กษัตริย์ราชวงศ์ใด หมายถึง ผู้ปกครองรัฐตามพรลิงค์

อาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) พุทธศตวรรษที่ 7 – 19                         การตั้งถิ่นฐาน                          สมัยก่อนประวัติศาสตร์                          จากหลักฐานพบว่า การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดสงขลา เริ่มมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานส่วนใหญ่พบตามถ้ำและเพิงหินบนภูเขาทางด้านทิศตะวันตก และทิศใต้ของจังหวัด พบภาชนะดินเผาแบบหม้อสามขา ภาชนะเผาลายเชือกทาบ ขวานหินขัด โครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ในสมัยหินใหม่ฝังอยู่ในถ้ำและเพิงหินทางทิศเหนือของเขารักเกียรติ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ พบภาขนะดินเผาลายเชือกทาบ ในสมัยหินใหม่เป็นจำนวนมาก ที่เขารูปช้าง ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา พบขวานหินขัดที่บ้านควนตูล อำเภอเมือง ฯ ที่ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย และที่บริเวณคาบสมุทรสทิงพระ                          จากหลักฐานดังกล่าวแสดงว่า คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมมีชีวิตแบบสังคมล่าสัตว์ หาของป่า ในพื้นที่ป่าเขาทางด้านทิศาตะวันตกและทิศใต้ของจังหวัด ต่อมาได้อพยพลงสู่ที่ราบริมน้ำเมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว มีวิถีชีวิตแบบชาวน้ำ ดำรงชีพด้วยการเพาะปลูก และจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลา และชายทะเลอ่าวไทย บางส่วนได้อพยพลงสู่ที่ราบริมทะเลอ่าวไทย ในเขตอำเภอจะนะ เนื่องจากได้พบกลองมโหระทึกที่หล่อด้วยสำริด แสดงให้เห็นถึงการติดต่อกับชุมชนภายนอก เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว                         ชนชาติจีนและอินเดีย ได้นำวัฒนธรรมอันเนื่องด้วยศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ เมื่อผสมกับวัฒนธรรมเดิม จึงได้พัฒนาเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของสงขลา ชุมชนค่อย ๆ เจริญขึ้นเป็นชุมชนเมืองท่าในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ                         สมัยชุมชนโบราณบนตาบสมุทรสทิงพระชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ของสงขลา น่าจะได้เริ่มพัฒนาขึ้นในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ มาปรากฎหลักฐานชัดเจนเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒   และรุ่งเรืองมาจนถึงพุทธศตววรษที่ ๑๘ - ๑๙  พบชุมชนโบราณกระจายอยู่หลายชุมชน ที่สำคัญได้แก่                       ชุมชนโบราณปะโอ  เป็นชุมชนโบราณที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมคลองปะโอ ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร ซึ่งเป็นบริเวณทางน้ำเก่าไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา มีเนินดินที่พบเศษเครื่องปั้นดินเผาและแหล่งทำเครื่องปั้นดินเผาแบบกุณฑี กุณโฑ  และพบชิ้นส่วนเทวรูปรุ่นเก่า นอกจากนี้ยังมีแนวสันทรายที่มีสระน้ำขนาดใหญ่ ตั้งเรียงรายอยู่หลายแห่ง บริเวณนี้เหมาะที่จะเป็นท่าจอดเรือได้ดีในยุคต้น ๆ ก่อนการขุดคลองเชื่อมทะเลสาบกับทะเลภายนอก                      ชุมชนโบราณสทิงพระ  อยู่ในเขตตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ เป็นบริเวณที่พบโบราณวัตหถุหลายยุค หลายสมัยปะปนกัน และมีการสืบเนื่องมาจนเป็นเมืองใหญ่ มีศูนย์กลางอยู่ที่บ้านสทิงพระ ปัจจุบันเรียกว่า ในเมือง ยังปรากฎร่องรอยคูน้ำคันดิน และซากโบารณวัตถุและโบราณสถาน เป็นจำนวนมาก                    ชุมชนโบราณบริเวณเขาคูหา - เขาพะโคะอยู่ในเขตตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ มีสระน้ำขนาดใหญ่ที่เนื่องในพิธีกรรม และถ้ำที่เป็นเทวสถาน  บริเวณนี้น่าจะเป็นศูนย์กลางในทางพิธีกรรมของทางศาสนาพราหมณ์                     ชุมชนสีหยัง  อยู่ในเขตตำบลบ่อพรุ อำเภอระโนด พบสถูปโบราณและคูน้ำคันดินรอบบริเวณที่ตั้งวัดสีหยัง (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});                     ในบรรดาชุมชนที่กล่าวแล้ว ชุมชนโบราณสทิงพระเป็นชุมชนสำคัญที่มีการพัฒนาการต่อเนื่องจนเป็นเมืองใหญ่ เป็นเมืองที่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า  มีกำแพงและคูเมืองล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ด้านทิศเหนือกว้าง ๒๘๐ เมตร ด้านทิศตะวันออกกว้าง ๒๗๐ เมตร ด้านทิศใต้กว้าง ๒๗๕ เมตร และทางด้านทิศใต้กว้าง ๓๐๕ เมตร                      เมืองสทิงพระ มีกำเนิดและพัฒนาการมาอย่างไร ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน แต่มีเอกสารเพลานางเลือดขาว เรียกเมืองสทิงพระว่ากรุงสทิงพาราณสี และเจ้าพระยาสทิงพระ ชื่อว่าเจ้าพระยากรุงสทิงพาราณสี  เมืองสทิงพระได้เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๘ ในสมัยตามพรลิงค์และสมัยศรีวิชัย  เมืองสทิงพระได้ปกครองดูแลเมืองเล็กเมืองน้อยที่ตั้งอยู่โดยรอบทะเลสาบสงขลา และริมคลองที่ไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา รวมทั้งเมืองพัทลุง ที่อยู่ในปกครองของเมืองสทิงพระด้วย                      เมืองสทิงพระมีเจ้าปกครองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ ได้กลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งของแหลมมลายูตอนเหนือ เป็นเมืองท่าค้าขายกับนานาชาติ โดยเฉพาะจีน อินเดีย และอาหรับ เมืองสทิงพระได้เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยเริ่มเสื่อมอำนาจ ทำให้อาณาจักรตามพรลิงค์ หรือแคว้นนครศรีธรรมราชมีอำนาจเหนือเมืองต่าง ๆ บนแหลมมลายู โดยจัดการปกครองเมืองบริวารหรือเมืองขึ้นสิบสองเมืองนักษัตร  ในช่วงนี้เมืองสทิงพระตกอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรตามพรลิงค์                       ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรตามพรลิงค์กับเกาะลังกา ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและศิลปวัฒนธรรม ในบริเวณที่ลุ่มทะเลสาบสงขลาอย่างกว้างขวาง เนื่องจากได้มีการนำพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์มาเผยแผ่ที่นครศรีธรรมราช มีการสร้างวัดวาอาราม พระมหาธาตุเจดีย์ตามคติลังกาวงศ์ขึ้นหลายแห่ง เช่น พระมหาธาตุเจดีย์วัดเขียนบางแก้ว  พระมหาธาตุเจดีย์วัดจะทิ้งพระพระมหาธาตุเจดีย์วัดเจดีย์งาม และพระมหาธาตุเจดีย์วัดพะโคะ เป็นต้น ทำให้เมืองสทิงพระเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางด้านพระพุทธศาสนา