หัวใจชายหนุ่ม ฉบับที่ 6 สรุป

สรุปเนื้อหา หัวใจชายหนุ่ม

ตั้งกระทู้ใหม่

ตั้งกระทู้ใหม่

หัวใจชายหนุ่ม
- เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๖ ) โดยใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติ
- ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต พ.ศ. ๒๔๖๔
- รูปแบบบทประพันธ์ เป็นแบบนวนิยายร้อยแก้วรูปแบบจดหมาย มีจำนวนทั้งหมด ๑๘ ฉบับ มีระยะเวลาในจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน
- มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสะท้อนค่านิยมและสภาพสังคมในสมัยนั้น
- เนื้อหาเกี่ยวกับตัวละครเอกสมมุติ นายประพันธ์ ประยูรสิริ นักเรียนนอกที่กลับมาจากประเทศอังกฤษ ที่ได้เขียนจดหมายถึงเพื่อนของเขา นายประเสริฐ สุวัฒน์ เพื่อเล่าเรื่องราวต่างๆ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพสังคมในสมัยนั้น

แก่นของเรื่อง
การรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของไทยและรู้จักเลือกวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับใช้ให้เหมาะสม

คุณค่าของเรื่อง
๑. ด้านเนื้อเรื่อง หัวใจชายหนุ่มเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถในงานพระราชนิพนธ์ มีแก่นเรื่องชัดเจน น่าอ่าน น่าติดตาม สนุกด้วยลีลาและโวหารอันเฉียบคม แฝงพระอารมณ์ขัน เช่น การแต่งกายของกิมเน้ยที่แต่งตัวดีแต่มีเครื่องเพชรมากเกินไป
๒. ด้านความคิด เรื่องหัวใจชายหนุ่มมุ่งเสนอให้ผู้อ่านเห็นว่า นักเรียนนอกในสมัยนั้นเป็นผู้นำ "แฟแช่น" อย่างสุดโต่ง เมื่อปฏิบัติไปแล้วผิดพลาดก็ค้นพบตัวเองว่าต้องหาทางเลือกใหม่ที่เหมาะสม ทำให้ได้คิดว่า เราควรรับและปรับใช้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย
๓. ด้านความรู้ เรื่องหัวใจชายหนุ่มแสดงให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งกายที่เริ่มไว้ผมยาว ค่อยๆเลิกนุ่งโจงกระเบน หันมานุ่งผ้าซิ่น การแสดงละครที่ใช้ชายจริงหญิงแท้ การใช้คำทับศัพท์และสำนวนต่างประเทศเพื่อแสดงความเป็นนักเรียนนอกของคนในสมัยนั้น




ย่อเนื้อความในจดหมาย
๑. ฉบับที่ ๑ ( ๒๓ กันยายน พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์ได้เขียนจดหมายฉบับแรก ในระหว่างที่กำลังนั่งเรือ โอยามะ มะรู ผ่านทะเลแดงเล่าบรรยายถึงความเสียใจที่กลับไปยังประเทศไทยและการดูถูกประเทศบ้านเกิดของตนเอง ว่าเป็นประเทศที่อันศิวิไลซ์ แตกต่างจากประเทศอังกฤษ นอกจากนี้ ยังเล่าถึงเหตุการณ์ที่เดินขึ้นบนเรือให้ฟัง คือการได้พบปะกับหญิงสาวคนหนึ่งที่เขาสนใจ เธอคือมิสส์มิลเล่อร์ เนื่องด้วยเธอมีลักษณะคล้ายกับลิลี่ แฟนเก่าของเขา จึงชวนพูดคุย และได้รู้ว่าเธอนั้นกำลังจะไปที่ประเทศอียิปต์ เมื่อถึงที่หมาย เขาก็แอบหวังที่เธอจะมีท่าทีเสียใจ แต่ว่าต้องผิดหวัง เพราะเธอนั้นมีคนรักที่มารอรับที่ท่าเรืออยู่แล้ว

