เขียนแนะนําตัวภาษาอังกฤษ เรียงความ

Let me introduce myself! เรียนรู้ ฝึกแนะนำตัวภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน การแนะนำตัวภาษาอังกฤษ เป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ไว้ เพราะสำคัญทั้งกับการทำงาน การพูดคุยในชีวิตประจำวัน การสอบสัมภาษณ์ต่างๆ หรือคนที่พึ่งเจอกันเป็นครั้งแรก มาอ่านแล้วเตรียมตัวกันได้เลย (ลองอ่าน 8 คำถามที่ควรถามตัวเองก่อนตัดสินใจเลือกสาขาเรียนต่อ)

เขียนแนะนําตัวภาษาอังกฤษ เรียงความ

ประโยคภาษาอังกฤษในการแนะนำตัว

ลองมาดูตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษในการแนะนำตัวแบบต่างๆ คำศัพท์แบบง่ายๆ เลือกไปใช้กันได้เลยทั้งแบบทางการและไม่ทางการ

  • Let me introduce myself. My name is Mintra. แปลว่า ฉันขออนุญาติแนะนำตัวเอง ดิฉันชื่อมินตรา
  • My nickname is Gift. แปลว่า ชื่อเล่นของฉันคือ กิ๊ฟท์
  • I am studying at ABC School. แปลว่า ฉันกำลังศึกษาอยู่โรงเรียน ABC
  • I am studying in grade 12. แปลว่า ฉันกำลังเรียนอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 6
  • My major was art-French. แปลว่า ฉันเรียนสายศิลป์-ฝรั่งเศส
  • I live in Bangkok. แปลว่า ฉันอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ
  • I live with my parents. แปลว่า ฉันอยู่กับพ่อแม่
  • I have two brother and two sister. แปลว่า ฉันมีน้องชาย 2 คน และน้องสาวอีก 2 คน
  • My hobby is listening to music. แปลว่า งานอดิเรกของฉันคือฟังเพลง
  • My favorite sport is yoga. แปลว่า กีฬาที่ฉันชื่นชอบคือ โยคะ

ประโยคการแนะนำตัวแบบเป็นทางการ

  • Good morning. แปลว่า สวัสดียามเช้า เป็นประโยคทักทาย
  • May I introduce myself? แปลว่า ฉันขออนุญาตแนะนำตัวเองนะคะ เป็นประโยคขออนุญาต
  • My name is Samorn Jaidee. แปลว่า ฉันชื่อสมร ใจดี
  • I’m the marketing manager from Macro company. (ข้อมูลเพิ่มเติม) แปลว่า ผมเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดจากบริษัทมาโคร
  • Nice to meet you. แปลว่า ยินดีที่ได้รู้จัก ใช้แสดงความยินดีที่ได้เจอกัน

เช็ค ข่าวสารโปรโมชั่นคอร์สเรียนภาษาอังกฤษดีๆ กับเราสิคะ ช่วยประหยัดงบได้อีกแน่นอน! 

ประโยคการแนะนำตัวแบบไม่เป็นทางการ

  • Hello.  แปลว่า สวัสดี เป็นประโยคทักทาย
  • My name’s Tong. แปลว่า ผมชื่อตอง
  • I’m from Thailand. แปลว่า ผมมาจากประเทศไทย เป็นการบอกข้อมูลเพิ่มเติม
  • I’m an exchange student. แปลว่า ผมเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน เป็นการบอกข้อมูลเพิ่มเติม
  • Glad to meet you. แปลว่า ดีใจที่ได้เจอกันนะ ใช้แสดงความยินดีที่ได้เจอกัน

รูปแบบการแนะตัวแบบทั่วไป

  • My name is Fah Seesod. แปลว่า ฉันชื่อ ฟ้า สีสด
  • My nickname is Mook. แปลว่า ชื่อเล่นของฉันคือ มุก
  • You can call me Mook. แปลว่า คุณสามารถเรียกฉันว่ามุก
  • I’m 25 years old. My birthday is the 20th of December 1992. (บอกวัน/เดือน/ปีเกิด) แปลว่า ฉันอายุ 25 ปี เกิดวันที่ 20 ธันวาคม 2535
  • I’m studying at Sirirattanathorn School. I’m in Mathayom 6. แปลว่า ฉันกำลังศึกษาอยู่ที่ โรงเรียนสิริรัตนาธร ชั้น ม. 6
  • My favorite color is green and white. แปลว่า ฉันชอบสีเขียว และสีขาว
  • I want to visit Japan, Korea, and China. แปลว่า ในอนาคต ฉันอยากไปเที่ยวต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน
  • My favorite food is Noodle and Pizza. แปลว่า อาหารที่ฉันชอบ คือ ก๋วยเตี๋ยว และพิซซ่า

