การสร างสรรค ทางดนตร ท าได หลายว ธ ม อะไรบ าง

สาขาวิชาการละคอน ถือว่าเป็นสาขาดั้งเดิมที่อยู่คู่กับ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาอย่างยาวนาน เปิดสอนพื้นฐานศิลปะการละคอนที่ได้มาตรฐานสากล สร้างความรู้และประสบการณ์ในการทำงานไปพร้อมกับกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ เพื่อผลิตผลงานที่มีคุณภาพออกมาอย่างมีเหตุและผล น้องๆ ที่สนใจจำเป็นจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการละคอน และวรรณกรรม ทั้งของไทย เอเชีย และตะวันตก เพื่อเสริมแนวความคิดในการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดงของละคอนประเภทต่างๆ อาทิ ละคอนเวที, ละคอน โทรทัศน์, ละคอนเพื่อการศึกษา หรืออื่นๆ อีกทั้งยังได้เรียนรู้กระบวนการในการสร้างผลงานศิลปะการละคอนแขนงต่างๆ เช่น แสง สี เสียง, การแต่งหน้า, เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย, การออกแบบฉาก, การเขียนบท, การแสดง, การกํากับการแสดง เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดจะเกิดจากการมีพื้นฐานทักษะการละคอน และบุคลิกภาพที่ดี ที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อประสิทธิภาพของงานการแสดงละคอน และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในวงการบันเทิงต่อไป

การเรียนการสอนปีที่ 1 น้องๆ จะได้เรียนในรายวิชาศึกษาทั่วไป ที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน มีรายวิชาศิลปะการแสดงนิดหน่อย เช่น พื้นฐานการละคอนตะวันตก ปีที่ 2 จะเข้าสู่ศาสตร์ศิลปะการแสดงเต็มตัวแล้ว เริ่มต้นจากประวัติความเป็นมาของศิลปวัฒนธรรมทั้งของฝั่งเอเชียและฝั่งตะวันตก, ความรู้พื้นฐานของการละคอนไทยและตะวันตก, ศิลปะการแสดง, การคิดรูปแบบการแสดง และกระบวนการทำงานจริงในสตูดิโอ เข้าปีที่ 3 จะเป็นการเรียนเรื่องการสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ทั้งในเรื่องของการแสดง รูปแบบการละคอน รวมไปถึงเทคนิคการนำเสนอผลงาน ที่จะทำอย่างไรให้เสนอออกมาแล้วแตกต่างและน่าสนใจ ส่วนปีสุดท้ายปีที่ 4 เรียนการวิจารณ์ศิลปะการแสดงในแขนงต่างๆ งานวิจัย สารนิพนธ์ และเสริมทางด้านภาษาอังกฤษเข้าไปเพื่อใช้ในรายวิชาขั้นสูง และใช้ในชีวิตประจำวัน

การแสดงและการละคอน ไม่ใช่แค่ร้องไห้เก่งก็บอกว่าตัวเองแสดงได้ดี แต่คนที่เก่งจริงๆ จะต้องเข้าถึงกระบวนการทำงาน มุมต่างๆ ความเป็นเหตุเป็นผล และความเป็นตัวละครนั้น ศาสตร์ที่กำลังทำอยู่ ถึงจะเรียกตัวเองได้ว่าเป็น “นักแสดง” ถ้าน้องๆ คนไหนที่ชอบการท้าทาย ชอบการสวมบทบาท ชอบการทำงานในวงการทั้งเบื้อหน้าและเบื้องหลัง ที่นี่เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่พี่คิดว่าน่าจะตรงใจใครหลายๆ คนเลยที่เดียว

จบมาทำงานอะไร

งานวงการบันเทิง อาทิ นักแสดง, ศิลปิน, นักดนตรี, อาจารย์สอนการแสดง, ผู้กำกับการแสดง, ผู้กำกับละครเวที, โปรดิวเซอร์, นักประพันธ์, ผู้เขียนบทละคร, ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์

งานองค์กรภาครัฐ ในการช่วยสร้างสรรค์ ส่งเสริม อนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดง อาทิ กรมศิลปากร, สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย, กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, กระทรวงวัฒนธรรม ทำหน้าที่เป็น นาฏศิลปินปฏิบัติการ, คีตศิลป์ปฏิบัติการ และนักวิชาการวัฒนธรรม ฯลฯ

ดนตรีเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับคนในสังคม การสร้างสรรค์งานดนตรีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน แม้ว่าบางช่วงสมัยดนตรีอาจได้พบกับสภาวะวิกฤติบ้าง แต่ก็ยังสามารถดำรงคุณค่าให้อยู่คู่สังคมในปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์โดยในที่นี้จะกล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานดนตรีได้รับการยอมรับจากสังคม ดังนี้