๒. ฉบับที่ ๔ ( ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์ได้เล่าถึงการพบปะผู้คนหลังมากมายหลังกลับมา แนวคิดของคุณพ่อของเขาที่ไม่คิดว่าคนจะได้ดีจากความสามารถของตนเอง และการเข้ารับราชการในพระราชสำนัก ซึ่งตำแหน่งทั้งหมดนั้นเต็มหมดแล้ว คุณพ่อของเขาจึงใช้เส้นสายโดยการพาไปคุยกับเจ้าคุณผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก แต่ก็ไม่ได้ผล นายประพันธ์จึงขอคุณพ่อของเขาทำอาชีพค้าขาย แต่ก็ถูกปฎิเสธ เพราะท่านเห็นว่า การค้าขายนั้นไม่มีหนทางที่จะเป็นใหญ่เป็นโตได้ นอกจากนี้ เขายังเล่าถึงการโดนจับคลุมถุงชนของตนกับแม่กิมเน้ย ลูกสาวของนายอากรเพ้ง ที่พ่อของนายประพันธ์รับรองว่าเป็นคนดี สมควรแก่เขาทุกประการ แต่ด้วยความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ทำให้เกิด-งกัน และได้ข้อสรุปว่า จะให้ไปดูตัวกันเสียก่อน และยังได้เล่าถึง การพบปะผู้หญิงคนหนึ่งที่เขาถูกใจที่โรงภาพยนตร์พัฒนากรอีกด้วย

๓. ฉบับที่ ๕ ( ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์ได้เล่าถึงการได้เข้ารับทำงานราชการ ในตำแหน่งราชการในกรมพานิชย์และสถิติพยากรณ์ ว่ายังไม่มีอะไรพิเศษนัก และการดูตัวแม่กิมเน้ย เขาบอกว่าหน้าตาของหล่อนนั้นเหมือนนางซุนฮูหยิน การแต่งกายค่อนข้างพะรุงพะรังเหมือนต้นคริสต์มาส ยังไม่ถูกใจเขาเท่าไหร่ นอกจากนั้น เขาได้เล่าถึงผู้หญิงที่เจอที่โรงภาพยนตร์พัฒนากรที่ตนได้ไปสืบมา เธอชื่อนางสาวอุไร พรรณโสภณ ลูกสาวของพระพินิฐพัฒนากร หล่อนเป็นผู้หญิงสมัยใหม่แท้ ไม่กลัวผู้ชาย ซึ่งนางประไพ น้องสาวของตนนั้นก็รู้จักเธอ เขาจึงหวังว่าตนจะได้รู้จักกับนางอุไร เขาให้ความเห็นว่า ถ้าได้รู้จักกับแม่อุไร จะพอทำให้คิดถึงประเทศอังกฤษได้ และจะทำให้ชีวิตน่าอยู่มากขึ้น

๔. ฉบับที่ ๖ ( ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์ได้เล่าถึงการพบแม่อุไรในคืนวันที่ ๒ มกราคม จากประไพที่ได้นัดเชิญให้ไปดูการแต่งไฟทางลำน้ำให้ และหลังจากนั้น ก็ได้พบปะกันอีกหลายครั้ง เขาชมว่าแม่อุนั้นสวย น่ารัก น่าพึงพอใจในหลายๆเรื่อง พูดถึงประเพณีที่ในเมืองไทยนั้น พี่น้องจูบกันไม่ได้ แตกต่างกับพวกฝรั่ง และได้พูดถึงนางกิมเน้ย ที่หลังจากเขาได้เดินผ่านหน้าร้านคุณภักดีไปกับนางอุไร เธอก็โกรธยกใหญ่ และไม่คุยกับนายประพันธ์อีก

