ใครคือผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล คือ บุคคลประเภทหนึ่งที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายซึ่งไม่ได้เป็น บุคคลธรรมดา (ส่วนมากมักอยู่ในรูปบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด) แต่กฎหมายให้ถือว่ามีสถานะเป็นเสมือนบุคคลทั่วไปและสามารถทำกิจกรรมหลายอย่างได้เหมือนบุคคลทั่วไป เช่น ทำสัญญาซื้อขายได้ มีเจ้าของทรัพย์สินได้ แต่จะไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างเหมือนบุคคลธรรมดาได้ เช่น ใช้สิทธิเลือกตั้ง บวชเป็นพระภิกษุ จดทะเบียนสมรส รับบุตรบุญธรรม เป็นต้น

โดยปกติ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีรายได้จะมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ด้วย ไม่ว่าจะตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือตามกฎหมายต่างประเทศ1

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามกฎหมายไทย

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามกฎหมายไทยมักอยู่ในรูปแบบ

  • บริษัทจำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว
  • บริษัทมหาชน

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ

ถ้าบริษัทหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ เข้ามาทำกิจกรรมบางอย่างในไทยแล้วมีรายได้ก็มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย

อื่นๆ ที่ถือว่าเป็นผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

นอกจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะหมายถึงนิติบุคคลข้างต้นแล้ว กฎหมายยังหมายความรวมถึงกิจการรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลด้วย ได้แก่

มูลนิธิและสมาคมที่ยังไม่เป็นองค์กรการกุศลสาธารณะ

มูลนิธิและสมาคม หากยังไม่ได้รับการประกาศให้เป็นองค์กรการกุศลสาธารณะแล้วมีรายได้เกิดขึ้นจะไม่ได้รับยกเว้นภาษี ทำให้มูลนิธิและสมาคมที่ยังไม่เป็นองค์กรการกุศลสาธารณะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย

กิจการร่วมค้า (Joint Venture)

กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ไม่ว่าจะเป็นการกิจการทางการค้าร่วมกันระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลด้วยกัน หรือแม้แต่ระหว่างบริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา หากกิจการร่วมค้านั้นมีรายได้ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย

กิจการทางการค้าหรือหากำไรของรัฐบาลต่างประเทศและองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ

ถ้ากิจการทางการค้าหรือหากำไรของรัฐบาลต่างประเทศและองค์การของรัฐบาลต่างประเทศนั้นเข้ามาในไทยแล้วมีรายได้ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยด้วย

กิจการทางการค้าหรือหากำไรของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ

กิจการทางการค้าหรือหากำไรของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศนั้น ถ้าเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศจะถือเป็นบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรซึ่งอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลทันที แม้ว่าในประเทศที่ตั้งขึ้นนั้นจะไม่มีสถานะเป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วน มูลนิธิ หรือสมาคมก็ตาม เช่น กองทุนรวมต่างประเทศ ดังนั้น ถ้านิติบุคคลนั้นเข้ามาในไทยแล้วมีรายได้ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย

นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษา

  • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย2

นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

เป็นที่น่าสังเกตว่านิติบุคคลไทยบางประเภทก็ยังที่ไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษี ซึ่งมักจะเป็นนิติบุคคลอื่นตามกฎหมายไทยที่ไม่ใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนฯ และไม่ใช่ส่วนราชการโดยตรง เช่น เนติบัณฑิตไทย สภาทนายความ สหกรณ์ สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าไทย นิติบุคคลอาคารชุด เป็นต้น จะไม่มีสถานะเป็นผู้เสียภาษีที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะแม้จะมีสถานะเป็นนิติบุคคลแต่ก็ไม่ใช่บริษัท ห้างหุ้นส่วน มูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

นอกจากนี้หน่วยงานส่วนราชการที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลก็ไม่มีสถานะต้องเสียภาษีเงินได้ เช่นกัน เช่น กระทรวง จังหวัด อบต. เป็นต้น

ทั้งนี้นิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ยังรวมถึงรัฐวิสาหกิจที่เป็น “องค์การของรัฐบาล” เช่น ธนาคารออมสิน ธอส. ธกส. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายพิเศษ (แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจนั้นไม่ใช่ “องค์การของรัฐบาล” แต่เป็นบริษัท/ห้างหุ้นส่วน ซึ่งโดยมากจะเป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐมีทุนอยู่เกิน 50% เช่น การบินไทย บขส. TOT ธ.กรุงไทย เป็นต้น แบบนี้ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพราะเป็นบริษัท)

ส่วนองค์การมหาชน (ซึ่งมักไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรเหมือนรัฐวิสาหกิจ) จะไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แม้จะระบบการบริหารจะไม่อยู่รูปแบบราชการก็ตาม

ทำธุรกิจอยู่ จดบริษัทเลยดีมั้ย?

