึงทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ในการเจริญเติบโตได้ โดยอาหารที่นิยมถนอมอาหารด้วยวิธีแช่เย็นให้ถึงจุดเยือกแข็ง ได้แก่ กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นต้น

4. การหมักดองอาหาร

วิธีการถนอมอาหารด้วยการหมักดอง เป็นกระบวนการที่จะทำให้จุลินทรีย์เกิดการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตหรือสารอื่นๆภายใต้สภาวะที่มีหรือไม่มีอากาศ โดยจะมีความแตกต่างจากการถนอมอาหารประเภทอื่นๆ ที่มีการทำลายจุลินทรีย์และเอนไซม์ธรรมชาติที่อยู่ภายในอาหาร ซึ่งการถนอมอาหารด้วยการหมักดองจะส่งผลทำให้ค่า pH ในอาหารลดต่ำลง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโตได้ ซึ่งในปัจจุบันสามารถพบอาหารหมักดองได้ทั่วไปเช่น กิมจิ นัตโตะ และ เต้าเจี้ยว เป็นต้น

5. การใช้สารเคมีในการถนอมอาหาร

การถนอมอาหารด้วยการใช้สารเคมี มีจุดประสงค์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาอาหารให้อยู่นานขึ้น โดยมีผลยับยั้งการเน่าเสียเนื่องจากจุลินทรีย์ สารเคมีที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ได้แก่ เกลือ น้ำตาล กรด สารกันเสีย สารกันหืน

วิธีเก็บถนอมอาหารที่สามารถคงคุณค่าทางโภชนาการไว้ได้

วิธีเก็บถนอมอาหารนั้นก็มีหลากหลายวิธี เช่น การเก็บถนอมอาหารสด อาหารแห้ง อาหารที่ผ่านการปรุงมาแล้ว โดยอาหารแต่ละประเภทก็จะมีวิธีการถนอมอาหารที่แตกต่างกัน โดยจะมีการถนอมอาหารอย่างไรนั้นมาดูกันเลย

การถนอมอาหารสด

สำหรับการถนอมอาหารสด จะเป็นการเก็บรักษาความสดใหม่ของวัตถุดิบต่างๆที่ใช้ประกอบอาหาร ทั้งผัก ผลไม้ รวมถึงเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆให้อยู่ได้นาน และคงคุณภาพ การเก็บถนอมอาหารสดที่ถูกวิธีนั้น จะช่วยทำให้เราสามารถนำอาหารสดที่เก็บเอาไว้กลับมาใช้เพื่อปรุงอาหาร หรือรับประทานได้อย่างปลอดภัย โดยอาหารสดควรเก็บไว้ในกล่องหรือบรรจุภัณฑ์ที่มีฝาปิดสนิท ป้องกันอากาศและความชื้นเข้าออกได้ อย่างกล่องถนอมอาหาร Super Lock ที่จะช่วยล็อกความสดใหม่ของอาหารคุณได้ยาวนานขึ้น และ กล่องถนอมอาหารรุ่นใหม่อย่าง Freshy Box ที่มาพร้อมกับนวัตกรรมที่จะช่วยคงความสดได้นานกว่ารุ่นอื่นๆถึง 2 เท่า

1.การเก็บถนอมผักสด

การเปล ยนแปลงของปลาก ดเม อเจออ ณหภ ม ท ต างก น

การถนอมอาหารสดประเภทผักสด

สำหรับการถนอมอาหารประเภทผักสดนั้น ขั้นแรกในการถนอมผักสดให้เราทำการล้างผักให้สะอาด และเช็ดด้วยทิชชู่หรือผ้าสะอาดให้แห้ง แล้วนำไปใส่กล่องถนอมอาหารแล้วปิดฝาให้สนิทก่อนนำไปแช่ตู้เย็นในอุณหภูมิต่ำ ซึ่งตู้เย็นจะช่วยรักษาคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารได้ สิ่งสำคัญคือความเย็นนั้นจะช่วยชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและลดการเน่าเสียของผักสดได้