๕. ฉบับที่ ๙ ( ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์เล่าว่า ตนนั้นได้แต่งงานกับแม่อุไรแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม หลังจากกลับมาจากหัวหิน นายประพันธ์ได้ขอให้คุณพ่อไปขอแต่งงานกับนางอุไร ท่านไม่ค่อยเห็นด้วย ด้วยสาเหตุที่ว่า เธอเป็นผู้หญิงที่รู้จักกับผู้ชายหลายคน และก็ไกล่เกลี่ยว่า จะให้ดูไปก่อนประมาณ ๑ ปี แต่นายประพันธ์ปฎิเสธการรอคอย คุณพ่อของเขาจึงจัดการขอแม่อุไร และเมื่อแต่งงานกันแล้ว จึงได้ไปฮันนีมูนที่หันหิน


๖. ฉบับที่ ๑๑ ( ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์เล่าเกี่ยวกับบ้านใหม่ของเขา ว่าปกติแล้ว บ้านควรจะเป็นสถานที่พักผ่อนอันพึงใจ สุขใจเพราะได้เห็นภรรยาของตนเอง แต่ตัวเขากลับไม่ได้เช่นนั้น เขากับนางอุไรกลับจากเพชรบุรีในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ด้วยสาเหตุที่ว่า เธอนั้นเบื่อการอยู่หัวเมือง และเมื่อถึงกรุงเทพ ก็ไม่มีใครไปรับ ทำให้เธอโกรธ แต่ก็บอกว่า หลังขึ้นจากเรือจ้างแล้วค่อยทะเลาะกัน เพราะการทะเลาะกันต่อหน้าคนแจวเรือดูไม่งดงาม พอมาถึงบ้านใหม่ที่ดูไม่พร้อม สียังทาไม่แห้ง ของต่างๆก็ยังไม่ได้จัด เกิด-งขึ้นเล็กน้อย และในวันต่อๆมา ก็มีเหตุการณ์ขัดใจขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่านายประพันธ์จะทำอะไร นางอุไรก็จะมองว่าผิดเสมอ จนทำให้นายประพันธ์รู้สึกเหมือนไปโรงเรียนเมื่อกลับบ้าน
๗. ฉบับที่ ๑๒ ( ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์เล่าว่า นางอุไรนั้นแท้งลูกแล้ว เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม และสิ้นรักนายประพันธ์แล้ว แต่นายประพันธ์ก็ยอมทนอยู่ด้วยรับชะตากรรม หลังจากที่นางอุไรหายเจ็บท้องแล้ว เธอก็ชอบเที่ยวเสมอๆ พอประพันธ์ถาม นางอุไรก็ฉุนเฉียว นานๆเข้า ก็มีห้างและร้านต่างๆ ส่งใบทวงค่าใช้จ่ายมามากขึ้นจนนายประพันธ์เตือน และโดนสวนกลับมาว่า ก่อนจะแต่งงานกับเธอทำไมไม่ดูให้ดีเสียก่อนว่าเธอใช้จ่ายอะไรบ้าง และไม่ยอมเปลี่ยนตัวเอง จนประพันธ์ต้องไปยืมเงินพ่อมาใช้หนี้ให้แม่อุไร คุณพ่อของนายประพันธ์โกรธ จึงลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์ว่าจะไม่ชดใช้หนี้ให้นางอุไร เมื่อแม่อุไรเห็นจึงได้แจ้งความกลับไปว่า เธอไม่ขอรับผิดชอบในเรื่องหนี้สิน และไม่ให้นายประพันธ์มีอำนาจในทรัพย์สมบัติของเธออีกต่อไป และไปอยู่บ้านพ่อของเธอ หลังจากนั้น คุณหลวงเทพปัญหาก็มาหานายประพันธ์ที่บ้าน คุยเรื่องต่างๆรวมถึงเรื่องแม่อุไร ที่เที่ยวอยู่กับพระยาตระเวนนคร ด้วยความเป็นห่วงนางอุไร นายประพันธ์จึงส่งจดหมายไปกล่าวเตือน แต่ถูกฉีกเป็นชิ้นๆกลับมา ต่อมาหลวงเทพก็มาหานายประพันธ์เพื่อบอกว่า แม่อุไรไปค้างบ้านพระยาตระเวนนครแล้ว เมื่อปรึกษากัน หลวงเทพนั้นรับธุระเรื่องขอหย่าไปพูดกับนางอุไร เธอตกลง นายประพันธ์จึงกลับมาโสดอีกครั้ง

