เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงเปรียบมนุษย์เหมือนดอกบัว 3 เหล่า

ถ้าเปรียบเทียบแล้วหมายถึง คน  ในพุทธศาสนา

เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงเปรียบมนุษย์เหมือนดอกบัว 3 เหล่า
เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงเปรียบมนุษย์เหมือนดอกบัว 3 เหล่า
เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงเปรียบมนุษย์เหมือนดอกบัว 3 เหล่า

พระพุทธองค์ทรงพิจารณาสัตว์โลกเปรียบเหมือนบัว 4 เหล่า

บัว ๔ เหล่า ได้แก่

เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงเปรียบมนุษย์เหมือนดอกบัว 3 เหล่า

๑.ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ  พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว  เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)

เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงเปรียบมนุษย์เหมือนดอกบัว 3 เหล่า

๒.ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ  พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า ซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปัจจิตัญญู)
เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงเปรียบมนุษย์เหมือนดอกบัว 3 เหล่า

๓.ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ  พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า  ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)
เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงเปรียบมนุษย์เหมือนดอกบัว 3 เหล่า

๔.ดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม  พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร  ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ)

สรุปว่า พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาสัตว์โลกเปรียบด้วยดอกบัว ๓ หรือ ๔ เหล่า ?

เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงเปรียบมนุษย์เหมือนดอกบัว 3 เหล่า

ถ้าพิจารณาจาก พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ (๔/๑๑/๙) http://etipitaka.com/read/thai/4/11/ จะพบหัวข้อว่า "ทรงพิจารณาสัตวโลกเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า" ส่วนเนื้อหาพระสูตรตรัสไว้ดังนี้

[๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงกราบคำทูลอาราธนาของพรหม และทรงอาศัย
ความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่อตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ
ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์
แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี
ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี.
    มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอกบุณฑริกในกอบุณฑริก
ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้
บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว.
    พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวก
มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า
บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม บางพวกสอนให้รู้ได้ง่าย
บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ ฉันนั้น
เหมือนกัน ครั้นแล้วได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า ดังนี้:-
                เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟัง
                จงปล่อยศรัทธามาเถิด ดูกรพรหม เพราะเรา
                มีความสำคัญในความลำบาก จึงไม่แสดงธรรม
                ที่เราคล่องแคล่ว ประณีต ในหมู่มนุษย์.
    ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาสเพื่อจะแสดงธรรม
แล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้นแล.

ถ้าพิจารณาจาก บทพยัญชนะในพระสูตรนี้ จะพบว่า ทรงพิจารณาสัตว์โลกเปรียบอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอกบุณฑริกในกอบุณฑริก ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ ดังนี้
๑) บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้
๒) บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ
๓) บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว

จะเห็นได้ว่ามีเพียง ๓ เหล่าเท่านั้น

แต่เมื่อลองตรวจสอบใน พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BA%D8%A4%A4%C5_%F4_1 พบว่า มีการอธิบาย บุคคล ๔ จำพวก ไว้ดังนี้

บุคคล ๔ - บุคคล ๔ จำพวก คือ
     ๑. อุคฆฏิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง
     ๒. วิปจิตัญญู ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านขยายความ
     ๓. เนยยะ ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้
     ๔. ปทปรมะ ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจเข้าใจความหมาย
     พระอรรถกถาจารย์เปรียบบุคคล ๔ จำพวกนี้กับบัว ๔ เหล่าตามลำดับ คือ
         ๑. ดอกบัวที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำ รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้
         ๒. ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้
         ๓. ดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ ยังไม่โผล่พ้นน้ำจักบานในวันต่อๆ ไป
         ๔. ดอกบัวจมอยู่ในน้ำที่กลายเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า
     (ในพระบาลี ตรัสถึงแต่บัว ๓ เหล่าต้นเท่านั้น)

สรุปตามบทพยัญชนะที่เห็นคือ พระพุทธเจ้าทรงเปรียบสัตว์โลกด้วยดอกบัวเพียง ๓ เหล่า แต่พระอรรถกถาจารย์โยงการเปรียบบุคคล ๔ จำพวกกับบัว ๔ เหล่า และมีการสรุปหัวข้อในพระสูตรผิดไปจากบทพยัญชนะ

ความจริงในประเด็นนี้ มีการถกเถียงกันมาพอสมควรแล้ว ดังลิงก์ต่อไปนี้
- http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/10/Y7136744/Y7136744.html
- https://drronenv.wordpress.com/2012/08/04/บัว-3-เหล่า-หรือ-บัว-4-เหล่า/
- http://www.dhammahome.com/webboard/topic23745.html
- http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8311.0
- https://www.google.co.th/search?q=บัว+3+หรือ+4+เหล่า

คำแนะนำ

:
- พูดคุยและแสดงความคิดเห็นเฉพาะในประเด็น บัว ๓ หรือ ๔ เหล่าเท่านั้นนะครับ
- พึงระมัดระวังการแสดงความคิดเห็นให้เป็นไปตาม กฎ กติกา และมารยาท ของเว็บพันทิป
- คำแนะนำเกี่ยวกับการโพสต์แสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท

หมายเหตุ: ภาพดอกบัวจาก https://pixabay.com/en/lotus-flower-summer-zen-lake-978659/

พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบมนุษย์กับดอกบัวอย่างไร

พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที

บัว 3 เหล่าคืออะไร

บัวประเภทที่ ๑ ดอกบัวที่พ้นน้ำแล้ว รอแสงพระอาทิตย์จะบานวันนี้ บัวประเภทที่ ๒ ดอกบัวที่ปริ่มน้ำ จะบานวันพรุ่งนี้ บัวประเภทที่ ๓ ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ยังอีก ๓ วันจึงจะบาน บัวประเภทที่ ๔ ดอกบัวที่เพิ่งงอกใหม่จากเหง้าในน้ำ จะยังไม่พ้นภัยจากเต่าและปลา

พระพุทธเจ้า เปรียบบัวกี่เหล่า

บุคคล ๔ จำพวกเปรียบเหมือนกับบัวเหล่า ดังนี้ ๑. อุคฆฏิตัญญู ดังบัวที่โผล่พ้นเหนือพื้นน้ำขึ้นมา พอสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์ก็จะบานทันที คือ ผู้ที่มีกิเลสน้อยเบาบาง มีสติปัญญาแก่กล้า เพียงแค่ยกหัวข้อขึ้นแสดง ก็รู้แจ้งถึงธรรมได้ ๒. วิปจิตัญญู ดังบัวที่เจริญเติบโตขึ้นมา พอดีกับผิวน้ำแลจักบานในวันต่อมา คือ ผู้ที่มีกิเลส ...

เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าทรงอุปมาอุปไมยพัฒนาการของบุคคลเหมือนดอกบัวสี่เหล่า

บัวในทางพระพุทธศาสนา จึงเป็นสิ่งที่น่าเชิดชูบูชา บัว ในทางพุทธศาสนามีความลึกซึ้ง อุปมาเปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว 4 จำพวก ได้แก่ บัวพ้นน้ำ ผู้ที่มีความพร้อมมี ปัญญาสามารถมองเห็นเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลได้ บัวปริ่มน้ำ จำต้องพัฒนาซึ่งเมื่อขยายความเล็กน้อยก็จะมีความเข้าใจ บัวที่อยู่ใต้น้ำ ต้องอาศัยการเพาะบ่ม อบรม