1 ปัจจัยด้านความเจริญทางวัฒนธรรม

ดนตรีมีความสำคัญและมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อวัฒนธรรมของชาติ ในอดีตประเทศไทยมีการนำดนตรีไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางประเพณีต่างๆ ทั้งในพระราชพิธี และพิธีกรรมต่างๆของประชาชน เช่นในอดีตเมื่อสมเด็จพระบรมราชินีทรงมีพระประสูติกาลเป็นพระราชธิดาก็จะมีการบรรเลงวงปี่พาทย์ เป็นต้น

สำหรับกิจกรรมทางประเพณีของประชาชนจะมีการนำวงดนตรีไปบรรเลงเป็นส่วนหนึ่งของงานนั้น เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำขวัญนาค งานมงคลสมรส งานวันเกิด งานสมโภชเฉลิมฉลองต่างๆ งานเทศการตามประเพณี งานศพ เป็นต้น ซึ่งได้ยึถือปฎิบัติมาจนถึงปัจจุบันทำให้คนไทยมีความรัก ความผูกพันกับวิถีชีวิตและประเพณีไทย มีความคิดและมีทัศนคติที่ดีต่อดนตรีจนเกิดความรู้สึกว่าดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยเฉพาะดนตรีไทยที่ช่วยสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของไทยได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบันทุกประเทศในโลกต่างมีงานศิลปวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ดังที่พบเห็นได้เสมอในงานสำคัญต่างๆ เช่น ในการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ ประเทศที่เป็นเจ้าภาพจะแสดงออกอย่างชัดเจนในการนำศิลปวัฒนธรรมของชาติตนมาแสดงเพื่ออวดให้ชาวโลกได้ชื่นชม สะท้อนให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยก็เช่นเดียวกันเมื่อได้รับหน้าที่เป็นประเทศเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศหรืองานต้อนรับอาคันตุกะจากต่างประเทศ รัฐบาลไทยก็จะนำศิลปะการแสดงประเภทต่างๆ และการบรรเลงเครื่องดนตรีไทยมาจัดแสดง

การสร างสรรค ทางดนตร ท าได หลายว ธ ม อะไรบ าง

การสร างสรรค ทางดนตร ท าได หลายว ธ ม อะไรบ าง

2 ปัจจัยด้านความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้งานดนตรีกลายมาเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมอย่างกว้างขวาง ซึ่งเทคโนโลยีต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อนำมาใช้พัฒนางานดนครีให้คนในสังคมเข้าถึงดนตรีได้ง่ายมากขึ้นนั้น เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อโทมัส อัลวา เอดิสัน ( Thomas Alva Edison) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันได้คิดประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงขึ้นเมื่อ พ.ศ.2420 วงการดนตรีทั้งไทยและสากลก็ได้นำเครื่องบันทึกเสียงดังกล่าวมาสร้างสรรค์งานดนตรี บันทึกเสียงเพลง เสียงขับร้อง เสียงปราศรัยและข้อมูลเสียงต่างๆ ไว้เป็นสมบัติให้ชนรุ่นหลัง ซึ่งนักเรียนสามารถนำมาใช้ศึกษาหาความรู้ได้มาจนถึงปัจจุบัน

การสร างสรรค ทางดนตร ท าได หลายว ธ ม อะไรบ าง

การสร างสรรค ทางดนตร ท าได หลายว ธ ม อะไรบ าง

การสร างสรรค ทางดนตร ท าได หลายว ธ ม อะไรบ าง

3. ปัจจัยด้านค่านิยมและการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย

ค่านนิยมของสังคมไทยที่มีต่อเรื่องต่างๆ สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลาซึ่งงานดนตรีก็เช่นเดียวกันงานดนตรีสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยได้ โดยในอดีตพระมหากษัตริย์ไทยทรงถือเป็นพระราชกรณียกิจประการหนึ่งที่ทรงส่งเสริมงานดนตรีของชาติให้เจริญรุ่งเรือง บรรดาพระบรมวงศานุวงค์ ข้าราชการผู้ใหญ่มีค่านิยมในการส่งเสริมดนตรีไทย มีการพัฒนาวงดนตรีและอุปถัมภ์นักดนตรี ส่วนในหมู่ประชาชนก็มีค่านิยมในการนำวงดนตรีไทยไปบรรเลงเป็นส่วนหนึ่งของงานต่างๆ ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล

แม้ในปัจจุบันระบบสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก โครงสร้างทางวัฒนธรรมก็เปลี่ยนแปลงไป แต่ค่านิยมของคนไทยที่มีต่อดนตรีก็ยังคงอยู่ รัฐบาลไทยยังสนับสุนนและทำนุบำรุงดนตรีโยเฉพาะดนตรีไทยอยู่เสมอ เช่น การจัดตั้งสถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการผลิตนักดนตรีไทย มหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ได้เปิดการศึกษาวิชาเอกดนตรี ระดับโรงเรียนทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีการจัดรายวิชาดนตรีให้ผู้เรียนได้ศึกษาและฝึกปฏิบัติดนตรี ผู้เรียนจึงมีค่านิยมที่ดีต่อดนตรีไทย ทำให้คนรุ่นใหม่เล็งเห็นความสำคัญในการศึกษา เรียนรู้ และใช้ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตได้อย่างมีคุณค่า

ตัวอย่างการปรับเปลี่ยนดนตรีให้เข้ากับยุคสมัยและค่านิยมที่เปลี่ยนแปลบงไป เช่น เมื่อวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกเข้ามาแพร่หลายในสังคมไทยจึงเกิดวงแตรวง โดยมีการนำเพลงไทยมาบรรเลงด้วยวงแตรวงจำนวนมาก มีการเปลี่ยนแปลงในการใช้ดนตรีในงานรื่นเริงหรือขบวนแห่ จากเมื่อก่อนใช้กลองยาวหรือวงมโหรีในการแห่ ปัจจุบันก็ได้มีการนำเอาเครื่องเสียงและวงดนตรีขึ้นบนรถบรรทุกแล้วก็เล่นดนตรีอยู่บนรถ หรือในที่รู้จักกันในชื่อ รถแห่ และเมื่อสังคมไทยนิยมฟังเพลงที่บรรเลงด้วยวงดนตรีสากล ศิลปินดนตรีจึงนำเพลงไทยมาขับร้องเนื้อเต็มและบรรเลงด้วยวงดนตรีสากลเป็นศิลปะผสมผสาน รวมทั้งบางส่วนก็ได้ไปเป็นเพลงลูกทุ่ง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังได้มีการนำดนตรีไทยและดนตรีสากลมาผสมผสานบรรเลงเข้าด้วยกันจนได้รับความนิยมชมชอบจากผู้ฟัง ในขณะเดียวกันก็ยังมีการนำเครื่องดนตรีชาติต่างๆ มาบรรเลงประกอบเพลงไทย เช่น กู่เจิง ซอเอ้อหู เป็นต้น ดังนั้น ในปัจจุบันดนตรีในประเทศไทยจึงมีทั้งดนตรีไทยเดิม ดนตรีสากล และดนตรีไทยสากลในสังคม

การสร างสรรค ทางดนตร ท าได หลายว ธ ม อะไรบ าง

การสร างสรรค ทางดนตร ท าได หลายว ธ ม อะไรบ าง

4 ปัจจัยด้านการสืบทอดดนตรีของศิลปิน

ในอดีตการสืบทอดดนตรีของศิลปินดนตรี จะเป็นการเรียนรู้ในสำนักดนตรี มีครูเป็นศูนย์กลางของความรู้ มีสำนักดนตรีที่เจ้านาย ข้าราชการหรือผู้มีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจอุปถัมภ์ ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ครูดนตรีรุ่นเก่าตัวเองไปเป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิในสถานศึกษาต่างๆ การสืบทอดดนตรีไทยพัฒนาให้สอดคล้องกับการก้าวไปของโลกสมัยใหม่ โดยได้เข้าสู่ระบบการเรียนการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาแทนที่การศึกษาในวังหรือในวัดเหมือนในอดีต

ขณะเดียวกัน นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนและก้าวเข้าสู่การเรียนดนตรีในระดับปริญญาตรีปริญญาโทและปริญญาเอก ก็ได้กลับเข้ามาเป็นมาเป็นครูอาจารย์ร่วมกับครูผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรีไทยและมาเป็นครูสอนดนตรีให้แก่นักเรียนรุ่นต่อๆ มา ระบบการสืบทอดดนตรีไทยที่กล่าวมา ส่งผลให้นักเรียนมีโอกาสเรียนดนตรีไทยกันได้อย่างกว้างขวาง มีตำราเรียนดนตรี เครื่องดนตรีและสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย เอื้ออำนวยให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้วิชาการดนตรีไทยดำรงอยู่คู่กับสังคมและวัฒนธรรมไทยต่อไป