Stop further interest charges หย ดค ดดอกเบ ยเพ ม

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.

Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.

Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).

Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).

United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.

European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.

United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.

Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.

The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.

The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.

Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.

Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.

จบไปแล้วกับการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ Federal Reserve System: Fed) หรือ ‘เฟด’ เมื่อวันที่ 3-4 พ.ค. ผลปรากฎว่า เฟดตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย 0.5% นับเป็นการปรับขึ้นที่แรงที่สุดในรอบ 22 ปี

ไม่เพียงเท่านั้น เฟดยังเปิดเผยถึงแผนปรับลดงบดุล (Quantitative Tightening: QT) ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2565 เป็นต้นไป มูลค่าต่อเดือนราว 4.75 หมื่นล้านเหรียญ หรือราว 1.6 ล้านล้านบาท

ก่อนจะทยอยเพิ่มการปรับลดต่อเดือนเป็น 9.5 หมื่นล้านเหรียญ หรือราว 3.2 ล้านล้านบาท เพื่อคุมเงินเฟ้อ

ปกติในยามที่เฟดขึ้นดอกเบี้ย พร้อมประกาศลดงบดุล ตลาดหุ้นทั่วโลกจะผันผวนรุนแรง เพราะกังวลสารพัดปัจจัยลบที่อาจเกิดขึ้น ทั้งต้นทุนธุรกิจที่เพิ่มขึ้น เงินทุนในระบบที่ลดลง เงินไหลออกจากตลาดทุน ฯลฯ

แต่การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในครั้งนี้กลับทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับร้อนแรง ทั้งดาวโจนส์ที่พุ่งแรงกว่า 900 จุด S&P 500 บวกมากกว่า 100 จุด และแนสแด็กบวกกว่า 400 จุด

ไม่เพียงเท่านั้น ราคาทองคำ Spot ในต่างประเทศก็ปรับขึ้นร้อนแรงเช่นกัน จากแรงหนุนเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังการประชุมเฟด

ทำไมตลาดหุ้นครั้งนี้ถึงตอบรับไม่เหมือนครั้งก่อนๆ เฟดขึ้นดอกเบี้ยกระทบประเทศไทยและคนทำธุรกิจอย่างไร วันนี้ TODAY Bizview จะมาเล่าให้ฟัง

[ เฟดขึ้นดอกเบี้ย-ลดใส่เงินในระบบ ทำไมหุ้นบวก ]

การที่เฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้น 0.5% สู่ระดับ 0.75-1.00% พร้อมปรับลดงบดุล 4.75 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือน ตั้งแต่เดือน มิ.ย.เป็นต้นไปนั้น เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้

แต่สิ่งที่เซอร์ไพรส์นักลงทุน คือการที่ ‘เจอโรม พาวเวล’ ประธานเฟดออกมาเปิดเผยว่า เฟดไม่มีแผนที่จะต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ต่อครั้งในรอบถัดไป ทำให้ตลาดคลายความกังวลต่อการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐ

นอกจากนี้ เฟดยังมั่นใจว่า การดำเนินนโยบายทางการเงินของตัวเองในรอบนี้ จะนำพาเศรษฐกิจสหรัฐไปสู่การ Soft Landing ได้ เป็นอีกหนึ่งเซอร์ไพรส์ที่ช่วยให้นักลงทุนผ่อนคลายความกังวลว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยแรงจนเศรษฐกิจถดถอย

เพราะเหตุนี้ ตลาดหุ้นทั่วโลกจึงพร้อมใจกันบวกตั้งแต่คืนวันที่ 4 พ.ค. ต่อเนื่องมาจนถึงเช้าวันที่ 5 พ.ค. ทั้งตลาดหุ้นสหรัฐที่กล่าวไปข้างต้น รวมถึงตลาดหุ้นเอเชีย

นำโดยตลาดหุ้นอินเดียที่บวกกว่า 600 จุด ตลาดหุ้นฮ่องกงบวกกว่า 100 จุด ตลาดหุ้นไต้หวันบวกกว่า 100 จุด ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์บวกว่า 60 จุด ตลาดหุ้นอินโดนีเซียบวกกว่า 30 จุด และตลาดหุ้นจีนบวกกว่า 20 จุด

แต่การปรับขึ้นของตลาดหุ้นวันนี้ อาจเป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น เพราะการดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวของเฟด ทั้งการเร่งขึ้นดอกเบี้ย และแผนการดึงเงินออกจากระบบ จะสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นมากขึ้นในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า ซึ่งคนลงทุนควรต้องระวัง

ส่วนภาคการผลิต คาดว่าต้นทุนจะเพิ่มขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อและต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อเนื่องไปยังการเติบโตของเศรษฐกิจ และการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียน

[ เศรษฐกิจถดถอย 8 จาก 11 ครั้ง หลังขึ้นดอกเบี้ย ]

จากสถิติตั้งแต่ปี 2503 หรือเมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้ว เฟดประกาศขึ้นดอกเบี้ยทั้งหมด 11 ครั้ง และพบว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ย 8 จาก 11 ครั้ง ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession)

