U n ม มต กำหนดให ว นท 5 ธ นวาคม

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า ตามที่ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม มอบนโยบายให้ ขบ. พัฒนา ปรับปรุงข้อกำหนดทางเทคนิคด้านยานยนต์ เพื่อให้รถมีความปลอดภัยในการใช้งาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเทียบเท่ามาตรฐานสากล เช่น ข้อกำหนดสหประชาชาติ (UN Regulations) ซึ่งเป็นข้อกำหนดทางเทคนิคด้านยานยนต์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก และเป็นการส่งเสริมให้บรรลุผลตามเป้าหมายทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (Decade of Action for Road Safety 2021-2030) นั้น

ที่ผ่านมา ขบ. ได้ออกประกาศหลายฉบับ เช่น มาตรวัดความเร็ว (UNR39) อุปกรณ์มองภาพรถจักรยานยนต์ (UNR81) กระจกนิรภัย (UNR43) แตรสัญญาณ (UNR28) จุดยึดเข็มขัดนิรภัย (UNR14) การติดตั้งเข็มขัดนิรภัย (UNR16) ที่นั่งและจุดยึดที่นั่งและพนักพิงศีรษะ (UNR17) ระบบห้ามล้อรถจักรยานยนต์ (UNR78) ระดับเสียง (UNR41/51) และความปลอดภัยทางไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้า (UNR100/136) เป็นต้น ซึ่งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ดังกล่าวต้องได้รับการรับรองแบบจาก ขบ. ก่อน รถจึงจะสามารถจดทะเบียนเพื่อใช้งานบนท้องถนนได้

นายจิรุตม์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ขบ. เดินหน้ายกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของตัวรถอย่างต่อเนื่อง และได้ออกประกาศกรมการขนส่งทางบกเพิ่มเติม 2 ฉบับ ได้แก่ 1.ประกาศระบบห้ามล้อรถยนต์(1) (สอดคล้องตามข้อกำหนดสหประชาชาติที่ 13H หรือ UN Regulation No.13H) เพื่อกำหนดมาตรฐานของระบบห้ามล้อรถยนต์ เช่น อุปกรณ์ห้ามล้อ ระบบห้ามล้อหลัก ระบบห้ามล้อสำรอง ระบบห้ามล้อขณะจอด และระบบป้องกันล้อล็อก (Anti-lock system) เป็นต้น

U n ม มต กำหนดให ว นท 5 ธ นวาคม

และ 2.ประกาศการติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่างและอุปกรณ์แสงสัญญาณของรถจักรยานยนต์ หรือ จยย. (2) (สอดคล้องตามข้อกำหนดสหประชาชาติที่ 53 หรือ UN Regulation No.53) เพื่อกำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์ส่องสว่างและอุปกรณ์แสงสัญญาณของรถ จยย. รวมทั้ง สี จำนวน ตำแหน่ง การมองเห็น ทิศทางการส่องของแสง และสัญญาณแสดง (Tell-tales) เป็นต้น โดยประกาศกรมการขนส่งทางบกทั้ง 2 ฉบับ จะเริ่มมีผลใช้บังคับกับแบบรถใหม่ที่ผลิต ประกอบ หรือนำเข้า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.67 เป็นต้นไป

นายจิรุตม์ กล่าวอีกว่า ในการจดทะเบียนรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ผู้ผลิต ประกอบ หรือนําเข้ารถยนต์นั่ง (ที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน 9 ที่นั่ง) รถยนต์บรรทุก (ที่มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 3,500 กิโลกรัม) และรถ จยย. ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ “จำหน่าย” หรือ “ใช้เองเกินกว่าจำนวนที่กำหนด” (3 คัน/แบบ/ปี สำหรับรถยนต์ และ 5 คัน/แบบ/ปี สำหรับรถ จยย.) ต้องขอรับรองแบบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถกับ ขบ. ก่อนจึงจะสามารถจดทะเบียนได้

U n ม มต กำหนดให ว นท 5 ธ นวาคม

โดยผู้ผลิต ประกอบ หรือนําเข้ารถต้องจัดเตรียมเอกสารสำหรับยื่นขอรับรองแบบ เช่น เอกสารแสดงข้อมูลรายละเอียดรถ รายงานผลการทดสอบ และเอกสารแสดงการตรวจสอบการผลิตให้เป็นไปตามต้นแบบ รวมทั้งเตรียมรถต้นแบบเพื่อเข้ารับการตรวจสอบ โดยสามารถยื่นขอรับรองแบบ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มมาตรฐานยานยนต์ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ อาคาร 6 ชั้น 3 กรมการขนส่งทางบก เบอร์ 0-2271-8603 หรือเว็บไซต์ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ https://aeb.dlt.go.th/th