2.การเก็บถนอมเนื้อสัตว์

การเปล ยนแปลงของปลาก ดเม อเจออ ณหภ ม ท ต างก น

การถนอมอาหารสดประเภทเนื้อสัตว์

การเก็บถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ควรจะนำเนื้อสัตว์ไปแช่ในช่องฟรีซ โดยให้อยู่ที่อุณหภูมิระหว่าง -18 °C ถึง -22 °C แต่ก่อนจะนำเนื้อสัตว์ไปแช่ในช่องฟรีซนั้นจะต้องทำการหั่นแบ่งเนื้อสัตว์ใส่ในถุงซิปล็อกแล้วทำการกดเนื้อสัตว์ให้มีความแบนเพื่อที่ความเย็นจะได้กระจายตัวได้อย่างทั่วถึง หลังจากนั้นนำใส่ในภาชนะที่มีฝาปิดแนบสนิท ซึ่งการถนอมอาหารที่ถูกวิธีจะมีผลอย่างยิ่งสำหรับเนื้อสัตว์ เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้เนื้อสัตว์มีรสชาติที่ไม่ดีและเน่าเสียได้

3.การเก็บถนอมไข่

การเปล ยนแปลงของปลาก ดเม อเจออ ณหภ ม ท ต างก น

วิธีถนอมอาหารประเภทไข่ให้อยู่ได้นาน

เชื่อว่า ไข่ เป็นหนึ่งในอาหารที่ทุกบ้านต้องมีติดครัวอย่างแน่นอน โดยเราสามารถถนอมอาหารประเภทนี้ได้ง่ายๆ ด้วยการเลือกใช้กล่องเก็บไข่ที่ปลอดภัยไร้สารก่อมะเร็ง มีเทคโนโลยีไมโครแบน สามารถป้องกันเชื้อราและแบคทีเรียได้ จึงช่วยยืดอายุและถนอมไข่ให้อยู่ได้นานขึ้น โดยสามารถเก็บไข่ลงในกล่องได้แบบไม่ต้องล้างก่อน หลังจากนั้นนำเข้าไปเก็บรักษาเอาไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 10 °C นอกจากนี้ยังสามารถเข้าไปดู Tip & Tricks วิธีดูไข่เสียได้ง่ายๆในบทความที่เรานำมาฝากกันด้วยค่ะ

4.การเก็บถนอมผลไม้

การเปล ยนแปลงของปลาก ดเม อเจออ ณหภ ม ท ต างก น

วิธีการถนอมอาหารสดประเภทผลไม้

และต่อมาเป็นการถนอมอาหารสดประเภทผลไม้ โดยเริ่มแรกวิธีเก็บผลไม้ คือเราจะต้องรู้เสียก่อนว่าผลไม้แต่ละชนิดควรจะมีวิธีการถนอมอาหารและต้องจัดเก็บในอุณหภูมิที่เท่าไหร่ เพราะผลไม้แต่ละชนิดมีความต้องการอุณหภูมิในการยืดอายุที่แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งได้ ดังนี้

  • ผลไม้กลุ่มแรกที่ควรเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 15 ° C

การถนอมอาหารประเภทผลไม้ที่จะต้องเก็บในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 15 ° C ได้แก่ แตงโม ฝรั่ง มังคุด ลองกอง น้อยหน่า กระท้อน โดยก่อนนำเข้าตู้เย็นควรจะต้องเก็บแยกประเภทของผลไม้แต่ละชนิดให้เรียบร้อย และเลือกเก็บไว้ในกล่องพลาสติกที่มีฝาปิดล็อกแนบสนิทแล้วนำเข้าไปแช่ในตู้เย็น

  • ผลไม้อีกกลุ่มหนึ่งที่ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำสุดที่ 2 ° C

และการถนอมอาหารประเภทผลไม้ที่ควรเก็บไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิต่ำสุดที่ 2 ° C ได้แก่ ลำไย ลิ้นจี่ เป็นต้น โดยการถนอมผลไม้ทั้งสองชนิดนี้ มีวิธีคล้ายกัน นั่นคือ การแกะเอาเปลือก และเมล็ดของผลไม้ออกก่อน หลังจากนั้นให้นำเนื้อผลไม้ที่แกะแล้วเอาไปเก็บใส่ในกล่องถนอมอาหารและปิดฝาล็อกให้สนิทแล้วนำเข้าไปแช่ในตู้เย็นเช่นเดียวกัน