๘. ฉบับที่ ๑๓ ( ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์เล่าว่า ตนนั้นมีความสุขมากขึ้นมากขึ้นเมื่อเป็นโสด ถึงการที่หย่ากับนางอุไรจะทำให้ถูกบางคนนินทาติโทษ แต่เขาถือว่า การแต่งงานเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่มีใครมาสุขหรือทุกข์แทนเขาได้ ส่วนนางอุไรก็อยู่กับพระยาตระเวนที่มีนางบำเรอถึง ๗ นาง และพวกเธอก็ชอบแผลงฤทธิ์ในระหว่างที่พระยาตระเวนไม่อยู่บ้าน นางอุไรทนไม่ไหวจึงหนีไปอยู่บ้านพ่อ พระยาตระเวนก็ตามไปง้อ และให้นางอุไรอยู่บ้านอีกหลังนึงที่ถนนราชประสงค์ และได้เล่าอีกว่า ตนได้เลื่อนตัวแหน่งมาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่วนทางเสือป่า เขาได้เข้าไปประจำอยู่ในกรมม้าหลวงตามที่สมปรารถนา และได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่เอก

๙. ฉบับที่ ๑๕ ( ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์ได้เล่าถึงงานเฉลิมพระชนมพรรษาของปีนี้ว่าค่อนข้างสนุก พระยาตระเวนก็เห็นด้วยเช่นกัน เนื่องจากยังเป็นชายโสดเพราะยังไม่ได้เป็นสามีภรรยากันโดยทางราชการ และในช่วงนั้น พระยาตระเวนก็ได้ควงกับผู้หญิงคนหนึ่งบ่อยๆ เธอชื่อ นางสร้อย แต่นางอุไรก็ทำอะไรไม่ได้มาก เพราะถ้าเลิกกับพระยาตระเวนจะได้รับความลำบากและต้องกลับไปง้อพ่อ ซึ่งเธอได้อวดดีไว้แล้วว่าไม่จำเป็นต้องพึ่งพ่ออีกต่อไป จึงยอมที่จะอยู่นิ่งเฉย นอกจากนี้ ยังได้พูดถึงสภาพสังคมฝรั่งว่า พวกฝรั่งเห็นว่า การมีภรรยาหลายคนไม่ทำให้ได้รับความเสื่อมเสีย เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวในบ้าน

๑๐. ฉบับที่ ๑๖ ( ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับงานที่ตนเองทำอยู่นั้นว่า เป็นสิ่งที่ให้เกิดความเพลิดเพลินและมีประโยชน์ ได้พบปะพูดคุยกับผู้อื่น และรู้ความคิดที่กว้างขวางขึ้น เพราะปกติ ต่างคนต่างมีราชการไปทำที่ออฟฟิศ พอหมดเวลาก็แยหย้ายกันไป ไม่ได้พบปะพูดคุยกัน พูดถึงสโมสรที่ตั้งใหม่ขึ้นหลายแห่ง ว่าดูไม่ค่อยจะสำเร็จได้เลย ส่วนสโมสรไทยนั้นที่ยั่งยื่นที่สุด คือสามัคยาจารย์สมาคม เป็นของสำหรับจำเพาะข้าราชการกระทรวงเดียว และกระทรวงนั้นก็ยังหนุนหลังสมาคมไว้อยู่ และได้พูดถึงการเล่นละครที่ผู้ชายเล่นเป็นตัวผู้ชาย ผู้หญิงเล่นเป็นตัวผู้หญิง ที่ตนดูของคณะละครศรีอยุทธยารม ว่าเป็นละครที่แสดงดี ผู้หญิงที่เป็นตัวละครในคณะนี้ก็ยังสาวๆอยู่ ถึงจะมีสามีและบุตรแล้วก็ตาม ผู้หญิงที่มีลูกแล้วไม่จำเป็นต้องแก่อย่างที่เขาว่ากัน ผู้ชายที่เบื่อผู้หญิงที่มีลูกแล้ว ก็ต้องโทษผู้หญิงด้วยเช่นกัน เพราหมายคนมักเข้าใจผิดว่า พอมีลูกก็ชอบปล่อยตัวให้ทรุดโทรม แต่ถ้าผู้หญิงดูแลตัวเอง ปฎิบัติให้สามีรู้สึกมีความสุข ก็ไม่จำเป็นต้องห้ามเขาไปมีคนอื่นเลย เพราะเขาจะรู้สึกว่า มีแค่คนเดียวก็มีความสุขพอแล้ว


