คำที่เป็นคำสงวนหรือคำสั่งของโปรแกรมเมื่อพิมพ์ลงในหน้าต่าง actionscript แล้วจะเห็นเป็นตัวอักษรสีอะไร

หลังจากที่ Macromedia ได้ปล่อย Flash MX 2004 ออกมาสู่ท้องตลาดได้ประมาณปีกว่าๆ ตอนนี้ก็ได้ส่งน้องใหม่ล่าสุดเป็นเวอร์ชั่น 8 โดยมีชื่อเรียกตรงตัวว่า Flash 8 ผู้ใช้หลายคนอาจจะเคยใช้งานกันมาบ้างแล้ว แต่ทราบกันบ้างหรือไม่ว่า Flash 8 นั้นมันมีลูกเล่นหรือความสามารถอะไรที่เพิ่มเติมมาบ้าง ในกระทู้นี้จะนำเสนอว่า Flash 8 มีลูกเล่นอะไรใหม่ๆบ้าง แต่ถ้าท่านผู้อ่าน เห็นว่ายังมีลูกเล่นมากมายกว่าก็สามารถเข้ามาเสนอควาเห็นกันได้นะครับ

ความสามารถใหม่ใน Flash 8
           • พื้นที่นอกสเตจที่เรียกว่า Pasteboard เป็นส่วนที่เราใช้เป็นที่พักชั่วคราวในการวางออบเจ็กต์ที่เราไม่ต้องการให้แสดงบนสเตจ เมื่อเราทดสอบผลงานในเวอร์ชั่นเก่าจะแสดงให้เห็นทั้งหมด แต่งานที่สร้างจาก flash 8 ได้ปิดการแสดงผลตรงนี้ไป เพื่อให้เห็นเฉพาะส่วนงานจริงบนสเตจเท่านั้น

คำที่เป็นคำสงวนหรือคำสั่งของโปรแกรมเมื่อพิมพ์ลงในหน้าต่าง actionscript แล้วจะเห็นเป็นตัวอักษรสีอะไร

           • จัดการรวมพาเนลให้รวมเป็นกลุ่มเดียวกันได้ เพิ่มความสะดวกในการใช้งานและเพิ่มพื้นที่ของหน้าจอการทำงาน ดังรูปพาเนล Align, Info, Transform ถูกรวมไว้ในกลุ่มเดียวกัน

การวาดรูปและการลงสี

           • ปกติการวาดรูปทรงใน Flash กรณีที่ทั้งสองชิ้นมีสีเดียวกัน เมื่อนำมาซ้อนทับกันจะรวมเป็นชิ้นเดียวกัน ถ้ามีสีต่างกัน สีส่วนที่ถูกซ้อนทับจะหายไป ใน flash 8 มีวิธีการวาดรูปเพิ่มเข้ามา เรียกว่า การวาดแบบออบเจ็กต์ (Object-drawing model) ทำให้เราสามารถซ้อนรูปได้ แม้ว่าเราจะแยกรูปออกจากกัน แต่ก็ยังคงลักษณะรูปเดิมไว้

รูปแบบเดิม

คำที่เป็นคำสงวนหรือคำสั่งของโปรแกรมเมื่อพิมพ์ลงในหน้าต่าง actionscript แล้วจะเห็นเป็นตัวอักษรสีอะไร

ภาพวาดแบบปกติที่นำมาซ้อนกัน               หลังจากแยกภาพออกจากนั้น ภาพที่ถูกซ้อนทับจะหายไป

รูปแบบใหม่ใน Flash 8

คำที่เป็นคำสงวนหรือคำสั่งของโปรแกรมเมื่อพิมพ์ลงในหน้าต่าง actionscript แล้วจะเห็นเป็นตัวอักษรสีอะไร

ภาพวาดที่เป็นออบเจ็กต์ที่นำมาซ้อนกัน              หลังจากแยกภาพออกจากนั้น จะไม่มีส่วนใดของภาพที่หายไป

