ผู้แต่งนิราศนรินทร์คำโคลงคือใคร *

นิราศนรินทร์คำโคลง

Google       YouTube   โรงเรียนพระแสงวิทยา   สพม.11

นิราศนรินทร์คำโครง

จุดประกายกับนายนรินทรธิเบศร

                นายนรินทรธิเบศร เดิมชื่อ อิน ได้รับราชการเป็น มหาดเล็ก ฝ่ายพระราชวังบวร ( วังหน้า ) ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพร มีบรรดาศักดิ์ที่ นายนรินทรธิเบศร จึงมักเรียกกันว่า นายนรินทรธิเบศร ( อิน ) คือใส่ชื่อเดิมเข้าไปด้วย

นายนรินทรธิเบศร เป็นผู้แต่งนิราศคำโคลง ที่เรียกกันว่า นิราศนรินทร์ ตามชื่อผู้แต่ง ทว่าประวัติของนายนรินทรธิเบศร์ไม่ปรากฏรายละเอียดมากนัก ทราบแต่ว่ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๒ เท่านั้น  ในชั้นหลังเราได้ทราบประวัติของท่านจากหนังสือนิราศนรินทร์ ที่สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ โดยทรงเล่าเพิ่มเติมว่า

“…นายนรินทรธิเบศร ( อิน ) ไม่ใคร่จะได้แต่งหนังสือไว้มากนัก และแต่งไว้บ้าง

ก็ล้วนแต่เป็นโคลง ที่ปรากฏว่าเป็นกลอนนั้นน้อยเต็มที โคลงยอพระเกียรติตอนท้ายหนังสือ

ปฐมมาลา ก็เป็นฝีปากของนายนรินทร์ ( อิน ) จึงสันนิษฐานว่านายนรินทรธิเบศร ( อิน )

ชอบโคลงมากกว่าคำประพันธ์อื่นๆ ”

ผลงานการประพันธ์ของนายนรินทรธิเบศรนั้น  ไม่ปรากฏแพร่หลาย แต่สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ว่า

“.. ส่วนที่แต่งไว้ในที่อื่น ๆ นั้น ไม่มีที่ใดจะเปรียบกับโคลงนิราศนี้ได้ ”

แต่ทรงมิได้ระบุว่านายนรินทร์ได้แต่งเรื่องอื่นใดไว้นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีเพลงยาวอีกเรื่องหนึ่ง ที่กล่าวว่าเป็นของนายนรินทรธิเบศร นั่นคือเพลงยาวของนายนรินทร์ ซึ่งมีเนื้อความดังนี้

                                                            “ โฉมสุคนธารทิพย์ประทิ่นหอม

                                                           หรือสาวสุรางค์นางฟ้ามาแปลงปลอม            หรือนางจอมไกรลาสจำแลงลง

                                                           มาโลมโลกให้พี่หลงลานสวาสดิ์                     ประหลาดบาดตาแลตะลึงหลง

                                                        ควรแผ่แผ่นสุวรรณวาดให้สมทรง                     เกลือกจะคงจรจากพิมานจันทร์

                                                             พี่หมายน้องดุจปองปาริกชาติ                       มณโฑไทเทวราชบนสวรรค์

                                                          หากนิเวศน์นี้ศิวิไลสิไกลกัน                           จะใฝ่ฝันดอกฟ้าสุมามาลย์ฯ

เขียนอย่างสง่างามกับบทความสารคดี

                สารคดี ( อังกฤษ : Non-fiction ) เป็นงานเขียนหรือวรรณกรรมร้อยแก้วในลักษณะตรงข้ามกับกับบันเทิงคดี ( Fiction ) ที่มุ่งให้ให้สาระความรู้แก่ผู้อ่านเป็นเบื้องต้น มีความเพลิดเพลินเป็นเบื้องหลัง ที่มุ่งแสดงความรู้ ความคิด ความจริง ความกระจ่างแจ้ง และเหตุผลเป็นสำคัญ อาจจะเขียนเชิงอธิบาย เชิงวิจารณ์เชิงแนะนำสั่งสอน เป็นต้น

ถึงแม้ว่างานเขียนสารคดีจะมุ่งให้ความรู้ ข้อเท็จจริง หรือความคิดเห็นแก่ผู้อ่านเป็นสำคัญ แต่ก็ยากที่จะตัดสินว่างานเขียนชิ้นไหนไม่ใช่สารคดี

–  การเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาสาระเป็นข้อเท็จจริง โดยเน้นเนื้อหาสาระ เรื่องราว เหตุการณ์

ตัวบุคคล หรือสถานที่ต้องเป็นข้อเท็จจริง (fact) และยังเป็นการเสนอข้อมูลที่ผู้เขียนได้

ศึกษา สังเกต สำรวจ หรือวิเคราะห์ตีความเป็นอย่างดีแล้ว

–  มีจุดประสงค์ให้ผู้อ่านได้รับความรู้และความเพลิดเพลินในการอ่าน เป็นสองส่วนที่

แยกกันไม่ได้

–  การเขียนสารคดีอาจใช้จินตนาการประกอบได้ ( อาจมีหรือไม่มีก็ได้ ) เป็นการสร้างภาพ

ตามความนึกคิดที่เกิดจากอารมณ์ความรู้สึกของผู้เขียน เป็นการสร้างภาพที่เกิดขึ้นจาก  –  การวิเคราะห์ สังเกต พิจารณา จากข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง

