เพราะเหตุใดการออกแบบผลิตภัณฑ์จึงมีขนาด รูปทรง สี แตกต่างกัน

กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์
THE PROCESS OF PRODUCT DESIGN


          ตามความหมายที่กล่าวมาแล้วว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์คือ การกำหนดรูปแบบของผลิตผล หรือ ผลของการสร้างรูปวัตถุให้เกิดเป็นลักษณะต่าง ๆ ออกมาให้สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏเห็นเป็นรูปร่างลักษณะที่มองเห็น ( Visual From ) ดังกล่าวนั้นจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ทางการออกแบบ (Design process ) และการผลิต ( production ) มาก่อนซึ่งต้องมีลำดับขั้นตอนและการแก้ปัญหา ( Problem - Solving ) กันอย่างเนื่อง จนให้สามารถสนองความต้องการทั้งทางหน้าที่ทางกายภาพ( Physical Function ) และสื่อความหมายทางการสร้างสรรค์ได้
          การออกแบบผลิตภัณฑ์โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่จะพิจารณาเรื่องของการออกแบบในแง่ของสีและรูปร่างเนื่องจากว่าสีและรูปร่างเป็นลักษณะของ
การออกแบบที่มองเห็นได้อย่างโดดเด่น ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
          แต่ก็น่าคิดกันต่อไปว่าสีสันและรูปร่างเท่านั้นหรือที่จะเป็นหลักใหญ่ใจความของการออกแบบในการออกแบบสีและรูปร่างของผลิตภัณฑ์แน่นอนย่อมจะต้องมี " ศิลปะ" เข้ามาเกี่ยวข้องแต่ " ศิลปะ" และ "การออกแบบ" ก็ยังแตกต่างกันด้วยเหตุที่ว่าเรื่องของศิลปะนั้นในแง่ของผู้บริโภคยังดูจะมีวัตถุประสงค์คลุมเครือ แต่สำหรับเรื่องการออกแบบแล้ว ดูจะมีวัตถุประสงค์ที่จะแจ้งชัดเจนมากกว่าตามหลัก 5 W และ 2 H คือ Why ?,WHO ?, WHERE, HOW?, HOW, MUCH ?. คือออกแบบไปทำไม เพื่อใคร เมื่อไร ที่ไหน อะไร อย่างไร และมูลค่าเท่าไร ดังนั้นเมื่อมีการ "ออกแบบ"สีสันและรูปร่างของผลิตภัณฑ์จึงต้อง พิจารณาตามเจตนาดังกล่าวนี้ด้วย ดังนั้นเมื่อนักออกแบบจะเริ่มงานออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย สิ่งสำดัญจึงอยู่ที่จะต้องรู้จักนำเอาวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ที่ว่ามานั้นผสมผสานความคิดกันเพื่อให้สินค้าที่มีสีสันและรูปทรงที่เหมาะสม
          การออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น กระบวนการดำเนินงาน อาจจะสลับซับซ้อนมีความยุ่งยากและอาศัยข้อมูลประกอบ หลายระดับ ขึ้นอยู่กับว่า วัตถุประสงค์ของการออกแบบนั้นมีความต้องการและการลงทุน ในระดับใดซึ่งอาจจเป็นการผลิตรายย่อยแบบกึ่งอุตสาหกรรมหรือระบบอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ที่มีระบบสายงานและกำลังการผลิตจำนวนมาก ๆ ก็เป็นได้ แต่ในที่นี้ผู้เขียนใครขอเสนอรูปแบบของกระบวนการออกแบบที่เป็นระบบตาม
แบบอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตเป็นจำนวนมาก ๆ ซึ่งในกระบวนการทำงานการออกแบบและการผลิตนั้นจำเป็นต้องมีการปรึกษาหรืออาศัยข้อมูลต่างๆ ที่แน่นอนมากมายมาประกอบการพิจารณาตัดสินใจเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพตรงตามความต้องการในการผลิตออกมา
          ในกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์มักจะประกอบขึ้นด้วย 2 กระบวนการคือ
             1. กระบวนการของการศึกษาวิจัยเบื้องต้น ( Process of Preliminary Research ) เป็นกระบวนการอันดับแรกของการเตรียมแผนการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การค้นคว้าวิจัย และข้อมูลจากด้านต่าง ๆ เพื่อนำมากำหนดเป็นมโนทัศน์ ( Concept ) ของผลิตภัณฑ์ อันได้แก่
             1.1 การกำหนดนโยบาย ( Policy Formulation ) ได้แก่การตั้งวัตถุประสงค์ของการผลิต , กลยุทธ
ทางการค้า , ขอบเขตของ วัน / เวลาการลงทุน และแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตลอดจนการกำหนดสถานะของผลิตภัณฑ์ ( Situation ) ที่จะผลิตนั้น ๆ ด้วย          1.2 ความต้องการด้านโครงสร้าง ( Structural Requiremenrs ) ได้แก่การกำหนด โครงสร้างและหน้าที่ทางกายภาพ ( Physical Structural Function ) ของผลิตภัณฑ์ว่าจะทำอะไรได้บ้าง ( What it HAS TO DO ) มีรูปร่างอย่างไร รูปแบบ ( STYLE ) สมัยใหม่ที่เรียบง่าย หรือมีการ ตกแต่งลวดลายตามสไตล์งานหัตถกรรมส่วนประกอบในโครงสร้างมีการรับน้ำหนัก หรือเอื้อ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างไร ฯลฯ เช่น การกำหนดความต้องการทางโครงสร้างของ ผลิตภัณฑ์เก้าอี้ว่านอกจากจะแข็งแรงใช้นั่งได้แล้วจึงยังสามารถปรับพนักพิงหลังให้เอนนอนได้ด้วย เป็นต้น