มีเพียง 3 รอบเท่านั้นที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวได้ต่อ หรือที่เรียกว่า Soft Landing นั่นเอง ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2508 2527 และ 2537 และในรอบนี้ เฟดอาจ Soft Landing ไม่สำเร็จตามที่คาดหวังเอาไว้จาก 2 เหตุผลหลัก คือ

1. เงินเฟ้อของสหรัฐอยู่ในระดับสูงกว่า 8% กดดันให้เฟดต้องขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่เร็วขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ส่วนต่างของเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร หรือ Yield Curve อายุ 10 ปี และ 2 ปี ซึ่งเป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่เอาไว้ดูความเสี่ยง Recession ในอีก 19 เดือนข้างหน้า

ล่าสุด ปรับลงติดลบเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา หรือที่เรียกว่าปรากฎการณ์ Inverted Yield Curve นั้นเอง หมายความว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะ Recession ในเดือน พ.ย. 2566

2. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Yield) หรืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรหักด้วยอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ (Inflation Expectation) ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจนใกล้กลับมาเป็นบวกแล้ว

หาก Real Yield พลิกกลับมาอยู่ในแดนบวก จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เม็ดเงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง เช่น ตลาดหุ้น เป็นต้น เพราะถ้าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงขึ้น นักลงทุนก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้น

[ แบงก์ชาติไทยอาจต้องขึ้นดอกเบี้ยตามเฟด ]

นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) คาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเริ่มส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มิ.ย.ที่จะถึงนี้ แต่คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในไตรมาส 3 ปี 2565

สิ่งที่ทำให้นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ธปท.จะเริ่มส่งสัญญาณดอกเบี้ยขาขึ้นในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า เพราะเงินเฟ้อของไทยกำลังปรับตัวเพิ่มขึ้น และเพื่อลดความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นจากการที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศอื่นเริ่มสูงกว่าของไทย

ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มองว่า กนง.อาจขึ้นดอกเบี้ยปลายปีนี้ หากเศรษฐกิจไทยพื้นตัวได้ดีต่อเนื่องและสัญญาณเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง จากเดิมคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในช่วงต้นปี 2566

นอกจากนี้ หากอัตราดอกเบี้ยของไทยยังอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน สวนทางกับธนาคารกลางประเทศสำคัญ ก็อาจทำให้ตลาดทุนไทยมีความเสี่ยงจากเงินทุนเคลื่อนย้ายได้

[ ธุรกิจที่ได้ประโยชน์ vs ธุรกิจที่เสียประโยชน์ ]

จากทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ธุรกิจที่มีแนวโน้มได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เพราะธนาคารพาณิชย์สามารถเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงขึ้นตามดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ผลกำไรของธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น

กลุ่มธุรกิจประกันชีวิต เพราะเงินเบี้ยประกันจากลูกค้า ส่วนใหญ่บริษัทประกันจะนำไปลงทุนในตราสารหนี้ ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น ก็จะทำให้บริษัทประกันมีแนวโน้มได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้น

รวมทั้งกลุ่มธุรกิจนำเข้าต่างๆ เช่น ธุรกิจนำเข้าเครื่องมือแพทย์ ธุรกิจนำเข้าเครื่องจักร จากต้นทุนการนำเข้าที่อาจลดลง

ส่วนธุรกิจที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น แบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ

1. ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ได้แก่ ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ธุรกิจเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง เพราะต้นทุนการกู้ยืมส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์

ดังนั้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของกลุ่มเช่าซื้อเพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้หลักจากดอกเบี้ยรับจากการปล่อยสินเชื่อจะเป็นลักษณะการคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ (Fixed Rate)

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพราะการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ทำให้ภาระในการผ่อนชำระต่องวดของผู้กู้ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ความต้องการอสังหาริมทรัพย์ลดลงได้

สำหรับธุรกิจอื่นๆ ที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบเช่นกัน เช่น ธุรกิจคมนาคม ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจโรงภาพยนตร์ และธุรกิจสื่อ เป็นต้น

นอกจากนี้ บางธุรกิจยังเสียเปรียบในการแข่งขันอีกด้วย เช่น ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ และห้างสรรพสินค้าขนาดเล็ก

2. ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบระดับปานกลาง-น้อย จากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ได้แก่ ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ธุรกิจคลังสินค้าในพื้นที่ EEC ธุรกิจห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ธุรกิจดิสเคาน์สโตร์ ธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาง ธุรกิจปาล์มน้ำมัน ธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ และ ธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องปรับอากาศ)

เพราะแม้จะได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและการแข่งขันที่รุนแรงระดับหนึ่ง แต่ธุรกิจมีแนวโน้มเติบโตตามความต้องการใช้บริการและสินค้าที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการแข่งขัน

[ สำรวจผลกระทบต่อคนไทย ต้องรับมืออย่างไรบ้าง ]

แน่นอนว่าสำหรับคนมีหนี้ ดอกเบี้ยขาขึ้นย่อมส่งผลให้ภาระหนี้เพิ่มขึ้น สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มสำรวจหรือจัดการตัวเองอย่างไร แนะนำทำตาม 3 ข้อนี้