หมายเหตุ (1) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ คุณลักษณะ ระบบการทำงาน และสมรรถนะ และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองแบบระบบห้ามล้อของรถยนต์ พ.ศ.2565 (2) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ คุณลักษณะ ระบบการทำงาน และสมรรถนะ และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองแบบการติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่างและอุปกรณ์สัญญาณของรถจักรยานยนต์ พ.ศ.2565

องค์การสหประชาชาติเผยแพร่รายงานการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ชี้หากไม่มีการดำเนินการเชิงรุก-จริงจังภายในศตวรรษนี้ อุณหภูมิพื้นผิวโลกจะสูงขึ้น 3 องศา

เมื่อวานนี้ ( 20 พ.ย.) องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้เผยแพร่รายงานการวิเคราะห์ระดับการแพร่กระจายก๊าซเรือนกระจก (Emissions Gap Report) ประจำปี 2023 ซึ่งเป็นกานประเมินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศที่ให้คำมั่นสัญญาและตั้งเป้าหมายร่วมกันในแก้ไขปัญหาโลกร้อน

แอนน์ โอลฮอฟฟ์ หัวหน้าบรรณาธิการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของรายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า ถ้าเทียบกับช่วงเวลาก่อนบังคับใช้ข้อตกลงปารีสในปี 2015 ก็ได้เห็นสิ่งต่างๆเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น และเห็นรัฐบาลต่างๆดำเนินการที่เข้มงวดมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ใกล้หายนะเข้าไปทุกที สัปดาห์ที่แล้วโลกร้อนเกิน 2 องศาฯ ชั่วขณะ!

ญี่ปุ่นใบไม้เปลี่ยนสีมาช้ากว่าปกติ เหตุเพราะโลกร้อน

ออสเตรเลียเสนอตัวเป็นที่ลี้ภัยหนีโลกร้อนให้ชาวตูวาลู

U n ม มต กำหนดให ว นท 5 ธ นวาคม

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ยังไม่เพียงพอ และหากรัฐบาลต่างๆไม่เร่งยกระดับการบังคับใช้มาตรการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลกจะแตะ 3 องศาเซลเซียสภายในศตวรรษนี้

การคาดการณ์ว่า อุณหภูมิพื้นผิวโลกจะร้อนขึ้น 3 องศาเซลเซียสคือสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่ง เพราะนั่นหมายถึงหายนะหรือการล่มสลายของระบบนิเวศน์ที่เปราะบางหลายจุดที่มีส่วนสร้างสมดุลสภาพอากาศ ไม่ว่าจะเป็นการละลายของธารน้ำแข็งอย่างถาวร ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายทศวรรษก่อนที่จะถึงระดับสูงสุด

ประชากรของโลกประมาณ 600 ล้านคนที่อยู่ในเอเชียแปซิฟิกจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมรุนแรงและพื้นที่จำนวนมากจะจมลงทะเล

อีกจุดหนึ่งที่รายงานฉบับล่าสุดของยูเอ็นระบุถึงคือ ผืนป่าแอมะซอน แหล่งผลิตออกซิเจนและแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่จะแห้งแล้งกลายสภาพเป็นทะเลทรายหากอุณหภูมิพื้นผิวโลกแตะ 3 องศาเซลเซียส และหากเกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้แล้ว จะไม่สามารถแก้ไขให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีก โดยนักวิทยาศาสตร์เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า การเลยผ่าน Tipping Point ไปแล้ว

หายนะที่รออยู่คือ คือเหตุผลทำให้ประชาคมโลกพยายามการกดตัวเลขอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ 196 ประเทศทั่วโลกเคยตกลงทำร่วมกันไว้ในคราวประชุมเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกครั้งที่ 21 หรือ COP21 ที่ปารีสของฝรั่งเศสเมื่อปี 2014 โดยในคราวนั้น ได้มีการสัญญาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุหลักของสภาวะโลกร้อน

