Www.wikipedia.org ดอกไม จ งหว ด ม กดาหาร

แก้วมังกรเป็นไม้เลื้อย มีลำต้นยาวประมาณ 5 เมตร มีรากทั้งในดินและรากอากาศ ชอบดินร่วนระบายน้ำดี ชอบแสงแดดพอเหมาะ โล่งแจ้ง แต่ไม่แรงเกินไป ดอกสีขาว ขนาดใหญ่กลีบยาวเรียงซ้อนกัน บานตอนกลางคืน ผลแก้วมังกรมีรูปทรงเป็นทรงกลมรี สีของเปลือกผลเมื่อดิบเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นมีสีแดงม่วงหรือสีบานเย็น มีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่รอบผล ผลแก้วมังกรส่วนใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 300 - 600 กรัม เมื่อผ่าผลแก้วมังกรจะเห็นเนื้อของผลแก้วมังกรสีขาวหากผลนั้นเป็นแก้วมังกรพันธุ์เวียดนามหรือพันธุ์ไทย และเนื้อผลจะมีสีแดงหรือชมพูเมื่อผลนั้นเป็นพันธุ์เนื้อสีขาวโดยมีเมล็ดสีดำเล็กคล้าย ๆ เม็ดงา หรือเม็ดแมงลักกระจายฝังอยู่ทั่วเนื้อ แก้วมังกรสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมีดังนี้

  • พันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose.) เปลือกสีชมพูสด ปลายกลีบสีเขียว รสหวานอมเปรี้ยวหรือหวานจัด
  • พันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hylocercus megalanthus) เปลือกสีเหลือง ผลเล็กกว่าพันธุ์อื่น ๆ เนื้อสีขาว เมล็ดขนาดใหญ่และมีน้อยกว่าพันธุ์อื่น รสหวาน
  • พันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hylocercus costaricensis) หรือพันธุ์คอสตาริกา เปลือกสีแดงจัด ผลเล็กกว่าพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง แต่รสหวานกว่า

การเพาะปลูก[แก้]

แก้วมังกรเป็นไม้เลื้อยลำต้นอ่อนจำเป็นต้องมีหลักให้ลำต้นเกาะยึดซึ่งหลักจะเป็นไม้เนื้อแข็งหรือเสาซีเมนต์ก็ได้ ถ้าใช้ท่อซีเมนต์เป็นเสาซึ่งรูปทรงกลมภายในกลวงแต่เทปูนไว้ก้นท่อเพื่อไว้ใส่น้ำหล่อเลี้ยงให้เสามีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ฝังท่อซีเมนต์ลงในดินประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร ต้องสูงจากพื้นดินประมาณ 1.5 – 2 เมตร ด้านบนของเสาทำเป็นร้านให้กิ่งเกาะแผ่ขยายออกไประยะปลูก 3 x 3 เมตร เตรียมหลุมขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร รอบ ๆ หลัก หลักละ 4 หลุม สำหรับปลูกหลุมละ 1 ต้น รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักเก่า 1 ปุ้งกี๋ เมื่อนำกิ่งพันธุ์ลงหลุมแล้วมัดกิ่งพันธุ์ให้แนบหลักและกันแดดให้ 1 – 2 สัปดาห์

ประโยชน์[แก้]

แก้วมังกรนิยมรับประทานเป็นผลไม้สด เป็นส่วนผสมของฟรุตสลัดหรือปั่นเป็นน้ำผลไม้ เป็นผลไม้ที่สามารถรับประทานเพื่อบรรเทาอาการโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน[ต้องการอ้างอิง] ตลอดจนช่วยลดความอ้วนเนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีแคลอรีต่ำ เป็นผลไม้ที่มีกากใยสูง มีวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ช่วยทั้งในเรื่องการบำรุงผิวพรรณ กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยดูดซับสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกาย เช่น สารตกค้างจากยาฆ่าแมลงที่มากับผัก สารตกค้างเช่นตะกั่ว ที่มาจากควันท่อไอเสียรถยนต์ และสารอื่น ๆ และยังช่วยลดการเกิดมะเร็งอีกด้วย

