บุคคลสําคัญในวงการละครไทย มีใครบ้าง

ละครรำ เป็นนาฏศิลป์เก่าแก่แขนงหนึ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่งดงามอ่อนช้อยของชนชาติไทย ตั้งแต่โบราณกาลนานมาแล้วเรามีศิลปินชั้นครูที่ได้ช่วยกันสืบทอดและพัฒนาละครรำมารุ่นแล้วรุ่นเล่าจนถึงปัจจุบัน คุณครูส่องชาติ ชื่นศิริ เป็นศิลปินอีกท่านหนึ่งที่มีอัจฉริยภาพในทางละครรำนี้เป็นพิเศษ ชีวิตของท่านคลุกคลีอยู่ในวงการนี้มายาวนานกว่า ๖๐ ปี ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ท่านได้อุทิศตนประกอบกิจกรรมอันเป็นคุณูปการต่อวงการนาฏศิลป์ไทยอย่างอเนกอนันต์

คุณครูส่องชาติ ชื่นศิริเป็นคนกรุงเทพโดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๖๑ ปัจจุบันอายุ ๘๒ ปี ท่านได้รับการศึกษาที่โรงเรียนดุสิตดรุณจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จากนั้นบิดาของท่านได้พาไปเรียนการรำกับพระยาสุนทรเทพระบำ (เปลี่ยนสุนทรนัฏ) โดยได้หัดรำตามแบบโบราณ ในระยะแรกนั้น คุณครูส่องชาติ ได้หัดเป็นตัวนางเมื่อหัดได้ปีกว่าก็มีโอกาสได้ออกแสดงเป็นครั้งคราว โดยเคยได้แสดงเป็นนางฟ้าในเรื่องรามเกียรติ และเป็นบุษบาในเรื่องอิเหนาเป็นต้น ต่อมาท่านก็ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ ซึ่งเพิ่งเปิดรับนักเรียนเป็นรุ่งแรก ณ ทีนี้ ท่านได้เปลี่ยนมาหัดเป็นตัวพระกับคุณครูลมุล ยมะคุปต์ ถึงแม้จะได้หัดเป็นตัวนางอีกบ้างแต่ก็เป็นเพียงช่วงสั้นๆ หลังจากนั้นจึงได้แสดงเป็นตัวพระอย่างถาวร นอกจากคุณครูลมุล ยมะคุปต์ผู้ซึ่งคุณครูส่องชาติเคารพเทิดทูนในฐานะที่ประสิทธิประสาทวิชาจนท่านประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงแล้ว คุณครูส่องชาติยังได้มีโอกาสเรียนกับยอดครูนาฏศิลป์ไทยในยุคนั้นอีกหลายท่าน อาทิ คุณหญิงเทศ นัฏกานุรักษ์ หลวงวิลาศวงงาม ครูมัลลี คงประภัศร์ หม่อมครูต่วน ภัทรนาวิก ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี และพระชัยพิษณุการเป็นต้น

บทสำคัญที่ท่านได้รับมอบหมายให้แสดงเป็นครั้งแรกคือการแสดงเป็นองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในละครเรื่องพระนเรศวรประกาศอิสรภาพซึ่งเป็นบทประพันธ์ของพลตรีหลวงวิจิตร วาทการ ที่โรงละครชั่วคราวของกรมศิลปากรในยุคที่ยังไม่มีโรงละครแห่งชาติ โรงละครชั่วคราวนั้นสร้างด้วยโครงสร้างไม้ไผ่ หลังคามุงใบไม้ ทำให้ครูส่องชาติซึ่งแสดงเป็นพระเอก ได้รับฉายาว่า “พระเอกโรงไม้กระบอก”

