หลักการ ทํา งาน ของ ปั๊ม ลม

ปัจจุบัน การใช้งานปั๊มลมสกรูได้รับความนิยมอย่างมากในอุตสาหกรรมของไทยตั้งแต่อุตสาหกรรมขนาดเล็ก, อุตสาหกรรมขนาดกลาง และ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งจะพบว่า ต้นกำลังหลักๆในการผลิตสินค้าเกือบจะทุกชนิดคือระบบอัดอากาศหรือระบบลมอัด (Compressed air system) และพบว่าต้นทุนหลักของระบบอัดอากาศคือค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน การใช้งานปั๊มลมสกรูในอุตสาหกรรมที่นิยมอยู่จะเป็น สกรูประเภท singlestage กล่าวคือ มีสกรูเพียงชุดเดียวทำงานร่วมกันระหว่างสกรูตัวผู้และสกรูตัวเมียแต่เนื่องจากเทคโนโลยีทางด้าน Mechanical มีการพัฒนาขีดจำกัดซึ่งไม่ได้หยุดอยู่ สกรูแบบ single stage  จึงได้มีการคิดค้น หัวสกรูแบบ 2-stage ขึ้นมาเพื่อให้ได้ปริมาณลมอัดที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ การกินไฟของเครื่องปั๊มลมยังกินไฟเท่าเดิม

หลักการทำงานของปั๊มลมสกรู แบบ 2-stage จะค่อนข้างคล้ายกับแบบ single stage แตกต่างกันตรงที่  ปั๊มลมสกรูแบบ 2-stage จะประกอบไปด้วย สกรู 2 ชุด ซึ่งชุดแรกจะเป็นสกรูชุดที่มีขนาดใหญ่กว่าจะดูดอากาศจากภายนอกเข้ามาที่หัวสกรู และจะอัดอากาศ step 1 เพื่อส่งอากาศอัดลงไปยังหัวสกรูชุดที่ 2 ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า ซึ่งปั๊มลมสกรูแบบ สกรู 2-stage จะอัดกาศทั้งหมด 2 step ช่วยในเรื่องของปริมาณอากาศที่เพิ่มมากขึ้น และช่วยเรื่องของอุณหภูมิของอากาศอัดจะไม่ได้สูงมากเนื่องจากมีประมาณน้ำมันคอยหล่อเลี้ยงอยู่ในชุดสกรูมากกว่า แบบ single stage ซึ่งสกรูทั้ง 2 ชุดนี้ จะเป็น สกรูฝั่ง low pressure และ high pressure สกรูทั้ง 2 ชุด จะถูกขับเคลื่อนและทดรอบโดยชุด  gear box และมีการขับด้วยมอเตอร์ตัวเดียวซึ่งจะสามารถประหยัดค่าไฟไปได้ประมาณ 20-30%
เมื่อเทียบกับปั๊มลมแบบ Single stage ที่ขนาดมอเตอร์เท่ากัน

ปั๊มลมสกรู แบบ 2-stage เหมาะกับอุตสาหกรรมขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่และเหมาะสำหรับอุตสาหกรรม ที่ใช้ลมค่อนข้างเยอะเช่น อุตสาหกรรมการทอ อุตสาหกรรมถุงมือยาง อุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า อุตสาหกรรมการขึ้นรูปโลหะ เป็นต้นเพราะว่า ปั๊มลมสกรูแบบ สกรู 2-stage สามารถผลิตปริมาณลมได้มากกว่าแบบ single-stage ทำให้อัตราการกินไฟของแต่ละอุตสาหกรรมนั้นลดลงไปด้วยแสดงถึงว่าต้นทุนในการผลิตสินค้า หรือเรื่องของการใช้ไฟฟ้าภายในโรงงาน จะลดลงไปด้วยนั้นเองอีกทั้งประโยชน์แฝงคือ ปั๊มลมสกรูแบบ 2-stage ยังเหมาะกับอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด หรือพื้นที่น้อย ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งไปอีกด้วยนั้นเอง