รวมภาพ[แก้]

  • Www.wikipedia.org ดอกไม จ งหว ด ม กดาหาร
    ผลแก้วมังกร
  • Www.wikipedia.org ดอกไม จ งหว ด ม กดาหาร
    แก้วมังกรที่ขายในโปแลนด์
  • Www.wikipedia.org ดอกไม จ งหว ด ม กดาหาร
    เนื้อสีขาว เปลือกสีแดง
  • Www.wikipedia.org ดอกไม จ งหว ด ม กดาหาร
    เนื้อสีแดง เปลือกสีแดง
  • Www.wikipedia.org ดอกไม จ งหว ด ม กดาหาร
    เนื้อสีแดง
  • Www.wikipedia.org ดอกไม จ งหว ด ม กดาหาร
    เนื้อสีขาว เปลือกสีเหลือง
  • Www.wikipedia.org ดอกไม จ งหว ด ม กดาหาร
    เนื้อสีชมพู
  • Www.wikipedia.org ดอกไม จ งหว ด ม กดาหาร
    ต้นแก้วมังกร

อ้างอิง[แก้]

↑ นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. แก้วมังกร ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 37 - 39

บัว ได้รับการขนานนามให้เป็น "ราชินีแห่งไม้น้ำ" เป็นพืชน้ำล้มลุกที่มีทั้งลักษณะลำต้นที่เป็นหัว เหง้า หรือไหล ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้นโดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำ หรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้านใบบัว

บัว ถือเป็นสัญลักษณ์ของคุณงามความดี ความเชื่อมีมาตั้งแต่ สมัยพุทธกาล ซึ่งมีตำนานกล่าวว่า หมอชีวกโกมารภัจจ์ได้ปรุงยาจากดอกบัว ถวายแด่ องค์สมเด็จพระพุทธเจ้า แก้อาการอ่อนเพลีย ถือว่าดอกบัวเป็น ดอกไม้ประจำศาสนาพุทธตามพุทธประวัติพบว่า บัวมีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่ เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเมื่อ ได้ทรงตรัสรู้แล้ว แต่เนื่องจากพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัวสี่เหล่า

ความเป็นมาของบัว[แก้]

บัวเป็นหนึ่งในบรรดาดอกไม้ที่ผู้คนนิยมกันทั่วโลก ทั้งในการปลูกเป็นไม้ดอก และไม้ประดับ ในสมัยโบราณชาวอียิปต์นิยมนับถือบัวเป็นดอกไม้ประจำชาติ และเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ภาพเขียนที่ปรากฏตามผนังของพีระมิด หลุมฝังศพ และอาคารปรักหักพังต่างก็แสดงให้เรารู้ว่า เมื่อ 4,000 ปีก่อนนี้ ตามลุ่มแม่น้ำไนล์มีบัวชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่มากมาย เพราะภาพของสระน้ำมีภาพของกอบัวปรากฏให้เห็นเป็นหย่อม ๆ แม้กระทั่งตามหัวเสาสูงของโบสถ์ วิหาร ก็มีลายสลักเป็นรูปดอกบัว Herodotus นักประวัติศาสตร์ชาติกรีกได้เคยบันทึกไว้ว่าเมื่อถึงยามที่น้ำในแม่น้ำไนล์เอ่อท่วมฝั่ง เขาได้เห็นบัวชูดอกมากมาย โดยบัวเหล่านี้จะบานในเวลาฟ้าสาง และหุบดอกเมื่อถึงเวลากลางคืน การแย้มบานและหุบกลีบที่เกิดขึ้นพร้อมกับการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์นี้เอง ที่ทำให้ชาวอียิปต์โบราณถือกำหนดให้ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้า Horus แห่งดวงอาทิตย์ โดยถือให้พระองค์ทรงกำเนิดจากดอกบัว

นิยามของราชินีแห่งไม้น้ำ[แก้]