จากนั้นก็ได้แสดงทั้งละครรำ และละครของหลวงวิจิตรวาทการอีกหลายเรื่องโดยมักจะได้แสดงเป็นพระเอกเสมอเช่นแสดงเป็นหลวิชัย ในเรื่อง คาวี เป็นพราหมณ์เกศ สุริยง ในเรื่องสุวรรณหงส์ และแสดงเป็นตัวอิเหนาเป็นต้น

ระหว่างศึกษาอยู่ที่โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์นั้น คุณครูส่องชาติ ชื่นศิริ ได้แสดงความสามารถจนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งมีผลการเรียนที่โดดเด่น ท่านจึงได้รับมอบหมายให้แสดงในบทที่สำคัญๆ เสมอ และเมื่อจบการศึกษาแล้ว ท่านก็ได้รับการบรรจุให้เป็นข้าราชการกรมศิลปากร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๒

ตลอดระยะเวลาที่รับราชการ คุณครูส่องชาติได้ปฏิบัติภารกิจอันสำคัญหลากหลายประการ อาทิแสดงละครประเภทต่างๆ นับ ๑,๐๐๐ ครั้ง เป็นผู้รำกระบวนรำแม่บทใหญ่ ซึ่งสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มีการเรียนการสอนนาฏศิลป์ ได้ยึดถือเอามาเป็นแม่ท่าในแบบเรียนนาฏศิลป์มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังได้จดจำท่ารำอันงดงามของคุณครู ลมุล ยมะคุปต์ เอาไว้ได้ทุกกระบวนรำ นอกจากท่ารำที่จดจำมาจากครูแล้ว ท่านยังได้พัฒนาและสร้างสรรค์ท่ารำด้วยตนเองแล้วนำมาถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์รุ่นหลังๆ ต่อมาอย่างเต็มที่ไม่ปิดบังหรือหวงวิชาเอาไว้ แม้ในช่วงที่เกษียณอายุราชการแล้ว ท่านก็ยังรับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันต่างๆ หลายแห่ง ชีวิตและผลงานอันดีเด่นและยาวนานของท่าน ได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงในวงการนาฏศิลป์ไทย ยังผลให้ท่านได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ละครรำ) เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๕

ผมได้ติดต่อขอถ่ายภาพคุณครูส่องชาติ ผ่านทางคุณอิศราวรรณ ชื่นศิริ บุตรสาวของท่าน ซึ่งคุณอิศราวรรณ ก็ได้แจ้งว่าในทุกๆ วันอาทิตย์ ครูส่องชาติจะไปสอนรำให้กับลูกศิษย์คณะหนึ่ง ที่บ้านของศิษย์คนหนึ่ง หากไปถ่ายที่นั่นได้ก็น่าจะเป็นการดี หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ลูกศิษย์คนหนึ่งของครูส่องชาติ ได้โทรศัพท์มาหาผมด้วยทราบว่าผมมีความประสงค์จะถ่ายภาพครูส่องชาติ และได้กรุณาติดต่อประสานงานกับทั้งคุณครู และท่านเจ้ของบ้านที่คุณครูไปสอนให้อย่างเรียบร้อยโดยได้นัดให้ผมไปถ่ายภาพที่บ้านของคุณธาดา วิทยาพูลเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๔๓ ซึ่งบ้านหลังดังกล่าวเป็นเรือนไทยตั้งอยู่ริมคลองใกล้ถนนพุทธมณฑลสาย ๒

 

