ใครได้ทำการประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยา

ภาพจากซ้ายไปขวา: , พระเจ้าลิ้นดำตะเบ็งชะเวตี้ (Tabinshwehti- แปลว่า สุวรรณเอกฉัตร), ที่มา: madmonarchist.blogspot.com, วันที่เข้าถึง 3 กรกฎาคม 2562, และ พระเจ้าบุเรงนองกะยอดินนรธา (Bayinnaung Kyawhtin Nawratha), ถ่ายจากหน้าพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเมียนมาร์, ที่มา: th.wikipedig.org, วันที่เข้าถึง 3 กรกฎาคม 2562.


     หลังจากนั้น พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ถูกลอบปลงพระชนม์ พระเจ้าบุเรงนองก็ได้ครองกรุงหงสาวดี และได้นำกองทัพเข้าประชิดกรุงศรีอยุธยาหมายจะตีกรุงศรีฯ ให้แตก (โดยทัพหลวงของพระเจ้าบุเรงนองตั้งกำลังไว้แถบบริเวณวัดมเหยงคณ์03 ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมือง) ซึ่งเรียกว่า สงครามช้างเผือก โดยในช่วงแรกพระเจ้าบุเรงนองได้ส่งสาส์นมาขอช้างเผือก (จำนวน 2 ช้าง เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้นมีช้างเผือกอยู่ทั้งหมด 7 ช้าง)07,08  ฝ่ายขุนนางได้มีความเห็นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งต้องการให้ส่งช้างเผือกไปถวายแก่พระเจ้าบุเรงนอง เพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม ส่วนอีกฝ่าย อันได้แก่พระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงคราม ไม่เห็นด้วยกับการส่งช้างเผือกไป เนื่องจากจะเป็นการอ่อนข้อให้หงสาวดี
     สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ส่งพระราชสาส์นตอบกล่าวไปว่า "ถ้าประสงค์จะได้ช้างเผือก ก็ให้เสด็จมาเอาโดยพระองค์เองเถิด" ในบางหลักฐานเนื้อหาในสาส์นจะเป็นว่า "ช้างเผือกย่อมเกิดสำหรับบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นเจ้าของ เมื่อพระเจ้าหงสาวดีได้บำเพ็ญธรรมให้ไพบูรณ์คงจะได้ช้างเผือกมาสู่บารมีเป็นมั่นคงอย่าได้ทรงวิตกเลย" ทำให้พระเจ้าบุเรงนองถือเอาสาส์นนี้เป็นเหตุยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา.
     แต่อีกหลักฐานหนึ่ง (ที่มา: www.thairath.co.th/content/332077, วันที่เข้าถึง 27 กรกฎาคม 2562.) กล่าวว่า "พระเจ้าบุเรงนองส่งพระราชสาส์น ไปถึงพระเจ้าช้างเผือก (พระมหาจักรพรรดิ) ว่า
     .....บัดนี้เราทราบว่าพระมหาจักรพรรดิ มีเศวตกุญชรชาติพลายพังถึงสี่ช้าง เราขอสักช้างหนึ่ง มิให้พลทหารของเราได้รับความลำบาก แม้พระมหาจักรพรรดิจะถวายแก่เรา ในระหว่างไปขอนี้ สักช้างหนึ่ง บัวก็ไม่ช้ำ น้ำก็จะไม่ขุ่นเป็นแน่
     พงศาวฉบับหอแก้วของพม่า ฉบับแปลโดยนายต่อ เขียนว่า  ...พระมหาจักรพรรดิ...ทรงดำริว่า พระมหากษัตริย์โบราณ ผู้ให้กับผู้ขอเขามีบุญญาธิการมาก เขาให้กันและกันง่าย
     เราไม่แจ้งว่าพระเจ้าบุเรงนองจะอยู่ในทศพิธราชธรรมหรือไม่ ถ้าอยู่ เราจะให้ช้างเชือกหนึ่ง
     พระราชสาส์นจากอยุธยา ไปถึงพระเจ้าหงสาวดี ท้ายพระราชสาส์นนั้น มีเลขหนึ่งอยู่ตัวหนึ่ง ซึ่งหมายความว่า เอก
     พระเจ้าบุเรงนอง ทอดพระเนตรเลขหนึ่งแล้ว ก็ทรงปรึกษากับพระยาทะละ ได้ความว่าเลขหนึ่ง นี้ บาลีว่าเอกา โหราศาสตร์ว่าเอก ภาษาพม่าว่าติด ภาษารามัญว่า ไอ้ (อ้าย)
     การที่พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ทำเลขไอ้มาเช่นนี้ พวกข้าพุทธเจ้ารามัญหมายความว่า "กูไม่กลัว"
     พระยาทะละกราบทูลให้พระเจ้าบุเรงนอง มีพระราชสาส์นตอบ เขียนท้ายพระราชสาส์นเป็นเลขสอง
     เลขสองนี้บาลีว่า ทวา โหราศาสตร์ว่า จันทร์ ภาษาพม่าว่า ติด ภาษารามัญว่า ทวี ซึ่งมีความหมายเป็นภาษารามัญว่า ทวิตะแล้ดทวีตะเลข ซึ่งหมายถึงว่า ถ้าไม่กลัวจะเอาเชือกผูก
     พงศาวดารหอแก้วของพม่า เขียนว่า เมื่อพระราชสาส์น มีเลขสองกำกับท้ายจากพม่าไปถึงกรุงศรีอยุธยา พระมหาจักรพรรดิ ทรงเห็นว่า พระเจ้าหงสาวดีรู้เท่าทัน ก็ตกพระทัย ตรัสตอบด้วยถ้อยคำอันไม่ไพเราะ
     เมื่อทูตกลับไปรายงาน พระเจ้าหงสาวดี ก็ถือเป็นเหตุผล ที่จะทำสงครามกับกรุงศรีอยุธยา...
 