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้นิยามของคำว่า "บัว" ไว้ว่า บัวเป็นคำ น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ ในสกุล Nelumbo วงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น สกุลบัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม, ปัทม์ ก็เรียก, พันธุ์ดอกป้อมสีขาว เรียก "สัตตบุษย์" พันธุ์ดอกป้อมสีชมพู เรียก "สัตตบงกช" ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, ในสกุลบัวสาย Nymphaea วงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบหรือจัก อยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาว เรียก "สัตตบรรณ" บัวเผื่อน (N. nouchaliBurm.f.) ขอบใบเรียบ ดอกสีม่วงอ่อน, ใน สกุลวิคตอเรีย Victoria วงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบกระด้งหรือบัววิกตอเรีย [V. amazonica (Poeppig) Sowerby] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้านดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก

วงศ์และสกุล[แก้]

วงศ์[แก้]

พืชน้ำในภาษาไทยที่มีชื่อสามัญว่า "บัว" พบในสองวงศ์คือ

  • วงศ์บัวหลวง (En:Nelumbonaceae) ใบชูพ้นน้ำ
  • วงศ์บัวสาย (En:Nymphaeaceae) ใบลอยบนผิวน้ำ รวมบัวกระด้งอยู่ในวงศ์นี้ด้วย บัววงศ์นี้มีความโดดเด่นด้วยดอกและใบที่เบ่งบานชูช่ออยู่เหนือน้ำเปรียบประดุจดังหญิงสาว ซึ่งมีที่มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษจากคำว่า "Nymph" แปลว่า "เทพธิดาที่อยู่ในน้ำ" (A Beautiful Young Woman)

สกุล[แก้]

บัวแบ่งออกเป็น 3 สกุลใหญ่ โดยนักพฤกษศาสตร์คือ

Www.wikipedia.org ดอกไม จ งหว ด ม กดาหาร
ตัวอย่างสกุลบัวหลวง
Www.wikipedia.org ดอกไม จ งหว ด ม กดาหาร
ตัวอย่างสกุลบัวสาย
Www.wikipedia.org ดอกไม จ งหว ด ม กดาหาร
ตัวอย่างสกุลบัววิกตอเรีย

  • สกุลเนลุมโบ (En:Nelumbo) หรือ สกุลบัวหลวง

– บัวหลวง อยู่ในสกุลบัวหลวง ลักษณะใบชูเหนือน้ำ ก้านแข็ง เจริญเติบโตโดยมี ไหล ชอนไชไปใต้พื้นดิน พันธุ์ของบัวหลวงที่นิยมปลูกในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ฉัตรขาว ฉัตรแก้ว และฉัตรแดง บัวฉัตร หรือสัตตบงกช สีชมพู สีขาว และขาวปลายชมพู สีชมพูปลายขาว

– บัวฝรั่ง อยู่ในสกุลบัวหลวง ลักษณะคล้ายบัวหลวง ต้นอ่อน เจริญเติบโตโดยสร้างลำต้น หรือเหง้า เจริญตามแนวนอนใต้ผิวดิน ลักษณะใบมีทั้งขอบเรียบและขอบใบจัก ได้แก่บัวฝรั่งสีชมพู และสีขาว

  • สกุลนิมเฟียร์ (En:Nymphaea) หรือ สกุลบัวสาย

– บัวผัน บัวเผื่อน อยู่ในสกุลสกุลบัวสาย ต้นที่งอกจากเมล็ดจะเจริญตามแนวดิ่งขึ้นสู่ผิวดิน แล้วแตกก้านใบบนผิวดินดอกชูพ้นน้ำ บานในเวลาเช้าหรือกลางวัน และหุบตอนเย็น เป็นบัวชนิดที่ขยายพันธุ์ได้ช้า

– บัวสาย อยู่ในสกุลบัวสาย มีหัวกลม ๆ สายขนาดปลายนิ้วก้อย มีขนเล็กน้อย ใบมน ขอบใบจักหรือใบหยักเป็นระเบียบ และเห็นเส้นใบเป็นร่างแหที่ชัดเจน ดอกบานกลางคืนจนถึงรุ่งเช้า และหุบในเวลาเช้า ที่พบจะมีดอกอยู่ 3 สี คือ สีขาว, สีม่วงแดง และสีชมพู