สอบถามค่าบริการ โทร. 062-486-9787

ติดต่อ iTAX sme

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • การจดทะเบียนบริษัท
  • ตรายาง จำเป็นแค่ไหนต่อ การจดทะเบียนบริษัท
  • ข้อแตกต่างของการจดทะเบียนบริษัท และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่คนทำธุรกิจควรรู้
  • วัตถุประสงค์บริษัท กับการจดทะเบียนบริษัท

อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 39 ประมวลรัษฎากร

  2. ^

    ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 271) พ.ศ. 2559

(1)   เงินสำรองต่าง ๆ นอกจาก

          ก.   เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันชีวิตที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไร เฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 65 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกัน ซึ่งเอาประกันต่อออกแล้วถือเป็น รายจ่ายได้

          ในรอบระยะเวลาบัญชี ถ้ากิจการจำเป็นต้องใช้เงินตามจำนวนที่เอาประกัน สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตรายใด ไม่ว่าเต็มจำนวน หรือบางส่วนเงินที่ใช้ไปเฉพาะส่วนที่เกินเงินสำรองที่ตั้งไว้ถือเป็นรายจ่าย ได้ (ส่วนที่ไม่เกินถือเป็นรายจ่ายไม่ได้)
          เมื่อกรมธรรม์ประกันชีวิตสิ้นสุดลงโดยการเลิกสัญญากรมธรรม์เงินสำรองที่ตั้ง ไว้สำหรับกรมธรรม์รายที่เลิกต้อง โอนกลับไปเป็นรายได้ ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เลิกกรมธรรม์นั้น

          ข.   เงินสำรองจากเบี้ยประกัน เพื่อสมทบทุนประกันภัยอื่นที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไร เฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 40 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกัน ภัยซึ่งเอาประกันต่อออกแล้วถือเป็น รายจ่าย ได้

                เงินสำรองที่กันไว้นี้ จะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปีถัดไป

          ค.   เงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับหนี้จากการให้สินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้กันไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นจากเงินสำรองประเภทดังกล่าวที่ปรากฎในงบดุลของรอบ ระยะเวลาบัญชีก่อน

                เงินสำรองส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นตามวรรคหนึ่ง และได้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไปแล้วใน รอบระยะเวลาบัญชีใดต่อมาหากมีการตั้งเงินสำรองดังกล่าวลดลง ให้นำเงินสำรองส่วนที่ตั้งลดลงซึ่งได้ถือเป็นรายจ่ายไป แล้วนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ตั้งเงินสำรองลดลงนั้น

(2)   เงินกองทุน  เว้นแต่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 183 (พ.ศ.2533)

(3)   รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวการให้โดยเสน่หาหรือการกุศล   เว้นแต่รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้หักได้ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา ตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีให้หักได้อีกในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไร สุทธิซึ่งมีหลักเกณฑ์ตามประกาศกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 44)ดังนี้

          ข้อ   1   รายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายให้หรือเพื่อกิจการดังต่อไปนี้

                          (1) การส่งเสริม อนุรักษ์ และรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์คุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนคุ้ม ครอง สัตว์ป่า

                          (2) การคุ้มครองและดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติตามกฎหมาย ว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ

                          (3) การคุ้มครองและรักษาป่าสงวนแห่งชาติตามกฎหมาย ว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ

                          (4) การส่งเสริม คุ้มครองและรักษาและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามกำหมายว่าด้วยการส่งเสริมและ รักษา คุณภาพและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

                          (5) การควบคุม ป้องกัน แก้ไข ตลอดจนการลดและขจัดอันตรายอันเกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษ หรือภาวะมลพิษและของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม

                          (6) กองทุนสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

                          (7) การบูรณะโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

                          (8) การก่อสร้างถนนและได้โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ส่วนราชการและองค์การของรัฐบาลโดย ไม่มีค่าตอบแทน ทั้งนี้เฉพาะส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลผู้รับโอนได้ให้ประชาชนใช้ ประโยชน์ในถนนดังกล่าว

                          ทั้งนี้ รายจ่ายตาม (1) ถึง (8) ต้องเป็นการจ่ายให้แก่กิจการตามโครงการพระราชดำริของทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล หรือองค์การกุศลสาธารณะที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลร้ษฎากร

          ข้อ   2   รายจ่ายเพื่อการศึกษา ได้แก่ รายจ่ายในการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินที่จ่ายให้แก่หรือเพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้

                          (1) สถานศึกษา หอสมุดหรือห้องสมุด หรือสถาบันวิจัย ทั้งนี้เฉพาะของทางราชการ

                          (2) การให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา เป็นการทั่วไป

                          (3) กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างสถานศึกษา หอสมุด หรือห้องสมุดของทางราชการ

                          (4) สถานศึกษาที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนโดยบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคล อื่นและสถานศึกษาที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดม ศึกษาเอกชน

          ข้อ   3   รายจ่ายเพื่อการกีฬา ได้แก่ รายจ่ายในการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่หรือเพื่อกิจการดังต่อไปนี้

                          (1) การกีฬาแห่งประเทศไทย

                          (2) คณะกรรมการกีฬาจังหวัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมกีฬาใน จังหวัด

                          (3) กรมพลศึกษา เพื่อการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน

                          (4) สมาคมกีฬาสมัครเล่นที่ได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย

(4)   ค่ารับรองหรือค่าบริการ ส่วนที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ดังนั้น ค่ารับรองที่จะหัก เป็นรายจ่ายได้ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์กำหนดโดยกฎหระทรวงฉบับที่ 143 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 222 สำหรับรอบระายะเวลาบัญชีที่เริ่ม ใน 2542 เป็นต้นไป)

          ก   ค่ารับรองหรือค่าบริการนั้น ต้องเป็นค่ารับรองหรือค่าบริการอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจ ทั่วไป และบุคคลซึ่งได้รับรองหรือรับบริการ ต้องมิใช่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเว้นแต่ลูกจ้างดังกล่าว จะมีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองหรือการบริการนั้นด้วย

          ข   ค่ารับรองหรือค่าบริการต้อง

                1.   เป็นค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรองหรือการาบริการที่จะอำนวย ประโยชน์แก่กิจการ เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรศพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกีฬา เป็นต้น หรือ

                2.   เป็นค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการ ไม่เกินคนละ 2,000 บาท ในแต่ละคราวที่ มีการรับรองหรือการบริการ

          ค   จำนวนเงินค่ารับรองและค่าบริการให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนเท่า ที่ต้องจ่าย แต่รวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมหรือคำนวณกำไรสุทธิ ก่อนหักรายจ่ายใดในรอบระยะเวลาบัญชี หรือของจำนวนเงินทุนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ทั้งนี้รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท

          ง.   ค่ารับรองหรือค่าบริการนั้น ต้องมีกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคล ดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติหรือคำสั่งจ่ายค่ารับรองหรือค่าบริการนั้นด้วย และต้องมีใบรับหรือหลักฐานของผู้รับเงินสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่ารับรองหรือ ค่าบริการ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับเงินไม่มีหน้าที่ต้องออกใบรับตามประมวลรัษฎากร

(5)   รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน  หรือรายจ่ายในการต่อเติมเปลี่ยนแปลงขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม

(6ทวิ)   ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระหรือพึงชำระ และภาษีซื้อของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบ การจดทะเบียน เว้นแต่ภาษีซื้อที่ต้องห้ามนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภาษีซื้อ จากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือ ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันตามอธิบดีกำหนด) หรือภาษีซื้ออื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 243) พ.ศ.2543 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ (ฉบับที่ 42)

(7)   การถอนเงินโดยปราศจากค่าตอบแทนของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

(8)   เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควร

(9)   รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง หรือรายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น   เว้น แต่ในกรณีที่ไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็อาจลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถัดไปได้

(10)   ค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง

(11)   ดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่างๆ หรือเงินกองทุนของตนเอง