๑๑. ฉบับที่ ๑๗ ( ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์ได้เล่าว่าตนนั้นได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่ใหญ่แล้ว และเมื่อกลับบ้านได้ไม่กี่วัน นางอุไรก็ได้มาหาที่บ้าน และขอให้นายประพันธ์ช่วยดูแลตนอีกครั้ง ด้วยเหตุว่า พระยาตระเวนต้องการบ้านที่ถนนราชประสงค์ให้นางสร้อย เมียรักของเขาอยู่ เขาจึงขอให้นางอุไรย้ายไปอยู่ที่อื่น เงินก็ไม่มีใช้สอย ครั้นจะกลับไปอาศัยพ่อก็กลัวจะเสียหน้า เพราะเคยพูดอวดอ้างไว้ นายประพันธ์แนะนำให้นางอุไรกลับไปง้อพ่อของเธอ นางจึงไปง้อและกลับไปอยู่กับพ่อของตน

๑๒. ฉบับที่ ๑๘ ( ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๖- )
นายประพันธ์ได้เล่าว่า นางอุไรได้ตกลงแต่งงานกับหลวงพิเศษ ผลพานิชที่เป็นพ่อค้าแล้ว ประพันธ์จึงคลายกังวล และนายประพันธ์เองก็ได้รักกับผู้หญิงคนหนึ่ง เธอชื่อนางสาวศรีสมาน เป็นลูกสาวเจ้าพระยาพิสิฐเสวก ทั้งสองฝ่ายคุยจนเป็นที่ต้องใจกันแล้ว และนายประพันธ์ก็ได้ลงท้ายไว้ว่า จะให้นายประเสริฐมาเป็นเพื่อนเจ้าบ่าว

สำนวนสุภาษิตในเรื่อง
ฉบับที่ ๔
๑. เดินเข้าท้ายครัว โดยทั่วไปหมายความว่า เข้าทางภรรยา ในที่นี้หมายถึงใช้ความรู้จักคุ้นเคยกันเป็นส่วนตัวเป็นเครื่องช่วยให้ได้งานทำ
๒. หมอบราบคาบแก้ว ยอมตามโดยไม่ขัดขืน
๓. คลุมถุงชน การแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดการให้โดยที่เจ้าตัวไม่รู้จักกันหรือไม่ได้รักกันมาก่อน
๔. ลงรอยเป็นท่าประนม ในที่นี้ หมายถึง ยกมือไหว้บ่อยๆ จนมือแทบจะค้างอยู่ในท่านั้น

ฉบับที่ ๖
๑. ทำตัวเป็นหอยจุ๊บแจง หอยจุ๊บแจง เป็นชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยว จะอ้าฝาเปิดปากในน้ำนิ่ง แต่เมื่อมีสิ่งใดมากกระทบ ก็จะปิดฝาซ่อนตัวทันที ในที่นี้หมายถึง ผู้หญิงที่มักเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน ขี้อาย ไม่รู้จักเข้าสังคม
๒. ค้อนเสียสามสี้วง




ฉบับที่ ๙
๑. โรงเรียนฝึกหัดเจ้าชู้ เป็นคำที่คุณพ่อของนายประพันธ์พูดถึงนางอุไรว่า เป็นผู้หญิงที่คุ้นเคยกับผู้ชายหลายคน
๒. ชิงสุกก่อนห่าม ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัย หรือยังไม่ถึงเวลา มักหมายถึง การลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน

ฉบับที่ ๙
๑. เมฆทุกก้อนมีซับในเป็นเงิน ( Ever cloud has a silver lining ) เป็นสำนวนอังกฤษ หมายความว่าในอุปสรรค์หรือความทุกข์ก็ยังมีสิ่งดีๆ หรือความสุขแทรกอยู่บ้าง
๒. อุทิศตัวเป็นพรหมจรรย์ ประพฤติตนเหมือนนักบวชโดยเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์

ฉบับที่ ๑๕
๑. ขนมปังครึ่งก้อนยังดีกว่าไม่มีเลย ( Half a loaf is better than none ) เป็นสำนวนอังกฤษ หมายความว่า แม้จะไม่ได้สิ่งใดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ถ้าพอมีอยู่บ้างก็ยังดีกว่าไม่มีเลย

ฉบับที่ ๑๗
๑. ขุดอู่ หมายถึง เปลเด็ก มาจากสำนวนว่า ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ผูกอู่ตามใจผู้นอน ซึ่งหมายความว่า ทำตามความพอใจของผู้ที่ได้รับผล โดยตรง “ขุดอู่” ในที่นี้หมายถึง การเลือกคู่ครองด้วยตนเอง

ฉบับที่ ๑๘
๑. เทวดาถอดรูป มีรูปร่างหน้าตาดีราวกับเทวดา







คำทับศัพท์ , คำศัพท์ ภายในเรื่อง

กรมท่าซ้าย หมายถึง ส่วนราชการในสมัยก่อน
สังกัดกรมพระคลัง
ครึ หมายถึง เก่า ล้าสมัย
โช หมายถึง อวดให้ดู
แบชะเล่อร์ ( Bachelor ) หมายถึง ชายโสด
ปอปูลาร์ ( Popular ) หมายถึง ได้รับความนิยม
พิสดาร หมายถึง ละเอียดลออ กว้างขวาง
พื้นเสีย หมายถึง โกรธ
ไพร่ หมายถึง ชาวบ้าน
ฟรี หมายถึง เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์หรือการควบคลุม
เร็สตอรังต์ ( Restaurant ) หมายถึง ภัตตาคาร ร้านอาหาร
เรี่ยม หมายถึง สะอาดหมดจด
ลอยนวล หมายถึง ตามสบาย
เล็กเช่อร์ ( Lecture ) หมายถึง บรรยาย
ศิวิไลซ์ ( Civilize ) หมายถึง เจริญ มีอารยธรรม
สิ้นพูด หมายถึง หมดคำพูดที่จะกล่าว
หดหู่ หมายถึง หอเหี่ยวไม่ชื่นบาน
หมอบราบ หมายถึง ยอมตามโดยไม่ขัดขืน
หมายว่า หมายถึง คาดว่า
หัวนอก หมายถึง คนที่นิยมแบบฝรั่ง
หัวเมือง หมายถึง ต่างจังหวัด
อยู่ข้าง หมายถึง ค่อนข้าง
อินเตอเร้สต์ ( Interest ) หมายถึง ความสนใจ
เอดูเคชั่น ( Education ) หมายถึง การศึกษา
ฮันนี่มูน ( Honeymoon ) หมายถึง การไปเที่ยวด้วยกันของคู่แต่งงานใหม่

หลวง หมายถึง บรรดาศักดิ์ข้าราชการ
ที่สูงกว่าและต่ำกว่าพระ
สัปเปอร์ ( Supper ) หมายถึง อาหารเย็นซึ่งรับประทานตอนหัวค่ำ
หรืออาหารเบาๆ ที่รับประทานตอน กลางคืน

อ้างอิง : https://www.hunsa.com/threads/
http://thn2373202.blogspot.com/p/blog-page_4529.html
http://thn2328333thai.blogspot.com/2015/01/blog-post_51.html

หัวใจชายหนุ่ม ฉบับที่ 6 สรุป

KinnyLouis

27 ก.ย. 61 เวลา 22:31 น.

5

like

370,330

views

Facebook Twitter

รายชื่อผู้ถูกใจกระทู้นี้ คน

ยกเลิก