ทําไมต้องทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

3.1 จุดมุ่งหมายการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    1. ค้นหาอุปกรณ์การคิดเพื่อเลือกปัญหา

    2. สร้างความชัดเจนและกระจ่างในปัญหาการวิจัย

    3. เป็นแนวทางในการตอบคำถามการวิจัย

    4. หลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำโดยไม่จำเป็น

    5. เป็นแนวทางในการวางแผนและออกแบบการวิจัย

    สรุปได้ว่าจุดมุ่งหมายในการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนด

วางแผนกรอบงานวิจัยของตนเอง โดยมุ่งศึกษาส่วนที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์งานวิจัยของตนเอง

3.2 แหล่งของเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    1. เอกสารตำรา (Text book)

    2. สารานุกรม (Encyclopedia)

    3. พจนานุกรม (Dictionary)

    4. รายงานการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษารายงานการทบทวน (Reviews)

    5. หน่วยงานต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน เอกสาร สถิติ รายงานประจำปี

        ตลอดจนรายงานการวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ

    6. แหล่งรวบรวมแบบวัดมาตรฐาน

    7. ปริญญานิพนธ์

    8. การสืบค้นโดยคอมพิวเตอร์

    จากแหล่งการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยเกี่ยวข้องที่นักวิชาการกล่าวไว้ นับว่ามีความสำคัญอย่างมากในการค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัยของตนเองซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้

    1. ประเภทตำราหรือบทความทางวิชาการ

        (1) หนังสือหรือตำรา

        (2) วารสาร

        (3) สารานุกรม

        (4) เอกสารรายงานการประชุมสัมนาต่าง ๆ

    2. ประเภทงานวิจัย ลักษณะงานวิจัยที่เหมาะสมต่อการค้นคว้ามีดังนี้

        (1) รายงานวิจัยที่บุคคลหรือสถาบันหรือหน่วนงานใดหน่วยงานหนึ่งจัดทำขึ้น

        (2) งานวิจัยเป็นผลงานของนักศึกษาเรียกว่า "วิทยานิพนธ์" หรือ "ปริญญานิพนธ์"

        (3) หนังสือรวบรวมผลงานวิจัย

3.3 ประโยชน์ของเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    จากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยโครงการที่สอดคล้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังดำเนินการ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก มีประโยชน์ดังนี้

    1. เพื่อเลือกปัญหาการวิจัยที่มีประโยชน์และมีความทันสมัยทางวิชาการ

        (1) การศึกษาเอกสาร งานวิจัย ทฤษฎี และหลัการทำงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีผู้อื่นทำไว้

        (2) การศึกษาเอกสาร งานวิจัย ทฤษฎี และหลัการทำงานที่เกี่ยวข้อง การประเมินสถานภาพขององค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมเพื่อค้นหาลู่ทางในการตั้งปัญหาการวิจัย

    2. เพื่อแสวงหาพื้นฐานทางทฤษฎีของการวิจัย

        (1) อะไร หมายถึง การประมวลเอกสารจะทำให้ทราบว่าการวิจัยที่ผ่านมามีการศึกษาอะไรไปบ้าง

        (2) อย่างไร หมายถึง การพิจารณาแนวทางดำเนินการ

        (3) ใคร หมายถึง กลุ่มตัวอย่างหรือผู้ถูกศึกษาเป็นตัวแทนของประชากรประเภทใด

        (4) เมื่อใด หมายถึง งานวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ ได้ถูกศึกษามาแล้วเมื่อใดบ้าง

        (5) อย่างไร หมายถึง การพิจารณาแนวทางดำเนินการ วิธีการวิจัย และเครื่องมือวัด

        (6) ที่ไหน หมายถึง สถานที่ที่เคยมีการวิจัย

    3. เพื่อประเมินเบื้องต้นถึงความสำเร็จของการดำเนินโครงการงานวิจัยและเรียนรู้สิ่งที่ทำให้โครงการงานวิจัยอื่นล้มเหลว

    4. เพื่อวางแผนดำเนินการวิจัยที่เหมาะสม

3.4 หลักการเขียนรายงานการศึกษาวิจัย

    คือ การกำหนดขอบเขตการศึกษาที่เกี่ยวเนื่องกับนวัตกรรมที่สร้าง/พัฒนาเป็นการศึกษาความสำคัญ

และที่มาของปัญหาการวิจัยแบบกว้าง ๆ ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถเขียนส่วนต่าง ๆ ของการวิจัยได้ โดยกำหนดหัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง และหัวข้อย่อยของเนื้อหาสาระที่จะศึกษาก่อน แนวทางการกำหนดหัวข้อ