ปั๊มลมลูกสูบคือ

ปั๊มลมลูกสูบคือ เครื่องอัดลมแบบใช้ลูกสูบ (PISTON) เป็นตัวผลิตลมอัด สามารถสร้างแรงดันได้เป็น 100 บาร์ ขึ้นอยู่กับจำนวน (Stage) ในการทำงาน เช่น การทำงานแบบ (Single Stage)  สร้างแรงดัน 8-10 บาร์ และการทำงานแบบ (Two Stage) สร้างแรงดัน 12-15 บาร์ เป็นต้น

การทำงานของปั๊มลมลูกสูบ (Piston Air Compressor) ลูกสูบจะมีการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งทำให้เกิดการดูดและอัดภายในกระบอกสูบ โดยที่ช่วงการดูดอากาศ ลิ้นช่องดูดเข้าจะทำการเปิดออกเพื่อดึงอากาศเข้ามาภายในกระบอกสูบ แต่ลิ้นทางด้านอัดอากาศออกจะปิดสนิท จากนั้นเมื่อถึงช่วงการอัดอากาศ ตัวลูกสูบจะดันอากาศให้ออกทางลมออก ทำให้ลิ้นทางลมออกเปิด ส่วนทางลิ้นดูดอากาศก็จะปิดลง เมื่อลูกสูบของปั้มลมขยับขึ้นลงจึงเกิดการดูดและอัดอากาศขึ้น หากจะพูดให้เข้าใจง่ายๆคือ หลักการทำงานของปั๊มลมลูกสูบ จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังมาขับเคลื่อนลูกสูบให้เคลื่อนที่ขึ้นลง ทำให้เกิดแรงดูดและอัดอากาศภายในกระบอกสูบ โดยมีวาล์วทางด้านดูดและวาล์วทางออกทำงานสัมพันธ์กัน

ตัวอย่างการทำงานของปั๊มลมลูกสูบ

หลักการ ทํา งาน ของ ปั๊ม ลม

ทำไมต้องใช้ปั๊มลมลูก

ปั๊มลมลูกสูบมีราคาถูก มีขนาดเล็ก เริ่มต้นที่ 1/4 แรงม้า การบำรุงรักษาง่าย ไม่ยุ่งยาก ต้นทุนในการรักษาต่ำ สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงดันสูง ซึ่งปั๊มลมสกรูไม่สามารถสร้างแรงดันได้ เช่น อุตสาหกรรมเป่าขวดเพชร หรือขวดน้ำแบบใสที่เราดื่มกินทุกวัน และในบางอุตสาหกรรม บางประเภทที่ไม่เน้นการใช้ลมมาก ไม่เน้นลมสะอาด เช่น อู่ซ่อมรถ ร้านยางรถยนต์ต่างๆ

วีดีโอตัวอย่างการทำงานของปั๊มลมลูกสูบ


สนใจสั่งซื้อปั๊มลมลูกสูบ

โทร : 0877997944
Line@ : ultrabkk


สินค้าที่เกี่ยวข้อง

หลักการ ทํา งาน ของ ปั๊ม ลม

เข้าสู่ระบบ

AIR COMPRESSOR หลักการทำงานของเครื่องอัดอากาศ

        การทำงานของเครื่องอัดอากาศ(Air compressors) คือ เมื่อเปิดสวิทช์การทำงานของเครื่อง     ถ้าอากาศยังมีความดันต่ำกว่าที่กำหนด Pressure Switch ก็จะต่อวงจรไฟฟ้าผ่านไปยังมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์หมุน และไปขับให้ปั๊มอัดอากาศทำงานด้วย และเมื่ออากาศภายในถังบรรจุอากาศมีความดันสูงถึงพิกัดที่กำหนดไว้ Presssure Switch ก็จะตัดวงจรไฟฟ้าให้มอเตอร์หยุดทำงานด้วย แต่เมื่ออากาศภายในถังบรรจุอากาศถูกนำไปใช้งาน และความดันภายในถังบรรจุอากาศต่ำลงจนถึงตำแหน่งที่กำหนดไว้ Presssure Switch ก็จะต่อวงจรให้มอเตอร์และปั๊มอากาศทำงานต่อไป โดยการทำงานของปั๊มอัดอากาศ (Air compressors) จะทำงานสลับกันไปเช่นนี้ตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ

     ดังนั้นถ้าต้องการให้เครื่องอัดอากาศหยุดการทำงานจะต้องปิดสวิทช์ควบคุมการทำงานของปั๊มอัดอากาศ (Air compressors) หลักการทำงานดังที่กล่าวมาแล้วของของปั๊มอัดอากาศ (Air compressors) ก็คล้ายกับการทำงานของหม้อไอน้ำ (Boilers) ที่อาศัยแรงดันในการควบคุมการทำงานของเครื่อง

ระบบเครื่องอัดอากาศประหยัดพลังงาน

หลักการ ทํา งาน ของ ปั๊ม ลม

     อากาศอัดหรือลมอัด คือ อากาศที่ถูกเก็บไว้แหล่งที่มีความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศ โดยอากาศจะถูกบีบหรืออัด ด้วยเครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) และเก็บไว้ในถังพัก (Air Receiver) เพื่อนำไปใช้เป็นแหล่งกำลังงานตามต้องการต่อไป เช่น ใช้เป็นแหล่งพลังงานในอุปกรณ์นิวเมติกค์ สำหรับเป็นแรงกดห้ามล้อ สำหรับเติมลมยาง เป็นต้น

หลักการ ทํา งาน ของ ปั๊ม ลม


  • ปั๊มลม(AIR COMPRESSOR) ปั๊มลม หรือ เครื่องอัดอากาศ เครื่องอัดลม ทำหน้าที่ในการอัดลมให้มีแรงดันสูง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นระบบลมในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึง...


  • วิธีการเลือกซื้อ Air Compressorสำหรับหลักการเลือกซื้อเครื่องอัดลม ประกอบการพิจารณาในการซื้อได้จริงมีดังต่อไปนี้ ชนิดของลมอัด : 1.แบบไร้น้ำมัน (Oil-free) 2.แบบมีน้ำมัน (Oil-lubric...


  • การดูแลรักษาปั๊มลมอย่างถูกวิธี ปั๊มลมที่ใช้งานอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นปั๊มลมขนาดเล็กหรือใหญ่ ต้องมีการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีถึงจะได้มีปั๊มลมที่อายุการทำงานที่ยาวนานขึ้น 1.สายพาน สาย...


  • ข้อดีของระบบลมอัด ทนต่อการระเบิด ลมอัดไม่มีอันตรายจากการระเบิดหรือติดไฟ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ราคาแพงสำหรับป้องกันการระเบิด รวดเร็ว ลมอัดมีความรวดเร็วในการทำงานสูงลูกสูบ...


  • AIR DRYERทำหน้าที่ ให้ลมที่ถูกผลิตมาจากเครื่องอัดอากาศ (AIR COMPRESSOR) น้อยมากที่สุด ซึ่งหลักการทำงานของAIR DRYERเพื่อไม่ให้ลมมีความชื้นติดไปด้วยคือ ลมที่เข้ามาจะถูกแลกเปลี่ยนอุณ...


  • เครื่องทำลมแห้งแบบใช้น้ำยาทำความเย็น (Refrigerated Air Dryer)โดยทั่วไปแล้ว dew point อยู่ระหว่าง 2 ถึง 10 องศาเซลเซียส หลักการทำงานและไดอะแกรม จากไดอะแกรมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคื...


  • หลักการทำงานและไดอะแกรม การทำงานจะแบ่งออกเป็น 2 Tower ดังภาพด้านบน Tower I และ II โดย Tower I จะทำลมแห้งก่อน(Adsorption)ส่วน Tower II จะทำการไล่ความชื้นออกจากเม็ดสาร(Purge)โดยใ...


  • 1. หลักการทำงาน โดยทั่วไปเครื่องปรับอากาศที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่จะเป็นเครื่องปรับอากาศแบบรวมศูนย์ที่เรียกว่า ชิลเลอร์ (Chiller) ซึ่งแบ่งเป็นระบบระบายความร้อนด้วยน้ำและระบบระบายความร...


  • ระบบนิวเมติกส์ หมายถึง ระบบการส่งถ่ายกำลังโดยอาศัยความดันลมเป็นตัวกลางในการส่งถ่ายกำลัง โดยมีอุปกรณ์เช่น กระบอกสูบ ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานลมให้เป็นพลังงานกล ข้อดีของระบบนิวเมติกส์...