กรณ ยก จพระปรม นทรมหาภ ม พลอด ลยเดช ว ดราชโอรส

พระราชประวัติ และ พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวง รัชกาลที่ 9 หรือ ร.9) พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

กรณ ยก จพระปรม นทรมหาภ ม พลอด ลยเดช ว ดราชโอรส
©หน่วยราชการในพระองค์

พระราชประวัติ ในหลวง รัชกาลที่ 9

พระราชสมภพ : วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตต์ สหรัฐอเมริกา

สมเด็จพระบรมราชชนก : สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

สมเด็จพระบรมราชชนี : สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สมเด็จพระเชษฐภคินี : สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (ในหลวง รัชกาลที่ 8)

กรณ ยก จพระปรม นทรมหาภ ม พลอด ลยเดช ว ดราชโอรส
©หน่วยราชการในพระองค์

การศึกษา :

  • อนุบาล – โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2474 – 2476)
  • ประถมศึกษา – โรงเรียนเมียร์มองต์ (École Miremont)
  • มัธยมศึกษา – โรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลา สวิส โรมองด์ (École Nouvelle de la Suisse Romande)
  • ประกาศนียบัตร – ด้านอักษรศาสตร์จากโรงเรียนยิมนาส คลาสสิค ก็องโตนาล (Gymnase Classique Cantonal)
  • อุดมศึกษา – วิชารัฐศาสตร์และกฎหมาย มหาวิทยาลัยโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

กรณ ยก จพระปรม นทรมหาภ ม พลอด ลยเดช ว ดราชโอรส
©หน่วยราชการในพระองค์

ราชาภิเษกสมรส : ทรงหมั้นกับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนีพันปีหลวง) ในปี พ.ศ. 2492 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ณ วังสระปทุม

กรณ ยก จพระปรม นทรมหาภ ม พลอด ลยเดช ว ดราชโอรส
©หน่วยราชการในพระองค์

บรมราชาภิเษก : วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493

พระราชโอรสและพระราชธิดา รวม 4 พระองค์ :

  1. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระนามเดิม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
  2. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวง รัชกาลที่ 10)
  3. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  4. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

กรณ ยก จพระปรม นทรมหาภ ม พลอด ลยเดช ว ดราชโอรส
©หน่วยราชการในพระองค์

พระราชณียกิจ ในหลวง รัชกาลที่ 9

ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษาค้นคว้าเรื่อง “น้ำ” อย่างจริงจังและลึกซึ้ง และได้พระราชทานแนวพระราชดำริการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทยตั้งแต่บริเวณต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยมี โครงการพระราชดำริด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่สำคัญ อาทิ โครงการฝนหลวง, โครงการแก้มลิง, โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์, โครงการบำบัดน้ำเสียบึงมักกะสัน, โครงการวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย, โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง, โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก, เขื่อนขุนด่านปราการชล, เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล และ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เป็นต้น

READ: ทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ‘ในหลวง รัชกาลที่ 9’

กรณ ยก จพระปรม นทรมหาภ ม พลอด ลยเดช ว ดราชโอรส
©หน่วยราชการในพระองค์

ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรดิน

ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อการแก้ปัญหาดินในทุกลักษณะ โดยปี พ.ศ. 2547 สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Sciences) ได้มีมติเสนอให้วันที่ 5 ธันวาคม (วันพระบรมราชสมภพ) เป็น ‘วันดินโลก’ เพื่อรำลึกถึงพระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณด้านการจัดการทรัพยากรดิน สำหรับ โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับดินที่สำคัญ ได้แก่ โครงการแกล้งดิน, การศึกษาวิจัยการปลูกหญ้าแฝก, โครงการพัฒนาที่ดินบริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา ทั้งยัง พระราชทานแนวพระราชดำริการแก้ ปัญหาดินเค็ม โดยให้ใช้ระบบชลประทานช่วยเจือจางลดความเค็มของดินที่จังหวัดสกลนคร การแก้ ปัญหาดินทราย ตามแนวพระราชดำริ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี และ การฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม ที่เขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี เป็นต้น

กรณ ยก จพระปรม นทรมหาภ ม พลอด ลยเดช ว ดราชโอรส
©หน่วยราชการในพระองค์

ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้

ทรงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ผสานเป็นแนวทางเดียวกันกับการจัดการทรัพยากรน้ำและดิน รวมถึงทรงพิจารณาศึกษาหาแนวทางช่วยเหลือโดยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและสภาพวิถีชีวิตของราษฎรในพื้นที่ จนเกิดเป็นโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการหลวง, แนวพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง รวมถึง การปลูกป่าทดแทน และ การปลูกป่าชายเลน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ ได้แก่ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน, โครงการพัฒนาและฟื้นฟูป่าชายเลน ในเขตพื้นที่เป้าหมายจังหวัดสงขลาและจังหวัดปัตตานี

