แบบฟอร์มต่อใบอนุญาตทํางาน work permit 2565

แรงงานต่างด้าว ที่นำเข้าแบบ MOU ในปัจจุบันมีระบบใหม่ โดยกรมการจัดหางานดำเนินการออกใบอนุญาตทำงานให้แก่แรงงานต่างด้าวที่นำเข้ามาตามบันทึกความตกลง MOU ที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลของประเทศเพื่อนบ้านซึ่งจะได้รับใบอนุญาตทำงานแบบ E-Work Permit ออกโดยศูนย์แรกรับและสิ้นสุดการจ้างโดยผ่านการอบรมให้ความรู้แก่แรงงานต่างด้าวในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย นำร่อง 3 จังหวัด คือ สระแก้ว หนองคาย และตาก

ใบอนุญาตทำงานในรูปแบบ E-Work Permit จะเป็นใบอนุญาตที่งานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบ บัตรพาสติก หรือ สมาร์ทการ์ด (Smart Card) ซึ่งง่ายต่อการพกพา มีระบบป้องกันการปลอมแปลง และง่ายในการตรวจสอบ โดยเจ้าหน้าที่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน ตรวจสอบ QR Code ที่ปรากฏบนบัตรซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในการตรวจสอบแรงงานต่างด้าวได้เป็นอย่างดี

เอกสารที่ต้องใช้

เอกสารนายจ้าง (นายจ้างเซ็นชื่อ)

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนายจ้าง หรือ กรณีนายจ้างเป็นต่างด้าวให้ใช้สำเนาหนังสือเดินทางรวมทั้งหน้าที่วีซ่าและสำเนาใบอนุญาตทำงาน (สำเนา 2 ชุด/แรงงาน 1 คน)

2. สำเนาทะเบียนบ้านนายจ้าง ( 2 ชุด/แรงงาน 1 คน)

3. สำเนาหนังสือรับรองบริษัทฯ ( 2 ชุด/แรงงาน 1 คน) (กรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคล)

4. ใบโควตาที่ยังไม่หมดอายุ ( ตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด)

5. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ทำงาน ( 2 ชุด/แรงงาน 1 คน)

เอกสารของแรงงานต่างด้าว (ต่างด้าวพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวา)

1. หนังสือเดินทางตัวจริง (Passport)

2. ใบอนุญาตทำงานตัวจริง (work permit)

3. สำเนาหนังสือเดินทาง รวมทั้งหน้าที่ตีวีซ่า 2 ชุด

4. สำเนาใบอนุญาตทำงานทุกหน้าที่มีรายการ 2 ชุด

5. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง อายุไม่เกิน 2 เดือน

6. รูปถ่ายขนาด 1.5 นิ้ว จำนวน 6 ใบ

คำเตือน คนต่างด้าวจะต้องยื่นเรื่องขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนที่ใบอนุญาตจะหมดอายุถ้าหากคนต่างด้าวยื่นภายในกำหนดเวลาแล้ว สามารถทำงานไปพลางก่อนได้จนกว่านายทะเบียนจะแจ้งผลการพิจารณาต่อใบอนุญาตหรือไม่อนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตจะได้รับการพิจารณาครั้งละไม่เกิน 1 ปี กรณีคนต่างด้าวทำงานเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว โดยไม่ได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุหรือได้ยื่นคำขอแล้วแต่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต และมิได้อุทธรณ์ หรืออุทธรณ์แล้วแต่รัฐมนตรีมีคำวินิจฉัยไม่อนุญาต มีความผิดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แรงงานต่างด้าวดังต่อไปนี้สามารถลงทะเบียนต่อใบอนุญาตในประเทศ

กลุ่มที่ 1 : MOU ในประเทศครบ 4 ปีก่อน 31 มีค 64

กลุ่มที่ 2 : คนที่เคยมีบัตรชมพู ที่ต้องดำเนินการตามมติ ครม.วันที่ 20 สิงหาคม 2563 (กลุ่มพิสูจน์สัญชาติ OSS,กลุ่มบัตรชมพู) แต่ไม่ได้ดำเนินการ

กลุ่มที่ 3 : MOU แจ้งออกเกิน 30 วัน เปลี่ยนนายจ้างไม่ทัน

กลุ่มที่ 4 : คนต่างด้าวซึ่งถือบัตรบัตรผ่านแดน (Border Pass)

เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว สามารถทำงานได้จนถึง 31 มีนาคม 2565

แรงงานดังกล่าวกลุ่มนี้ โดยปกติจะต้องทำการกลับประเทศต้นทางและดำเนินการ MoU ใหม่ แต่ด้วย มติครม.วันที่ 4 สิงหาคม 2563 สามารถให้แรงงานดำเนินการในไทยได้ โดยแรงงานจะได้บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) โดยขั้นตอนมีดังนี้