ใครได้ทำการประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยา

ช้างเผือก, ที่มา: www.himmapan.com, วันที่เข้าถืง 27 กรกฎาคม 2562.

สงครามช้างเผือก
     ในปี พ.ศ.2106 พระเจ้าบุเรงนองยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ได้ยกทัพรวบรวมพลที่เมืองเมาะตะมะ จัดทัพใหญ่ออกเป็น 5 ทัพ มีเจ้าเมืองเชียงใหม่ควบคุมกองเรือเสบียง ล่องมาถึงเมืองตาก พร้อมกองกำลังประมาณ 500,000 นาย09 พร้อมด้วยช้าง ม้า และอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมาก เข้ามาทางด่านแม่ละเมา โดยยกเข้ามาทางเมืองตาก (ส่วนทางกรุงศรีฯ ได้เตรียมพลพร้อมรบและเรือรบจำนวนมาก เพื่อป้องกันการโจมตีจากทัพหลวงของหงสาวดีทางด่านเจดีย์สามองค์ แต่การณ์ไม่เป็นดังคาด ด้วยพม่ายกทัพมาทางด่านแม่ละเมา) ด้วยกำลังที่มากกว่าของพม่าจึงสามารถยึดหัวเมืองเหนือได้เกือบทั้งหมด โดยเริ่มตีจากเมืองกำแพงเพชรก่อน แล้วแยกทัพไปตีสุโขทัย สุโขทัยมีกำลังน้อยกว่ามาได้สู้รบเต็มความสามารถ แต่ท้ายที่สุดก็ถูกพม่ายึดเมืองจนสำเร็จ จากนั้นก็สะดวกมาล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ (อันเป็นที่ราบ สามารถรวบรวมเสบียงอาหาร สันนิษฐานว่าให้ชาวบ้านทำนา เก็บผลผลิตเป็นเสบียงแก่กองทัพพม่าที่เมืองพิษณุโลก) พระมหาธรรมราชาได้เข้าต่อสู้เป็นสามารถ ป้องกันเมืองไว้ได้ดี พระเจ้าบุเรงนองจึงขอเจรจา พระมหาธรรมราชาจึงส่งพระสงฆ์จำนวน 4 รูป เพื่อทำการเจรจา แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ อีกทั้งในเมืองยังขาดเสบียง และเกิดไข้ทรพิษระบาด สมเด็จพระมหาธรรมราชาเกรงว่าหากขืนสู้รบต่อไปด้วยกำลังพลที่น้อยกว่า อาจทำให้เมืองพิษณุโลกถูกทำลายได้เหมือนกับหัวเมืองเหนืออื่น ๆ ก็เป็นได้ พระมหาธรรมราชา จึงยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนอง
     พระเจ้าบุเรงนอง ทรงบัญชาให้พระมหาธรรมราชาและเจ้าเมืองอื่น ๆ ถือน้ำกระทำสัตย์ให้อยู่ใต้บังคับของพม่า ทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชของหงสาวดีและไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา แล้วให้พระมหาธรรมราชาครองเมืองพิษณุโลกดังเดิม แต่อยู่ในฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราชของหงสาวดี พระเจ้าบุเรงนองขอพระนเรศ (ขณะทรงพระชนมายุเพียง 9 พรรษา) ไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดีในปี พ.ศ.2107 พร้อมยังสั่งให้ยกทัพตามลงมาเพื่อตีกรุงศรีฯ ด้วย.
