เหตุใดจึงต้องมีหลักสูตรวิทยาการคำนวณ

     เทอมใหม่ปี 2561 นี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักวิชาใหม่ “วิทยาการคำนวณ” ที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นวิชาบังคับใหม่กันแล้วครับ ลูกหลานใคร ชั้นเรียนไหน ต้องเจอ ต้องเรียนอะไรบ้าง ตอนนี้แอดมินหาคำตอบมาให้ทุกท่านได้รับทราบกันแล้วครับ

     เพื่อให้รู้ลึกถึงที่มาที่ไปของวิชานี้ “สอนลูกเขียนโปรแกรม” ได้สัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และที่ปรึกษาของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาการคำนวณ

โดย รศ.ยืน เล่าถึงความเป็นมาของวิชานี้ว่า แต่เดิมก็คือ วิชาเทคโนโลยี หรือที่เรารู้จักกันในนามวิชาคอมพิวเตอร์ ที่เป็นวิชาพื้นฐานในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี จุดประสงค์เดิมของวิชาก็เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่นักเรียนเป็นหลักเท่านั้น

เหตุใดจึงต้องมีหลักสูตรวิทยาการคำนวณ

รองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ

แต่ในโลกยุคดิจิทัล เด็กรุ่นใหม่เป็น digital native ที่สามารถใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้เองแม้แทบไม่มีใครสอน ดังนั้นคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีหรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ รอบตัวเรา จึงมิใช่แค่เครื่องมือในการประกอบอาชีพใดอาชีพหนึ่งเท่านั้นอีกต่อไป แต่ทุก ๆ คนต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิต อย่างข้อมูลที่ปรากฎมากมายบนไทมไลน์โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ลูกของเราต้องสามารถประเมินได้ว่าเป็นข่าวจริงหรือเท็จ เว็บที่ให้กรอกข้อมูลส่วนที่เจอตอนทำรายงานเป็นเว็บหลอกลวงหรือไม่ เนื้อหามากมายที่เจอบนอินเทอร์เน็ตนำไปใช้ทำงานแล้วขายต่อได้ไหม ผิดกฎหมายไหม ฯลฯ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงวิชาให้สามารถตอบโจทย์การดำรงชีวิตของทุกคนได้ และตอบโจทย์ต่อการพัฒนาประเทศอีกด้วย วิชานี้จึงไม่ควรสอนแค่การใช้ “เครื่องมือหรืออุปกรณ์” แต่ต้องสอนเด็ก ๆ ให้มีทักษะชีวิต และทักษะชีวิตที่ว่านี้ก็คือ “กระบวนการคิดและแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์”  นี่จึงเป็นที่มาของวิชาวิทยาการคำนวณ ที่เน้นการสอนทักษะกระบวนการคิดและแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน และสอนให้ลูกของเรารู้จักการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีนี้อย่างเหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อตนเอง โดยไม่ทำร้ายผู้อื่นและสังคม และยังสามารถนำทักษะต่อยอดไปสู่การประกอบอาชีพใด ๆ ในอนาคตได้

เหตุใดจึงต้องมีหลักสูตรวิทยาการคำนวณ

อาจารย์ผนวกเดช สุวรรณทัต

     นอกจากนี้ยังได้สัมภาษณ์ อาจารย์ผนวกเดช สุวรรณทัต จากสถาบันการเรียนรู้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้ร่วมปรับปรุงหลักสูตรและร่างแบบเรียนวิชาวิทยาคำนวณระดับประถมศึกษา อ.ผนวกเดช กล่าวว่าวิชานี้ย้ายมาอยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเห็นว่ากระบวนการคิดของมนุษย์นั้น ควรมีขั้นตอนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งเป็นหลักการของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว โดยวิธีการเรียนการสอนจะเน้นการนำรูปแบบของโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสอนเด็กอย่างเหมาะสมตามพัฒนาการแต่ละวัย เด็กเล็กจะเน้นสื่อการเรียนรู้ประเภท unplugged เช่น แบบฝึกหัด การ์ดคำสั่ง บอร์ดเกม และค่อยๆ ปรับสื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสมขึ้นตามระดับชั้นปี อย่าง ป.4 ให้เรียนเขียนโปรแกรมอย่างง่ายผ่าน Scratch เป็นต้น

วิชาใหม่ “วิทยาการคำนวณ” นี้จะเริ่มการเรียนการสอนในปีการศึกษาแรกของปี 2561 ที่จะถึงนี้ โดยเริ่มที่ชั้นเรียนแรกของแต่ละช่วงชั้นก่อน ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยทาง สสวท. ได้วางแผนวิชา ออกแบบหนังสือเรียน แบบฝึกหัด คู่มือครู และมีการจัดการอบรมครูในรายวิชาใหม่นี้แล้ว และจะเปิดสอนให้ครบ 12 ชั้นเรียนทั้งประถมและมัธยมในปีต่อ ๆ ไป รวมถึงอาชีวศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาทางเลือกอื่น ๆ ในอนาคตอีกด้วย

ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าวิชาวิทยาการคำนวณนี้ ก็คือวิชาคอมพิวเตอร์ที่มีจุดประสงค์ใหม่ ที่ไม่ใช่เพียงเพื่อให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์ในอาชีพใดอาชีพหนึ่งเท่านั้น แต่เพื่อให้เด็กใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวเองให้ได้ทั้งทักษะการคิดและทักษะฝีมือ เป็นวิชาเพื่ออนาคต

13 ก.พ. 2561 : 12:30 น.

