กฎกระทรวง เปอร เซ นต การย ด เหล กเสร ม

เผยแพร่: 28 เม.ย. 2560 18:23 ปรับปรุง: 28 เม.ย. 2560 19:52 โดย: MGR Online

สธ. จัดหนัก 6 กฎกระทรวง คุมธุรกิจ - สถานประกออบการ ประเภท “เพื่อสุขภาพ - สปา” กำหนด 29 บริการ “โยคะ - ไทเก๊ก - ฤาษีดัดตน - แอโรบิก” เข้าข่ายสปา กำหนดเพิ่มวงเงินขอใบอนุญาต สูงสุดฉบับละ 1 หมื่นบาท ต้องต่อใบอนุญาตทุกปี พร้อมให้ขึ้นทะเบียนผู้ให้บริการ “เจ้าของธุรกิจ - พนักงานสปา” พร้อมข้อกำหนด ห้ามตั้ง “สปา” ในอาคารเดียวกับ “อาบอบนวด” และ ต้องมีระบบคัดกรองผู้รับบริการ สุดท้าย! ต้องทำทะเบียน “ผู้รับบริการ” ทุกครั้ง กำหนดให้บริการ 6 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน

วันนี้ (28 เม.ย.) มีรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวง 6 ฉบับ ที่ลงนามโดย นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อควบคุมธุรกิจ กิจการ สถานประกอบการประเภทเพื่อสุขภาพ สปา ฯลฯ ในปี 2560

ทั้งนี้ ฉบับแรก ว่าด้วยกฎกระทรวงกำหนดบริการอื่นในกิจการสปา พ.ศ. 2560 โดยกำหนด “คำนิยาม” ให้บริการดังต่อไปนี้ 29 บริการ เป็นบริการอื่นในกิจการสปา ได้แก่ การขัดผิวกาย การขัดผิวหน้า การใช้ผ้าห่มร้อน การทำความสะอาดผิวกาย การทำความสะอาดผิวหน้า การทำสมาธิ การนวดหน้า การบริการอาหาร หรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ การบำรุงผิวกาย การบำรุงผิวหน้า การประคบด้วยความเย็น การประคบด้วยหินร้อน การปรับสภาพผิวหน้า การแปรงผิว การพอกผิวกาย การพอกผิวหน้าการพันตัว การพันร้อน การอบเซานา การอบไอน้ำ การอาบด้วยทรายร้อน ชิบอล ไทเก๊ก ไทชิ พิลาทิส ฟิตบอล โยคะ ฤาษีดัดตน และ แอโรบิก

ทั้งนี้ เป็นบริการที่เกี่ยวกับการดูแลและเสริมสร้างสุขภาพ โดยวิธีการบำบัดด้วยน้ำและการนวดร่างกายเป็นหลัก ประกอบกับบริการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงอีกอย่างน้อยสามอย่าง เพื่อให้ได้รับบริการที่ครบถ้วนตามหลักการทำสปา สมควรกำหนดให้บริการบางอย่างเป็นบริการอื่นในกิจการสปา

ขณะที่กฎกระทรวงฉบับที่ 2 กำหนดค่าธรรมเนียมและการชำระค่าธรรมเนียม เกี่ยวกับการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการสปา ตามขนาดพื้นที่ระหว่าง 1,000 - 10,000 บาท ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการ เพื่อสุขภาพประเภทกิจการนวดเพื่อสุขภาพ หรือเพื่อเสริมความงาม ตามขนาดพื้นที่ระหว่าง 500 - 5,000 บาท

“กำหนดให้การขอใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการ ฉบับละ 1,000 บาท ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรายปีในปีต่อๆ ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปีๆ ละ 1,000 บาท ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปี สำหรับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ปีละ 500 บาท”

มีรายงานว่า ในส่วนกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 4 และ 5 ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 โดยบัญญัติให้การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต และการให้ต่ออายุใบอนุญาต การขอโอนใบอนุญาตและการอนุญาต การขอรับโอนใบอนุญาตและการอนุญาตให้โอนใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ การชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและแบบใบอนุญาต

“กฎกระทรวงฉบับที่ 4 ว่าด้วยการอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 และกฎกระทรวงฉบับที่ 5 ว่าด้วย การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 บัญญัติให้การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการ ในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงเช่นกัน”

มีรายงานว่า สำหรับกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 นั้น ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัย และการให้บริการ ในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการสปา และกิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงาม พ.ศ. 2560 โดยกำหนดเป็น 3 หมวด ประกอบด้วย