     พระเจ้าบุเรงนองรบชนะทัพอยุธยาที่ชัยนาท และลงมาตั้งค่ายล้อมพระนครทั้งสี่ทิศ กองทัพพม่ายกมาประชิดเขตเมืองใกล้ทุ่งลุมพลี พระมหาจักรพรรดิทรงให้กองทัพบก ระดมยิงใส่พม่าเป็นสามารถ แต่สู้ไม่ได้จึงล่าถอยไป ทางพม่าจึงยึดได้ป้อมพระยาจักรี (ทุ่มลุมพลี) ป้อมจำปา ป้อมพระยามหาเสนา (ทุ่งหันตรา) แล้วล้อมกรุงศรีฯ อยู่นาน พระมหาจักรพรรดิทรงเห็นว่าพม่ามีกองกำลังมาก การที่จะออกไปรบเพื่อเอาชัยคงกระทำได้ยากนัก จึงทรงสั่งให้เรือรบนำปืนใหญ่ล่องไปยิงทหารพม่าเป็นการถ่วงเวลาให้เสบียงอาหารหมดหรือเข้าฤดูน้ำหลาก พม่าคงจะถอยทัพไปเอง แต่ทว่าพม่าได้เตรียมเรือรบและปืนใหญ่จำนวนมากยิงใส่เรือรบไทยพังเสียหายหมด แล้วตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามาในพระนครทุกวัน ถูกชาวบ้านล้มตาย บ้านเรือน วัดเสียหายเป็นอย่างมาก แม้ว่าพม่าจะยิงปืนใหญ่เข้าสู่พระนครเป็นระยะ ๆ แต่ก็ไม่สามารถเข้าสู่ตัวเมืองได้.
     พระเจ้าบุเรงนองจึงมีพระราชสาส์นให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเลือกจะรบให้รู้แพ้รู้ชนะหรือเลือกยอมสงบศึก โดยที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเลือกสงบศึก อยุธยาจึงต้องยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของพม่า โดยมอบช้างเผือก 4 ช้างให้แก่พม่า มอบตัวบุคคลที่คัดค้านไม่ให้ส่งช้างเผือกแก่พม่าเมื่อครั้งก่อนสงครามช้างเผือก อาทิ พระราเมศวร (พระราชบุตรในพระมหาจักรพรรดิ) เจ้าพระยาจักรีมหาเสนา และ พระสมุทรสงคราม ไปเป็นตัวประกัน ส่งช้างให้แก่พม่าปีละ 30 เชือก ส่งเงินให้แก่พม่าปีละ 300 ชั่ง และให้พม่ามีสิทธิเก็บภาษีอากรในเมืองมะริด โดยมีการเจรจาขึ้นบริเวณสถานที่ประทับชั่วคราวระหว่างวัดพระเมรุสาธิการราม (ปัจจุบันเรียก วัดพระเมรุราชิการรามวรวิหาร) กับ วัดหัสดาวาส (หรือวัดช้าง) โดยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงต่อรองขอดินแดนของอยุธยาทั้งหมดที่พระเจ้าบุเรงนองยึดไว้คืน พระเจ้าบุเรงนองก็ถวายคืนแต่โดยดี จากนั้นพม่าก็ถอยกลับไปหงสาวดี
 

