การใช้พลังงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากจากภาคส่วนใดบ้าง

ชีวิตและวิถีชีวิต เศรษฐกิจและชุมชน ขึ้นอยู่กับพลังงานที่หาง่าย เชื่อถือได้ และราคาย่อมเยา เพื่อที่จะเจริญรุ่งเรืองและเติบโต ปัจจุบัน ผู้คนเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผู้คนมากขึ้นได้รับโอกาสที่ดีกว่าเดิม รวมทั้งมีสุขภาพและมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

พลังงานส่วนใหญ่ที่เราใช้ในปัจจุบันมาจากน้ำมันและถ่านหิน และมาจากก๊าซธรรมชาติมากขึ้น ไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้ให้พลังงาน ความร้อน และความเย็นกับครัวเรือนและสถานที่ทำงาน รวมถึงเป็นเชื้อเพลิงของระบบการขนส่งที่พาเราไปทำงานหรือโรงเรียนหรือพาเราไปยังจุดหมายปลายทางในวันหยุดพักผ่อน พลังงานเหล่านี้ช่วยให้อุตสาหกรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเราสามารถดำเนินต่อไปได้และเป็นวัตถุดิบสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่เราซื้อ เช่น อุปกรณ์ที่คุณใช้อ่านเนื้อหาหน้านี้

ความต้องการพลังงานทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นและมาตรฐานความเป็นอยู่ที่สูงขึ้น

ภายในปี 2050 คาดการณ์ว่าจำนวนประชากรบนโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 9 พันล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเกือบ 2 พันล้านคน ผู้คนมากมายในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จะกลายเป็นชนชั้นกลางของโลก คนเหล่านี้จะซื้อตู้เย็น เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ที่ใช้พลังงาน และจะมีคนอีกมากมายซื้อรถ เพิ่มจำนวนรถบนท้องถนนมากขึ้นกว่าเดิมเกินสองเท่า

เมืองต่าง ๆ ของเราจะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณสามในสี่ของประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในเมืองภายในกลางศตวรรษนี้ ซึ่งเพิ่มความกดดันด้านทรัพยากรอาหาร แหล่งน้ำ และพลังงานที่จำเป็นสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของเรา

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับงานของเชลล์สำหรับเมืองในอนาคต

ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องกันว่า ความต้องการพลังงานทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มเป็นสองเท่าภายในปี 2050 เมื่อเทียบกับระดับของปี 2000 ในเวลาเดียวกัน การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ยิ่งสำคัญมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

การรับมือความท้าทายเหล่านี้ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในระบบพลังงานของโลกและแหล่งพลังงานใหม่ เนื่องจากระบบพลังงานมีขนาดใหญ่มากและความต้องการพลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องใช้ความพยายามร่วมกันอย่างมหาศาล

อนาคตของพลังงานสะอาด

เชลล์เตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายของพลังงานคาร์บอนต่ำในอนาคตมาระยะหนึ่งแล้วผ่านการจำลองสถานการณ์

New Lens Scenario ของเราอธิบายถึงอนาคตที่อาจเป็นไปได้ ซึ่งแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมสามารถให้พลังงานได้ถึง 40% ของพลังงานทั่วโลกภายในปี 2060 และดวงอาทิตย์จะกลายเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลกที่ใหญ่ที่สุดในทศวรรษต่อมา

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบบจำลองสถานการณ์ของเชลล์และดาวน์โหลดสำเนา

 โครงการการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในแคนาดา โครงการการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในแคนาดา

ในขณะที่ระบบพลังงานพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ไฮโดรคาร์บอนจะยังคงมีบทบาทสำคัญในทศวรรษที่จะถึง ซึ่งให้พลังงานที่จำเป็นอย่างมากสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในการขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการบิน และใช้ผลิตสินค้าต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่พลาสติกไปจนถึงเหล็ก

เราใช้ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของเราเพื่อส่งมอบพลังงานที่ทั้งสะอาดและมีปริมาณมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของโลก และหาวิธีการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้เรายังทำงานร่วมกับพันธมิตร ชุมชน รัฐบาล และบุคคลอื่น ๆ เพื่อที่จะบรรลุสิ่งดังกล่าวด้วยวิธีการที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

