พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง

เหตุผลที่ทรงเลือกเมืองธนบุรีเป็นราชธานี การที่เจ้าตากได้ทรงเลือกเมืองธนบุรีเป็นที่ตั้งราชธานีแห่งใหม่ มีเหตุผลสำคัญ ดังนี้

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง


๑)  กรุงธนบุรีตั้งอยู่ที่น้ำลึกใกล้ทะเล หากข้าศึกยกมาทางบก โดยไม่มีทัพเรือ เป็นกำลังสนับสนุน

ด้วยแล้วก็ยากที่จะตีได้สำเร็จ และในกรณีที่ข้าศึกมีกำลังมากกว่าที่จะรักษากรุงไว้ได้ ก็อาจย้ายไป

ตั้งมั่นที่จันทบุรี โดยทางเรือได้สะดวก

๒)  กรุงธนบุรีมีป้อมปราการอยู่ทั้ง ๒ ฟากแม่น้ำ คือ ป้อมวิชัยประสิทธิ์และป้อมวิไชเยนทร์ที่สร้างไว้

ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หลงเหลืออยู่พอที่ใช้ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามา

รุกรานโดยยกกำลังมาทางเรือได้บ้าง

๓)  กรุงธนบุรีตั้งอยู่บนเกาะเหมือนกรุงศรีอยุธยา และยังมีสภาพเป็นที่ลุ่ม มีบึงใหญ่น้อยอยู่ทั่วไป ซึ่ง

จะเป็นเครื่องกีดขวางข้าศึกมิให้โอบล้อมพระนครได้ง่าย

๔)  กรุงธนบุรีตั้งปิดปากน้ำระหว่างเส้นทางที่หัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงจะได้ไปมาค้าขายติดต่อกับ

ต่างประเทศ จึงสามารถกีดกันมิให้หัวเมืองฝ่ายเหนือที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ ซื้อหาเครื่องศัสตราวุธ

ยุทธภัณฑ์จากต่างประเทศได้

๕)  กรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเล สะดวกแก่การไปมาค้าขายและติดต่อกับต่างประเทศ เรือสินค้าสามารถเข้า

จอดเทียบท่าได้โดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าลงเรือเล็กอย่างสมัยกรุงศรีอยุธยาทำให้ประหยัดเวลา

และค่าใช้จ่ายได้มาก

๖)  กรุงธนบุรีเป็นเมืองเก่า มีวัดจำนวนมากที่สร้างไว้แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  เพียงแต่บูรณะและ

ปฏิสังขรณ์บ้างเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องสร้างวัดขึ้นใหม่ทั้งหมด

๗)  กรุงธนบุรี มีดินดี มีคลองหลายสาย มีน้ำใช้ตลอดปีเหมาะแก่การทำนา ปลูกข้าว ทำสวนผัก และ

ทำไร่ผลไม้

      ด้วยเหตุนี้ เจ้าตากจึงทรงพาผู้คนมาตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ธนบุรี และได้ทรงทำพิธีปราบดาภิเษก ประกาศพระเกียรติยศขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ทรงครอบครองกรุงธนบุรีสืบมา มีพระนามอย่างเป็นทางการว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

การสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี

        หลังจากกอบกู้เอกราชได้สำเร็จแล้ว พระเจ้าตากสินได้ตั้งพระทัยฟื้นฟูกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีไทยต่อไปแต่ได้เปลี่ยนพระทัยเพราะทรงสุบินว่าพระมหากษัตริย์องค์ก่อนมาขับไล่ไม่ให้อยู่ ประกอบกับกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาทำลายเสียหายมากยากแก่การบูรณะซ่อมแซม พระเจ้าตากสินจึงทรงคิดย้ายไปหาทำเลใหม่เพื่อสถาปนาเป็นราชธานีไทยต่อไป 

เหตุผลที่พระเจ้าตากสินไม่เลือกกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 

        1. กรุงศรีอยุธยาถูกทำลายยับเยินเกินกว่าที่จะบูรณะได้ในช่วงเวลาอันสั้นและ ขาดแคลนทั้งกำลังคนและกำลังทางเศรษฐกิจ 

        2. กรุงศรีอยุธยาใหญ่โตเกินกว่าที่กำลังทหารของพระองค์ที่มีอยู่ขณะนั้นจะคุ้มครองรักษาไว้ได้

        3. เส้นทางส่งกำลังบำรุงจากหัวเมืองมาสู่กรุงศรีอยุธยาโดยทางบกไม่ปลอดภัย 

        4. ข้าศึกรู้ภูมิประเทศและจับจุดอ่อนทางยุทธศาสตร์ของกรุงสรีอยุธยาได้แล้ว ทำให้เสียเปรียบในการป้องกัน 

เหตุผลที่ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี

1. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะแก่การป้องกันรักษา 

          2. ในกรณีที่ข้าศึกมีกำลังมากกว่าที่จะรักษากรุงไว้ได้ ก็อาจย้ายไปตั้งมั่นที่จันทบุรีโดยทางเรือได้สะดวก 

