สอบเข า ม.1 ห องep บาง ปะ กอก ว ทยาคม

โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแบบสหศึกษารับนักเรียนทั้งชายและหญิงตั้งอยู่ที่เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร จัดการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 เดิมชื่อ โรงเรียนมัธยมวัดบางปะกอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปัจจุบันมีเนื่อที่ 7 ไร่ 66 ตารางวา เปิดสอนในช่วงชั้นการศึกษาที่ 3 และ 4 โดยแบ่งเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 36 ห้องเรียน และมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 42 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 78 ห้องเรียน

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม เกิดจากดำริของท่านพระครูประศาสน์ สิกขกิจ (พริ้ง อินทโชติ) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางปะกอก ต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาในตำบลนี้ ได้อาศัยตึก 2 ชั้น ของโรงเรียนธรรมวินัยของวัดบางปะกอก เปิดสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2492 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กรรมการวัดบางปะกอก ซึ่งมี นายล้อม ฟักอุดม นายบุญนาคร มังคะลี และนายถนอม เอี่ยมทศ ได้จัดการซื้อที่ดินให้เป็นที่ ธรณีสงฆ์ของวัดบางปะกอก และได้ทำหนังสือมอบกรรมสิทธิ์ให้กรมสามัญศึกษา อาศัยที่ดิน เป็นสถานที่ตั้งอาคารเรียน และได้ย้ายมาเรียนยังอาคารปัจจุบัน เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2494 บนที่ดิน 6 ไร่เศษ พ.ศ. 2507 นายล้อม ฟักอุดม ได้บริจาคที่ดินเพิ่มอีก 2 ไร่ 2 งาน 24 ตารางวา ปัจจุบันโรงเรียนมีที่ดิน 7 ไร่ 2 งาน ปีการศึกษา 2517 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

อาคารเรียน[แก้]

  • * อาคาร 1 เป็นที่ตั้งของ ห้องปฏิบัติการทางเคมี ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาเคมี ห้องเรียนภาษาไทย ห้องแนะแนว ห้องพลศึกษา
    • อาคาร 2 เป็นที่ตั้งของ ห้องเรียนภาษาอังกฤษ ศูนย์ภาษาอังกฤษ ห้องเรียนภาษาตากาล็อก ศูนย์ภาษาไทย ห้องดนตรีไทย ศูนย์สื่อคหกรรม ห้องเรียนสีขาว ศูนย์สื่อคณิตศาสตร์
    • อาคาร 3 เป็นที่ตั้งของ ห้องศิลปะ ห้องเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ใต้ตึกเป็นโรงอาหาร
    • อาคาร 4 เป็นที่ตั้งของ ห้องเรียนสังคมศึกษา โครงการภาคภาษาอังกฤษ ห้องงบประมาณ ห้องวิชาการ ห้องสำนักงานอำนวยการ ห้องผู้อำนวยการ ห้องปาริชาติ ห้องอาเซียน ศูนย์สื่อและพัฒนาการสอนภาษาจีน
    • อาคาร 5 เป็นที่ตั้งของ ห้องเรียนโครงการส่งเสริมความสามารถทางการเรียน (TEP) ห้องพละ
    • อาคาร 6 เป็นที่ตั้งของ ห้องพยาบาล ศูนย์สื่อและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น ศูนย์สื่อและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศส ห้องเรียนภาษาบาฮาซามลายู ห้องประชุมอินทนิล
    • อาคาร 7 เป็นที่ตั้งของ ห้องประชุมยูงทอง โรงฝึกงงานช่างอุตสาหกรรม ห้องดนตรีสากล ห้องนาฏศิลป์ ห้องวงดุริยางค์
    • อาคาร 8 ห้องประชุมต่างๆ และห้องบริหารทั่วไป/บริหารบุคคล
    • อาคาร 9 อาคารอนุสรณ์ 70 ปี ตึกเรียนวิทยาศาสตร์ ห้องเรียน Smart room
    • อาคาร 10 วิหารหลวงปู่พริ้ง/ห้องเสมารักษ์

หลักสูตรการเรียน[แก้]

มีการจัดการเรียนการสอนดังนี้

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เปิดการเรียนการสอนระดับชั้นละ 12 ห้องเรียน
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เปิดการเรียนการสอนระดับชั้นละ 14 ห้องเรียน เรียงลำดับตามแผนโครงสร้าง