            1.3 ความต้องการด้านการสื่อสารความหมาย ( COMMUNICATIVE REQUIRE - MENTS ) โดยปกติ แล้วผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จออกมา โครงสร้างทางรูปร่างหน้าตาของผลิตภัณฑ์จะเป็นสื่อแสดงความ หมายแทนตัวของมันเองให้ผู้ใช้ทราบโดยทันทีอยู่แล้วว่ามันคืออะไร และใช้ในภาระกิจแบบไหน เช่นว่าเรามองเห็นผลิตภัณฑ์รูปทรงกระบอกทรงสูง ภายในกลวง มีพวยริน ( Spout ) ยื่นออกมา จากขอบบนมีฝาปิด มีหูสำหรับจับถือ เราก็สามารถรับรู้ได้ว่านั่นคือ กาน้ำใช้สำหรับบรรจุของ เหลว ทั้งนี้เพราะมนุษย์เราเกิด การเรียนรู้เคยเห็น เคยใช้มาแล้วดังนั้นจึงง่ายแก่การรับรู้หรือ
            การระลึกขึ้นมาได้ง่าย แต่ในบางกรณีผู้ผลิตและผู้ออกแบบต้องการสร้างความแปลกใหม่ในรูปร่าง ลักษณะของผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นกลยุทธทางการค้า ให้สามารถดึงดูดความสนใจผู้ใช้ให้เกิดความ
            รู้สึกใหม่ด้วยการใช้รูปลักษณะอื่น ๆ สีสันและโครงสร้างที่แปลกไปจากมโนทัศน์เดิม และในขณะ เดียวกันก็ต้องการใช้ข้อมูลข้อความต่าง ๆ เพื่อเห็นการบอกกล่าวให้ทราบถึง ชนิด ประเภท วิธี การใช้ ตลอดจนเครื่องหมายการค้า ตรายี่ห้อ ชื่อผู้ผลิตเข้ามาช่วยสื่อความหมายในตัวผลิตภัณฑ์ นั้น ๆ ด้วย ดังนั้น ความต้องการด้านสื่อความหมาย จึงเป็นไปอย่างควบคู่กันกับโครงสร้างของ ผลิตภัณฑ์ซึ่งจะขาดเสียมิได้
            1.4 การศึกษาชนิดและประเภทของวัสดุ ( Materials ) ที่จะนำมาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์นักออกแบบจึง ควรศึกษาเกี่ยวกับชนิด รูปร่าง และ ขนาดต่าง ๆ ของวัสดุที่มีขายในท้องตลาด หรือแหล่งของ วัตถุดิบสามารถจัดหาได้ง่ายหรือไม่ มีจำนวนและปริมาณเท่าใด มีคุณสมบัติและโครงสร้างทาง กายภาพในแต่ละชนิดเป็นอย่างไร ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อว่า ผู้ออกแบบจะได้เลือกใช้วัสดุได้ถูกต้องกับ ชนิดของงานสามารถกำหนดหรือซื้อวัสดุได้ถูกต้องตามแบบที่ต้องการ เช่น การทดสอบการรับ
            น้ำหนักของวัสดุ ความทนทานต่อการดัด , โค้ง , งอ หรือง่ายต่อการขึ้นรูป เป็นต้น            1.5 การศึกษากระบวนการผลิต ( Production Process ) การศึกษาขั้นนี้นับว่าเป็นขั้นตอนสำคัญ ที่นักออกแบบจำเป็นต้องศึกษาถึงความเป็นไปได้( Feasidility Study ) ในกรรมวิธีของการสร้าง ผลิตภัณฑ์อันจะต้องศึกษาเกี่ยวกับเทคนิควิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นเทคนิคการจัดทำ
( Technical Performance )
           1.6 การศึกษาเศรษฐศาสตร์ ( Economics ) เป็นการศึกษาพื้นฐานการใช้จ่ายตลอดจนศึกษาวิธี ประหยัดและการลงทุนการผลิตในปัจจัยต่าง ๆ ที่จะต้องนำมาประเมินราคาร่วมกับราคาขายผลิตภัณฑ์อันไดัแก่
            - วิธีการนำวัสดุมาใช้ให้สิ้นเปลืองน้อยที่สุด ( Minimum wastage from raw material )
            - วิธีการประหยัดในวิธีการผลิตและกระบวนการทางโครงสร้าง ( Economy of Production method and Structural Process )
            - วิธีการประหยัดในการเก็บรักษา , การบรรจุ และการขนส่ง ( Economy of Storage / Packing Transport ) 