ทุกวันนี้ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นสารไฮโดรคาร์บอนเผาไหม้ที่สะอาดที่สุด มีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งจากการผลิตทั้งหมดของเรา เราเชื่อว่าก๊าซธรรมชาติมีส่วนสำคัญที่จะสร้างอนาคตพลังงานที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยก๊าซธรรมชาติมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ประมาณครึ่งหนึ่ง และสร้างมลพิษทางอากาศอื่น ๆ เพียงแค่หนึ่งในสิบเท่านั้นเมื่อเทียบกับถ่านหิน

เรามีส่วนร่วมในโครงการต่าง ๆ เพื่อตรวจจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพื่อลดการใช้สารไฮโดรคาร์บอน โครงการเหล่านี้ต้องอาศัยการสนับสนุนของรัฐบาลเพื่อความอยู่รอดทางการเงินและเพื่อให้ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้น การแทนที่โรงไฟฟ้าถ่านหินด้วยโรงงานก๊าซธรรมชาติที่มีการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ถึง 90% นอกจากนี้ เรายังมีประสบการณ์เกี่ยวกับพลังงานลมมาถึง 10 ปี เคยมีส่วนร่วมในโครงการการใช้พลังงานลม 9 โครงการทั้งในอเมริกาเหนือและยุโรป

การขนส่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตสมัยใหม่ เราสร้างนวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้คนและสินค้าสามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้อย่างสะอาดและมีประสิทธิภาพ โดยการพัฒนาน้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเชื้อเพลิงชีวภาพคาร์บอนต่ำและไฮโดรเจน และการจัดทำโปรแกรมการศึกษาที่ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงยิ่งกว่าเดิม

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเชลล์และอนาคตของการขนส่ง

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้เป็นปกติ มีความปลอดภัย และทำให้ท่านสามารถเข้าใช้เว็บไซต์ได้ เช่น การ log in เข้าสู่เว็บไซต์ การยืนยันตัวตน ทั้งนี้ ท่านไม่สามารถปิดการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซต์ของเราได้

คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้

การใช้พลังงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาจากภาคใด

และทรัพยากรของมนุษย์ การใช้พลังงานและทรัพยากรที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก มาจาก 3 ภาคส่วนหลักดังนี ไอน้ำควบแน่นและแก๊สร้อน ไอนํ้าควบแน่น ปล่องไอเสีย 奥修 1. ภาคการผลิตไฟฟ้า แหล่งพลังงานส่วนใหญ่ที่ นำมาผลิตพลังงานไฟฟ้า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ปิโตรเลียม เนื่องจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันยัง

แหล่งพลังงานประเภทใดที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

ถ่านหิน เป็นตัวสร้างมลพิษมากกว่าแหล่งพลังงานอื่นๆ การเผาถ่านหินทำให้เกิดเขม่า หมอกควัน ฝนกรดส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดของเสียมากมายรวมถึงกากตะกอน สารเคมีที่เป็นพิษและความร้อน ในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตพลังงานนับตั้งแต่การขุด การขนส่ง การจัดเก็บ จนถึงการเผาไหม้ล้วนก่อให้เกิดมลพิษทั้งสิ้น มันเป็น ...

การนำพลังงานไปใช้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

เกินความจำเป็น ทั้งกระบวนการค้นหาพลังงานมาใช้และผลจากการใช้ ปัญหาอาจจะเกิดในระดับ ภูมิภาคหรือระดับโลก ผลกระทบที่เกิด ได้แก่ สภาพภูมิประเทศและทรัพยากรดิน โดยสภาพภูมิประเทศถูกทำลาย เกิดปัญหามลพิษดิน ผลกระทบต่อมลพิษอากาศและมลพิษเสียง จากการสำรวจ

ผลกระทบจากการใช้พลังงานมีอะไรบ้าง

ทรัพยากรพลังงาน.
ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ล้มตาย.
ทำให้สิ่งของและทรัพยากรธรรมชาติเสียหาย.
ทำลายสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต.
เกิดภาวะมลพิษทั้งทางดิน น้ำ และอากาศ.