วันนี้ก็ได้ความรู้ในการแนะนำตัวเองไปหลากหลายรูปแบบเลยนะคะ ต่อไปเจอฝรั่งก็ไม่ต้องเขินอายกันอีกแล้ว เพราะเรามีข้อมูล คำศํพท์ ประโยคที่ใช้แนะนำตัวพร้อมทักทายเขาแล้ว สำหรับน้องๆ คนไหนที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการไปศึกษาต่อด้านภาษาในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร แคนาดา สหรัฐอเมริกา และไอร์แลนด์ สามารถกดลงทะเบียนกับ SI-English ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาต่อในต่างประเทศเพื่อขอรับคำแนะนำจากเราฟรีได้แล้วตั้งแต่วันนี้

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

20 สำนวนภาษาอังกฤษที่คุ้นหู และมักเจอในชีวิตประจำวัน

หาที่พักอย่างไร ก่อนไปเรียนภาษาที่ออสเตรเลีย ระหว่างหอนักศึกษา, Homestay หรือ เช่าเอง

5 เคล็ดลับ TOEIC ที่จะช่วยให้คุณได้คะแนนสูงขึ้น

เขียนแนะนําตัวภาษาอังกฤษ เรียงความ

เขียนแนะนําตัวภาษาอังกฤษ เรียงความ

เขียนแนะนําตัวภาษาอังกฤษ เรียงความ

   Statement of Purpose หรือ SOP คือ บทความแนะนำตัว ซึ่งถือเป็นเอกสารสำคัญชิ้นหนึ่งในการสมัครเรียนต่อ แน่นอนว่าเราต้องแข่งขันระหว่างนักเรียนกันเองมากมาย  ดังนั้นการเขียนแนะนำตัวจึงเป็นสิ่งที่ทำให้แต่ละคนโดดเด่นและแสดงความเป็นตัวเองออกมาได้

ทำไมต้องเขียน SOP ให้ดี?

    Statement of Purpose นั้นเป็นสิ่งที่เปิดโอกาสให้แต่ละคนแนะนำตัว หรือแสดงความตัวเองไปยังมหาวิทยาลัยว่าทำไมเราถึงอยากเข้าศึกษาที่นี่ และทำไมจะต้องรับเราเข้าเรียน นอกจากนี้ SOP อาจทำหน้าที่เป็น ‘ตัวอธิบาย’ ความบกพร่องต่างๆ ในใบสมัครให้กระจ่างได้ด้วย

    ที่สำคัญคือ SOP เป็ตัวตัดสินที่ทำให้เราเข้าไปนั่งในรอบสัมภาษณ์  ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดที่เพราะเป็นรอบตัดเชือก วัดว่าจะได้เรียนหรือไม่ได้เรียนนั่นเอง!

SOP ต่างจาก Motivational Letter ยังไง?

    บางครั้งนอกจากมหาลัยจะขอ Statment of Purpose แล้ว เค้าจะขอ Motivational Letter หรือ Letter of Motivation ด้วย (หรือบางที่ก็ขออย่างใดอย่างหนึ่ง) แม้จะดูเหมือนว่า 2 สิ่งนี้คล้ายกัน แต่จริงๆ กลับมีข้อแตกต่างนิดหน่อย 

     SOP นั้นจะเน้นสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เช่น เราเคยทำอะไรมา เรียนอะไรมา โดยส่วนนี้จะบอกเกี่ยวกับ 'ตัวตน' ของเรา และสิ่งที่เราเคยทำมาส่งผลยังไงเกี่ยวกับเราและทางเลือกของเรา SOP จะค่อนข้าง Personal 

     ส่วน Motivational Letter จะโฟกัสเรื่องในอนาคต แผนในอนาคตมากกว่า (เช่น จะมีส่วนร่วม (engage) กับคอร์สเรียนยังไง) โดยยังมีส่วนที่เป็น personal  ก็ได้ โดยจะใส่เรื่องที่ทำมาในอดีตเพื่อใช้อ้างอิงถึงแผนในอนาคตว่าจะทำอะไรต่อจากนี้มากกว่า 

     โดยจดหมายทั้งสองแบบมีหลักการเขียนเหมือนกัน คือต้องชัดเจน กระชับ แต่จะเน้นคนละจุดแค่นั้นเองจ้า 