          1.7 การศึกษาขนาดสัดส่วนในการอำนวยความสะดวกสบายด้านต่าง ๆ ( Size Opertional Ergonoics ) อันได้แก่การศึกษาขนาดสัดส่วนของมนุษย์ ( Humam scale ) การวัดขนาด ขนาดของผู้ใช้และการเคลื่อนไหวของมนุษย์ ( Users' measurements and Human movement เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการออกแบบและการกำหนดรูปร่างรูปทรงตลอดจนส่วนประกอบต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น การถือ การจับ นั่ง เดิน ยืน นอน ในขณะที่เกิดพฤติกรรมร่วมกับผลิตภัณฑ์ นั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           นอกจากจะศึกษาถึงขนาดสัดส่วนสรีระร่างกายของมนุษย์แล้วนักออกแบบยังจะต้องศึกษาขนาดสัดส่วนของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบกาย ( Environ mental Scale ) เช่น สภาพธรรมชาติ ขนาดบ้านเรือน ที่พักอาศัย สัดส่วนในการขนส่ง การเก็บรักษา การบรรจุตลอดจนน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ที่จะ ผลิตออกมาอีกด้วย
              1.8 การสำรวจและวิจัยถึงความต้องการของผู้ใช้ ( Consumer Pequire ments ) เช่น
           - ความต้องการของผู้ใช้หรือผู้บริโภค ( Consmer / User Needs )
           - จุดมุ่งหมายเฉพาะทางการตลาด ( Specific Market Destination )
           - ระดับชนชั้นในสังคม ( Social Class Group )
           - กลุ่มอายุหรือเพศของผู้ใช้ ( Age / Sex Group )
           - ระดับรายได้ ( Income Group )
           - ระยะเวลาหรืออายุของผลิตภัณฑ์ ( Intended duration of Product ) เช่น ใช้ชั่วคราว ( Short term ) ถาวร ( Permanent ) หรือใช้หมดไป               ( Disposable )
           - สถานที่นำไปใช้ ( Operational Location ) ซึ่งต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคซื้อไปจะนำ ไปใช้ในสถานที่ใด และภาวะการณ์เช่นไร
           - พฤติกรรมของผู้บริโภค ( Consumer Behaviors )
          1.9 การศึกษากฏหมายและหลักสุขอนามัยสภาพแวดล้อม ด้านกฏหมายจะต้องศึกษาถึงข้อบัญญัติต่าง ๆ กฏหมายลิขสิทธิ์การคุ้มครองผลงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์การประกันสินค้า ตราเครื่องหมาย ผลิตภัณฑ์ ฯลฯ นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้ บริโภค เช่น อันตรายจากวัตถุที่มีพิษ การบาดเจ็บอันเนื่องมาจากโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ตลอดจนการเกิดมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย

          จากขั้นตอนและวิธีการต่าง ๆ ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าขั้นของการกำหนดรูปแบบทางมโนทัศน์ (concept) ของผลิตภัณฑ์นั้นต้องอาศัยข้อมูล และประสบการณ์ด้านต่าง ๆ มาประกอบเป็นแนวความคิด ( Idea) เพื่อการสร้างสรรค์ ที่มากมายหลายด้าน มีความสลับซับซ้อน และเกี่ยวพัน กับบุคลากรผู้ชำนาญการต่าง ๆ มากมายในอันที่นำมาใช้กำหนดแบบการสื่อความหมายความเข้าใจซึ่งกันและกันในขั้นตอนของการออกแบบและการผลิตต่อไป

             2. กระบวนการออกแบบ THE PROCESS OF DESIGN
             หลังจากที่นักออกแบบได้ศึกษาข้อมูลได้แนวคิดของชนิดและประเภทของผลิตภัณฑ์แล้วนักออกแบบจึงดำเนินการออกแบบโดยมีลำดับขั้นตอนของ
การทำงานคือ
             2.1. การพัฒนาแนวความคิดของการออกแบบ ด้วยการสร้างสรรค์ Concept ออกมาในรูปของหน้าที่การใช้งานและรูปทรง ซึ่งอาจจะ เริ่มต้นด้วยการร่างภาพอย่างหยาบ ๆ ( Rough Sketch ) หรือทดลองสร้างหุ่นจำลองขึ้นมาอย่างง่าย ๆ ( Mode Making ) เพราะลักษณะของ ผลิตภัณฑ์นั้นบางครั้งการเขียนแสดงให้เห็นเป็นเพียง 2 มิติ นักออกแบบอาจจะผิดพลาดในเรื่องของขนาดสัดส่วน รูปร่างและโครงสร้างที่แท้จริงไป หรือผู้ร่วมงานไม่อาจจะมองภาพออกและไม่เข้าใจใน coneept ที่แสดงไว้ ดังนั้นการสร้างหุ่นจำลองประกอ บหรืออธิบายแบบในรูป 3 มิติ จะทำให้ง่ายแก่การมองและช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจในแนวความคิดได้ง่ายขึ้นอีก ทั้งยังเป็นการศึกษาทดลองรูปแบบ ของโครงสร้างและรูปร่างอย่าวคร่าว ๆ ที่มีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาในกระบวนการออกแบบ ซึ่งในการสร้างหุ่นจำลองง่าย ๆ นี้ส่วนใหญ่มักใช้วัสดุที่สามารถดัดแปลงรูปได้ง่ายรวดเร็ว เช่น ใช้ดินเหนียว ดินน้ำมัน หรือกระดาษ เป็นต้น การออกแบบในขั้นนี้จึงกล่าวได้ว่าเป็นขั้นของการศึกษาปัญหาและพัฒนาแนวความคิดเบื้องต้น ( Preliminary Ideas ) เพื่อกำหนดปัญหาโดยชี้เฉพาะในสิ่งที่ต้องการ ( Problem Definition By Tdentification of Needs ) อันได้แก่
             1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล ( Collect data and Information )
             1.2 การวิเคราะห์และประเมินข้อมูลที่ได้มา ( Assess / Analyse information )
             1.3 ตั้งรายการของความต้องการเป็นลำดับขั้นตอน (Establish and list Needs in order of Priority)
             1.4 ตั้งเกณฑ์สำหรับการประเมินผล ( Establish Criteria for Evaluation )

             ทั้ง 4 ขั้นตอนดังกล่าวก็เป็นผลเนื่องมาจากกระบวนการศึกษาวิจัยเบื้องต้อน ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นโดย
ที่นักออกแบบจะนำผลที่ได้มาตั้งเป็นแนวสมมุติฐานในการออกแบบแล้วกำหนดขึ้นเป็นโครงร่างภาพตามแนวความคิด ( Sketch Ideas ) หลาย ๆ แบบด้วยการเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันในตลาด ทดสอบทดลองและประเมินผลแบบเพื่อการปรับปรุงดัดแปลงและวิเคราะห์ความสำคัญตามเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นตอนลำดับต่อมา