          3. กรุงธนบุรีมีป้อมปราการที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หลงเหลืออยู่พอที่จะใช้ป้องกันข้าศึกได้บ้าง 

          4. กรุงธนบุรีตั้งอยู่บนเกาะเหมือนกรุงศรีอยุธยา และยังมีสภาพเป็นที่ลุ่ม มีบึงใหญ่น้อยอยู่ทั่วไป ซึ่งจะเป็นเครื่องกีดขวางข้าศึกมิให้โอบล้อมพระนครได้โดยง่าย 

          5. กรุงธนบุรีอยู่ใกล้ปากน้ำสะดวกแก่การค้าขายกับต่างประเทศ เรือสินค้าสามารถเข้าจอดเทียบท่าได้โดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าลงเรือเล็กอย่างสมัยอยุธยา ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มาก 

          6. กรุงธนบุรีเป็นเมืองเก่า มีวัดที่สร้างไว้แต่สมัยอยุธยาเป็นจำนวนมาก ชั่วแต่บูรณะ ปฏิสังขรณ์บ้างเท่านั้นไม่จำเป็นต้องสร้างวัดขึ้นใหม่ให้สิ้นเปลือง 

          7. กรุงธนบุรีมีดินดี มีคลองหลายสาย มีน้ำใช้ตลอดปี เหมาะแก่การทำนา ปลูกข้าวทำสวนผักและทำไร่ผลไม้ นับว่ามีความอุดมสมบูรณ์ดีเท่าหรือดีกว่ากรุงศรีอยุธยาเสียอีก..

การกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

        ในช่วงที่พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น พระยาวชิรปราการ (ตำแหน่งสุดท้าย ของพระยาตาก) เจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งถูกเรียกตัวเข้ามาช่วยรักษากรุง เห็นว่าจะรักษากรุงไว้ไม่ได้ จึงรวบรวมผู้คนได้ประมาณ 500 คนตีฝ่าแนวรบของทหารพม่าออกไปทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออก เมื่อผ่านเมืองใดก็จะส่งทหารเข้าไปชักชวนให้เจ้าเมืองมาร่วมมือกัน ถ้าเมืองใดไม่ยอมก็จะใช้กำลังเข้าโจมตี ทำให้พระยาตากมีกำลังมากขึ้น พระยาตากเห็นว่าการจะกู้ชาติบ้านเมืองให้สำเร็จนั้น จะต้องมีบารมีเป็นที่นับถือยำเกรงของคนทั้งหลาย จึงประกาศตั้งตนเป็นเจ้าที่เมืองระยอง ด้วยความเห็นชอบของบรรดาทหารและประชาชน หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังจันทบุรี แต่ได้รับการต่อต้าน พระเจ้าตากสินจึงทรงแสดงความสามารถใช้กลวิธีปลุกใจทหาร และสร้างแรงบันดาลใจให้ทหารทุบหม้อข้าวหม้อแกงก่อนเข้าตี หวังจะไปกินอาหารมื้อต่อไปในเมือง ซึ่งได้ผลเพราะทหารเกิดกำลังใจที่จะต้องตีเมืองจันทบุรีให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีอาหารกิน การตีเมืองจันทบุรีจึงสำเร็จ และพระเจ้าตากสินจึงใช้เมืองจันทบุรีเป็นศูนย์กลางในการกู้เอกราช 

        การยกทัพของพระเจ้าตากสินที่ตีฝ่าพม่าออกไปมีเส้นทางเดินทัพผ่านไปตามเมืองต่างๆ ถ้าพิจารณาตามสถานที่ของจังหวัดในปัจจุบันก็จะผ่าน  อยุธยา --- นครนายก --- ปราจีนบุรี --- ฉะเชิงเทรา --- ชลบุรี --- ระยอง --- จันทบุรี 

        เมื่อพระเจ้าตากสินมีกำลังไพร่พลมากขึ้นจึงได้ยกทัพมาตีธนบุรีเป็นด่านแรก ได้ปะทะกับกำลังของนายทองอินคนไทยที่พม่าแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษากรุง พระจ้าตากสินชนะ จับนายทองอินประหารชีวิต จากนั้นจึงเดินทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยาในค่ำวันเดียวกัน นั่นเอง 

        ศึกกู้ชาติอย่างแท้จริง ได้เริ่มขึ้นในเช้าวันเพ็ญเดือน 12 ตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 ณ ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งอยู่เหนือกรุงศรีอยุธยาขึ้นไปเล็กน้อย มี กองกำลังของพม่าคุมเชิงอยู่ มีสุกี้พระนายกองเป็นผู้บังคับบัญชา พระเจ้าตากสินรบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชคืนจากพม่าได้สำเร็จ โดยใช้เวลาเพียง 7 เดือนเศษเท่านั้น นับจากการเสียกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.2310 

        ปีต่อมาพระเจ้าตากได้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยา ไปอยู่ที่กรุงธนบุรี ซึ่งมีนามเต็มว่า

“กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร”  และได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4  เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2311