ควรยึดตามปัญหาวิจัยหลัก (ชื่อเรื่อง) และปัญหาวิจัยรอง (จุดมุ่งหมายของการวิจัย) เป็นหลักในการนำเสนอเนื้อหาและเป็นทิศทางในการอภิปรายของงานวิจัยต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้

3.5 การจัดลำดับและการจัดวางหัวข้อ

ตารางแสดงความสัมพันธ์ของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ศึกษาค้นคว้า

 ตัวแปรที่ศึกษาค้นคว้า (ตัวแปรตาม)  วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
 ตัวแปรตามกำหนดเอาไว้ 3 ส่วน ได้แก่
1. ส่วนปัจจัยนำเข้า ได้แก่
    (1) ด้านการตรวจสอบวัตถุดิบ
    (2) ด้านวิธีการจูงใจการควบคุมและ
 ตรวจสอบคุณภาพ
2. ส่วนกระบวนการผลิต
   (1) ด้านการวางแผนการควบคุมการ
ตรวจสอบคุณภาพ
    (2) ด้านการควบคุมและตรวจสอบ
คุณภาพการผลิต
3. ส่วนผลผลิต
    (1) ด้านการจัดเก็บชิ้นส่วนยานยนต์
    (2) ด้านการจัดสิ่งชินส่วนยานยนต์
 การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ
ผลิตภัณฑ์ของฝ่ายประกันคุณภาพ
    - ด้านการตรวจสอบวัตถุดิบ
    - ด้านวิธีการจูงใจการควบคุมการตรวจสอบคุณภาพ
    - ด้านการวางแผนการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ
    - ด้านการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิต
    - ด้านการจัดเก็บชิ้นส่วนยานยนต์
    - ด้านการจัดส่งชิ้นส่วนยานยนต์

3.6 การย่อหน้าและการเว้นวรรค

    1. การย่อหน้าข้อความทั่วไป เว้นจากเส้นขอบหน้า 1.50 ซม. หรือเป็นขนาดของการย่อหน้าปกติทั้งฉบับ

    2. หลังอักษรย่อ เว้น 1 ช่วงตัวอักษร เช่น พ.ศ. 2548 ยกเว้นคำนำหน้าชื่อที่เป็นอักษรย่อ เช่น พล.ต.

ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

3.7 การใช้เครื่องหมายวรรคตอน

    การใช้เครื่องหมายวรรคตอน ต้องใช้เครื่องหมายอัญประกาศซ้อนกัน ให้ใช้อัญประกาศเดี่ยวสำหรับ

ข้อความหรือคำข้างใน

3.8 การเขียนอัญพจน์

    การเขียนอัญพนจ์เป็นการเรียบเรียงการศึกษาเอกสาร งานวิจัย ทฤษฎีและหลักการทำงานที่เกี่ยวข้อง

จะต้องมีการศึกษาค้นคว้าและอ้างถึงข้อมูลความรู้ ตลอดจนการศึกษาจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ข้อความ

ที่นำมาอ้างนี้เรียกว่า "อัญพจน์" ซึ่งต้องเสนอควบคู่กับการระบุแหล่งที่มาของอัญพจน์ที่เรียกว่า "การอ้างอิง" เป็นรูปแบบมาตรฐาน เพราะเป็นการแสดงถึงการศึกษาค้นคว้าที่เป็นระบบ ประกอบด้วยข้อมูล

ความรู้ที่น่าเชื่อถือ มีการอ้างแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ตรวจสอบได้

    อัญพจน์ หมายถึง ข้อความในรายการโครงการวิจัย ที่ผู้จัดทำนำมาจากข้อเขียนหรือคำกล่าวของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

    1. อัญพจน์ตรง (Direct Quotation) คือ อัญพจน์ที่นำมาอ้างโดยคัดลอกตามข้อความเดิม

    2. อัญพจน์รอง (Indirect Quotation) คือ อัญพจน์ที่นำมาอ้าง โดยในลักษณะการจับใจความ

3.9 การเขียนอ้างอิง

ความหมายของการอ้างอิง

    การอ้างอิง หมายถึง การระบุแหล่งที่มาของข้อมูลทีนำมาอ้าง คือ อัญพจน์ การอ้างอิงจึงเป็น

สิ่งที่ควบคู่กับอัญพจน์เสมอ การอ้างอิงถือเป็นส่วนประกอบอันสำคัญยิ่ง

ข้อมูลที่ต้องระบุในการอ้างอิงแทรกเนื้อหา

    การอ้างอิงแทรกเนื้อหา เป็นการวงเล็บระบุแหล่งที่มาของอัญพจน์อย่างกว้าง ๆ แทรกอยู่ในเนื้อหาของสารนิพจน์ ส่วนรายละเอียดที่สมบูรณ์ของแหล่งข้อมูลจะแสดงใน "บรรณานุกรม" ในส่วนท้ายของสารนิพนธ์

