เยาวชน กับการพัฒนาท้องถิ่น


เยาวชน กับการพัฒนาท้องถิ่น

หัวเรื่อง : โครงการเยาวชนสร้างสรรค์ นวัตกรรมท้องถิ่น 2552

                สถาบันพระปกเกล้า โดย วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาการปกครองท้องถิ่น ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาและปลูกฝังเยาวชนเพื่อให้มีความรู้ความเข้า ใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยและการปกครองท้องถิ่น รวมถึงการส่งเสริมให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองการบริหารในระดับ ท้องถิ่น อันเป็นหน่วยทางการเมืองการบริหารที่ใกล้ชิดกับเยาวชนมากที่สุด โดยการให้เยาวชนดำเนินกิจกรรมที่มีความสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อท้อง ถิ่นของตนในด้านต่างๆ อาทิเช่น การศึกษา สาธารณสุข ประเพณี วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตามศักยภาพ ความรู้ ความสามารถและ ประสบการณ์ของเยาวชน 
ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการนี้ คือ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนรู้รักและพัฒนาถิ่นฐานบ้านเกิด อีกทั้งมีส่วนร่วมกับชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่นอันจะเป็นรากฐานสำคัญในการ พัฒนาประชาธิปไตยให้ก้าวสืบไป

โครงการเยาวชนสร้างสรรค์ นวัตกรรมท้องถิ่น 2552 (60 ครั้ง) ดาวน์โหลด


Share :

เยาวชน กับการพัฒนาท้องถิ่น
เยาวชน กับการพัฒนาท้องถิ่น


กลับไปหน้าหลัก

การพัฒนาเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

    สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบเนื่องจากการดำเนินการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เมื่อ พ.ศ. 2544 เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชมชุนสามารถยกระดับความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น มีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีจุดเด่น เป็นเอกลักษณ์และสอดคล้องกับวัฒนธรรมในท้องถิ่น กรมการพัฒนาชุมชนได้ตระหนักถึงการอนรักษ์และการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ในชุมชน และเกิดการต่อยอดองค์ความรู้ของชุมชนสืบไป จึงส่งเสริมให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาองค์ความรู้ของเยาวชนด้านการผลิตสินค้า OTOP และส่งเสริมให้เยาวชน เข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนาอาชีพ” โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนในพื้นที่จังหวัด อายุระหว่าง 15-25 ปี

เยาวชน กับการพัฒนาท้องถิ่น

ภาพตัวอย่างโครงการพัฒนาเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนาอาชีพ จังหวัดลำปาง

การดำเนินงาน

    กรมการพัฒนาชุมชนดำเนินงานตามโครงการพัฒนาเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนาอาชีพ โดยหลังจากที่ได้มีการกำหนดแนวทางและรายละเอียดของ โครงการแล้ว จึงประกาศรับสมัครเยาวชน และคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ จากนั้นจึงจัดกิจกรรม สำหรับเยาวชนดังนี้

    1. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น กระทำโดย จัดค่ายเยาวชน OTOP ให้เยาวชนได้เรียนรู้ความเป็นมาของ OTOP ฝึกปฏิบัติผลิตภัณฑ์ OTOP ทั้ง 5 ประเภท เรียนรู้และบันทึกเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เรียนรู้การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในชุมชนด้วย

    2. กิจกรรมเพิ่มพูนทักษะเยาวชนด้านการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำการคัดเลือก เยาวชนที่ผ่านกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้ว เพื่อให้เรียนรู้การทำผลิตภัณฑ์ที่เป็นภูมิปัญญาจากภูมิปัญญา โดยเยาวชนจะได้เรียนรู้ตั้งแต่ประวัติ ความเป็นมาของการผลิตผลิตภัณฑ์ การหาวัตถุดิบ เทคนิคการผลิตสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น รวมถึงช่องทาง

การจัดจำหน่ายด้วย โดยให้เยาวชนนำความรู้เรื่องการบันทึกภูมิปัญญามาใช้เป็นส่วนหนึ่ง ในการอนุรักษ์

และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน

    3. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเยาวชน OTOP ด้านการวางแผนธุรกิจ คัดเลือกเยาวชนที่เคย เข้าร่วมโครงการพัฒนาเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนาอาชีพแล้ว (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา) เพื่อเข้ารับฟังความรู้ในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เรียนรู้การเขียนโครงการที่มีประสิทธิภาพ การวางแผนธุรกิจเบื้องต้น การศึกษาดูงานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่ประสบความสำเร็จ การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า OTOP การนำเสนอ แผนธุรกิจ การฝึกการจัดบูธแสดงสินค้า และการนำเสนอผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้กรมการพัฒนาชุมชนได้มีการเผยแพร่ผลงานเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการผ่านกิจกรรมจัดแสดง เยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การเผยแพร่ผลงานในงานแสดงและจำหน่าย สินค้า OTOP ในแต่ละปี เป็นต้น

    ตั้งแต่ พ.ศ. 2549-2557 กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการตามโครงการพัฒนาเยาวชนเพื่อ 

การอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และประสบความสำเร็จอย่างมาก เยาวชนกลุ่มเป้าหมายได้รับ ความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาชีพ ภูมิปัญญาที่ตนสนใจกับครูภูมิปัญญาในสาขาอาชีพนั้น ๆ มีศักยภาพ ด้านการวางแผนธุรกิจ มีผลงานแสดงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในแต่ละปี ตลอดจนเยาวชนดังกล่าว ยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ และตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น

ข้อมูลเพิ่มเติม

    การพัฒนาเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูิมิปัญญาท้องถิ่น