ก๊าซเรือนกระจกคืออะไร ก๊าซเรือนกระจก คือ ก๊าซที่สามารถดูดซับและกักเก็บความร้อนที่แผ่ออกจากโลก ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ก๊าซในกลุ่มนี้ประกอบด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) และ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6)

ตัวที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญคือ คาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากก๊าซตัวนี้มีปริมาณมากถึงร้อยละ 70 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด นอกจากปริมาณที่ถูกปลดปล่อยจะมากที่สุดแล้ว คาร์บอนไดออกไซด์ยังคงอยู่ในบรรยากาศได้นานกว่า ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนโลกมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ลดลงภายหลังการทำข้อตกลงที่ปารีส เดือนตุลาคมปี 2020 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกออกมาเปิดเผยถึงระดับความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ตรวจวัดได้ว่า พุ่งสูงถึง 413.2 ส่วน ต่อ 1 ล้านส่วน เป็นค่าสูงที่สุดที่ได้เคยบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์

หลังรายงานฉบับนี้ของยูเอ็นออกมา หลายฝ่ายจับตาดูความเคลื่อนไหวของบรรดาผู้นำโลกที่กำลังเตรียมเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำด้านสภาพภูมิอากาศประจำปีขององค์การสหประชาชาติ หรือ COP28 ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

ผู้นำโลกเตรียมประชุม COP28 ถกคุมอุณหภูมิโลกไม่เกิน 1.5 องศา

การประชุมของผู้นำจากประเทศที่เป็นภาคีของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 หรือ COP 28 จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 12 ธันวาคม ที่นครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

วาระใหญ่คือ ทำอย่างไร อุณหภูมิพื้นผิวโลกจะไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส หลายฝ่ายบอกว่า เป็นไปได้ยากหากดูจากรายงานฉบับใหม่ของยูเอ็นที่เผยแพร่เมื่อวานนี้ที่ชี้ว่า โอกาสในการจำกัดไม่ให้อุณหภูมิโลกร้อนเพิ่มขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส มีเพียงแค่ร้อยละ 14 เท่านั้น

นักวิทย์ฯ พบอุณหภูมิโลกสูงเกิน 2 องศาเซลเซียสครั้งแรก

อีกข่าวไม่ดีที่ออกมา เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ ซาแมนธา เบอร์เจสส์ รองผู้อำนวยการสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัส ได้เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมาได้ตรวจพบอุณหภูมิเฉลี่ยของอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันของโลกได้สูงเกิน 2 องศา C เป็นครั้งแรกเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของยุคก่ออุตสาหกรรม (1850-1900)

เบอร์เจสส์ ระบุว่า ถึงแม้อุณหภูมิที่สูงเกินเกณฑ์เพียง 1 วัน ไม่ได้หมายความว่าโลกของเรากำลังอยู่ในภาวะร้อนเกิน 2 องศาเซลเซียสแบบถาวร แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ชัดเจนว่า โลกของเราร้อนขึ้นเรื่อยๆ และวิธีแก้ปัญหาก็ยากขึ้นเรื่อยๆด้วย

เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เพิ่งออกมาแสดงความผิดหวังที่ประชาคมโลกล้มเหลวในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยระบุว่า สภาวะโลกร้อน (global warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และจากนี้ไป โลกเข้าสู่ยุค ‘โลกเดือด’ (global boiling)

อุณหภูมิโลกที่ร้อนระอุขึ้น ส่งผลทำให้ประเทศบราซิลเกิดเหตุแฟนเพลงนักร้องสาว "เทย์เลอร์ สวิฟต์" เสียชีวิตระหว่างนั่งรอชมคอนเสิร์ตในสนามกีฬา

U n ม มต กำหนดให ว นท 5 ธ นวาคม

บราซิลร้อนจัด แฟนเพลง "เทย์เลอร์ สวิฟต์" เสียชีวิต 1 ราย

สภาพอากาศที่ร้อนระอุในนครริโอ เดอ จาเนโร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของบราซิล ส่งผลให้ "อนา คลารา เบเนวิเดส" (Ana Clara Benevides) วัย 23 ปี ซึ่งรู้สึกไม่สบายระหว่างนั่งอยู่ในสนามกีฬาเพื่อรอชมคอนเสิร์ตดิ เอราส์ ทัวร์ (The Eras Tour) ของ "เทย์เลอร์ สวิฟต์" หมดสติลง ก่อนจะถูกหามตัวส่งโรงพยาบาล และเสียชีวิตในอีก 1 ชั่วโมงต่อมาด้วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