วิทยาการคำนวณคืออะไร ?

160992

ภาพประกอบไอเดีย วิทยาการคำนวณคืออะไร ?

วิทยาการคำนวณคืออะไร ? แล้วทำไมต้องเรียน? เป็นคำถามยอดฮิตที่ได้ร้บ เมื่อพูดถึงวิชานี้ จะคอมก็ไม่ใช่ จะเลขก็ไม่เชิง วิชาวิทยาการคำนวณ (Computing Science) คือ วิชาที่เตรียมตัวน้องๆ ให้พร้อมรับมือกับโลกของอนาคต ที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีด้วยกระบวนการคิดที่เป็นระบบ และวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์

วิทยาการคำนวณคืออะไร ? แล้วทำไมต้องเรียน?

เป็นคำถามยอดฮิตที่ได้ร้บ เมื่อพูดถึงวิชานี้

จะคอมก็ไม่ใช่ จะเลขก็ไม่เชิง

วิชาวิทยาการคำนวณ (Computing Science)

คือ วิชาที่เตรียมตัวน้องๆ ให้พร้อมรับมือกับโลกของอนาคต ที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีด้วยกระบวนการคิดที่เป็นระบบ

และวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์

วิทยาการคำนวณ เน้นวิธีคิดในการแก้ไขปัญหา 

เป็นเรื่องธรรมดาที่เราต้องเจอปัญหาอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเรื่องเล็ก หรือเรื่องใหญ่

ทั้งรถติด หิวข้าว ไปโรงเรียนสาย จัดกระเป๋าไปเที่ยวไม่ถูก หรือกระทั่งปัญหาระดับโลก อย่างเรื่องสภาวะโลกร้อน

วิทยาการคำนวณ เน้นวิธีคิดในการแก้ไขปัญหา 

วิทยาการคำนวณสอนให้ สามารถเข้าใจปัญหา วิเคราะห์ปัญหา และคิดแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบขั้นตอน

ช่วยให้แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(แถมยังเป็นทักษะเบื้องต้นของการเขียนโปรแกรมอีกด้วยนะ)

วิทยาการคำนวณเน้นให้รู้จักการใช้ข้อมูล 

โลกในวันข้างหน้าจะถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมากยิ่งขึ้น

เช่น จะไปเที่ยว หาที่พัก ก็ดูข้อมูลจากรีวิว

จะซื้อของร้านไหนดี ก็ต้องเปรียบเทียบข้อมูลหลายๆร้าน เป็นต้น

ดังนั้น ทักษะในการจัดการกับข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ

วิทยาการคำนวณเน้นให้รู้จักการใช้ข้อมูล 

วิทยาการคำนวณสอนให้เราสามารถรวบรวมข้อมูล จัดการกับข้อมูล และนำข้อมูลมาประมวลผลได้

นำไปสู่การตัดสินใจ โดยอาศัยข้อมูลทั้งหมดที่มี จนสามารถนำเสนอข้อมูลได้อย่างเหมาะสม และใช้โปรแกรมต่างๆ ได้ถูกต้องตามจุดประสงค์ของงาน

วิทยาการคำนวณเน้นให้รู้เท่าทันเทคโนโลยี 

เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาอย่างรวดเร็ว นอกจากจะนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์แแล้ว

ยังจำเป็นต้องป้องกันโทษที่อาจะเกิดขึ้นให้เป็นด้วย สิ่งเหล่านี้จะช่วยเป็นเกราะป้องกันน้องๆ ให้เติบโตไปเป็นพลเมืองดิจิทัลที่แข็งแรงในอนาคต

วิทยาการคำนวณเน้นให้รู้เท่าทันเทคโนโลยี 

วิทยาการคำนวณสอนให้เราสามารถใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ

อย่างสร้างสรรค์ รู้เท่าทันโทษและประโยชน์ เพื่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไได้อย่างสูงสุด

สรุปคือ วิทยาการคำนวณสอนให้

เรามี HEAD HAND และ HEART ที่พร้อมสำหรับโลกแห่งอนาคต

HEAD - เข้าใจวิธีคิดในการแก้ไขปัญญหา

HAND - รู้จักการใช้ข้อมูลและเครื่องมือต่างๆ

HEART - มีหัวใจที่แข็งแรงรู้เท่าทันเทคโนโลยี