หมวด 1 มาตรฐานด้านสถานที่ ต้องมีลักษณะโดยทั่วไป เช่น กรณีที่อยู่ในอาคารเดียวกันกับการประกอบกิจการอื่น ต้องมีการแบ่งเขตพื้นที่บริเวณที่ให้บริการอย่างชัดเจน และการประกอบกิจการอื่นนั้นต้องไม่ใช่กิจการ สถานบริการที่เป็นสถานอาบน้ำ นวด หรือ อบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้าตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ รวมทั้งจะต้องไม่รบกวนต่อการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพด้วย

“จะต้องไม่มีช่องทางที่ผู้ให้บริการ หรือ ผู้รับบริการไปมาหาสู่กันกับสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ กรณีสถานประกอบการเพื่อสุขภาพมีการให้บริการหลายประเภทรวมอยู่ในอาคารเดียวกัน หรือสถานที่เดียวกัน จะต้องมีการแบ่งสัดส่วนการให้บริการให้ชัดเจนและแต่ละสัดส่วน”

หมวด 2 มาตรฐานด้านความปลอดภัย ต้องมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลาที่มีการให้บริการ มีป้าย หรือข้อความเพื่อแสดงหรือเตือนให้ผู้รับบริการระมัดระวังอันตราย หรือบริเวณที่มีความเสี่ยง ขณะที่กรณีที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค ต้องนำอุปกรณ์และเครื่องมือไปผ่านกรรมวิธีการฆ่าเชื้อที่สามารถและควบคุมเชื้อได้ทุกครั้งหลังจากการใช้งานและให้บริการ จัดให้ผู้ให้บริการต้องใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ จากระบบทางเดินหายใจไปสู่ผู้รับบริการในกรณีที่มีการให้บริการที่ใกล้ชิดกับผู้รับบริการ มีระบบการเก็บและป้องกันการติดเชื้อจากมูลฝอยที่เหมาะสม ถูกสุขลักษณะ และ มีวิธีการควบคุมการติดเชื้อ หรือการแพร่กระจายของเชื้อโรค

“ให้มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ และติดตั้งเครื่องดับเพลิงไว้ในตำแหน่งที่เห็นชัดเจน อย่างน้อยหนึ่งเครื่อง ณ บริเวณทางเข้าออกหลักของสถานประกอบการฯ ส่วนกรณีมีการอบไอน้ำ การอบเซานา หรือมีการใช้อ่างน้ำวน บ่อน้ำร้อน หรือน้ำเย็น ตลอดจนอุปกรณ์ หรือบริการอื่นใดที่มีการใช้ความร้อน หรือความเย็น แล้วแต่กรณี อันอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้รับบริการ ต้องจัดให้มีบุคลากรและอุปกรณ์ที่จำเป็น”

มีรายงานว่า กฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ยังขอให้สถานประกอบการมีระบบคัดกรองผู้รับบริการที่อาจมีความเสี่ยงต่อการเข้าใช้บริการในบางกรณี โดยห้ามสตรีมีครรภ์ ผู้ใช้ยาบางประเภทที่อาจเกิดปัญหาได้เมื่อเข้าไปใช้อุปกรณ์บางชนิด ผู้ซึ่งดื่มสุราหรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก่อนเข้าใช้บริการ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ป่วยโรคหัวใจ เข้าใช้อุปกรณ์ หรือบริการที่เสี่ยงต่อภาวะนั้น และต้องระมัดระวังมิให้ผู้รับบริการที่มีความเสี่ยงจากอายุหรือภาวะโรคประจำตัวมาใช้บริการ อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

หมวด 3 มาตรฐานด้านการให้บริการ ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ไม่ฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการประกอบ โรคศิลปะ กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยสถานบริการหรือกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ต้องแสดงรายการการให้บริการและอัตราค่าบริการไว้ในที่เปิดเผยและมองเห็นได้ง่าย หรือสามารถตรวจสอบได้ ต้องไม่จัดให้มีบริการอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

“เครื่องแบบสำหรับผู้ให้บริการ ต้องรัดกุม สุภาพ สะอาดเรียบร้อย และสะดวกต่อการปฏิบัติงาน และต้องมีป้ายชื่อผู้ให้บริการติดไว้ที่บริเวณหน้าอก กำหนดเวลาเปิดและปิดตั้งแต่เวลา 06.00 น. ให้บริการได้ไม่เกินเวลา 24.00 น. และจะต้องมีการจัดทำทะเบียนประวัติผู้รับบริการไว้เป็นหลักฐานตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด” รายงานข่าวระบุ