กรณ ยก จพระปรม นทรมหาภ ม พลอด ลยเดช ว ดราชโอรส
©หน่วยราชการในพระองค์

โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา

ทรงศึกษาข้อมูลและทรงทดลองปฏิบัติงานด้านเกษตรกรรมในบริเวณ เขตพระราชฐาน พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เป็นเบื้องต้น ในชื่อ “โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา” เมื่อพุทธศักราช 2504 ได้แก่ การเลี้ยงโคนม การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลานิล ปลาหมอเทศ แปลงนาทดลอง ป่าไม้สาธิต โรงสีข้าว โรงบดแกลบ การคิดค้นพลังงานทดแทน พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และไบโอดีเซล เพื่อนำข้อมูลจากการทดลองมาเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติในการดำรงชีวิต และพระราชทานแนวพระราชดำริไปยังหน่วยงานผู้ปฏิบัติและเกษตรกร

พร้อมโปรดเกล้าฯ ให้บำบัดความเดือดร้อนเฉพาะหน้าให้แก่ราษฎร อาทิ จัดตั้งศูนย์รวมนม เพื่อรับซื้อน้ำนมดิบล้นตลาดจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้าง “โรงนมผง สวนดุสิต” เพื่อแปรรูปน้ำนมให้เก็บไว้ได้นาน ต่อมา ได้ขยายโรงผลิตผลิตภัณฑ์จากนมเพิ่มเติม คือ โรงนมเม็ด สวนดุสิต โรงนม ยูเอชที สวนจิตรลดา และโรงเนยแข็ง ให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์นมแปรรูปคุณภาพดี ราคาไม่แพง

กรณ ยก จพระปรม นทรมหาภ ม พลอด ลยเดช ว ดราชโอรส
©หน่วยราชการในพระองค์

ด้านการคมนาคม

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระราชดำริให้สร้างเส้นทางคมนาคมสัญจรหลายโครงการ เพื่อประโยชน์ของราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดารและแนวชายแดนให้สามารถเข้าถึงสถานีอนามัย โรงพยาบาล โรงเรียน และส่งพืชผลการเกษตรมายังแหล่งจำหน่ายได้ง่ายขึ้น

ขณะเดียวกันทรงติดตามปัญหาการจราจรในกรุงดทพมหานครอย่างต่อเนื่อง และได้พระราชทานแนวพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ โครงการสร้างถนนวงแหวนรัชดาภิเษก, โครงการสร้างถนนกาญจนาภิเษก โครงข่ายถนนจตุรทิศตะวันตก-ตะวันออก, โครงการสร้างทางยกระดับคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี สะพานพระราม 8, การสร้างเส้นทางลัดในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริบริเวณถนนพระราม 9, โครงการสร้างถนนวงแหวนอุตสาหกรรม สะพานภูมิพล 1 สะพานภูมิพล 2 และ โครงการตำรวจจราจรตามแนวพระราชดำริ เพื่อคอยช่วยอำนวยความสะดวกแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัด ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยวิกฤต หญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอดในสภาวะที่การจราจรบนท้องถนนติดขัดหนาแน่นไม่สามารถไปถึงโรงพยาบาลได้ทันการณ์ เป็นต้น

กรณ ยก จพระปรม นทรมหาภ ม พลอด ลยเดช ว ดราชโอรส
©หน่วยราชการในพระองค์

ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข

พระราชกรณียกิจ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ในช่วงแรกเน้นเรื่องการแพทย์และ การสาธารณสุข เช่น พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างตึกมหิดลวงศานุสรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้า และผลิตยาป้องกันวัณโรค, พระราชทานเรือเวชพาหน์ เพื่อรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่อยู่ริมแม่น้ำ, พระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาหุ่นยนต์คุณหมอพระราชทาน เพื่อช่วยแพทย์ซักถามอาการผู้ป่วยโรคติดเชื้อโดยการควบคุมจากระยะไกล และช่วยจิตแพทย์ปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวช

ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งมูลนิธิ และพระราชทานทุนส่งเสริมการศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ มูลนิธิราชประชาสมาสัย, มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล, พระราชทานทุนส่วนพระองค์ ได้แก่ ทุนภูมิพล, ทุนปราบอหิวาตกโรค และ ทุนวิจัยประสาท เป็นต้น

กรณ ยก จพระปรม นทรมหาภ ม พลอด ลยเดช ว ดราชโอรส
©หน่วยราชการในพระองค์

ด้านการศึกษา

ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นสำหรับเป็นสถานที่ศึกษาของพระราชโอรสและพระราชธิดา บุตรหลานข้าราชบริพารและประชาชนทั่วไป ได้แก่ โรงเรียนจิตรลดา, โรงเรียนราชวินิต ในพระบรมราชูปถัมภ์, โรงเรียนราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ , โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และ โรงเรียนพระดาบส

ทรงรับอุปถัมภ์โรงเรียนไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์และในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แก่ โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์, โรงเรียนร่มเกล้า ในพระบรมราชานุเคราะห์ และ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนไทยครอบคลุมทุกสาขาอาชีพและทุกระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับปริญญาเอก และพระราชทานทุนวิจัยสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วย ทุนเล่าเรียนหลวง, ทุนอานันทมหิดล, ทุนนวฤกษ์ และ ทุนการศึกษาสงเคราะห์ ในมูลนิธิราชประชานุเคราะห์