แนวทางการเขียน Statement of Purpose

ควรวิเคราะห์ก่อนว่า Statement of Purpose ในหลักสูตรที่เราสมัครกำลังมองอะไร

โดยอาจเริ่มพิจารณาสิ่งต่างๆ ต่อไปในนี้การนำมาเขียน

  1. หลักสูตรที่เลือกเรียน 

    หาเหตุผลว่าทำไมเลือกเรียนในสาขานี้ และ วิชาอะไรที่สนใจ  รวมถึงอธิบายว่าตนเองเข้าใจว่าหลักสูตรนี้ต้องการคนแบบใด และทำไมเราถึงคือคนที่เหมาะสมที่จะได้เข้าเรียน

    ถ้าคุณจะยื่น Statement of Purpose อันเดียวต่อหลักสูตรที่แตกต่างกันหลายอัน  อย่าลืมระบุทักษะทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับตัวเลือกต่างๆของคุณทั้งหมดและปรับปรุงงานเขียนของคุณอย่างระมัดระวัง

  2. ความสามารถและความสำเร็จที่ผ่านมา 

    เคยทำอะไรมาใส่ไปเลย ไม่ต้องคิดว่าเป็นการอวด  เพราะมันจะเป็นการแสดงให้เห็นว่าเรามีส่วนในกิจกรรมต่างๆ มากแค่ไหน ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนและกิจกรรมนอกเวลา  โดยควรพยายามเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้ให้เข้ากับความต้องการของหลักสูตรของอยากเรียนด้วย

  3. ประสบการณ์การทำงาน 

    ควรใส่ประสบการณ์การทำงานที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่เลือกลงไปด้วย ทั้งงานที่ได้รับและไม่ได้รับเงินเดือน เช่นกัน ควรเชื่อมโยงทักษะที่ได้รับจากการทำงานใส่ลงไปในใบสมัครด้วย

  4. งานอดิเรก

    อาจจะเป็นกีฬาภาษาที่สามความสามารถทางดนตรีฯลฯ  ควรเลือกงานอดิเรกหรือความสนใจที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่เลือกหรือสามารถนำไปปรับใช้ในการศึกษาได้

  5. แผนในอนาคต

    แสดงให้มหาวิทยาลัยเห็นถึงความตั้งใจของเราว่าต้องการใช้ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนเพื่อสร้างความสำเร็จในอนาคตอย่างไรและจะนำความรู้นี้ไปพัฒนาหรือเป็นประโยชน์ต่อสังคมยังไงได้บ้าง

Tips: ที่ต้องเลือกเขียนทุกอย่างให้สอดคล้องกับหลักสูตรก็เพราะจะทำให้คณะกรรมการที่อ่าน Statement of Purpose ของเราเห็นความตั้งใจ ความทุ่มเทกับเรื่องที่เราอยากจะเรียนได้

วางโครงสร้าง SOP

    ส่วนใหญ่ SOP จะความยาวประมาณ 1-2 หน้า (ถ้านับคำจะประมาณ 800-1500 คำ) ไม่ควรยาวไปกว่านั้น นั่นหมายความว่าเรามีพื้นที่จำกัดในการเขียน SOP การวางโครงสร้างเพื่อให้เขียนประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นให้ครอบคลุมจึงสำคัญมาก

    Statement of Purpose ควรมีข้อความที่แสดงถึงความเป็นตัวเองในแง่บวก อวดอะไรได้อวดไปเลย ไม่ต้องอาย ควรใช้ภาษาที่กระตือรือร้นเพื่อสื่อว่าเราเป็นคนน่าสนใจและมีความอยากเรียนในหลักสูตรนั้นๆ

    ซึ่งการเขียนนี้ก็มีหลากหลายวิธีแตกต่างกันไป  เช่น เขียนเป็นเรียงความ (essay) หรือ แบ่งเป็นส่วนๆในรูปแบบ Paragraphs ก็ได้ แต่ทั้งหมดควรเริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวที่น่าสนใจ เพื่อให้ผู้อ่านหยุดอ่านมากกว่าเพียงแค่ผ่านตาไปเท่านั้น โดยเราขอให้โครงสร้างไว้เป็นตัวอย่าง ดังนี้

  •     ย่อหน้าที่ 1: อธิบายว่าทำไมเราอยากเรียนคอร์สนี้ ทำไมต้องที่นี่ รวมไปถึงอธิบายประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องที่ผ่านมา โดยควรสอดคล้องกับแผนในอนาคตด้วย

    *ถ้าการจะทำให้ย่อหน้านี้น่าสนใจ ควรเขียนเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของตัวเองอะไรทำให้เรารู้ว่าเราอยากเรียนด้านนี้ เป็นต้น

    *หลายคนมักเข้าใจผิดว่าย่อหน้าแรกมักเป็นการแนะนำตัว เช่น ความฝันวัยเด็กคืออะไร ชื่ออะไร ฯลฯ ซึ่งไม่ใช่เน้อ

  •     ย่อหน้าที่ 2 และ 3 : บอกถึงประสบการณ์ทำงานและประวัติการศึกษา ว่าเราเคยทำอะไรมาบ้าง เรียนอะไรมา เคยฝึกงาน ทำงานที่ไหนมา ขนมาเขียนให้หมดเลยจ้า พวกงานโปรเจ็คต่างๆ
  •     ย่อหน้าที่ 4 : อธิบายว่าทำไมอยากเรียนคอร์สนี้ ในย่อหน้านี้เราต้องแสดงให้เห็นว่าเออ เราไปทำการบ้านมานะ ไปศึกษาหลักสูตรมาว่าคอร์สของมหาลัยเป็นยังไง อยากเรียนคอร์สไหนบ้าง คิดว่าวิชาไหนน่าสนใจ ฯลฯ และคิดว่าจะได้พัฒนาความรู้หรือทักษะอะไรจากวิชานั้นๆ
  •     ย่อหน้าที่ 5: อธิบายเป้าหมาย (ทั้งระยะสั้นและยาว) ในอนาคต โดยเป้าหมายระยะสั้น อาจอธิบายว่าเราจะไปทำงานอะไรหลังเรียนจบ บอกชื่อบริษัทที่อยากทำไปเลยก็ได้ ส่วนในระยะยาวอาจเป็นในอนาคต 10-15 ปีหลังเรียนจบ เราเห็นตัวเองอยู่ในตำแหน่งอะไร บริษัทไหน ฯลฯ 

✪ สำหรับ Motivational Letter อาจจะต้องเน้นในส่วนที่ 5 ให้เยอะกว่า SOP เพราะ Motivational Letter เน้นเป้าหมายในอนาคตมากกว่า อาจจะต้องตัดส่วนอื่นๆ ให้น้อยลงและเพิ่มส่วนนี้

สิ่งที่ไม่ควรทำใน SOP และ Motivational Letter

  • อย่าคัดลอก Statement of Purpose / Motivational Letter หรือส่วนของบทความของผู้อื่นมาเป็นของตัวเอง  การคัดลอกผลงานเป็นเรื่องที่ผิดกฎอย่างร้ายแรง   และการเริ่มทำผิดตั้งแต่แรกแบบนี้ก็จะเป็นการทำลายการสมัครเรียนของคุณอย่างแน่นอน
  • อย่าโกหกเกี่ยวกับทักษะหรือผลงานที่ผ่านมาของคุณ  จำไว้เสมอว่าต้องอธิบายเกี่ยวกับความสามารถของคุณอย่างตรงไปตรงมา ไม่พูดเกินจริง และอยู่ในจุดเหมาะสมของการแสดงออกให้ไม่ดูหยิ่งทะนงหรือก้าวร้าว
  •  อย่าใส่ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องลงไปในงานเขียนของคุณ  จำไว้ว่ามหาวิทยาลัยสนใจคุณในความเป็นนักเรียน  พวกเขาไม่ได้ต้องการรู้เรื่องอื่นนอกจากเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียน
  • อย่ากล่าวถึงข้อมูลซ้ำกับมีอยู่ในใบสมัครอยู่แล้ว  เพราะ ใบสมัคร Statement of Purpose และ Motivational Letter ต่างเป็นส่วนเติมเต็มกันและช่วยเสริมให้น่าเชื่อถือมากขึ้น

   Statement of Purpose ไม่ได้เป็นเพียงแค่โอกาสที่มหาวิทยาลัยจะได้รู้จักเราเท่านั้น  แต่ยังเป็นโอกาสที่ให้เราได้ทำความเข้าใจตัวเองมากขึ้น ว่าความต้องการที่แท้จริงคืออะไร อะไรคือจุดมุ่งหมาย และเราวางแผนอย่างไรเพื่อให้ไปถึงความสำเร็จนั้น  โดยสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ ความซื่อสัตย์  เพราะถ้าคุณต้องการที่จะเรียนในหลักสูตรนี้จริงๆ  มันจะสื่อออกมาผ่านงานเขียนของแต่ละคนเองนั่นแหละ

Source: studyabroad.shiksha.com

รวมหลากหลายวิธีเขียน Personal Statement & Motivational Letter พิชิตใจคนอ่านได้ตั้งแต่พารากราฟแรก

เคล็ดลับการเขียน Personal statement สำหรับสมัครเข้ามหาวิทยาลัย