ใครได้ทำการประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยา
          
ใครได้ทำการประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยา

ภาพจากซ้ายไปขวา: พระประธานวัดพระเมรุสาธิการราม หรือ วัดหน้าพระเมรุ (ถ่ายเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560)
และวัดหัสดาวาส (ถ่ายเมื่อ 30 มิถุนายน 2561)


     ถึงแม้ว่าพม่าจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงดังนี้ แต่พระเจ้าบุเรงนองยังไม่ทรงประสบความสำเร็จในการได้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองประเทศราช ดังนั้นพระเจ้าบุเรงนองจึงทรงพยายามดำริหาวิธีในการเอาชนะกรุงศรีอยุธยา ก่อนที่จะมารบอีกครั้งหนึ่ง.

พระมหาธรรมราชาเอาพระทัยออกห่าง
     พระมหาธรรมราชาทรงแสดงท่าทีฝักใฝ่พม่าตั้งแต่ระยะหลังสงครามช้างเผือกแล้ว โดยทรงยินยอมส่งกำลังทหารไปช่วยพระเจ้าบุเรงนองล้อมเมืองเชียงใหม่ตามที่ติดต่อมา การเอาพระทัยออกห่างเช่นนี้เป็นการบั่นทอนความมั่นคงของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ.2108 พระมหาธรรมราชาทรงส่งข่าวเรื่องการพระราชทานพระธิดา พระเทพกษัตรีแก่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 แห่งอาณาจักรล้านช้าง แต่ถูกพม่าดักชิงตัวไปกลางทาง ทำให้การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับล้านช้างล้มเหลวลง

ใครได้ทำการประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยา

แผนที่อาณาจักรล้านช้าง, ที่มา: www.aseanthau.net, วันที่เข้าถึง 19 กรกฎาคม 2562


     สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงทราบก็ทรงเสียพระทัย จึงเสด็จไปประทับที่วังหลัง ให้พระมหินทร์พระโอรสว่าราชการแทน เมื่อพระชนมายุประมาณ 59 พรรษา ต่อมาได้เสด็จออกผนวชใน ปี พ.ศ.2109 โดยมีข้าราชการออกบวชด้วยจำนวนมาก ซึ่งพระมหินทร์ พระราชโอรสทรงได้ว่าราชการแทน ต่อมาทรงมีเรื่องกินแหนงแคลงใจกับพระมหาธรรมราชาจนเกิดความร้าวฉานระหว่างพิษณุโลกกับกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากพระองค์สมคบกับพระไชยเชษฐา กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างยกทัพไปตีเมืองพิษณุโลก เพื่อกำจัดพระมหาธรรมราชา จนพระองค์มิอาจรั้งราชการแผ่นดิน จึงทูลเชิญให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิลาผนวช หลังจากที่ผนวชได้ไม่นาน แล้วกลับมาว่าราชการดังเดิม.