ทรงก่อตั้ง มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนในพื้นที่ห่างไกลให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม และพระราชทานแนวพระราชดำริให้จัดตั้ง โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

กรณ ยก จพระปรม นทรมหาภ ม พลอด ลยเดช ว ดราชโอรส
©หน่วยราชการในพระองค์

ด้านศาสนา

ทรงพระผนวชตามโบราณราชประเพณี ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๙ และประทับศึกษาพระธรรมวินัย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน ในฐานะองค์พุทธศาสนูปถัมภก ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาตามราชประเพณีโดยสม่ำเสมอ, ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้าง พระพุทธนวราชบพิตรขึ้น สำหรับพระราชทานเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด เพื่อประดิษฐาน ณ ศาลากลางจังหวัดต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร, พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อทำนุบำรุงและปฏิสังขรณ์พระอารามต่าง ๆ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สังคายนาตรวจชำระพระไตรปิฎกเพิ่มเติม และให้จัดพิมพ์เผยแพร่เป็นฉบับภาษาบาลี ฉบับแปลภาษาไทย และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการพัฒนาพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกของโลกจนสำเร็จ

ทรงอุปถัมภ์ศาสนาอื่นทุกศาสนาในแผ่นดินไทยทั้งศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ อาทิ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สนับสนุนการแปลพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาไทย, เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทยอย่างสม่ำเสมอ, เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระชับสัมพันธไมตรีกับ ศาสนจักร ณ นครรัฐวาติกัน เมื่อ พ.ศ. 2503, เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมชมกิจการด้านการแพทย์ การศึกษาขององค์กรคริสต์ศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย

และ พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะพราหมณ์ คณะผู้แทนชาวไทยซิกข์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสต่าง ๆ

กรณ ยก จพระปรม นทรมหาภ ม พลอด ลยเดช ว ดราชโอรส
©หน่วยราชการในพระองค์

อนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย

พระราชพิธี ทรงเห็นถึงความสำคัญขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย อันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า เป็นหลักฐานที่แสดงถึงความเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต จึงทรงให้ฟื้นฟูพระราชพิธีบางอย่างที่เลิกปฏิบัติไปแล้ว แต่ทรงเห็นว่ามีประโยชน์ต่อบ้านเมืองและประชาชน อาทิ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกร การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ช่วยรักษาราชประเพณีดั้งเดิม และเพื่อให้เรือพระราชพิธี ซึ่งเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติได้รับการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพดี และ พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ ช่วยกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ช้างที่อยู่ตามธรรมชาติ เป็นต้น

โบราณสถานและโบราณวัตถุ ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์และเก็บรักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ขุดพบตามท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งกรมศิลปากรได้สนองพระราชดำริด้วยการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ

งานจิตรกรรมฝาผนัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ พระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง ขึ้นใหม่ ทรงแก้ไขภาพร่างทุกภาพอย่างละเอียดด้วยพระองค์เอง เพื่อรักษาไว้ซึ่งแบบแผนและเอกลักษณ์ของงานจิตรกรรมฝาผนังของไทย

การแต่งกาย พ.ศ. 2523 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบเสื้อชุดไทยพระราชทาน เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมการแต่งกายแบบไทย

ภาษาและหนังสือ ทรงให้ความสำคัญกับภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์หนังสือที่มีคุณค่าพระราชทานในโอกาสต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป

กรณ ยก จพระปรม นทรมหาภ ม พลอด ลยเดช ว ดราชโอรส
©หน่วยราชการในพระองค์

ด้านการเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ

ระหว่าง พ.ศ. 2502 – 2510 ในหลวง รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา เพื่อเจริญพระราชไมตรี และไม่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศใดอีก จนกระทั่งพุทธศักราช 2537 ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนลาวเป็นประเทศสุดท้าย การเสด็จพระราชดำเนินเจริญพระราชไมตรีในช่วงดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในสังคมโลกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดความร่วมมือแบบทวิภาคีในเวลาต่อมา อาทิ ความร่วมมือโครงการโคนมไทย – เดนมาร์ก, การทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพันธุ์ปลานิลของญี่ปุ่นจากสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต และการได้รับเงินทุนสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี เฟลเลอร์ เพื่อการพัฒนาด้านการแพทย์และการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

แม้ไม่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอีก แต่พระองค์ยังเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศด้วยทรงต้อนรับพระประมุขและประมุขต่างประเทศที่เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยือนหรือเดินทางมาเยือนประเทศไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะหรือแขกของรัฐบาล, ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ สำหรับพระราชทานแก่พระประมุขและประมุขต่างประเทศ พระราชอาคันตุกะสำคัญแห่งพระราชวงศ์ในยุโรปและเอเชียที่เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยือนประเทศไทย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสและพระราชธิดาเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชพิธีของราชอาณาจักรอื่นตามคำกราบบังคมทูลเชิญ โดยในพ.ศ. 2549 เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มีพระประมุขและพระราชวงศ์ต่างประเทศกว่า 25 ประเทศ เสด็จพระราชดำเนินและเสด็จมาทรงร่วมถวายพระพรชัยมงคล