1. ยื่นขอใบอนุญาตทำงาน – สำนักงานจัดหางาน: ค่าธรรมเนียม 1450 บาท

ขั้นตอนการ ยื่นคำขอใบอนุญาตทำงานให้แล้วเสร็จ ที่สำนักจัดหางาน ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2563
*กรณีนายจ้างทำเองเสียค่าหลักประกัน 1000 บาท

2. ตรวจสุขภาพที่สถานพยาบาลรัฐกำหนด >>คลิ๊ก https://www.jobsworkerservice.com/workpermit/

  • กลุ่มประกันสังคม – ค่าธรรมเนียมตรวจสุขภาพ 500
  • ประกันสุขภาพ 3 เดือน 500 บาท
  • กลุ่มประกันสุขภาพ – ค่าธรรมเนียมตรวจสุขภาพ 1000
  • ประกันสุขภาพ 2 ปี 3200 บาท

ขั้นตอนการพาคนนต่างด้าวไปตรวจสุขภาพและซื้อประกันสุขภาพ ภายในวันที่ 31 มกราคม 2564

ตรวจลงตราวีซ่า ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง: ค่าธรรมเนียมวีซ่า 1900 บาท

3. ทำการตรวจลงตราวีซ่าทำงาน ที่สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ภายในวันที่ 31 มกราคม 2564

4. นัดหมายถ่ายบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) ที่สำนักงานเขตพื้นที่: ค่าธรรมเนียม 80 บาท
ถ่ายใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าว ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564

การจัดเรียงเอกสารการต่อวีซ่า (VISA) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564

    • กลุ่มเดิม มติ ครม.20 สิงหาคม 2562
      (วีซ่าเดิมสิ้นสุด 31 MAR 2021, 30 SEP 2021 และ 31 MAR 2022)
    • กลุ่มเดิม มติ ครม.4 สิงหาคม 2563
      (ยังไม่ได้ต่อวีซ่าดวงแรกหรือวีซ่าเดิมสิ้นสุด 31 MAR 2021, 30 SEP 2021 และ 31 MAR 2022)
    • กลุ่มเดิม มติ ครม.10 พฤศจิกายน 2563
      (วีซ่าเดิมสิ้นสุดระหว่างวันที่ 1 NOV 2020 – 31 DEC 2021)
    • กลุ่มตามบันทึกความเข้าใจฯ (MOU)
      (วีซ่าเดิมสิ้นสุดระหว่างวันที่ 1 JAN 2021 – 31 DEC 2021)

ลำดับ

รายการ

หมายเหตุ

1

หนังสือเดินทางตัวจริง + สำเนาหนังสือเดินทางทุกหน้าที่มีตราประทับ

พร้อมรับรองสำเนา

2

แบบฟอร์ม ตม.7 (กรอกรายละเอียดทั้งหมดพร้อมติดรูปถ่าย)

3

สำเนาใบอนุญาตทำงาน / ใบรับคำขอ + ใบเสร็จรับเงินจาก สนง.จัดหางานพื้นที่

พร้อมรับรองสำเนา

4

สำเนาบัตรประชาชนนายจ้าง พร้อมรับรองสำเนา

นายจ้างเป็นบุคคลธรรมดา

5

หนังสือรับรองบริษัท (อายุไม่เกิน 6 เดือน) + สำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้จัดการ พร้อมรับรองสำเนา

นายจ้างเป็นนิติบุคคล

6

หนังสือมอบอำนาจ + อากรแสตมป์ 10 บาท + สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนา

กรณีนายจ้างมอบหมายฯ

7

ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท
    • กลุ่มมติ ครม. 20 ส.ค. 62, 4 ส.ค. 63 และ 10 พ.ย. 63
      ต้องต่อ VISA ให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ส.ค. 65
    • กลุ่ม MOU ที่ VISA สิ้นสุดระหว่าง 1 ม.ค. – 2 ส.ค. 64
      ต้องต่อ VISA ให้แล้วเสร็จ ภายใน 3 ก.พ. 65
    • กลุ่ม MOU ที่ VISA สิ้นสุดระหว่าง 3 ส.ค. – 31 ธ.ค. 64
      ต้องต่อ VISA ให้แล้วเสร็จ ภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ VISA สิ้นสุด
    • คนต่างด้าวต้องมาดำเนินการด้วยตนเองพร้อมนายจ้าง
      ทั้งนี้ นายจ้างอาจมอบหมายให้บุคคลอื่นที่มีสัญชาติไทยมาดำเนินการแทนตนเองได้

สิ่งที่ต้องดำเนินการ ก่อนมาต่อวีซ่า (ตามมติ ครม. 13 ก.ค.64)

✔ นายจ้าง/คนต่างด้าว ➡ ยื่นคำขอต่อใบอนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานฯ ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กรมการจัดหางานกำหนด