ก่อนเสียกรุง
     ต่อมา พระมหาธรรมราชาเสด็จไปเฝ้าพระเจ้าบุเรงนอง ในปี พ.ศ.2108 โดยทรงกล่าวโทษว่าอยุธยาวางแผนกำจัดพระองค์ พระเจ้าบุเรงนองจึงให้พระมหาธรรมราชาเป็นเจ้าเมืองประเทศราช ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ เจ้าฟ้าพิษณุโลก หรือ เจ้าฟ้าสองแคว อันอยู่ในฐานะเป็นอริต่ออาณาจักรกรุงศรีอยุธยา (ในหนังสือแหล่งอ้างอิง 04. ใช้คำว่า "กบฏ").
     พระมหาจักรพรรดิกับพระมหินทร์เสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลก ในขณะที่พระมหาธรรมราชาเสด็จไปหงสาวดีแล้วนำพระวิสุทธิกษัตรีพร้อมด้วยพระเอกาทศรถมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อพระมหาธรรมราชาทราบเรื่องจึงเข้ากับกรุงหงสาวดีอย่างเปิดเผย แม้ว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจะทรงนำพระชายา พระโอรสและพระธิดาของพระมหาธรรมราชาลงมายังกรุงศรีอยุธยา โดยหวังว่าพระมหาธรรมราชาจะไม่ทรงกล้าดำเนินการใด ๆ ต่อกรุงศรีอยุธยา แต่การณ์ก็ไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อพระมหาธรรมราชาทราบว่าพระอัครชายาและโอรสธิดา ถูกจับเป็นองค์ประกันก็ทรงวิตก ได้ส่งสาส์นไปยังพระเจ้าบุเรงนองให้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา.
     ก่อนการเสียกรุง พ.ศ.2112 พระมหาธรรมราชาได้ทรงส่งกองทัพมาร่วมล้อมกรุงศรีอยุธยาร่วมกับทัพใหญ่ของพระเจ้าบุเรงนองด้วย รวมทั้งได้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญในกองทัพพม่า และในปี พ.ศ.2112 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 แห่งล้านช้างทรงส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือกรุงศรีอยุธยา พระมหาธรรมราชาก็ทรงปลอมเอกสารลวงให้กองทัพล้านช้างนำทัพผ่านบริเวณที่ทหารพม่าคอยดักอยู่ กองทัพล้านช้างจึงแตกพ่ายไป.

การเตรียมการของฝ่ายอยุธยา
     สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้เตรียมการป้องกันบ้านเมืองเพิ่มเติม ดังนี้
       1.  สร้างป้อมและหอรบเพิ่มเติม โดยหอรบอยู่ห่างกันหอละ 40 เมตร รวมทั้งเสริมกำแพงให้แข็งแกร่งขึ้น
       2.  จัดปืนใหญ่ไว้ตามกำแพงเมืองเป็นจำนวนมาก โดยห่างกันเพียงกระบอกละ 10 เมตร
       3.  โปรดให้สร้างแนวกำแพงขึ้นใหม่โดยให้ชิดกับคูเมืองทุกด้าน
       4.  ให้สร้างหอรบไว้กลางลำน้ำที่เป็นคูเมืองแล้วเอาปืนใหญ่ติดตั้งไว้บนนั้น

ลำดับเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยา06
     พระเจ้าบุเรงนองทรงนำทัพเข้ารุกรานกรุงศรีอยุธยาในเดือนตุลาคม พ.ศ.2111 ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก รวมทั้งหมด 7 ทัพ ประกอบด้วยพระมหาอุปราชา เจ้าเมืองแปร เจ้าเมืองตองอู เจ้าเมืองอังวะ เจ้าเมืองเชียงใหม่ และเชียงตุง เข้ามาทางเมืองกำแพงเพชร โดยได้เกณฑ์หัวเมืองทางเหนือรวมทั้งเมืองพิษณุโลกมาร่วมสงครามด้วย รวมจำนวนได้กว่า 500,000 นาย ยกทัพลงมาถึงพระนครในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน โดยให้พระมหาธรรมราชาเป็นกองหลังดูแลคลังเสบียง ทัพพระเจ้าบุเรงนองก็ตั้งค่ายรายล้อมพระนครอยู่ไม่ห่าง การตั้งรับภายในพระนครส่งผลให้มีการระดมยิงปืนใหญ่ของข้าศึกทำลายอาคารบ้านเรือนอยู่ตลอด ทำให้ได้รับความเสียหายอย่างมาก.

ใครได้ทำการประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยา

ตัวอย่างปืนใหญ่กรุงศรีฯ กระบอกหนึ่ง (พม่าขนไปจากอยุธยา และอังกฤษก็ขนจากพม่าไปไว้ที่อินเดียอีกทอดหนึ่ง) ลวดลายสวยงามมาก,
ที่มา: https://pantip.com, ซึ่งได้อ้างต่อไปยัง 

https://www.facebook.com/thailandcoup/photos/a.300125233487991.1073741875.298177807016067/326814554152392/?type=1&theater, ค้นหาไม่พบแล้ว, วันที่สืบค้น 22 กรกฎาคม 2562.