เมื่อไปถึง ผมได้พบกับคุณธาดาเจ้าของบ้าน คุณครูส่องชาติ อาจารย์ปริตตา และลูกศิษย์ของอาจารย์ส่องชาติอีกหลายท่านซึ่งท่านเหล่านั้นล้วนมีหน้าที่การงานแตกต่างกันออกไป บางท่านเป็นนักธุรกิจ บ้างก็เป็นข้าราชการ บ้างก็ยังเป็นนักศึกษาอยู่ แต่ทุกท่านที่มารวมตัวกันอยู่ ณ ที่นั้น ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีความรักและเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ของไทยด้วยกันทั้งสิ้น จึงได้ร่วมกันเชิญคุณครูส่องชาติมาสอนรำทุกๆ วันอาทิตย์ ซึ่งได้ปฏิบัติเป็นกิจวัตรมาเป็นแรมปีแล้ว คุณธาดาได้กรุณาอำนวยความสะดวกให้ผมอย่างเต็มที่ โดยอนุญาตให้ผมเดินดูทั่วบ้านเพื่อเลือกมุมถ่ายภาพได้ตามชอบใจ ซึ่งนับเป็นความโชคดีของผมเป็นอย่างยิ่งเพราะเรือนไทยหลังนี้มีมุมที่ผมถูกใจมาก ทั้งยังมีของสูงค่าที่เจ้าของสะสมไว้อีกมากมายซึ่งสามารถนำมาประกอบฉากเพื่อให้ภาพสมบูรณ์ได้อย่างดี ที่ชั้นบนของเรือนอันเป็นที่ที่ผมใช้ถ่ายภาพนี้นั้น มีตู้ไม้โบราณที่คุณธาดาได้จัดเป็นบูชาศีรษะโขนต่างๆ ที่คนในวงการศิลปะและนาฏศิลป์เคารพนับถือเป็นครู นอกจากนั้น ที่ชั้นล่างมีชฎาและรัดเกล้าที่ใช้ในการแสดงละครตั้งประดับเด่นเป็นศรีเรือนอยู่ ซึ่งผมได้ขออนุญาตนำขึ้นไปจัดวางเข้าฉากนี้ด้วยองค์ประกอบทั้งหลายที่ผมกล่าวมานี้ดูอบอุ่น กลมกลืนกับเรื่องราว และเมื่อมีครูส่องชาติเข้าไปเป็นองค์ประกอบหลักด้วยแล้วก็ยิ่งช่วยส่งเสริมภาพให้มีความหมายมากขึ้นทันที

ในวันนั้น ครูส่องชาติแต่งกายด้วยเสื้อลูกไม้สีงาช้าง นุ่งฟ้าโจงกระเบนตามแบบที่ครูละครรำมักแต่งเพื่อความทะมัดทะแมงเวลาสอนรำ ผมถ่ายภาพท่านใน ๓ ลักษณะ คือท่านั่ง ท่ายืน และท่ารำ สำหรับท่านั่งนั้น ท่านนั่งพับเพียบเรียบร้อยบนตั่งไม้ซึ่งภาพที่ได้ก็ดูอ่อนช้อนดีอยู่ แต่เกิดความผิดพลาดจากความไม่ละเอียดของผมคือชฎายอดหนึ่งที่ตั้งอยู่เบื้องหลังนั้นเอียงไปเล็กน้อย แลดูไม่สวยงาม ทำให้ต้องตัดใจไม่ใช้ภาพนั้น ส่วนท่ายืนในเบื้องต้นผมยังไม่ได้คิดจะให้ท่านถือชฎา แต่เมื่อได้พยายามจัดท่าและวางมือของท่านอยู่ครู่หนึ่งก็ไม่ลงตัว จึงได้คิดว่าการให้ท่านถือชฎาไว้จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ทั้งยังให้ความหมายที่ดีแก่ภาพเหมือนเป็นการรำลึกถึงความหลัง ว่าครั้งหนึ่งในช่วงที่ท่านยังเยาว์วัย ท่านเคยสวมชฎาลักษณะคล้ายกันนี้แสดงละครรำ อันเป็นอาชีพที่เสมือนเป็นชิวิตจิตใจของท่านอยู่เป็นิจแม้ในทุกวันนี้จะล่วงเวลาไปแล้วสำหรับการที่จะได้สวมชฎาอันสง่างามนี้ แต่ทุกครั้งที่ได้มองดูหรือหยิบจับก็จะทำให้หวนรำลึกถึงวันเก่าๆ อยู่ทุกครั้งไป ในภาพนี้สีหน้าและแววตาของท่านแสดงออกถึงความเป็นครูที่มีความเมตตาโดยแท้ ผมจึงเลือกเอาไว้เป็นภาพเอกส่วนท่าที่ ๓ คือท่ารำนั้น ดูจะไม่ค่อยสมเหตุสมผลกับสถานที่เท่าใดนัก จึงไม่เข้าข่ายที่ผมจะเลือกเช่นกัน

 

 

วัย ๘๒ ปี สำหรับคนทั่วไป มักจะเป็นช่วงที่ละวางจากการงานทั้งปวง แล้วใช้ชีวิตพักผ่อนอยู่กับลูกหลานที่บ้านเฉยๆ แต่สำหรับคุณครูส่องชาติ ชื่นศิริ ศิลปินแห่งชาติท่านนี้ ท่านยังมีความสุขกับการที่ได้ใช้ความสามารถเฉพาะตัวที่สั่งสมมายาวนาน ถ่ายทอดวิชาให้แก่ผู้ที่รักและสนใจด้วยความเมตตา และสิ่งตอบแทนที่ทำให้ท่านสุขใจที่สุดนั้น ก็คือการที่ได้เห็นศิษย์เหล่านั้นของท่าน รักและให้ความสนใจในนาฏศิลป์ไทยอย่างจริงจัง เพราะนั้นหมายถึงว่ามรดกชิ้นสำคัญที่ท่านได้รับมาจากครูบาอาจารย์ จะได้รับการสืบทอดส่งผ่านสู่คนรุ่นต่อไปที่รักและทะนุถนอมศิลปะแขนงนี้อย่างจริงจัง อันถือว่าท่านได้ทำหน้าที่ของท่านได้อย่างสมบูรณ์แล้ว

บุคคลใดที่มีความสำคัญต่อวงการนาฏศิลป์ไทย

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี มีบทบาทสำคัญต่อวงการนาฏศิลป์และละครไทยอย่างไร เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นท่ารำโขนที่ใช้แสดงเรื่องรามเกียรติ์ให้คงอยู่สืบไป เป็นผู้คิดค้นท่ารำและสืบสานพัฒนานาฏศิลป์พื้นเมืองล้านนาให้เป็นที่รู้จักและคงอยู่สืบไป เป็นผู้ฟื้นฟูการแสดงนาฏศิลป์ไทยประเภทต่าง ๆ ให้เป็นที่รู้จักและชื่นชอบไปทั่วโลก

บุคคลสําคัญด้านนาฏศิลป์และละครท่านใดมีบทบาทในการเป็นผู้กํากับการแสดงละครพันทาง เรื่องผู้ชนะสิบทิศ

ในปีพ.ศ. 2529 ศุภชัยได้รับบทเป็นราชบุตรมังตราแห่งเมืองตองอูใน ละครพันทาง เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ ของยาขอบ กำกับและเขียนบทโดยอาจารย์เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ คู่กับ ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ผู้ได้รับบทจะเด็ด ซึ่งส่งผลให้ทั้งสองมีชื่อเสียงโด่งดัง กลายเป็นพระเอกละครยอดนิยมมาจนตราบทุกวันนี้

ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปินคนแรกในวงการละครไทย คือใคร

สัมพันธ์ พันธุ์มณี.

บุคคลสําคัญในวงการนาฏศิลป์สมัยอยุธยาคือใคร

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ไทยสมัยอยุธยา ได้แก่ ตำรวจ ทหารมหาดเล็ก ซึ่งแสดงโขนกลางสนามปรากฏอยู่ในตำราพระราชพิธีอินทราภิเษก โดยใช้ตำรวจแสดงเป็นฝ่ายอสูร 100 คน ทหารมหาดเล็กเป็นฝ่ายเทพยดา 100 คน เป็นพาลี สุครีพ มหาชมพูและบริวารวานร