–  สารคดีต้องเป็นงานเขียนที่สร้างสรรค์ เป็นการนำเสนอความคิดเห็นและทัศนะที่เป็น

ประโยชน์แก่ผู้อ่านโดยทั่ว ๆ ไป มิใช่สร้างสรรค์ให้แก่บุคคลใดโดยเฉพาะ

หลักการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรม

ความหมาย

การพินิจ คือ การพิจารณาตรวจตรา พร้อมทั้งวิเคราะห์แยกแยะและประเมินค่าได้

ทั้งนี้นอกจากจะได้ประโยชน์ต่อตนเองแล้ว ยังมีจุดประสงค์เพื่อนำไปแสดงความคิดเห็นและข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย เช่น การพินิจวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อแนะนำให้บุคคลทั่วไปที่เป็นผู้อ่านได้รู้จักและได้ทราบรายละเอียดที่เป็นประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ใครเป็นผู้แต่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร มีประโยชน์ต่อใครบ้าง ทางด้านใด ผู้พินิจมีความเห็นว่าอย่างไร คุณค่าในแต่ละด้านสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์อย่างไรในชีวิตประจำวัน

แนวทางในการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรม

การพินิจวรรณคดีและวรรณกรรมมีแนวให้ปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ เพื่อให้ครอบคลุมงานเขียนทุกชนิด ซึ่งผู้พินิจจะต้องดูว่าจะพินิจหนังสือชนิดใด มีลักษณะเฉพาะอย่างไร ซึ่งจะมีแนวในการพินิจที่จะต้องประยุกต์หรือปรับใช้ให้เหมาะสมกับงานเขียนนั้น ๆ

หลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรม มีดังนี้

๑.  ความเป็นมา หรือ ประวัติของหนังสือและผู้แต่ง

เพื่อช่วยให้วิเคราะห์ในส่วนอื่น ๆ ได้ดีขึ้น

๒.  ลักษณะคำประพันธ์

๓.  เรื่องย่อ

๔.  เนื้อเรื่อง ให้วิเคราะห์เรื่องตามหัวข้อต่อไปนี้ตามลำดับ โดยบางหัวข้ออาจจะมี หรือไม่มี  ก็ได้ตามความจำเป็น เช่น โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก วิธีการแต่ง ลักษณะการดำเนินเรื่อง การใช้ถ้อยคำสำนวนในเรื่อง ท่วงทำนองการแต่ง วิธีคิดที่สร้างสรรค์  ทัศนะหรือมุมมองของผู้เขียน เป็นต้น

๕.  แนวคิด จุดมุ่งหมาย เจตนาของผู้เขียนที่ฝากไว้ในเรื่อง หรือบางทีก็แฝงเอาไว้ในเรื่อง ซึ่งจะต้องวิเคราะห์ออกมา

๖.  คุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม  ซึ่งโดยปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น ๔ ด้านใหญ่ ๆ และกว้าง ๆ เพื่อความครอบคลุม ในทุกประเด็น ซึ่งผู้พินิจจะต้องไปแยกแยะหัวข้อย่อยให้สอดคล้องกับลักษณะหนังสือ  ที่จะพินิจนั้น ๆ ตามความเหมาะสมต่อไป

การพินิจคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม

มี ๔ ประเด็นดังนี้

๑.  คุณค่าด้านวรรณศิลป์

คือ ความไพเราะของบทประพันธ์ ซึ่งอาจจะเกิดจากรสของคำที่ผู้แต่งเลือกใช้และรสความที่ให้ความหมายกระทบใจผู้อ่าน

๒.  คุณค่าด้านเนื้อหา

คือ การให้ความรู้ด้านต่าง ๆ ให้คุณค่าทางปัญญาและความคิดแก่ผู้อ่าน

๓.  คุณค่าด้านสังคม

วรรณคดีและวรรณกรรมสะท้อนให้เห็นภาพของสังคมในอดีตและวรรณกรรมที่ดี สามารถจรรโลงสังคมได้อีกด้วย

๔.  การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

เพื่อให้ผู้อ่านได้ประจักษ์ในคุณค่าของชีวิต ได้ความคิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่าน และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต นำไปเป็นแนวปฏิบัติหรือแก้ปัญหา

ผู้แต่งเรื่องนิราศนรินทร์คือใคร *

ผู้แต่งนิราศนรินทร์ คือนายนรินทรธิเบศร์ (มิใช่ชื่อตัว แต่เป็นบรรดาศักดิ์ในสมัยโบราณ) มีนามเดิมว่า อิน ในตำรารุ่นเก่า มักเขียนเป็น นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ได้แตนิราศเรื่องนี้เมื่อคราวตามเสด็จสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ยกกองทัพหลวงไปปราบพม่า ซึ่งยกลงมาตีเมืองถลางและชุมพร ในช่วงต้นรัชกาลที่ 2 เมื่อปีมะเส็ง (พ.ศ. ...

นิราศนรินทร์แต่งในสมัยใด *

นิราศนรินทร์ เป็นวรรณคดีในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเภทนิราศ ที่จัดว่าแต่งได้ดี โดยกระทรวงศึกษาธิการได้คัดมาให้นักเรียนได้ศึกษากันในชั้นเรียน และมีบทโคลงที่ใช้เป็นแบบแผนของโคลงสี่สุภาพด้วย

นรินทร์อิน คือใคร

375 นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) นายนรินทร์ธิเบศร์ นามเดิมว่า อิน เป็นกวีในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รับราชการต ำแหน่งมหาดเล็กหุ้มแพร ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ และได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิ์เป็นนายนรินทร์ธิเบศร์ ใน พ.ศ.๒๓๕๒ นายนรินทร์ธิเบศร์ตามเสด็จสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ไปปราบพม่าที่ยก ...

นายนรินทรธิเบศร์แต่งเรื่องใดบ้าง

1. โคลงนิราศนรินทร์ 2. เพลงยาวนายนรินทร์ธิเบศ