– จงกลนี อยู่ในสกุลบัวสาย มีเหง้าเจริญเติบโตในแนวดิ่ง เมื่อเหง้าแก่เต็มที่จะสร้างหัวเล็ก ๆ รอบเหง้า เมื่อหัวแก่จะเจริญเป็นต้นใหม่ขึ้นมาข้างๆต้นแม่

  • สกุลวิกตอเรีย (Victoria) หรือสกุลบัวกระด้ง

– บัววิกตอเรีย อมาโซนิกา (En:Victoria amazonica) เป็นสายพันธุ์หนึ่งของ บัววิกตอเรีย ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 3 เมตร ก้านบัวยาว 7-8 เมตร พบอยู่ทั่วไปตามหนองน้ำตื้น ๆ ของแม่น้ำอะเมซอน วันที่ออกดอกวันแรกจะมีสีขาว แต่พอเข้าวันที่สองจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู

– บัววิกตอเรีย สายพันธุ์อังกฤษ (En:Victoria cruziana) เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า คือมีเส้นผ่านสูนย์กลางราว 1.5 เมตร แต่มีขอบกระด้งสูงราว 1 คืบ ออกดอกในช่วงปลายฤดูร้อนต่อต้นฤดูฝน คือ ในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน

ในจำนวนบัวทั้งหมด บัวหลวงนับเป็นบัวที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและเกษตรกรปลูกมากที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์ของการปลูกที่สำคัญ 2 ประการ คือ ปลูกเพื่อตัดดอกตูม ซึ่งนำไปใช้บูชาพระ และปลูกเพื่อเก็บเมล็ด ซึ่งสามารถใช้ประกอบอาหารทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน นอกจากนี้ส่วนอื่น ๆ ของบัวหลวง ก็ยังสามารถจำหน่ายและใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้ เช่น ใบแห้ง ใช้ทำยากันยุง มวนบุหรี่ ต้มเป็นยาบำรุงหัวใจ แก้ไข้ และรักษาโรคตับ ใบสด ใช้ห่ออาหาร และไหลหรือราก สามารถนำมาเชื่อมเป็นอาหารหวาน มีสรรพคุณแก้ร้อนใน และระงับอาการท้องร่วง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

บัวหลวง วงศ์ Nelumbonaceae บัวหลวงมีกลีบรวม (En:Tepal) จำนวนมาก กลีบด้านนอกสุด 2 - 4 กลีบ มักมีขนาดเล็กกว่าปรกติ ลักษณะคล้ายเป็นกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูสั้น อับเรณูรูปยาว สีเหลือง ที่ยอดอับเรณูมีรยางค์สีขาวยื่นออกมาเป็นติ่ง เกสรเพศเมียจำนวนมากเรียงตัวอยู่บนฐานรองดอกที่ขยายขนาดออกมาคล้ายฝักบัว เรียก ฐานดอกนูน (torus) โผล่เฉพาะส่วนยอดเกสรเพศเมียให้เห็นก้านชูยอดเกสรเพศเมียสั้นมาก ยอดเกสรเพศเมียคล้ายรูปจานสีเขียว รังไข่เหนือวงกลีบ ออวุล 1 อันติดอยู่ด้านบนของรังไข่

ความเชื่อในทางพุทธศาสนา[แก้]

ความเชื่อในทางพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยโบราณว่า ดอกบัวก็เหมือนกับคนเรานี้เอง ดอกบัวที่ชูดอกพ้นจากผิวน้ำขึ้นมารับแสงสว่างได้นั้น ก็เหมือนกับ ผู้ที่หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง กลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ซึ่งถือเป็นความหมายอันลึกซึ้ง และเป็นมีความเป็นมงคลยิ่งนัก

บัวควีนสิริกิติ์[แก้]

บัวควีนสิริกิติ์ พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้บัวลูกผสมนี้มีชื่อว่า "บัวควีนสิริกิติ์ (Nymphaea ‘Queen Sirikit’)" เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555 พร้อมกับที่ทรงได้รับการยกย่องเป็น "พระมารดาแห่งการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ" (Mother of Biodiversity Conservation) จากรัฐบาลไทยในปี พ.ศ. 2553