โดยแบ่งเป็นแผนการเรียนต่างๆดังนี้

มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • ห้องเรียนในหลักสูตรภาคปกติ (ภาคภาษาไทย) จำนวน6ห้องเรียน
  • ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการ (คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์-ภาษาอังกฤษ) Talent Enrichment Program (TEP) จำนวน 6 ห้องเรียน
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการ (คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์-ภาษาอังกฤษ) Talent Enrichment Program (TEP) จำนวน 4 ห้องเรียน (ห้อง 1-4)
  • แผนการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 6 ห้องเรียน (ห้อง 5-10) โดยเลือกสายตอนม.5 มี4สายดังนี้
  • วิทย์-สาธารณะ
  • วิทย์-วิศวะ
  • วิทย์-สถาปัตยกรรม
  • วิทย์-เทคโนโลยี
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ จำนวน 3 ห้องเรียน (ห้อง 11-13)
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน จำนวน 1 ห้องเรียน (ห้อง 14)
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น จำนวน 1 ห้องเรียน (ห้อง 14)
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส จำนวน 1 ห้องเรียน (ห้อง 14) สำหรับปี 2566 เป็นต้นไป
  • ห้องเรียนในหลักสูตรภาคปกติ (ภาคภาษาไทย) จำนวน 6 ห้องเรียน
  • ห้องเรียนในหลักสูตรภาคปกติ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์พลังสิบ จำนวน 1 ห้องเรียน
  • ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการ (คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์-ภาษาอังกฤษ) Talent Enrichment Program (TEP) จำนวน 6 ห้องเรียน สำหรับปี 2566 เป็นต้นไป
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการ (คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์-ภาษาอังกฤษ) Talent Enrichment Program (TEP) จำนวน 4 ห้องเรียน (ห้อง 1-4)
  • แผนการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 6 ห้องเรียน (ห้อง 5-9) โดยเลือกสายตอนม.5 มี 4 สาย ได้แก่สาธารณสุข วิศวกรรม สถาปัตยกรรม เทคโนโลยี
  • แผนการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ห้องเรียนิวทยาศาสตร์พลังสิบ จำนวน 1 ห้องเรียน (ห้อง 10)
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ (ภาษาอังกฤษเร่งรัด) จำนวน 1 ห้องเรียน (ห้อง 11)
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ จำนวน 2 ห้องเรียน (ห้อง 12-13)
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาต่างประเทศ (ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน จำนวน 1 ห้องเรียน (ห้อง 14)
  • แผนการเรียนนิติรัฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ จำนวน 1 ห้องเรียน (ห้อง 15)

ทำเนียบผู้อำนวยการ[แก้]

  • * 1. นายพิรุฬห์ (พริ้ง) บำรุงใจ พ.ศ. 2492-2506
    • 2. นายธำรง โกมลบุตร พ.ศ. 2506-2508
    • 3. นายวิเวช แจ่มทวี พ.ศ. 2508-2512
    • 4. นายแดง สุขกุล พ.ศ. 2512-2524
    • 5. นายบำเพ็ญ สุวรรณ พ.ศ. 2524-2531
    • 6. นายเพ็ง เปี่ยมคุ้ม พ.ศ. 2531-2536
    • 7. นายกิตติ พวงเกษม พ.ศ. 2536-2540
    • 8. นายสายัณห์ รุ่งป่าสัก พ.ศ. 2540-2543
    • 9. นายบำรุง จริตงาม พ.ศ. 2543-2545
    • 10. นายปราโมทย์ ราชพิบูลย์ พ.ศ. 2545-2550
    • 11. นายทองปาน แวงโสธรณ์ พ.ศ. 2550-2553
    • 12. นายชัยอนันต์ แก่นดี พ.ศ. 2554-2556
    • 13. นายโสภณ กมล พ.ศ. 2556-2561
    • 14. นายวิเชียร ชุติมาสกุล พ.ศ. 2561-2565
    • 15. นายบุญชู กล้าแข็ง พ.ศ.2565-ปัจจุบัน

รางวัลและเกียติยศของโรงเรียน[แก้]

ด้านกิจกรรมผู้นำเชียร์และกองเชียร์ > นำทีมโดยท่านอาจารย์จันทร์เพ็ญ จั่นอาจ คณะครูหมวดวิชาพละศึกษา-คณะครูหมวดวิชาศิลปะ