              - การศึกษาวิธีการใช้งานและมิติของผลิตภัณฑ์ ในสถานการณ์ที่จำกัด รูปทรง ที่บรรจุของเหลวข้น เช่น กาว หรือ ครีม ฯลฯ ว่าเครื่องมือลักษณะรูปร่างแบบใดที่ใช้ตัก , ควัก เอาเนื้อผลิตภัณฑ์ภาย ในออกมาได้หมดและเหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด
              - ภาพแสดงรูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือเครื่องมือที่ใช้หลาย ๆ แบบที่เหมาะสมกับรูปร่างของบรรจุ ภัณฑ์และการใช้งานภายใน   

           - การสร้างหุ่นจำลองแบบง่าย ๆ ( รูป ) ด้วยกระดาษแข็งเพื่อศึกษาขนาด , สัดส่วนของตัวผลิตภัณฑ์
               - การศึกษารูปแบบของด้านกระทะที่ต้องการให้มีรูปร่างกระชับมือ และรับกับขนาดของอุ้งมือในขณะ
จับถือ ด้วยการทำหุ่นจำลองอย่างง่าย ๆ โดยใช้ดินน้ำมันห่อหุ้มแกนของด้ามจับ ( Clay study ) เพื่อการศึกษาร่องรอยและขนาดที่ปรากฏบนดินน้ำมันจริง ซึ่งทั้งนี้ก็ยังต้องศึกษาถึงขนาดของมือผู้ใช้ ด้วยว่ามีอายุเท่าใด เพื่อจะได้กำหนด ขนาด , สัดส่วนของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ได้ถูกต้อง

          2. ขั้นตอนการพัฒนาแบบ ( Desing Refine ment ) คือขั้นตอนของการขัดเกลาแบบร่างที่จะต้องมีการทดลอง ทดสอบ แนวความคิด อย่างพินิจพิจารณาตัดสินว่าจะยอมรับไม่ยอมรับหรือต้องแก้ไขปรับปรุง แแบบอย่างไรถ้าไม่ผ่านการยอมรับก็ต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ ถ้าผ่านการยอมรับก็จะต้องเข้าสู่ขั้นการพัฒนาแบบด้วยการรายละเอียดของการจัดทำ ( Expand Performance Speci fication ) เช่น
          2.1 พัฒนาส่วนปลีกย่อยของแบบ ( Develop detailed desing )
          2.2 จัดเตรียมข้อมูลเอกสารประกอบการออกแบบ ( Preparem design documentation )
          2.3 คิดเทคนิคการจัดทำและคำนวณต้นทุน ( Predict technical performance and product costs )

          ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในแง่ของการผลิต ( Feasibility Study ) ว่าแบบที่เลือกขึ้นมาพิจารณานั้น มีความเหมาะสมและสัมพันธ์กันใน ขนาด สัดส่วน โครงสร้าง หน้าที่ใช้สอย วัสดุ กรรมวิธีการผลิต การลงทุนและการจัดการด้านอื่น ๆ มากน้อยเพียงใด เช่น
          - ผลิตภัณฑ์มีรูปร่างสวยงามดี แต่ใช้วัสดุสิ้นเปลืองมากหรือเกิดเศษวัสดุโดยเปล่าประโยชน์ มากเกินไป โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุสำเร็จรูป ในลักษณะคงรูปและจำกัดขนาด ดังเช่น แผนผนัง แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะ ท่อ แท่ง ท่อน แผ่นไม้ เป็นต้น ดังนั้นนักออกแบบจึงต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้สัมพันธ์กับข้อจำของวัสดุดังกล่าวด้วย
          - ผลิตภัณฑ์มีรูปร่างของส่วนยื่น ( Spine ) ส่วนเว้า ( Curve ) หรือลวดลายมากมายเกินไป อาจไม่เหมาะสมกับการสร้างแม่พิมพ์หรือการขัดเกลา ( Finishing ) ครั้งสุดท้ายทำให้เสีย เวลา เสียค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งก็หมายถึงต้นทุนการผลิตและการผลิตและราคาจำหน่ายต่อหน่วยจะ สูงขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์ที่ต้องขึ้นรูปด้วยการหล่อการฉีดวัสดุเหลวเข้าไปใน แม่พิมพ์ เช่น แก้ว หรือโลหะเป็นต้น ดังนั้น นักออกแบบก็ต้องคำนึงถึงความ เป็นไปได้ของกำลังการผลิต กรรมวิธีตลอดจนเรื่องจักรกลต่าง ๆ ในโรงงานผลิตด้วย
          - ผลิตภัณฑ์มีโครงสร้างดี แข็งแรงทนทานใช้วัสดุได้เหมาะสมแต่อาจจะมีน้ำหนักมากหรือมี ขนาดสัดส่วนที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการบรรจุ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดซาก ซึ่งอาจ จะต้องมีการใช้วัสดุอื่นแทนหรือดัดแปลงโครงสร้างให้มีน้ำหนักเบาลงแต่ยังคงรักษาความแข็ง แรงและรับน้ำหนักได้เช่น เดิม หรือไม่ก็ปรับปรุงให้มีโครงสร้างที่ง่ายต่อการเก็บรักษา สามารถเรียงซ้อนหรือเรียงบรรจุได้อย่างประหยัดเนื้อที่ในการขนส่งเป็นต้น