และการเมืองการปกครองในแถบลุ่มทะเลสาบสงขลา                        เมืองสทิงพระเริ่มเสื่อมอำนาจลงเมืองประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เกิดการย้ายเมืองไปตั้งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของทะเลสาบคือ เมืองพัทลุง  เมืองพัทลุงจึงได้พัฒนาขึ้นเป็นเมืองสำคัญ มีอำนาจเหนือชุมชนรอบลุ่มทะเลสาบสงขลาแทนเมืองสทิงพระ ในขณะเดียวกันก็อยู่ในอำนาจของเมืองนครศรีธรรมราช  ต่อมาเมื่ออำนาจของกรุงศรีอยุธยาได้แผ่มาถึงเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เมืองพัทลุงจึงขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ชื่อเมืองสทิงพระเริ่มเลือนหายไป                        นอกจากเมืองสทิงพระแล้วตามตำนานพระธาตุนครศรีธรรมราชได้กล่าวถึงพระพนมวังนางเสดียงทอง ผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช ได้ให้เจะระวังลา และเจะลาบู ผู้เป็นภรรยาซึ่งเป็นมุสลิม นำผู้คนล่องเรือมาสร้างบ้านแปลงเมืองที่เมืองจะนะเทพา เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ แสดงว่านอกจากการตั้งบ้านเมืองบนคาบสมุทรสทิงพระแล้ว ยังมีการตั้งถิ่นฐานที่บริเวณเมืองจะนะอีกด้วย       อาณาจักรนี้ก่อกำเนิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 7    จากจดหมายเหตุของเหตุเรียกอาณาจักรนี้ว่า ต้ำมาลิ่ง หรือโพลิง หรือ   โฮลิง   ตรงตามหลักฐานเอกสารของอินเดียว่าตามพรลิงค์  จากหลักฐานทางโบราณคดีเชื่อว่า เมืองหลวงของอาณาจักรนี้อยู่ที่นครศรีธรรมราช     ร่องรอยคูเมืองและกำแพงเมืองขนาดใหญ่ที่ปรากฏในตัวเมืองนครศรึธรรมราชปัจจุบัน  ประกอบกับหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบ  แสดงว่าอาณาจักรตาพรลิงค์เคยเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก   ความสำคัญของอาณาจักรนี้ คือ เป็นแหล่งรับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาเป็นครั้งแรก  มีการสร้างพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระพุทธสิหิงค์ (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่หอพระพุทธสิหิงค์ จ.นครศรีธรรมราช)     แม้อาณาจักรตามพรลิงค์จะมีอายุนานกว่า 1,000 ปี  แต่ระหว่างนั้นบางช่วงก็ตกอยู่ในอำนาจของอาณาจักรอื่น เช่น ศรีวิชัย ทวารวดี และกรุงศรีอยุธยา                             จดหมายเหตุจีนเรียกอาณาจักรนี้ว่า ตันเหมยหลิง หรือ ต้าหลิง ตรงกับหลักฐานเอกสารของอินเดียและศิลาจารึกที่พบในท้องถิ่นว่า ตามพรลิงค์ ผลจากการศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีทำให้เชื่อว่าเมืองหลวงของอาณาจักรตามพร ลิงค์อยู่นครศรีธรรมราช                           ผลจากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางโบราณคดี ทำให้ได้ข้อสันนิษฐานว่าอาณาจักรตามพรลิงค์มีการโยกย้ายเมืองหลวงหลายครั้ง ดังนี้                            เมืองบ้านท่าเรือ เขตตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นที่ตั้งเมืองหลวงในยุคแรก เพราะอยู่ในทำเลที่เหมาะมากในการติดต่อค้าขายทางทะเล มีลำน้ำออกสู่ทะเล มีลำน้ำออกสู่ทะเล เรือเดินทะเลเข้าถึง แต่เป็นเมืองขนาดเล็ก                           เมืองพระเวียง เขตตำบลศาลามีชัย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงในยุคที่สอง ลักษณะของเมืองมีขนาดใหญ่ขึ้น มีกำแพงเมืองขนาดใหญ่และแข็งแรง อยู่ในทำเลที่มีพื้นที่ทำการเพาะปลูกทำนามากขึ้น สามารถเลี้ยงพลเมืองจำนวนมากๆ ได้                          เมืองนครศรีธรรมราช บริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน เป็นที่ตั้งเมืองหลวงในยุคที่สาม                          หลักฐานทั้งศิลาจารึก ตำนาน และพงศาวดารต่างๆ เช่น จารึกหลักที่ 24 วัดเสมาเมือง คัมภีร์มหานิเทศของอินเดีย เป็นต้น ทำให้สันนิษฐานว่า ตามพรลิงค์เป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองติดต่อกันมาหลายสมัย ตามพรลิงค์ในพุทธศตวรรษที่ 18 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นนครศรีธรรมราช ปรากฏพระนามกษัตริย์ชื่อ ศรีธรรมาโศกราช บ้าง และ จันทรภาณุ บ้าง มีอำนาจทางการเมืองครอบคลุมเมืองต่างๆ ถึง 12 เมือง คือ สายบุรี ปัตตานี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี พัทลุง ตัง ชุมพร บันไทยสมอ สงขลา ตะกั่วป่าและกระบุรี โดยใช้สัตว์ประจำปีเป็นตราของเมืองนั้นๆเช่น สายบุรีใช้ตราหนู ปัตตานีใช้ตราวัว เป็นต้น และเวลาล่วงมาถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 นครศรีธรรมราชก็ได้มีอิทธิพลครอบคลุมไปทั่วแหลมมลายู บรรดาหัวเมืองและเมืองเล็กเมืองน้อยที่อยู่ในแถบนี้ก็ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่ง ของนครศรีธรรมราช (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});                         นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางการปกครองและการค้าทางภาคใต้ เป็นแหล่งรวมศิลปวัฒนธรรมจากอินเดียและลังกา มีเครือข่ายความสัมพันธ์ด้านต่างๆกับดินแดนตอนใต้ทางภาคกลางและภาคเหนือ  เช่น ละโว้ หริภุญชัย สุพรรณภูมิ สุโขทัย ความมั่นคงของอาณาจักรเกิดจากการค้าขายทั้งกับการเมืองภายในและการค้า ระหว่างประเทศ                        นครศรีธรรมราชในช่วงพุทธศตวรรษที่18 ที่กำลังมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่นั้นได้กลายเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธ ศาสนาบนคาบสมุทรมลายู เดิมทีเดียว นครศรีธรรมราช มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านพระพุทธศาสนา ทั้งนิกายเถรวาทและนิกายอาจริยวาทหรือมหายาน ครั้นถึงช่วงปลายพุทธศตวรรษที่18 นครศรีธรรมราชได้หันไปนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับลังกา ในระยะนั้นพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทอย่างลังกาวงศ์เจริญรุ่งเรืองมากในลังกา พระภิกษุเมืองนครศรีธรรมราชได้เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่เมืองลังกา เพื่อบวชแปลงตามนิกายเถรวาทอย่างลังกาวงศ์และได้ชักชวนพระภิกษุสงฆ์ชาว ลังกามาฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่เมืองนครศรีธรรมราช พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทอย่างลังกาวงศ์จึงเข้ามาสู่ดินแดนไทยเป็นครั้งแรก ที่นครศรีธรรมราช และภายหลังพระภิกษุสงฆ์จากเมืองนครศรีธรรมราชได้นำพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท อย่างลังกาวงศ์ได้ฝังรากลึกลงในสังคมไทยนับตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา

                   นครศรีธรรมราชมีความสัมพันธ์เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกับราชวงศ์ที่ปกครองบ้าน เมืองบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง ต่อมานครศรีธรรมราชได้เข้ามาอยู่ใต้อิทธิพลของกรุงสุโขทัยในปีพ.ศ. 1850 และถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ. 1893                    สงขลา เป็นเมืองที่สำคัญมากเมืองหนึ่งในภาคใต้ของไทย มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายอย่างด้วยกัน เช่น ขวานหินขัด เครื่องปั้นดินเผาลายเชือกทาบ และหม้อสามขา เป็นต้น ในเขตอำเภอรัตภูมิ อำเภอสะเดา อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอเมือง ฯ ในสมัยประวัติศาสตร์รัฐโบราณได้พบหลักฐานความเจริญในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ โดยมีเมืองสทิงพระเป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นเมืองท่าค้าขายติดต่อกับจีน อินเดีย มลายู ชวา ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นศูนย์กลางการค้ากับนานาชาติ พ่อค้าจากตะวันออก และตะวันตก ได้เดินทางเข้ามาค้าขาย บางพวกได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน เมืองสงขลาจึงเป็นแหล่งผสมผสานทางวัฒนธรรมอันหลากหลายแห่งหนึ่ง 