1. จำแนกหนี้ – ง่ายๆ เลยคือ แบ่งหนี้สินที่มีออกเป็น 2 ประเภทให้ชัดเจน คือ 1) หนี้ที่มีดอกเบี้ยลอยตัว สังเกตจากคำว่า MLR MRR หรือ MOR ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหนี้บ้าน และ 2) หนี้ที่มีดอกเบี้ยคงที่ กลุ่มหลังเกิดจากการเช่าซื้อหรือผ่อนสินค้าต่างๆ เช่น สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อบัตรเครดิต

2. จัดการหนี้ดอกเบี้ยลอยตัวก่อน – เช่น หนี้บ้าน หากครบ 3 ปี อาจพิจารณาการรีไฟแนนซ์ เพราะหลายธนาคารมัดจัดโปรโมชั่นสินเชื่อบ้านเงินกู้ 3 ปี ซึ่งจะช่วยลดภาระหนี้ที่มีดอกเบี้ยลอยตัว

3. จัดการหนี้ดอกเบี้ยคงที่ทีหลัง – ก้อนแรกๆ ที่ควรจัดการ คือหนี้จำพวกสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต เพราะถึงดอกเบี้ยจะคงที่ตามนโยบายของแบงก์ แต่เป็นดอกเบี้ยที่คิดแบบลดต้นลดดอก ถ้าเงินต้นยังค้างอยู่ ลูกหนี้ก็จะถูกคิดดอกเบี้ยเรื่อยๆ

[ ‘ทองคำ-บิตคอยน์-หุ้น’ อะไรน่าลงทุน ]

สำหรับการลงทุน Creative Investment Space (CIS) สถาบันให้ความรู้ด้านนวัตกรรมการลงทุนรูปแบบใหม่ แนะนำทองคำและบิตคอยน์เป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจลงทุน

โดยมองว่าทองคำมีโอกาสฟื้นตัว หลังราคาทองสามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน ที่ 1,858 เหรียญได้ และยังปรับขึ้นหลังการประชุมเฟด ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะฟื้นตัวขึ้นมาทดสอบระดับ 2,000 ดอลลาร์เหรียญ

ส่วนบิตคอยน์ ในช่วงที่ผ่านมายังไม่มีการทำจุดต่ำสุดใหม่ แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้ ดังนั้น คาดว่าน่าจะเห็นการฟื้นตัวขึ้นได้หลังจากนี้ โดยมีเป้าหมายที่ระดับ 50,000 เหรียญ

แต่สำหรับตลาดหุ้น CIS ประเมินว่า ตลาดหุ้นสหรัฐ ดัชนี S&P 500 และดาวโจนส์ มีความน่าสนใจกว่าแนสแด็ก เพราะหุ้นกลุ่มแวลู (Value Stock) น่าจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดเริ่มอ่อนแรงและและหลายประเทศเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวแล้ว

ส่วนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เริ่มมีประเด็นเรื่องของผลประกอบการรายบริษัทที่ออกมาแย่กว่าคาด โดยเฉพาะกลุ่มที่เคยได้ประโยชน์จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด อย่าง Netflix และ Amazon

ตลาดหุ้นจีน ยังมีประเด็นเรื่องของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดจนต้องมีการปิดเมืองใหญ่หลายแห่ง ทำให้มีโอกาสที่เศรษฐกิจในประเทศอาจชะลอตัวลง ถ้าหากยังไม่มีการประกาศใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลน่าจะยังไม่เห็นการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้น

นอกจากนี้ หุ้นเทคโนโลยีจีนยังคงมีแรงกดดันจากนโยบายภาครัฐ ซึ่งมองในภาพรวมแล้วตลาดหุ้นจีนยังไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีในระยะสั้น แต่ถ้ามีปัจจัยบวกเข้ามาจะเป็นโอกาสลงทุนระยะยาว

ส่วนตลาดหุ้นไทย ยังมีความน่าสนใจจากนโยบายเปิดประเทศ เพราะอาจทำให้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนเติบโตขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง

ขณะที่ SET Index ช่วงที่ผ่านมาปรับตัวลดลงไม่มากเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่น โดยมองว่าสามารถทยอยสะสมหุ้นมาร์เกตแคปใหญ่ในช่วงไตรมาสสองนี้ เพื่อรอตลาดฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง

อีกหนึ่งตลาดหุ้นที่น่าสนใจ คือ ตลาดหุ้นเวียดนาม ที่ปรับตัวลงมาประมาณ 10% จากจุดสูงสุด ยังมองเป็นเพียงแค่การปรับฐานระยะสั้น ถ้ากลับมายืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันได้ ยังเป็นโอกาสเข้าลงทุน

สรุปว่า ถึงแม้เฟดจะอยู่คนละซีกโลกกับเรา แต่เวลาขึ้นดอกเบี้ยแต่ละครั้ง กลับสะเทือนไปทั้งวงการ ทั้งการลงทุน การทำธุรกิจ และชีวิตส่วนตัว ดังนั้น เฟดขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ อาจเป็นโอกาสดีที่จะสำรวจการเงินของตัวเอง