           • ลองวาดเส้นขึ้นมา แล้วขยายใหญ่เพื่อดูที่ปลายเส้นเราจะเห็นว่าจุดปลายจะมน ใน Flash 8 เราสามารถเปลี่ยนลักษณะปลายเส้นให้เป็นแบบตัดหรือมนได้ หรือเมื่อนำ 2 เส้นมาเชื่อมกันให้เป็นมุมแหลม ก็สามารถกำหนดเส้นของจุดเชื่อมให้ตัด มน หรือจะให้เหลี่ยมก็ได้
           • สามารถไล่โทนสีเกรเดียนท์ให้กับเส้นที่เราวาดใน Flash 8 ได้ โดยสังเกตุที่พาเนล Color Mixer ว่า เมื่อเลือกสีเส้น (Stroke) จะมีให้เราเลือกชนิด (Type) การลงสีแบบเกรเดียนท์ได้

คำที่เป็นคำสงวนหรือคำสั่งของโปรแกรมเมื่อพิมพ์ลงในหน้าต่าง actionscript แล้วจะเห็นเป็นตัวอักษรสีอะไร

           • นอกจากนี้ การเลือกใส่โทนสีแบบเกรเดียนท์ให้กับเส้นหรือพื้น ยังสามารถกำหนดค่า Overflow สำหรับกำหนดสีแบบพิเศษ ว่าจะให้สะท้อนสีที่เกินมาเป็นแบบกระจกสะท้อน (Mirror) หรือไล่สีแบบซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ (Repeat)
           • สามารถย้ายจุดศูนย์กลางไล่โทนสีได้ โดยเลื่อนลูกศรที่เรียกว่า focal point ไปตามตำแหน่งที่ต้องการได้

คำที่เป็นคำสงวนหรือคำสั่งของโปรแกรมเมื่อพิมพ์ลงในหน้าต่าง actionscript แล้วจะเห็นเป็นตัวอักษรสีอะไร

           • ปกติการย้อนการทำงาน (Undo) จะเป็นการกลับไปสู่การทำงานขั้นตอนก่อนหน้านี้ ทีละการทำงาน แต่ Flash 8 จะสามารถแยกการทำงานสำหรับแต่ละซิมบอลได้ ที่เรียกว่า Object level undo ช่วยให้เราเห็นลำดับการทำงานของแต่ละออบเจ็กต์ๆ ไป และย้อนการทำงานที่เป็นเฉพาะของซิมบอลนั้นๆ ได้ โดยให้ใช้พาเนล History ประกอบการทำงานด้วย
 

พาเนล Library

ในเวอร์ชั่นที่ผ่านๆ มา เมื่อเราทำงานกับหลายๆ ไฟล์ พาเนล Library จะถูกเปิดเป็นพาเนลแยกออกจากกัน ทำงานของใครของมัน ความสามารถใหม่เกี่ยวกับพาเนล Library ในเวอร์ชั่น 8 คือทุกๆ ไฟล์ที่เราทำงานด้วยจะใช้เพียงพาเนลเดียว แต่เลือก Library จากไฟล์ต่างๆ ผ่าน drop down list ดังรูป หรือจะแยกออกมาเป็นพาเนลของแต่ละไฟล์เหมือนเดิมก็ได้

คำที่เป็นคำสงวนหรือคำสั่งของโปรแกรมเมื่อพิมพ์ลงในหน้าต่าง actionscript แล้วจะเห็นเป็นตัวอักษรสีอะไร


โมชั่นทวีน

การเคลื่อนที่แบบโมชั่นทวีน จะมีตัวเลือกสำหรับกำหนดความช้าเร็วในการเคลื่อนที่ (Ease) ซึ่งในเวอร์ชั่นที่ผ่านมาจะปรับค่าได้เพียง จากช้าไปเร็ว หรือเร็วไปช้าเท่านั้น หรือถ้าต้องการความเร็วหลายๆ ระดับ ก็ต้องเพิ่มคีย์เฟรมเป็นจุดๆ ไป ในเวอร์ชั่น 8 มีการปรับปรุงความสามารถนี้ให้ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น โดยใช้วิธีการพล็อตกราฟกำหนดช่วงเวลาได้เลย ดังรูป

คำที่เป็นคำสงวนหรือคำสั่งของโปรแกรมเมื่อพิมพ์ลงในหน้าต่าง actionscript แล้วจะเห็นเป็นตัวอักษรสีอะไร

