2024 เป นแบาดทะย ก แล วต องฉ ด vaccine ทำไม

2024 เป นแบาดทะย ก แล วต องฉ ด vaccine ทำไม

Show

ประเภทวัคซีนตามการผลิต

อ่าน 208503 ครั้ง

ประเภทวัคซีนตามการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

  1. วัคซีนเชื้อตาย (killed vaccine) หมายถึงวัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยใช้เชื้อโรคทั้งตัว (whole cell) ที่ตายแล้ว ตัวอย่างวัคซีนในกลุ่มนี้ ได้แก่ วัคซีนไอกรนชนิดทั้งเซลล์ วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนอหิวาตกโรคชนิดฉีด วัคซีนพิษสุนัขบ้า และวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อตาย วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด และผลิตจากส่วนประกอบบางส่วนของเชื้อโรค (subunit) ตัวอย่างวัคซีนในกลุ่มนี้ ได้แก่ วัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนฮิบ วัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์ วัคซีนไทฟอยด์ชนิดฉีด และวัคซีนนิวโมคอคคัส หรือผลิตจากโปรตีนส่วนประกอบของเชื้อที่ผลิตมาใหม่โดยอาศัยหลักวิศวพันธุศาสตร์
  2. วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (live attenuated vaccine) หมายถึงวัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยใช้เชื้อโรคมาทำให้อ่อนฤทธิ์ลงจนไม่สามารถทำให้เกิดโรคแต่เพียงพอที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ วัคซีนในกลุ่มนี้ได้แก่ วัคซีนโปลิโอชนิดกิน วัคซีนรวมหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม วัคซีนอีสุกอีใส วัคซีนวัณโรค วัคซีนไทฟอยด์ชนิดรับประทาน วัคซีนโรต้า วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดพ่นจมูก
  3. วัคซีนประเภทท็อกซอยด์ (toxoid) หมายถึงวัคซีนที่ผลิตโดยการนำพิษของจุลชีพที่เป็นส่วนสำคัญในการก่อโรคมาทำให้หมดฤทธิ์แต่ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคได้ เช่นวัคซีนคอตีบ และวัคซีนบาดทะยัก

2024 เป นแบาดทะย ก แล วต องฉ ด vaccine ทำไม

หลายคนที่มักเกิดบาดแผลบริเวณแขน ขา หรือลำตัว มักเกิดอาการกังวลถึงเรื่องโรคบาดทะยักที่อาจเกิดขึ้นบริเวณแผลดังกล่าว ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าปัจจุบันโรคบาดทะยักจะมีวัคซีนป้องกัน แต่ก็คงยังพบผู้ป่วยอยู่เรื่อยๆ และมีแนวโน้มว่าจะพบในผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่า ในผู้ป่วยบางราย เพียงแค่โดนเข่งบาดมือ ก็เป็นโรคบาดทะยักได้

บาดทะยักเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตตานิ ที่มักพบได้ในดิน น้ำลาย ฝุ่น มูลสัตว์อย่างม้าหรือวัว ซึ่งติดเชื้อผ่านบาดแผลตามร่างกาย โดยการติดเชื้ออาจส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อตึงหรือแข็งเกร็ง รวมทั้งอาจทำให้เกิดปัญหาด้านการหายใจ อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก

อาการบาดทะยักเป็นอย่างไร ? ผู้ป่วยบาดทะยักอาจมีอาการปรากฏหลังจากที่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายแล้วเป็นเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาก็อาจทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นได้ในภายหลัง แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายก็อาจมีอาการบาดทะยักแม้จะไม่มีแผลที่สังเกตเห็นได้เลยก็ตาม อย่างแผลที่เกิดจากเข็มหรือตะปู

ดังนั้น ควรสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง โดยเฉพาะเมื่อมีแผลบาดเจ็บใด ๆ ซึ่งอาการบาดทะยักอาจมีลักษณะดังนี้