3.10 ขั้นตอนการสืบค้นและการคัดเลือกเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

3.10.1 ขั้นตอนการสืบค้นเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

            1. การกำหนดคำสำคัญหรือค้นคว้า

            2. การค้นหาเอกสาร

            3. การสืบค้นเอกสารและการคัดเลือก

            4. ขั้นการอ่านเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ และจดบันทึก

3.10.2 การคัดเลือกงานวิจัย มีหลักเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้

            1. พิจารณาชื่อเรื่อง

            2. พิจารณาจากบทคัดย่อ

            3. พิจารณาความน่าเชื่อถือ

            4. พิจารณาอายุของงานวิจัย

3.10.3 การอ่านเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    1. การอ่านเก็บความคิดสำคัญ

        (1) พิจารณาจากชื่อเรื่อง ว่าเอกสารนั้นมีสาระเกี่ยวกับเรื่องอะไร

        (2) ดูโครงร่างจากการศึกษาสาารบัญหรือหัวข้อของเอกสาร

        (3) พิจารณาความคิดสำคัญในตอนต้นหรือตอนท้ายของย่อหน้าจากประโยคสำคัญที่อยู่ในเนื้อหา

ของแต่ละย่อหน้านั้น

        (4) ศึกษาจากคำที่เป็นเครื่องชี้ความคิดสำคัญ

    2. การอ่านเก็บรายละเอียด

        ในแต่ละย่อหน้าของเอกสาร โดยทั่วไปเมื่อมีประโยคสำคัญแล้วจะมีรายละเอียดขยายหรือสนับสนุนประโยคนั้นซึ่งอาจอยู่ในรูปของการยกตัวอย่าง ขั้นตอน ลักษณะที่เป็นเหตุและผล หรือการ

บรรยาย ลักษณะนิยาม ถ้าผู้อ่านเข้าใจความคิดสำคัญสามารถข้ามรายละเอียดนี้แต่ถ้ายังไม่เข้าใจชัดเจน การอ่านรายละเอียดเหล่านี้จะทำให้ความกระจ่างมากขึ้น

ควรทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเมื่อใด

ในการวิจัยใด ๆ นั้น การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะเป็นขั้นตอนก่อน-หลัง จากผู้วิจัยได้กาหนดปัญหาของการวิจัยอย่างชัดเจนแล้ว ที่จ าเป็นจะต้องมีการศึกษา แนวคิด ทฤษฏีหรือ กฎเกณฑ์ว่าจะใช้แนวทาง/ระเบียบวิธีการใดในการศึกษาปัญหาหรือวิธีการแก้ไขปัญหาการวิจัยนั้น ๆ รวมทั้งมีการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่าง ...

เหตุใดจึงต้องมีการศึกษาเอกสารและทบทวนวรรณกรรม

ประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม 1. ทำให้เกิดความเข้าใจแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย 2. ป้องกันการวิจัยซ้ำซ้อนกับบุคคลอื่น เพราะเมื่อทบทวนวรรณกรรมจะทำให้ผู้วิจัย ทราบว่ามีใครทำวิจัยเรื่องที่ตนสนใจไปบ้าง ทำวิจัยเกี่ยวกับอะไร

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีประโยชน์ต่อการทำโครงงานอย่างไร

3.3 ประโยชน์ของเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.
เพื่อเลือกปัญหาการวิจัยที่มีประโยชน์และมีความทันสมัยทางวิชาการ ... .
เพื่อแสวงหาพื้นฐานทางทฤษฎีของการวิจัย ... .
เพื่อประเมินเบื้องต้นถึงความสำเร็จของการดำเนินโครงการงานวิจัยและเรียนรู้สิ่งที่ทำให้โครงการงานวิจัยอื่นล้มเหลว.
เพื่อวางแผนดำเนินการวิจัยที่เหมาะสม.

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยหมายถึงอะไร

สรุปคำว่าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือ (วรรณกรรม related literature)หมายถึง เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจเป็น เอกสาร/ผลงานวิชาการที่มีการจัดทำ หรือจัดพิมพ์เผยแพร่ในลักษณะสื่อสิ่งพิมพ์ หรือ มีการบันทึกในรูปเอกสารอีเล็คทรอนิกส์ เช่น เป็นตำรา วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยบทคัดย่อ ...