- ภาพแสดงการพัฒนาโครงสร้างของโต๊ะที่สามารถแปรผัน ขนาดรูปร่างส่วนประกอบและ วัสดุ เพื่อหาความเหมาะสมสัมพันธ์กันระหว่างโครงสร้าง - ขนาด - น้ำหนัก - วัสดุ ที่มี ประสิทธิถาพและความงามที่ปรากฏออกมาได้ดีกว่า
          การให้ข้อมูลหรือรายละเอียดประกอบการออกแบบดังกล่าว จึงเท่ากับว่าเป็นการนำเสนอเพื่อการตัดสินใจในเบื้องต้น ( Preliminary Decision ) ที่ผู้ออกแบบจะต้องสื่อแสดงรายละเอียดของความคิดและมโนภาพต่าง ๆ เพื่อการชี้แจงให้ผู้อื่นได้ทราบถึงลักษณะ ของรูปลักษณะหน้าตา ( Feature ) สี ( Color ) ขนาดสัดส่วน ( Propoetion ) ของผลิตภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นหรือนำไปพัฒนาแบบด้วยการเขียนแบบสร้างจริง ( Working Drawing ) เพื่อการผลิตจริงในลำดับต่อไป
          3. การนำเสนอผลงานการออกแบบ ( Design Prosentation )
          ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่นักออกแบบ ผู้ร่วมงาน ที่ปรึกษา และผู้ผลิตมีความเห็นชอบในแบบที่แก้ไขและพัฒนาแบบแล้ว ผ่านขั้นตอนการ ตัดสินใจที่แน่นอนแล้ว ในลำดับต่อมานักออกแบบจะต้องมีการนำเสนอแบบจริง ที่จะต้องนำมาซึ่งการสื่อความหมายความเข้าใจ อ่านแบบได้ และมีรายละเอียด ประกอบอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่ออธิบายแบบ หรือทำเสนอต่อผู้ที่จะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตหรือร่วมออกแบบ ซึ่งอาจจะได้แก่ ผู้ผลิต วิศวกร นักการตลาด นักกฏหมาย ช่างเทคนิค ช่างฝีมือ และทีมงานฝ่ายโรงงานการผลิต ฯลฯ ให้เกิดความเข้าใจในแบบที่ทำเสนอได้ตรงกันจวบจนสิ้นกระบวนการ
         โดยปกติทั่วไป นักออกแบบผลิตภัณฑ์มักมีวิธีการนำเสนอผลงานการออกแบบอยู่ 2 ประการ ที่เป็นหลักใหญ่ คือ

           3.1 การนำเสนอในลักษณะ 2 มิติ ( Two Dimension )
           การนำเสนอแบบ 2 มิตินี้ตามปกติเป็นการออกแบบที่กินพื้นที่บนแผ่นระนาบที่รองรับ สามารถตรวจสอบความกว้าง ความยาวของระนาบที่รองรับได้ ออกมาตามตราส่วนที่กำหนด ( Scale ) แต่ไม่สามารถตรวจสอบความสูง หนา หรือลึกได้ โดยทั่วไปการนำเสนอในลักษณะ 2 มิติ นิยมใช้กระดาษเป็น ที่รองรับ ด้วยวิธีการเขียนแบบ ( Mechanical Drawing ) ลายเส้นแสดงโครงสร้างและสัดส่วนตลอดจนการขยายรายละเอียดแบบ ( Details ) ภาพตัด ( Section ) ภาพแสดงการประกอบ ( Assembly ) ของชิ้นส่วนต่าง ๆ ประกอบความเข้าใจหรือสื่อความหมายให้ชัดเจน
           วิธีการเขียนสำหรับงานออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการนำเสนอ
การออกแบบ ( Design ) และการเขียนแบบ ( Mechanical Drawing ) เป็นกระบวนการทำงานที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน เป็นการสานต่อจากการร่างภาพ ที่ต้องนำแนวความคิดสร้างสรรค์ในผลิตภัณฑ์ที่คิดไว้อย่างหยาบ ๆ มาเขียนแสดงให้เห็นรูปร่าง ที่ชัดเจนขึ้นบนพื้นระนาบของกระดาษ โดยการแสดงรูปร่าง ลักษณะขนาดสัดส่วน สัญลักษณ์ แสดงรายละเอียด ตลอดจนคำบรรยายต่าง ๆ ที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถนำไปเป็นต้นแบบ ย่อ - ขยาย ทำเป็นของจริงขึ้นมาได้ การเขียนแบบจึงต้องมีการกำหนดมาตราส่วนบอกขนาดสัดส่วนต่าง ๆ ของรูปร่างผลิตภัณฑ์เอาไว้ด้วย