ขณะที่เทย์เลอร์ ได้โพสต์อาลัยแฟนคลับคนดังกล่าวผ่านทางอินสตาแกรม โดยบอกว่า เธอรู้สึกใจสลายที่ต้องสูญเสียแฟนคลับ ขอส่งกำลังใจให้ครอบครัวและเพื่อน ๆ ของผู้เสียชีวิต และเธอก็หวังว่านี่จะเป็นความสูญเสียครั้งสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นในคอนเสิร์ตของเธอ

นอกจากนี้เทย์เลอร์ยังประกาศตัดสินใจเลื่อนคอนเสิร์ตที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ผ่านมา พร้อมกับย้ำว่า ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของแฟนๆ รวมถึงทีมงานและนักแสดงบนเวทีทุกคน สำคัญและต้องมาก่อนเสมอ

การเสียชีวิตของแฟนเพลงรายนี้ เกิดขึ้นขณะที่บราซิลกำลังเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรง ค่าดัชนีความร้อน ซึ่งคำนวณจากอุณหภูมิและความชื้น พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 59.3 องศาเซลเซียสในวันศุกร์ และ 59.7 องศาเซลเซียสในวันเสาร์ จนทำให้ทางการต้องประกาศเตือนภัยด้านสุขภาพ

ขณะที่เมื่อวานนี้แฟนๆ ของเทย์เลอร์ได้หลั่งไหลรวมตัวกันเพื่อเข้าชมคอนเสิร์ตที่ถูกเลื่อนมาจากวันเสาร์ แม้ว่าอากาศยังคงร้อนระอุ แต่ยังถือว่าอุณหภูมิลดลงกว่าสองวันก่อนหน้าที่ร้อนทุบสถิติ โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลกลางของบราซิลสั่งผู้จัดงานอนุญาตให้ผู้เข้าชมคอนเสิร์ตนำขวดน้ำดื่มของตนเองเข้าไปในคอนเสิร์ตได้ และอำนวยความสะดวกให้สามารถหาน้ำดื่มได้ง่ายและฟรี

ท่ามกลางอากาศที่ร้อนจัดในเมืองหลวง แต่ที่ภาคใต้ของบราซิลเผชิญฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วม ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 6 ราย

ตอนใต้บราซิลเผชิญน้ำท่วมครั้งใหญ่ เสียชีวิต 6 ราย

โดยปรากฎภาพมุมสูงที่เผยให้เห็นสภาพบ้านเมืองทางภาคใต้ของบราซิลที่ถูกน้ำท่วมเป็นวงกว้างทหลังพื้นที่ดังกล่าวเผชิญกับพายุพัดถล่มอย่างหนักในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ฝนที่ตกหนัก ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำไก ในรัฐรีโอกรันดีโดซูล เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 16 เมตร และเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชน ขณะที่ทางการสั่งอพยพผู้คนหลายพันคนไปยังโรงยิม หรือสวนสาธารณะเพื่อความปลอดภัย

ถนนทางเข้าหมู่บ้านหลายแห่งถูกตัดขาด ล่าสุดมีรายงานพบผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 ราย ขณะที่ประชาชนอย่างน้อย 31,000 คน ในรัฐรีโอกรันดีโดซูล ได้รับผลกระทบจากฝนตกหนัก และมีมากกว่า 1,600 คนต้องอพยพออกจากบ้านเรือนของตัวเอง หลายคนต้องหอบข้าวของจำเป็นเดินลุยน้ำออกจากบ้าน และอีกจำนวนหนึ่งต้องพายเรือขนของออกมา หนึ่งใน ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในบราซิลเล่าว่า น้ำได้ทะลักเข้าบ้านตั้งแต่วันอาทิตย์ และเมื่อวานนี้สถานการณ์แย่กว่าเดิมมาก

ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาพื้นที่ทางภาคใต้ของบราซิลเผชิญกับสภาพอากาศสุดขั้วอย่างต่อเนื่องอย่างเดือนกันยายนที่ผ่านมา ที่นั่นเผชิญกับฝนตกหนัก และพายุไซโคลนพัดถล่มอย่างรุนแรง จากเหตุการณ์นี้ ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 50 ราย