การถนอมอาหารแห้ง

การเปล ยนแปลงของปลาก ดเม อเจออ ณหภ ม ท ต างก น

ถนอมอาหารแห้งได้หลากหลายวิธี

การถนอมอาหารแห้งนั้น เป็นหนึ่งในการแปรรูปอาหารให้สามารถเก็บรักษาและยืดอายุอาหารได้นานขึ้นกว่าเดิม โดยเราสามารถแบ่งวิธีการถนอมอาหารแห้งได้หลากหลายวิธี จะมีการถนอมอาหารแห้งอย่างไรบ้างมาดูกัน

วิธีการถนอมอาหารแห้ง

สำหรับวิธีการถนอมอาหารแห้ง หลักๆแล้วจะเป็นการนำอาหารไปผ่านกระบวนการตากแห้ง หรืออบแห้ง เพื่อช่วยลดปริมาณความชื้นออกจากอาหารให้อยู่ต่ำกว่าจุดที่จุลินทรีย์จะสามารถเจริญเติบโตได้ ดังนั้นจึงทำให้เราสามารถถนอมอาหารแห้งเหล่านี้ได้โดยที่ยังคงคุณค่าทางโภชนาการอาหารอยู่ และช่วยลดความชื้นที่อาจส่งผลทำให้กลิ่น หรือรสชาติอาหารเปลี่ยนไปได้ ซึ่งเราจะขอกล่าวถึงวิธีถนอมอาหารแห้งที่คนทั่วไปนิยมใช้กัน ดังนี้

  • วิธีธรรมชาติ

สำหรับการถนอมอาหารแห้งด้วยวิธีธรรมชาติ เป็นวิธีถนอมอาหารที่เชื่อว่านิยมกันเป็นอันดับต้นๆและใช้กันมาอย่างยาวนาน เพราะไม่ต้องใช้ทุนเยอะ เพียงแค่นำอาหารที่ต้องการถนอมอาหารไปวางผึ่งกับแสงแดดหรือลม ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่ได้จากแสงอาทิตย์ ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าเราไม่สามารถควบคุมทั้งแสงแดด หรือลมอันเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้อาหารแห้งได้ ดังนั้นอาหารที่ใช้วิธีการถนอมอาหารด้วยวิธีธรรมชาติอาจจะมีคุณภาพที่ค่อนข้างต่ำ

  • เครื่องมืออบแห้ง

ต่อมาเป็นวิธีการถนอมอาหารด้วยการใช้เครื่องมือในการอบแห้ง ซึ่งได้รับความนิยมไม่แพ้กับการถนอมอาหารด้วยวิธีธรรมชาติเลยค่ะ เพราะว่าในยุคสมัยนี้เราสามารถหาซื้อเครื่องมือที่ใช้ถนอมอาหารได้ง่ายมากๆ และยังกำหนดอัตราความเร็วในการถนอมอาหารให้แห้งได้ด้วย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการอบแห้ง ได้แก่ ไมโครเวฟ เตาอบ เครื่องอบแห้ง เป็นต้น

  • รมควัน

และขอปิดท้ายด้วยวิธีการถนอมอาหารแห้งด้วยการรมควัน เริ่มด้วยการตั้งเตาใส่ถ่านและจุดไฟทำให้เกิดความร้อน หลังจากนั้นนำอาหารที่ต้องการถนอมอาหารไปวางไว้บนตะแกรงให้อยู่เหนือกองไฟ ซึ่งจะมีควันลอยออกมาจากเตาสัมผัสกับอาหาร หรือที่เรียกว่าการรมควันนั่นเอง

ประเภทของอาหารแห้งและการถนอมอาหาร

หลังจากที่ทราบวิธีการถนอมอาหารแห้งกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็จะขอแนะนำประเภทของอาหารแห้งและการถนอมอาหารให้ทุกคนได้ทราบกัน