(12)   ผลเสียหายอันอาจได้กลับคืนเนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆหรือขาดทุนสุทธิในรอบระยะ เวลาบัญชีก่อนๆ เว้นแต่ผลขาดทุนสุทธิ ยกมาไม่เกินห้าปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน สำหรับการนำผลขาดทุนสุทธิมาหักนี้ กรมสรรพากรได้วางแนวทางได้ดังนี้

              "สถาบันการเงิน" หมายความว่า

                    1.   ต้องเป็นผลขาดทุนสุทธิ ซึ่งได้คำนวณขึ้นตามเงื่อนไขตามมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่ง ประมวลรัษฎากร

                    2.   เป็นผลขาดทุนสุทธิที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งย้อนหลังขึ้นไปได้ไม่เกินห้าปีนับจากปีปัจจุบัน

                    3.   ให้นำผลขาดทุนสุทธิที่เกิดขึ้นในของรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดขึ้นก่อนนำไปหัก จากผลกำไรของรอบ ระยะเวลาบัญชีแรกที่มีผลกำไรก่อนหากปรากฎว่าเมื่อหักกลบลบกันแล้วยังมีผลขาด ทุนสุทธิอยู่กิจการมีสิทธิจะนำผล ขาดทุนสุทธินั้นไปหักจากกำไรปีต่อๆ ไปได้อีกแต่ต้องไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชีหากเกินห้ารอบระยะเวลาบัญชี ย่อม หมดสิทธิที่จะยกไปหักอีกต่อไป

(13)   รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ

(14)   รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ

(15)   ค่าซื้อทรัพย์สินและรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อ หรือขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดย ไม่มีเหตุผลอันสมควร

(16)   ค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่สูญหรือสิ้นไปเนื่องจากกิจการที่ทำ

(17)   ค่าของทรัพย์สินนอกจากสินค้าที่ตีราคาต่ำลง ทั้งนี้ ภายใต้บังคับมาตรา 65 ทวิ

(18)   รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ

(19)   รายจ่ายใดๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว

(20)   รายจ่ายที่มีลักษณะทำนองเดียวกับที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (19) ซึ่งจะกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

              ปัจจุบันมีพระราชกฤษฏีกาฯ(ฉบับที่ 315) พ.ศ. 2540 กำหนดว่ารายจ่ายต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิ (ใช้บังคับสำหรับทรัพย์สินที่ได้มา หรือที่ได้ทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2539 เป็นต้นไป)

              1.   มูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่ เกินสิบคนตามกฎหมาย ว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเฉพาะส่วนที่เกินคันละหนึ่งล้านบาท ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่

                      ก.   ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายหรือให้เช่าซื้อรถยนต์ มีรถยนต์ประเภทดังกล่าวได้เพื่อเป็นสินค้า หรือ

                      ข.   ผู้ประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์มีระยนต์ประเภทดังกล่าวไว้ เพื่อการให้เช่าเฉพาะ มูลค่าที่เหลือหลังจากหักค่า สึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร

                      คำว่า "ทรัพย์สิน" หมายความรวมถึง ทรัพย์สินที่ได้มาโดยการซื้อ รวมถึงการเช่าซื้อหรือการซื้อขาย เงินผ่อนด้วย

              2.   ค่าเช่าทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัด อัตราภาษีสรรพสามิต เฉพาะค่าเช่าส่วนที่เกินคันละสามหมื่นหกพันบาทต่อเดือนในกรณีที่เช่าเป็นราย เดือนหรือรายปี หรือค่าเช่าส่วนที่เกินคันละหนึ่งพันสองร้อยบาทต่อวันในกรณีที่เช่าเป็นราย วันเศษของเดือนให้คิดเป็นวัน หากเช่าไม่ถึงหนึ่งวัน ให้คำนวณค่าเช่าตามส่วนของระยะเวลาที่เช่าทั้งนี้ โดยรวมภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

ใครคือผู้ที่ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ (1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ (2) บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิมีใครบ้าง

4.1 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ.
1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย.
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ.
(3) กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ.

ข้อใดเป็นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ 1) บุคคลธรรมดา 2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล 3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้มีอะไรบ้าง

โดยปกติ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีรายได้จะมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ด้วย ไม่ว่าจะตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือตามกฎหมายต่างประเทศ.
บริษัทจำกัด.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด.
ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว.
บริษัทมหาชน.