ลักษณะของการเขียนแบบสำหรับงานออกแบบผลิตภัณฑ์
           - การเขียนแบบ Orthographic Projection คือการเขียนภาพฉายเพื่อแยกให้เห็นมุมมองด้านต่าง ๆ ของวัตถุหรือผลิตภัณฑ์ออกมาให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน พร้อมทั้งมีการกำหนดที่แน่นอน เพื่อสามารถนำไปสร้างเป็นของจริงได้ มุมมองต่าง ๆ ที่ต้องแสดงได้แก่
           ก. ภาพด้านบนหรือแปลน ( Plan or Top View )
           ข. ภาพด้านหน้า ( Front Elevation )
           ค. ภาพด้านหลัง ( Back Elevation )
           ง. ภาพ ด้านข้าง ( Side Elevation )
           - การเขียนแบบ Pictorial Drawing
           เป็นการเขียนแบบเพื่องแสดงปริมาตรของรูปวัตถุในมุมมองต่าง ๆ กันซึ่งยังสามารถมองต่าง ๆ และด้านต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กัน และควรแสดงประกอบกันไปพร้อมกับการเขียนแบบ Orthographic Projectionเพื่อแสดงภาพลวงตา ( Illusion ) ออกมาในลักษณะแบบมองเห็นเป็นรูป 3 มิติ การเขียนแบบประเภทนี้นิยมที่จะแสดงอยู่ 3 วิธีการคือ
           ก. การเขียนแบบ Oblique คือการเขียนแบบที่แสดงปริมาตรของรูปวัตถุโดยเน้นด้านหน้าวางอยู่บนเส้นระดับ ตามมาตรส่วน และเห็นด้านบนด้านข้าง ด้านใด ด้านหนึ่ง โดยที่ด้านข้าง ( Side Elevation ) จะทำมุม 30 , 45 หรือ 60 องศากับเส้นระดับ การเขียนแบบในวิธีนี้สามารถจะฉายภาพ ( Project ) จากด้านหน้าไปด้านหลัง ในแนวขนานตามมุมองศาที่เท่ากันตลอดได้เลย ภาพที่แสดงจึงมีลักษณะเย้หรือเอียงไปเพียงข้างใดข้างหนึ่ง แต่สามารถวัดขนาดและ ตรวจสอบมาตราส่วนได้จริง เช่นเดียวกับขนาดของภาพแสดงรูปด้านต่าง ๆ           ข. การเขียนแบบ Isometric คือการเขียนแบบที่แสดงปริมาตรของวัตถุจากที่อยู่ใกล้ที่สุด มีลักษณะเย้หรือกางออกทั้งสองข้าง โดยทำมุม 120 องศาหรือเป็นภาพที่แสดงมุมบนเส้นระดับ 30 องศา ทั้งซ้าย - ขวาของเส้นตั้งฉากหรือ - 30 องศา - 60 องศา สามารถวัดขนาดได้จริง ตามส่วนมาตรา ส่วนของแบบ
            ค. การเขียนแบบ Perspective หรือการเขียนทัศนียภาพ คือการเขียนแบบที่เน้นการมองเห็นรูปวัตถุจริง ๆ ตามสายตาที่มองเห็น ด้วยการสมมุติการทำให้ไม่สามารถวัดขนาด และตรวจสอบมาตราส่วนที่แท้จริงในการเขียนภาพแสดงประกอบวิธีการอื่น ๆ ที่กล่าวมาเพื่อให้เห็นเป็นภาพ ที่ใกล้เคียงอัตราของจริง ตามสายตาที่มอง เพราะสามารถสร้างบรรยากาศแห่งการมองได้เป็นอย่างดี การเขียนแบบทัศนียภาพนี้ นิยมนำเสนอ 3 วิธีการดังเช่น
             - ทัศนียภาพแบบจุดเดียว ( One - Point Perspective ) เป็นการเขียนแบบที่แสดงด้านหน้าตรง และด้านบน ด้านข้างเล็กลงสู่จุดรวมสายตา เพื่อจุดสุดสายตา ( Vanishing Point ) ที่กำหนดไว้เพียงจุดเดียว           - ทัศนียภาพแบบ 2จุด ( Two - Point Perspective ) เป็นหลักการเขียนภาพทัศนียภาพที่เกิดขึ้นจากจุดรวมสายตา 2 จุด ซ้าย - ขวา
             - ทัศนียภาพแบบ 3 จุด ( Three - Point Perspective ) เป็นการเขียนแบบทัศนียภาพที่แสดงมุมมองใกล้ที่สุดและเน้นด้านบนหรือด้านล่างด้านใด ด้านหนึ่งของวัตถุให้เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ที่สุด เมื่อด้านข้าง สองด้านเล็กลงไปสู่จุดสายตา 2 จุดนั้น ด้านบนหรือด้านล่างที่ตรงกันข้ามกัยด้านที่มองเห็นใกล้ ยิ่งเล็กลงไปสู่จุดสุดสายตาอีกหนึ่งด้วย ทำให้การเขียนแบบ ทัศนียภาพในลักษณะนี้มี จุดสายตาร่วม 3 จุด ด้วยกัน โดย 2 จุดอยู่บนเส้นระดับสายตาและอีกจุดอยู่ตอนบนหรือตอนล่างของเส้นระดับสายตานั้น3.2 การนำเสนอแบบ 3 มิติ ( Three Dimension )
             การนำเสนอแบบ 3 มิติ นี้คือ การนำเสนอที่แสดงประมาตรของรูปทรงให้สามารถตรวจสอบหรือสัมผัสไดด้วยการสัมผัส โดย กินเนื้อที่ว่างในอากาศมองเห็นได้รอบด้าน ลักษณะของผลิตภัณฑ์นั้นบางครั้งนักออกแบบให้ดูอย่างเดียวก็อาจจะไม่สร้างความกระจ่างชัดความเข้าใจและสื่อความหมาย ให้เห็นรูปทรงที่แท้จริงได้ดี ดังนั้นนักออกแบบจึงควรที่จะต้องสร้างหุ่นจำลอง ( Model Making ) ขึ้นมาประกอบการอธิบายในลักษณะ 3 มิติดังกล่าว ซึ่งจะทำให้มองเห็นได้ง่ายเข้าใจได้เร็วขึ้น
            - วิธีสร้างหุ่นจำลอง ( Model Making )
           ก. การขึ้นรูปแบบอย่างง่าย ๆ ( Clay Studies ) หุ่นจำลองชนิดที่สร้างขึ้นอย่างง่าย ๆ นี้ไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียด และขนาดสัดส่วนที่ถูกต้อง อาจจะมีขนาดสัดส่วนเล็กกว่า ใหญ่กว่าความเป็นจริงก็ได้ เป็นการกำหนดโครงสร้างและรูปร่างที่เน้นให้เห็นรูปแบบของผลิตภัณฑ์อย่างคร่าว ๆ เพื่อเริ่มต้นศึกษาแบบของผลิตภัณฑ์ถึงโครงสร้างทั่วไป หน้าที่ใชสอย ความเหมาะสมกับสรีระร่างกาย และสัดส่วนของมนุษย์ ฯลฯ ซึ่งในการสร้างหุ่นจำลองในขั้นนี้มักใช้วัสดุที่สามารถเปลี่ยนรูป ปั้นเพิ่ม - ลด รูปทรงได้ง่ายเช่นการให้ดินน้ำมันปั้นแบบเป็นต้น
          ข. หุ่นจำลองเพื่อการศึกษารายละเอียด ( Scale Model ) เป็นหุ่นจำลองที่เน้นเฉพาะการศึกษาหาข้อมูลโดยเฉพาะคือหุ่นจำลองที่มีสัดส่วนแน่นอนจะเป็นการย่อส่วนให้เล็กลงหรือ
ขยายให้ใหญ่ขึ้นก็เป็นได้ สร้างขึ้นเพื่อการศึกษารายละเอียดเฉพาะอย่าง เช่น ประสิทธิภาพ การทำงาน หรือ เพื่อการศึกษารูปร่าง การทำแม่พิมพ์ ฯลฯ ซึ่งจะทำด้วยวัสดุประเภทใดก็ได้เช่น ดิน ปูน พลาสติค กระดาษ ไม้ ฯลฯ
          ค. หุ่นจำลองใกล้เคียงของจริง ( Mock up )เป็นหุ่นจำลองที่สร้างขึ้นเพื่อนำมาแสดงโครงสร้าง ส่วนประกอบ รูปร่าง สีวัน ที่มีขนาดเท่าจริงหรือเลียบแนนให้เหมือนของจริงมากที่สุด เพื่อให้เป็นรูปลักษณ์ที่ปรากฏ ( Visval Form ) ที่อาจจะใช้เพื่อทดสอบความรู้สึกเกี่ยวกับสีสันหรือการประกอบกันกับลักษณะงาน
กราฟฟิค ที่สำเร็จรูป
          ง. หุ่นจำลองต้นแบบ ( Prototype ) เป็นหุ่นจำลองขั้นสุดท้าย ซึ่งจะใช้เป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบของขนาดวัสดุ ส่วนประกอบ และรายละเอียดอื่น ๆ ต้องเหมือนจริงทุกประการ เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปทดสอบทัศนคติของผู้บริโภคได้ ส่วนในกระบวนการผลิต แบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อาจจะมี การผลิตผลิตภัณฑ์ทดสอบ ซึ่งเรียกว่า Pre - Production Prototype โดยการผลิตออกมาโดยเครื่องจักรและวัสดุเป็นจำนวนมาก ๆ เพื่อนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบในขั้นนี้ทดลองวางตลาด ทดสอบความรู้สึกของผู้บริโภค เกี่ยวกับสีสันรูปร่าง หรือประสิทธิภาพการทำงานจริง ( Workability ) ที่อาจจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย เช่น สีสันหรือลักษณะของการออกแบบกราฟฟิค ที่ประกอบในตัวผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