  • ข้าวสาร

การเปล ยนแปลงของปลาก ดเม อเจออ ณหภ ม ท ต างก น

ถนอมอาหารประเภทข้าวสารด้วยกล่องสุญญากาศ

สำหรับข้าวสารเป็นสิ่งที่คนไทยอย่างเรานิยมรับประทานกัน และทุกบ้านก็จะมีติดครัวเอาไว้เสมอ โดยวิธีการถนอมอาหารหรือเก็บรักษาข้าวสารนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยาก เพียงแค่นำข้าวสารไปเก็บในกล่องสุญญากาศที่มีฝาปิดล็อกแนบสนิท สามารถป้องกันมดและมอดเข้าไปได้ ทำให้สามารถช่วยเก็บถนอมอาหารประเภทข้าวสารได้นานมากกว่า 2 เดือน

  • หัวหอม

ไม่ว่าจะหอมแดง หรือหอมหัวใหญ่ ต่างก็เป็นวัตถุดิบชนิดแรกๆที่คนไทยมักจะนิยมเลือกนำมาใช้ในการปรุงอาหาร เพราะว่าสามารถเพิ่มรสชาติความอร่อยให้เข้ากับหลากหลายเมนู โดยเราสามารถเลือกถนอมอาหารประเภทหัวหอมได้ 3 วิธี ดังนี้

1.เก็บใส่ถุง

สำหรับการถนอมอาหารประเภทหอมแดง สามารถเก็บได้ง่ายๆ เพียงแค่นำหอมไปใส่ในถุงที่เป็นซองกระดาษสีน้ำตาล หลังจากนั้นปิดปากถุงแล้วนำไปแช่ไว้ที่ช่องเก็บผักในตู้เย็น

2.เก็บโดยใช้กระดาษห่อ

หรือการถนอมอาหารประเภทหัวหอมก็สามารถทำได้อีกแบบ ด้วยการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อหอมแยกไว้แต่ละลูก แล้วนำไปใส่ถุงพลาสติก มัดปากถุงแล้วนำไปแช่ไว้ที่ช่องเก็บผักในตู้เย็น

3.เก็บโดยวิธีห่อด้วยฟอยล์

และการถนอมอาหารประเภทหัวหอม ยังสามารถทำได้ด้วยการห่อฟอยล์ โดยเริ่มจากการนำหอมหัวใหญ่ไปห่อฟอยล์แล้วนำไปแช่ไว้ที่ช่องเก็บผักในตู้เย็น วิธีการนี้จะช่วยให้คงความสดกรอบและป้องกันไม่ให้หอมมีผิวช้ำ

  • กระเทียม

เชื่อว่า “กระเทียม” เป็นพืชสมุนไพร ที่หลายๆบ้านมักจะนำมาใช้ในการประกอบอาหารกันเป็นประจำอยู่แล้ว โดยมีวิธีการถนอมอาหารผักหรือเก็บรักษากระเทียมให้อยู่ได้นานขึ้นหลากหลายวิธี เช่น

1.การเก็บไว้ที่อุณหภูมิปกติ

การถนอมอาหารหรือเก็บรักษากระเทียม สามารถทำได้ง่ายๆเพียงนำกระเทียมใส่ถุงตาข่าย หรือตะกร้าเอาไว้ในที่อุณหภูมิปกติ ประมาณ 60-65 องศาเซลเซียส และมีความชื้นปานกลาง

2.การเก็บไว้ในช่องเย็น

ถนอมอาหารประเภทกระเทียมได้ด้วยการเก็บกระเทียมใส่ไว้ในลิ้นชักตู้เย็นแต่ต้องเก็บไว้ในภาชนะปิดฝาสนิท จะช่วยรักษาความชื้นให้คงที่ หรือสำหรับกระเทียมที่แยกเป็นกลีบก็สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานได้ถึง 2 สัปดาห์

3.การทำกระเทียมอบแห้ง

สามารถถนอมอาหารประเภทกระเทียมด้วยการแปรรูปให้เป็นกระเทียมอบแห้ง เพียงแค่นำกระเทียมที่ปอกเปลือกแล้วไปใส่ไว้ในเครื่องขจัดน้ำ แล้วนำกระเทียมนั้นเข้าเตาอบ แล้วอบที่อุณหภูมิประมาณ 115 องศาเซลเซียส สำหรับกระเทียมอบแห้งนั้นอยู่ได้ในอุณหภูมิห้องตราบใดที่เก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท

4.ใส่กระเทียมไว้ในน้ำมัน

มาถึงการถนอมอาหารประเภทกระเทียมวิธีสุดท้าย ทำได้ง่ายๆเพียงแค่นำกระเทียมแห้งที่หั่นเป็นชิ้นและต้องการทำให้กระเทียมนั้นมีรสชาติอร่อยขึ้นใส่ลงในโหลแก้ว ตามด้วยการเทน้ำมันมะกอกลงไปให้ท่วม ซึ่งส่วนผสมที่ได้นี้สามารถนำไปประกอบอาหารหรือทำสลัดเดรสซิ่งได้

  • ถั่วต่างๆ

การถนอมอาหารแห้งประเภทถั่ว ควรเลือกเก็บให้อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่มีฝาปิดสนิท และถ้าบรรจุในซองฟอยล์ได้จะยิ่งดี เพราะสามารถป้องกันไม่ให้ความชื้นจากภายนอกผ่านเข้าไปได้ แต่ถ้าเก็บในซองพลาสติกก็ต้องดูให้แน่ใจว่าไม่มีรอยรั่ว

การเก็บถนอมอาหารประเภทที่ปรุงสำเร็จ ถูกสุขอนามัย

การเปล ยนแปลงของปลาก ดเม อเจออ ณหภ ม ท ต างก น

ถนอมอาหารที่ปรุงสุกแล้วให้เก็บได้นาน ถูกสุขอนามัย

สำหรับการเก็บถนอมอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรือการเก็บรักษาอาหารปรุงสำเร็จควรเก็บเข้าตู้เย็นหลังจากปรุงอาหารเสร็จแล้วภายใน 1 – 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันจุลินทรีย์ที่อาจจะปนเปื้อนและเจริญเติบโตในอาหาร และถ้าต้องการจะถนอมอาหารไว้ให้เก็บได้นานขึ้นก็สามารถนำไปอุ่นให้ร้อนและทำให้เย็นอย่างรวดเร็ว โดยแช่ในน้ำเย็นหรือหล่อด้วยน้ำที่ไหลจากก๊อก เพื่อฆ่าจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนอยู่และทำให้ตู้เย็นของเราไม่ต้องทำงานหนักเกินไป แล้วค่อยนำมาเก็บในตู้เย็นหรือช่องฟรีซ

และสิ่งสำคัญในการเก็บถนอมอาหารประเภทที่ปรุงสำเร็จแล้วควรเลือกใส่ในภาชนะที่สะอาดและมีฝาปิด อย่างกล่องถนอมอาหารที่ไมโครแบน (Microban) ซึ่งจะช่วยยับยั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เรามั่นใจได้ว่าภาชนะสามารถปกป้องอาหารจากแบคทีเรียภายนอกได้ และมีเทคโนโลยีพิเศษล็อก 2 ชั้น ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ จึงถนอมอาหารได้ยาวนานกว่ากล่องทั่วไป เมื่อต้องการจะนำกลับมารับประทานก็สามารถเอาเข้าไมโครเวฟได้ ที่สำคัญคือผลิตจากพลาสติก PP (Polypropylene) ที่ปราศจากสารก่อมะเร็ง โดยในหัวข้อนี้เราก็ได้นำวิธีเก็บรักษาและถนอมอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วแบบง่ายๆ มาให้ทุกคนลองนำไปทำตามกันดู 3วิธีดังนี้

1. เลือกกล่องถนอมอาหารที่แบ่งเป็นสัดส่วน

การเปล ยนแปลงของปลาก ดเม อเจออ ณหภ ม ท ต างก น

ถนอมอาหารที่ปรุงสุกแล้วด้วยการเก็บใส่กล่องแบ่งเป็นสัดส่วน

สำหรับการแปรรูปการถนอมอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว ควรจะเลือกกล่องใส่อาหารที่แบ่งเป็นสัดส่วน เพราะนอกจากจะช่วยให้สะดวกต่อการถนอมอาหารหรือง่ายต่อการจัดเก็บในตู้เย็นแล้ว ยังช่วยเก็บอาหารที่มีความชื้นไม่ให้ไม่หกเลอะเทอะหรือไหลไปปนกับอาหารแห้งนั่นเอง