  • มีปัญหาในการกลืนอาหาร การอ้าปาก หรือการหายใจ
  • มีไข้สูง มีเหงื่อออก หงุดหงิดง่าย
  • หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง
  • อยู่ไม่สุข กระสับกระส่าย เบื่ออาหาร มีน้ำลายไหล
  • กล้ามเนื้อใบหน้าหดเกร็งเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้ดูคล้ายกำลังแสยะยิ้มหรือทำหน้าบึ้งอยู่
  • กล้ามเนื้อขากรรไกรหดเกร็งจนขากรรไกรค้าง และกล้ามเนื้อคอหดเกร็งอย่างควบคุมไม่ได้ โดยอาการหดเกร็งนั้นอาจกระจายไปยังกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก ท้อง แขน หรือขาด้วย
  • กล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นเวลาหลายนาที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถูกสัมผัสตามร่างกาย มีเสียงรบกวน มีแสงสว่าง หรือมีกระแสลมมากระตุ้น
  • กล้ามเนื้อแข็งบริเวณขากรรไกร ท้อง คอ ไหล่ หรือหลัง
  • ปวดกล้ามเนื้อบริเวณท้อง คอ ไหล่ หรือหลัง
  • กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างรุนแรง จนอาจทำให้กระดูกหักและกล้ามเนื้อฉีกขาด
  • กล้ามเนื้อหลังหดจนทำให้หลังค่อม
  • เป็นตะคริว เป็นลมชัก

ควร พบแพทย์โดยด่วน

  • หากมีอาการบาดทะยักดังกล่าว
  • หากมีแผลลึกที่เปื้อนดิน เปื้อนมูลสัตว์ หรือสิ่งสกปรกอื่น ๆ มีบาดแผลตามร่างกายแล้วรู้สึกกังวลใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีแผลลึกบริเวณใต้เท้า ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลติดเชื้อได้
  • หากยังไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักจนครบ หรือไม่แน่ใจว่าตนเองฉีดวัคซีนแล้วหรือยัง
  • หากฉีดวัคซีนกันบาดทะยักครั้งล่าสุดเมื่อ 5 ปีมาแล้ว
  • หากเข้ารับการฉีดวัคซีนกระตุ้นเพื่อป้องกันบาดทะยักและคอตีบนานเกินกว่า 10 ปีมาแล้ว

บาดทะยัก . .ป้องกันได้

โรคบาดทะยัก แม้จะเป็นโรคอันตราย แต่ก็สามารถป้องกันบาดทะยักได้ โดยวิธีที่ช่วยป้องกันโรคบาดทะยักได้ดีที่สุด คือ เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักให้ครบ ซึ่งควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก คอตีบ และไอกรนชนิด DTaP 4 ครั้ง ก่อนอายุครบ 2 ปี และฉีดอีกครั้งเมื่อมีอายุระหว่าง 4-6 ปี รวมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก คอตีบ และไอกรนชนิด Tdap กระตุ้นอีกครั้งเมื่อมีอายุ 11-12 ปี หรืออาจฉีดหลังจากนั้นก็ได้ ทั้งนี้ ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นเพื่อป้องกันบาดทะยักและคอตีบทุก ๆ 10 ปีด้วยเช่นกัน

ส่วนกรณีที่มีบาดแผลเกิดขึ้น ควรรีบห้ามเลือด ทำความสะอาดแผล แล้วดูแลให้แผลสะอาดอยู่เสมอ โดยอาจใช้ผ้าก๊อซปิดแผลเพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ทายาต้านเชื้อแบคทีเรียหรือยาฆ่าเชื้อในบริเวณที่มีแผลภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร และหากมีบาดแผลที่เท้า ให้ใส่รองเท้าที่มีพื้นหนาหรือสวมรองเท้าแตะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องออกไปข้างนอก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจนเป็นโรคบาดทะยัก

บาดทะยัก หรือ การติดเชื้อจากแบคทีเรียเมื่อเกิดบาดแผล ที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทภายในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกล้ามเนื้อหดเกร็งบริเวณใบหน้า ขากรรไกร หน้าท้อง แขนขา และมีไข้สูงร่วมด้วยแม้ว่าในปัจจุบันโรคดังกล่าวจะมีวัคซีนสำหรับป้องกันแล้ว แต่หากชะล่าใจ หรือปล่อยทิ้งไว้ ก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยบทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับบาดทะยัก โรคอันตรายที่ควรระวัง เมื่อเป็นแผลต้องทำอย่างไร ? มาฝากกัน

ทำความรู้จักกับ “บาดทะยัก”