          4. กระบวนการผลิต ( Production ) ในกระบวนการผลิตนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายผลิตที่ได้รับงานเขียนแบบที่นักออกแบบนำเสนอ
มาให้แล้วซึ่งต้องดำเนินการผลิตตามแบบและข้อกำหนดต่าง ๆ ในรายละเอียดที่อธิบายประกอบไว้ หน้าที่ของนักออกแบบผลิตภัณฑ์ ในขั้นตอนนี้ จึงมีเพียงเป็นผู้ควบคุมคุณภาพการผลิต คอยติดตามแก้ปัญหาหรือข้อข้องใจที่ไม่แจ่มชัดที่อาจจะสื่อความหมายไม่ตรงกันทั้งนี้ก็เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จออก
มามีคุณค่าและเป็นไปตามความต้องการที่กำหนดร่วมกันไว้
           5. การประเมินค่า ( Appraisal )
ในขั้นนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายใในกระบวนการผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ในอันที่จะต้องมีการประเมินค่าของผลงานออกแบบว่า เมื่อสร้างจริงและนำไปใช้แล้วเกิดผลเช่นไร ต้นทุนการผลิตทั้งหมดเสียค่าใช้จ่ายเท่า และการกำหนดราคาขายเท่าใดจึงจะเหมาะสม ดังนั้นหลักการตลาด การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การขนส่ง การบรรจุหีบห่อ และปัจจัยพิเศษอื่น ๆ จะเข้ามาเกี่ยวข้อง และปะทะสัมพันธ์ในกระบวนการสุดท้ายนี้ ผลที่ไดรับจากการประเมินค่า ประเมินราคา จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานทั้งหมดที่ดำเนินมา และจะมีค่าต่อการนำกลับไปปรับปรุงหรือข้อควรพิจารณาในการผลิตและออกแบบอีกต่อไป
หลักเกณฑ์ในการประเมินค่างานออกแบบพิจารณษได้ตามหลักการดังต่อไปนี้
             1. Functional คือการพิจารณาตามหน้าที่ใช้สอยที่ผลิตภัณฑ์มีคุณลักษณะ และลักษณะตามที่ได้กำหนดไว้ ได้แก่
             - หน้าที่การใช้งาน
             - ความสะดวกสบาย
             - ความปลอดภัย
             - ความเหมาะสมกับภาวะการใช้งาน
             - ประโยชน์ใช้สอย
            2. Structure คือการพิจารณาตามโครงสร้างโดยพิจารณาถึง รูปร่างลักษณะ, น้ำหนัก, ความแข็งแรงทนทาน , มีความคงทนในการใช้สอยมากน้อยเพียงใด
            3. Durability คือการพิจารณาถึงอายุหรือระยะเวลาของผลิตภัณฑ์และวัสดุที่ใช้ในการออกแบบว่ามี
ความเหมาะประหยัด คุ้มค่า กับระยะเวลาและการใช้นานเพียงใด
            4. Ergonomic คือการพิจารณา ถึงการเอื้ออำนวยความสะดวกสบายของงานออกแบบที่มีผลต่อการทำไปใช้ และความเหมาะสมกับสรีระร่างกายสัดส่วนหรือความเคลื่อนไหวของมนุษย์
            5. Production คือการพิจารณาถึงคุณภาพของการผลิต เช่น
            - ความประณีตเรียบร้อยของผลงาน
            - มีการประสานงานที่ดี
            - แบบและรายละเอียดถูกต้องตามที่กำหนด
            - คุณภาพของผลผลิต
           6. Economics เป็นการพิจารณาถึงต้นทุนการผลิต เศรษฐกิจของการลงทุน ความคุ้มทุน หรือผลกำไร เป็นต้น
           7. Association คือการพิจารณามในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องว่าผลงานที่ออกแบบมานั้นสามารถสื่อความหมายได้ดี ต่อผู้ใช้ผู้พบเห็น มีการเผยแพร่การโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันอย่างได้ผล
           8. Asthetios คือการพิจารณาด้านความงามของผลิตภัณฑ์ เช่น โครงสร้าง สัดส่วน สีสัน การดึงดูด ความสนใจต่อผู้ใช้ ฯลฯ เป็นต้น
           หลักการทั้งแปดอย่างนี้เป็นเพียงแนวทางกว้าง ๆ ที่จะนำมาเป็นหลักการพิจารณาซึ่งอาจจะแตกแขนง แยกสาขาที่ละเอียดกว่านี้ ก็แล้วแต่ว่าผู้ผลิต ผู้ออกแบบต้องการความรัดกุม การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์มากน้อยเพียงใด หรืออาจจะขึ้นอยู่กับการเน้นเพียงข้อใดข้อหนึ่งให้เด่นเป็นพิเศษ ก็ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจจะผกผันขั้นตอนไปได้ ตามความต้องการหรือความเหมาะสมที่สามารถจะกระทำได้.