2. แยกผักลวกไว้เฉพาะ

การเปล ยนแปลงของปลาก ดเม อเจออ ณหภ ม ท ต างก น

ถนอมอาหารประเภทผักลวกให้เก็บได้นาน

วิธีถนอมอาหารผักที่ปรุงสำเร็จแล้วหรือเรียกว่า “ผักลวก” โดยหลังจากที่เรานำผักไปลวกเสร็จแล้ว ให้ทำการเตรียมกล่องที่ใส่น้ำเย็นจัดเอาไว้และนำผักลวกไปน็อคน้ำเย็นสักครู่หนึ่ง สาเหตุที่ต้องทำเช่นนี้ก็เพราะต้องการให้ผักลวกมีอุณหภูมิที่เย็นตัวลงและยังคงคุณค่าทางโภชนาการ มีสีที่ดูน่ารับประทาน ตามด้วยการตักผักลวกออกจากน้ำเย็นแล้วนำไปสะเด็ดน้ำออก แล้วใช้มีดตัดบริเวณรากของผักออก ต่อมาให้ทำการแยกใบออกจากลำต้น จากนั้นใช้มีดหั่นแบ่งผักลวกตามความเหมาะสมนำไปจัดวางเรียงกันภายในกล่องสุญญากาศโดยอาจจะแผ่ให้ผักลวกกระจายทั่วกล่องเพื่อที่จะได้รับความเย็นที่ทั่วถึง หลังจากนั้นให้ทำการปิดฝาแล้วนำเข้าช่องฟรีซ โดยวิธีนี้จะช่วยทำให้เราถนอมอาหารประเภทผักลวกได้นานขึ้นค่ะ

3. ของทอดรอให้เย็นจึงค่อยนำมาใส่กล่อง

การเปล ยนแปลงของปลาก ดเม อเจออ ณหภ ม ท ต างก น

ถนอมอาหารประเภทของทอดด้วยการรอให้เย็นแล้วค่อยเก็บ

และวิธีถนอมอาหารที่ปรุงสุกประเภทของทอด สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ตักของทอดขึ้นจากกระทะแล้วนำไปพักไว้บนตะแกรงรอให้เย็นตัวลงจนหายร้อน เพื่อไม่ให้ไอจากความร้อนของอาหารระเหยออกมาเป็นน้ำในระหว่างที่เก็บใส่ภาชนะ ไม่เช่นนั้นของทอดจะไม่กรอบและเสียรสชาติ ซึ่งเมื่อมั่นใจว่าของทอดเย็นตัวลงแล้วให้ทำการตักใส่ในกล่องถนอมอาหารแล้วปิดฝาให้สนิท หลังจากนั้นนำไปเก็บในตู้เย็นเมื่อต้องการจะนำมารับประทานก็แค่นำไปอุ่นให้ร้อน เพียงเท่านี้ก็ช่วยถนอมอาหารประเภทของทอดให้สามารถเก็บได้นานขึ้นแล้วค่ะ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการถนอมอาหารเป็นวิธีที่ช่วยยืดอายุของอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จและอาหารประเภทอื่นๆได้ดี และมีหลักการในการถนอมอาหารที่หลากหลาย ทำให้สามารถเก็บรักษาอาหารได้นาน รวมถึงยังมีให้เราเลือกใช้ถนอมอาหารได้ตามความเหมาะสมของอาหารแต่ละประเภท นอกจากนี้การถนอมอาหารยังช่วยให้อาหารคงคุณค่าทางโภชนาการและมีปริมาณใกล้เคียงกับของเดิม ไม่ให้เกิดการเน่าเสียง่าย ตั้งแต่วิธีที่ง่ายที่สุดอย่างการนำอาหารเก็บใส่ในกล่องสุญญากาศแล้วเข้าไปเก็บในตู้เย็น จนถึงวิธีการถนอมอาหารด้วยการแปรรูปให้แห้ง หรือใช้ความร้อน และการใช้ความเย็นในการยืดอายุของอาหาร หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับทุกท่าน และสามารถนำไปปรับใช้กับการถนอมอาหารที่บ้านได้อีกด้วย