2024 เป นแบาดทะย ก แล วต องฉ ด vaccine ทำไม

โรคบาดทะยัก (Tetanus) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium Tetani ที่สามารถพบได้ในดิน ฝุ่น น้ำลาย และมูลสัตว์ ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดโรคบาดทะยักได้ง่าย โดยการติดเชื้อจะมาจากการสัมผัสสิ่งสกปรกขณะมีแผลเปิด เช่น แผลจากของมีคม แผลถลอก เป็นต้น ที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทโดยตรง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณตามร่างกายเกิดหดเกร็ง และอาการอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น มีไข้สูง เจ็บปวดบริเวณแผล รู้สึกเหงื่อแตก หายใจลำบาก มักพบได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุ และคนทั่วไป

แผลเปิดแบบไหนสามารถติดเชื้อ บาดทะยัก ได้

2024 เป นแบาดทะย ก แล วต องฉ ด vaccine ทำไม

  1. บาดแผลจากของมีคม
  2. หกล้ม
  3. โดนทิ่มแทงจากเสี้ยนไม้ หรือตะปูตำ
  4. สัก หรือเจาะ
  5. ใช้เข็มฉีดยาไม่สะอาด
  6. แผลไฟไหม้
  7. การผ่าตัด จากอุปกรณ์ที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ
  8. เกิดอุบัติเหตุกระดูกหักออกมานอกผิวหนัง
  9. เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นแผล
  10. ฟันผุ
  11. การโดนยิง ฯลฯ

ลักษณะอาการแบบไหนบ่งชี้ว่า ร่างกายกำลังติดเชื้อ “บาดทะยัก”

2024 เป นแบาดทะย ก แล วต องฉ ด vaccine ทำไม

สำหรับการติดเชื้อ Clostridium Tetani มักจะมีอาการประมาณ 4 – 21 วันหลังจากการติดเชื้อ หรือโดยทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นบาดทะยัก จะมีลักษณะอาการ ดังนี้

  • ปวดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อ เช่น แขน ขา มือ หลัง และเท้า
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • ขากรรไกรบริเวณปากอ้าลำบาก และมีปัญหาการกลืนอาหาร
  • มีไข้ขึ้นสูง ปวดหัว เหงื่อออก หายใจลำบาก
  • หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ท้องเสีย
  • ความดันโลหิตสูง
  • น้ำลายไหล

อาการเกร็งของ “บาดทะยัก” ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

เมื่อร่างกายติดเชื้อ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเป็นระยะ ๆ โดยหลังจากนั้นจะมีอาการเกร็ง คอเกร็ง หลังเกร็ง และอ้าปากไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งหากเกิดการเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อที่ช่วยหายใจ อาจมีโอกาสทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตลงได้ รวมถึงการที่ร่างกายมีภาวะเกร็งมากเกินไป ก็อาจส่งผลทำให้กล้ามเนื้อมีการสลายตัว หรือถึงขั้นกระดูกหัก ดังนั้น หากพบถึงความผิดปกติหลังจากมีบาดแผล ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยทันที

การรักษาบาดทะยัก เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อ

2024 เป นแบาดทะย ก แล วต องฉ ด vaccine ทำไม

ในการดูแลรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะซักถามประวัติของคนไข้ ว่ามีโรคประจำตัวอะไรบ้าง มีลักษณะอาการอย่างไร หรือมีบาดแผลมาจากสาเหตุใด เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาตามอาการได้อย่างถูกต้อง โดยวิธีการรักษาอาการติดเชื้อบาดทะยัก มีดังนี้

  • ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ

    แพทย์จะให้ยาเพื่อลดอาการหดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อของผู้ป่วย

    • ยาปฏิชีวนะ

      เป็นการนำยาปฏิชีวนะสำหรับการฆ่าเชื้อบริเวณที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย และบรรเทาอาการ

      • ฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน

        เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันเองและบรรเทาอาการปวดเกร็งจากการติดเชื้อ

        ดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้เกิด “บาดทะยัก”

        1. ระมัดระวังอย่าให้มีบาดแผล
        2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักให้ครบ
        3. หากมีบาดแผล ควรล้างน้ำสะอาดโดยทันที ไม่ปล่อยให้แผล สัมผัสกับเชื้อโรค
        4. เช็ดแผลด้วยน้ำเกลือ แอลกอฮอล์ เบตาดีนสำหรับฆ่าเชื้อ
        5. ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ หรือผ้าก๊อซสะอาด
        6. หากรู้สึกถึงอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย

        คำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกัน “บาดทะยัก”

        2024 เป นแบาดทะย ก แล วต องฉ ด vaccine ทำไม

        • เด็กเล็กก่อนครบอายุ 2 ปี ควรฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก คอตีบ ให้ครบ และไอกรนชนิด DTap 4 ครั้ง
        • อายุระหว่าง 4-6 ปี ฉีดเข็มกระตุ้นโรคบาดทะยัก คอตีบ และไอกรนชนิด Tdap
        • อายุระหว่าง 11-12 ปี แนะนำฉีดเข็มกระตุ้นโรคบาดทะยัก คอตีบ และไอกรนชนิด Tdap อีกครั้ง

        ทั้งนี้ หลังจากฉีดวัคซีนกระตุ้นเมื่อครบอายุ 12 ปี ควรมาฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก และคอตีบอีกครั้งในทุก ๆ 10 ปี

        กรณีมี “บาดแผล” ที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคบาดทะยัก และเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ท่านสามารถขอเข้ารับยาได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ตามร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ โดยสำหรับผู้ที่มี สิทธิบัตรทอง หรือ หลักประกันสุขภาพ 30 บาท ก็สามารถขอเข้ารับสิทธิ์ได้แล้วที่ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส กว่า 400 สาขา ทั่วประเทศ

        ที่มา:

        บาดทะยักภัยใกล้ตัวพบมากในผู้สูงอายุ จาก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

        โรคบาดทะยัก จาก สำนักงานป้องกันควบคุมโรค

        Symptoms of Tetanus จาก บริการสุขภาพแห่งชาติ

        Lockjaw จาก

        Tetanus Vaccine จาก WebMD

        Tetanus จาก Mayo Clinic

        อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่


        หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

        2024 เป นแบาดทะย ก แล วต องฉ ด vaccine ทำไม

        บทความที่เกี่ยวข้อง

        2024 เป นแบาดทะย ก แล วต องฉ ด vaccine ทำไม

        รู้หรือไม่!? “น้ำเกลือ” ทำอะไรได้มากกว่าแค่การล้างแผล

        รู้หรือไม่!? น้ำเกลือ ทำอะไรได้มากกว่าแค่การล้างแผลมากมาย สารพัดประโยชน์ของน้ำเกลือที่ช่วยทำความสะอาดบริเวณต่าง ๆ ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น การได้รับบาดเจ็บ เป็นแผล ระคายเคืองตา รู้สึกเจ็บคอ หรือคออักเสบ

        วัคซีนบาดทะยัก ผู้ใหญ่ อยู่ได้กี่ปี

        บาดทะยักไม่ใช่โรคติดต่อ บาดทะยักมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนบาดทะยักหรือไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันทุกๆ 10 ปี

        วัคซีนคอตีบ บาดทะยักฉีดทุกกี่ปี

        หลังจากได้รับวัคซีน Tdap 1 เข็ม เป็นเข็มกระตุ้นแล้ว เราทุกคนควรได้รับวัคซีน Tdap หรือ Td 1 เข็ม ทุกๆ 10 ปี หรือ 5 ปี ในกรณีที่บาดแผลนั้นมีความรุนแรง ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อบาดทะยัก โดยวัคซีน Tdap นั้นสามารถฉีดได้ในทุกช่วงเวลาของปี อีกทั้งยังฉีดพร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นได้ด้วย

        บาดทะยัก เป็นแล้วตายไหม

        นอกจากนี้ อาจมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น มีไข้สูง เหงื่อออก ความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็ว อาการเหล่านี้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมสามารถทำให้เกิดอาการรุนแรงขึ้นได้ภายในเวลาไม่กี่วันหรืออาจเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อมา และอาจอันตรายถึงขั้นทำให้หายใจไม่ออก หัวใจหยุดเต้นไปจนถึงเสียชีวิต

        บาดทะยัก หายเองได้ไหม

        โรคบาดทะยักไม่สามารถหายเองได้ และหากได้รับการรักษาไม่ทันเวลา จะยิ่งทำให้เชื้อลุกลาม จนก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น หากผู้ป่วยเกิดบาดแผลซึ่งมีความเสี่ยงจะเป็นบาดทะยักสูง ควรรีบมาพบแพทย์โดยด่วน