Show

This free website was made using Yola.

No HTML skills required. Build your website in minutes.

Go to www.yola.com and sign up today!

Make a free website with Yola

กษัตริย์ราชวงศ์ใดปกครองรัฐตามพรลิงค์

แคว้นตามพรลิงค์ มีกษัตริย์สำคัญคือ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช และ พระเจ้าจันทรภาณุ แคว้นตามพรลิงค์นี้เป็น เส้นทางการเผยแพร่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ไปยังแคว้นสุโขทัยและดินแดนทั่วแหลมมลายู เนื่องจากแคว้นตามพร ลิงค์กับศรีลังกามีความสัมพันธ์แบบบ้านพี่เมืองน้องมาแต่สมัยโบราณ

บุคคลใดเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรตามพรลิงค์

พระเจ้าจันทรภาณุเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรตามพรลิงค์(ปัจจุบัน คือบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย) จารึกวัดหัวเวียง อำเภอไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี ระบุพระนามของพระองค์ว่า “ตามฺพฺรลิงเคศวร” แปลว่า “ผู้เป็นใหญ่แห่งตามพรลิงค์” และอีกแห่งหนึ่งว่า “ธรจนฺทรฺภานูปาธิศฺรีธรฺมม ราชา” แปลว่า “พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราชา” (วินัย พงศ์ศรี ...

อาณาจักรตามพรลิงค์คือข้อใด

อาณาจักรตามพรลิงค์ ถือเป็นแคว้นที่เก่าที่สุดแคว้นหนึ่งบนแหลมมลายู ก่อตั้งและมีความเจริญติดต่อกันมาหลายสมัยตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ ครั้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมืองตามพรลิงค์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น นครศรีธรรมราช และราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ มีอิทธิพลครอบคลุมบรรดาหัวเมืองและแว่นแคว้นอื่น ๆ ทั่วแหลมมลายู แต่ภายหลังได้ตกอยู่ภาย ...

ศาสนาใดที่มีอิทธิพลในแคว้นตามพรลิงค์

๑. ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู โดยเฉพาะลัทธิไศวนิกาย (นับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพเจ้าสูงสุด) ดังได้พบร่องรอยเทวสถาน แท่งศิวลึงค์ และแท่นฐานรองรับเป็นจำนวนมาก กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูลัทธิไศวนิกายได้รับการนับถือในอาณาจักรตามพรลิงค์ในระยะแรก ๆ นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนพระ ...