ใบงาน เรื่อง วงดนตรีพื้นบ้าน 4 ภาค

 วงดนตรีพื้นบ้านเป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงในแต่ละท้องถิ่น เป็นกิจกรรมที่มีบทบาทอยู่เฉพาะในวิถีชีวิตของสังคมและวัฒนธรรมนั้นๆ ซึ่งวงดนตรีพื้นบ้านในแต่ละภาคที่เรารู้จัก มีดังนี้ 

                    1. วงดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ 

          ภาคเหนือมีพื้นที่ครอบคลุม 9 คือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดแพร่ จังหวัดน่านจังหวัดำปาง จังหวัดำพูน จังหวัดพะเยา แะจังหวัด อุตรดิตถ์ รวมเรียกดินแดนแถบนี้ว่า " ล้านนา " 

                            1.1 เครื่องดนตรีและวงดนตรี  วงดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ มีอยู่หายวง เช่น วงดนตรีพื้นบ้านล้านนา โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น วงสะล้อซอซึง หรือวงสะล้อซึง วงสะล้อขลุ่ย เป็นต้น มีเอกลักษณ์เฉพาะ สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีประเภทสี

                               1.2 องค์ประกอบของดนตรีและบทเพลง  องค์ประกอบของดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือจะประกอบด้วยเครื่องดนตรี มีสีสันและมีความแตกต่างกันไปตามแต่ะกลุ่มวัฒนธรรมดนตรี บทเพงที่รู้จักกันทั่วไปคือ  เพลงล่องนาน เพลงสาวไหม เพลงแม่หม้ายก้อม เพลงตีมตุ้ม

                                1.3 สำเนียง ภาษา และเนื้อร้อง ลักษณะของดนตรีพื้นบ้านล้านนา จะมีสำเนียงเพงที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีท้องถิ่น มีสำเนียงไพเราะ อ่อนหวาน นุ่มนวล โปร่งสบาย และเนิบช้า แต่ก็มีการบรรเลงดนตรีที่มีจังหวะตื่นเต้น คึกคัก

             

ใบงาน เรื่อง วงดนตรีพื้นบ้าน 4 ภาค
          
ใบงาน เรื่อง วงดนตรีพื้นบ้าน 4 ภาค

        2. วงดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง

          ภาคกลางเป็นดินแดนที่มีพื้นที่กว้างใหญ่  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลองเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนมากมายหลายกลุ่ม ประกอบด้วยเป็นเขตที่อยู่ใกล้เมืองหลวง เขตความเจริญทางเทคโนโลยี และวิทยาการที่ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก จึงทำให้ดนตรีแบบแผน มีอิทธิพลต่อดนตรีพื้นบ้านด้วย

                                2.1 เครื่องดนตรีและวงดนตรี เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีไทยแบบแผน โดยนิยมเล่นในงาน หรือพิธีกรรมต่างๆ ของชาวบ้าน เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเงในวงดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง เช่น ปี่ ขลุ่ย ระนาด ฆ้อง ตะโพน กลองทัด กลองแขก กลองมลายู กลองยาว อังกะลุง เป็นต้น เครื่องดนตรีในวงแตรวง เช่น ทรอมโบน แซกโซโฟน คลาริเน็ต กลองชุด ฉาบ เป็นต้น

                               2.2 องค์ประกอบของดนตรีและบทเพลง องค์ประกอบของดนตรีพื้นบ้านภาคกลางจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี วงดนตรี ทำนองเพงที่ปรากฏลีลา ทำนอง และจังหวะ วัฒนธรรม ดนตรีพื้นบ้านภาคกลางถือว่ามีความสัมพันธ์กับดนตรีแบบแผน

                               2.3 สำเนียง ภาษา และเนื้อร้อง  โดยโครงสร้างของดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง ผู้คนส่วนใหญ่ของภูมิภาคนี้ใช้ภาษาไทยกลางในการสื่อสารกัน แต่มรสำเนียงถิ่นที่บ่งบอกแหล่งวัฒนธรรมในด้านภาษา

             

ใบงาน เรื่อง วงดนตรีพื้นบ้าน 4 ภาค
                
ใบงาน เรื่อง วงดนตรีพื้นบ้าน 4 ภาค

        3. วงดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

             ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทยที่มีพื้นที่กว้าง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง บางพื้นที่มีเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน  การที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ส่งผลให้วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านมีความแตกต่างไปด้วย

                                     3.1 เครื่องดนตรีและวงดนตรี  เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออเฉียงเหนือ เช่น กลองกันตรึม หลองตุ้ม กลองหาง หมากกั๊บแก๊บ แคน ฆ้องน้อย ฆ้องหุ่ย ซอบั้ง ตรัวอู้ ตรัวเอก โดยนำมาผสมผสานเป็นวงดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  สำหรับวงดนตรี เช่น วงกันตรึม วงแคนพิณโหวด วงโปงลาง วงตุ้มโมง เป็นต้น 

                                     3.2 องค์ประกอบของดนตรีและบทเพลง  บทเพลงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะเรียบง่าย มีจังหวะและทำนองที่สนุกสนาน เร้าใจ ให้ความสนุกสนา แก่ผู้ฟัง มีการประสานเสียงระหว่างผู้ขับร้องและการบรรเลงดนตรีที่สนุกสนาน องค์ประกอบพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะประกอบไปด้วย เครื่องดนตรี วงดนตรี ทำนองเพลงที่ปรากฏ ลีลา ทำนอง และจังหวะ

                                      3.3 สำเนียง ภาษา และเนื้อร้อง  โครงสร้างของดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สื้อสำเนียงที่เรียบง่าย ถ้าเป็นกลุ่มอีสานเหนือจะมีสำเนียงภาษาที่มีสำเนียงคล้ายภาษาลาว