ที่มา : http://www.prachid.8m.com


บรรณานุกรม 
ภาษาไทย 
พิชิต เลี่ยมพิวัฒน์ . การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กระดาษบางปะอิน, 2518 .
วิรุณ ตั้งเจริญ . การออกแบบ . กรุงเทพมหานคร : สำหนักพิมพ์วิณเวลอาร์ต , 2527
สาคร คันธโชติ . การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ . กรุงเทพมหานคร : สำหนักงานพิมพ์โอเดียนสโตร์ ,
2528 . 
ภาษาอังกฤษ 
Carpenter, Edwad K . Design Review . New York : Watson - Guptill Publication , 1979 .
Green , Peter . Design Education . London : The anchor Press Ltd , 1979
Gorp , Peter , ed . Living by design . London : Lund Humphries Publlshers Ltd . , 1978 .
Herz , Rodolf . Architects ' Data . London : Crosby Lockwood Staples , 1970
Heskett , John . Industrial Desigm . London : Thames and Fludon Ltd , 1980
Lorenz , Christopher . THE DESIGN DIMENSION Product Strategy and The Challenge of Glodal Maketing . New Yok : Basil Blratwell Inc . , 1986 . 
Schneider , Rita Marie . Interior Design Careers . New Jersey : Prentice Hall , Inc . , 1977
Sparke , Penny . An introduction to DESLGN AND CULTURE in the Twentieth Century . London : Allen & Unwin ( Publishers ) Ltd . , 1986 

เพราะเหตุใดการออกแบบผลิตภัณฑ์จึงมีขนาด รูปทรง และสี แตกต่างกัน

Q. เพราะเหตุใดการออกแบบผลิตภัณฑ์จึงมีขนาด รูปทรง สี แตกต่างกัน เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค เพื่อให้นำกลับมาใช้ได้อีก

หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ข้อใดสําคัญที่สุด

1.หน้าที่ใช้สอย (Function) เป็นข้อส าคัญที่สุดในหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่ ผู้ออกแบบต้องค านึงในอันดับแรก เพราะผลิตภัณฑ์ทุกชนิดต้องมีหน้าที่ใช้สอยถูกต้องตามเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกสบาย (High function) ในทางตรงข้าม ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ ...

หลักการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ควรคำนึงถึงอะไร

งานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีจะต้องผสมผสานปัจจัยต่างๆ ทั้งรูปแบบ(form) ประโยชน์ใช้สอย(function) กายวิภาคเชิงกล(ergonomics)และอื่นๆ ให้เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิต แฟชั่น หรือแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างกลมกลืนลงตัวมีความสวยงามโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางการตลาด และความเป็นไปได้ในการผลิต ...

ข้อใดคือรูปทรงที่มีอิทธิพลต่อรูปลักษณ์งานออกแบบผลิตภัณฑ์

รูปทรงที่มีอิทธิพลต่อรูปลักษณ์งานออกแบบผลิตภัณฑ์.
1. รูปทรงจากธรรมชาติ (Natural Form) ... .
2. รูปทรงที่มนุษย์สร้างขึ้น (Manmade Form) ... .
1. หน้าที่ใช้สอย (Function) ... .
2. ความสวยงามน่าใช้ (Aesthetics or sales appeal) ... .
3. ความสะดวกสบายในการใช้ (Ergonomics) ... .
4. ความปลอดภัย (Safety) ... .
5. ความแข็งแรง (Construction) ... .
6. ราคา (Cost).