คุณภาพของตัวอักษรสำหรับงานต่างชนิดในเวอร์ชั่น 8 สามารถกำหนดฟอนท์ให้เหมาะกับงานแต่ละชนิดได้ เช่น ฟอนท์ที่แสดงอยู่ปกติ หรือฟอนท์ที่แสดงการเคลื่อนไหว
โหลดภาพไฟล์นามสกุล gif และ png ได้แล้วเกี่ยวกับการเขียนสคริปต์ ที่สามารถเขียนคำสั่งโหลดภาพโดยระบุเป็นไฟล์ gif และ png

สร้างเอฟเฟ็คแปลกตาด้วยฟิลเตอร์ และ Blend Modes
ที่ผ่านมา การสร้างเอฟเฟ็คสวยๆ แปลกๆ ให้กับออบเจ็กต์หรือภาพใน Flash ต้องไปใช้โปรแกรมกราฟิกจากภายนอกแต่งภาพ แล้วนำเข้ามาใช้ในโปรแกรม Flash อีกที หากต้องการเปลี่ยนหรือแก้ไขภาพ ก็จะต้องเข้าไปแก้ที่โปรแกรมกราฟิกอีกครั้ง ทำให้ลำบากและยุ่งยาก Flash 8 มาพร้อมกับเอฟเฟ็คหลักๆ ให้ใช้งานได้อย่างเพียงพอ โดยเครื่องมือนี้เป็นแท็ปให้เลือกอยู่ในพาเนลเดียวกันกับ Property Inspector

คำที่เป็นคำสงวนหรือคำสั่งของโปรแกรมเมื่อพิมพ์ลงในหน้าต่าง actionscript แล้วจะเห็นเป็นตัวอักษรสีอะไร


โหมดการผสมสี (Blend Mode)
อีกความสามารถใหม่เกี่ยวกับการตกแต่งภาพที่เพิ่มเข้ามาใน Flash 8 คือเราสามารถผสมสีและคุณลักษณะของออบเจ็กต์ที่ซ้อนกันได้ คล้ายกับโปรแกรม Photoshop ที่เมื่อเรามีเลเยอร์ของภาพซ้อนกัน แล้วเลือก Blend Mode เมือได้ภาพที่ต้องการแล้ว ก็ทำการ Flattern ภาพ

คำที่เป็นคำสงวนหรือคำสั่งของโปรแกรมเมื่อพิมพ์ลงในหน้าต่าง actionscript แล้วจะเห็นเป็นตัวอักษรสีอะไร


Script Assist

เป็นการเขียนสคริปต์แบบ Normal Mode เดิมที่มีใน Flash MX วิธีการเพียงเลือกคำสั่งที่ต้องการก่อน หากคำสั่งนั้นจำเป็นต้องมีค่ากำหนดเพิ่มเติม โปรแกรมจะแสดงทุกค่าให้เราเลือก หรือพิมพ์เพิ่มเข้าไป ดังรูป ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่เป็น Designer ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมโดยตรง ในเวอร์ชั่น 8 จะมีปุ่ม Script Assist ที่หน้าต่าง Actions สำหรับช่วยผู้ใช้ในการเขียนสคริปต์ลงไปในโปรแกรม Flash

คำที่เป็นคำสงวนหรือคำสั่งของโปรแกรมเมื่อพิมพ์ลงในหน้าต่าง actionscript แล้วจะเห็นเป็นตัวอักษรสีอะไร


การทำงานกับไฟล์วิดีโอ

โปรแกรม Flash จะบีบอัดข้อมูลวิดีโอก่อนนำมาใช้ ซึ่งจะใช้ Codec (วิธีบีบอัดและขยายข้อมูลที่นำเข้าและส่งออก) มาช่วยลดแบนด์วิทที่ต้องใช้ในการโหลดวิดีโอมาแสดงและช่วยรักษาคุณภาพวิดีโอไว้ โดย codec ใหม่ในเวอร์ชั่น 8 มีชื่อว่า On2PV จะทำให้ได้คุณภาพวิดีโอที่สูงกว่า codec แบบ Sorenson Spark ที่เป็นของเวอร์ชั่นเดิมกว่า 10 เท่า แต่เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ On2PV จะใช้เวลาในการบีบอัดนานกว่า