องค์กรใดที่ประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

                                ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีพันธกรณีกับปฏิญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จำนวน 6 ฉบับได้แก่อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลมือง อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ  และอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการทารุณกรรม ตลอดจนการปฏิบัติหรือการลงโทษที่ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์

    สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรอง "ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิในการพัฒนา" เมื่อ พ.ศ. 2529 โดยมีสาระสำคัญคือ การพัฒนามีความสัมพันธ์กับการเคารพสิทธิมนุษยชนที่จะต้องให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วม ให้การสนับสนุน และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเป็นธรรม เพื่อมุ่งให้การพัฒนาส่งผลต่อความอยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืน เกิดการพัฒนาศักยภาพและทางเลือกให้กับบุคคลทุกคน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ก็ได้กำหนดเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เคารพต่อสิทธิของประชาชนและมีความเป็นธรรมไว้ในหลายมาตรา

การสู้รบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองได้พรากชีวิตมนุษย์ไปไม่น้อยกว่าหกสิบล้านคน และยังส่งผลกระทบในด้านอื่น ๆ ต่อความเป็นอยู่และศักดิ์ศรีของมนุษย์ ทั้งในรูปแบบของความอดอยาก การทรมานนักโทษ การใช้แรงงานเยี่ยงทาส และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ดังนั้น หลังจากที่ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้นภายหลังการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศสมาชิกสหประชาติจึงได้ให้คำมั่นว่าจะร่วมกันป้องกันมิให้เกิดโศกนาฎกรรมดังกล่าวขึ้นอีก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจึงได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่อประกันสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของปัจเจกชนทั่วทุกแห่ง

โดยได้รับการยกร่างขึ้นในปี พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) โดยคณะกรรมการภายใต้คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวน 8 คน โดยมีนาง Eleanor Roosevelt ภรรยาอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นประธาน และเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่ผลักดันให้ประเทศต่างๆ ให้การสนับสนุนและรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

และเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 (ค.ศ. 1948) ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยการลงคะแนนเสียง ซึ่งมีประเทศลงคะแนนเสียงสนับสนุน 48 ประเทศ รวมทั้งไทย งดออกเสียง 8 ประเทศ และไม่มีประเทศใดลงคะแนนเสียงคัดค้าน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนฉบับนี้ถือเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ในการวางรากฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับแรกของโลก กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทุกฉบับในปัจจุบันล้วนมีพื้นฐาน และได้รับการพัฒนาและมาจากปฏิญญาสากลฉบับนี้ทั้งสิ้น และกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนากฎหมายภายในประเทศของประเทศต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศของตน ทั้งนี้ โดยที่ประชาคมโลกตระหนักถึงความสำคัญของปฏิญญาสากลฯ ในฐานะแม่บทของสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจึงได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากที่สุดในโลก

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) คือ เอกสารที่ทั่วโลกตกลงใช้ร่วมกันเป็นแนวทางไปสู่เสรีภาพและความเท่าเทียม โดยการปกป้องสิทธิมนุษยชนของทุกคนในทุกแห่งหน นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่นานาประเทศเห็นพ้องกันว่าสิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการปกป้องเพื่อให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างเสรี เท่าเทียม และมีศักดิ์ศรี

ปฏิญญาได้ถูกตอบรับในวันที่ 10 ธันวาคม 1948 โดยสหประชาชาติที่เพิ่งจะก่อตั้งได้ไม่นาน หลังจากชาวโลกต้องเผชิญกับ “การกระทำอย่างโหดร้ายป่าเถื่อน...ที่สร้างความเกรี้ยวกราดต่อจิตสำนึกของมวลมนุษยชาติ” ที่ได้เกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สอง การรับรองปฏิญญาในครั้งนั้นได้กลายเป็นรากฐานไปสู่อิสรภาพ ความยุติธรรม และความสงบสุข

 

ปฏิญญานี้ได้เริ่มการร่างกันมาตั้งแต่ปี 1946 โดยในตอนแรกอาศัยคณะกรรมการที่มาจากประเทศมากมาย รวมถึงสหรัฐอเมริกา เลบานอน และจีน ต่อมาคณะร่างปฏิญญาก็เริ่มขยายใหญ่ขึ้นโดยรวมผู้แทนจากออสเตรเลีย ชิลี ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และสหราชอาณาจักร เพื่อให้เอกสารนี้ได้รับส่วนร่วมจากผู้คนในทุกมุมโลก รวมไปถึงความหลากหลายของวัฒนธรรม ศาสนา และการเมือง ปฏิญญานี้ได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนและสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในที่สุดในปี 1948

 

ปฏิญญานี้ได้อธิบายสิทธิและเสรีภาพ 30 อย่างที่มนุษย์ทุกคนต้องมีและไม่มีใครพรากมันไปได้ ซึ่งสิทธิเหล่านี้ได้เป็นรากฐานสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน แม้แต่ในปัจจุบัน เอกสารนี้ก็ยังคงบังคับใช้อยู่ และเป็นเอกสารที่ได้รับการแปลภาษามากที่สุดในโลก

ดูทั้งหมด ซ่อน

UDHR ออกแบบไว้เพื่ออะไร?

UDHR เป็นเสมือนเสาหลักบอกทาง เพราะเป็นครั้งแรกของโลกที่มนุษยชาติได้ตกลงร่วมกันว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีเสรีและความเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ เพศ สีผิว ศาสนา หรือเอกลักษณ์ใดๆ

สิทธิและเสรีภาพ 30 ข้อที่ระบุไว้ในปฏิญญารวมไปถึงสิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน เสรีภาพการแสดงออก การเข้าถึงการศึกษา สิทธิในการขอลี้ภัย อีกทั้งยังรวมไปถึงสิทธิทางการเมืองและประชาสังคม เช่นสิทธิในการมีชีวิต อิสระเสรี และความเป็นส่วนตัว และยังมีสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เช่น สิทธิประกันสังคม สุขภาพ และการมีที่อยู่อาศัย

ดูทั้งหมด ซ่อน

70 ปีแห่งสิทธิมนุษยชน

UDHR ถูกเขียนขึ้นเพื่อมนุษย์ทุกหมู่เหล่าในทุกๆชาติ แม้มันจะไม่ใช่กฎหมายบังคับ แต่การปกป้องสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์ล้วนเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนกฎหมายและกลไกทางการปกครองของหลายๆ ประเทศ

ตัวปฏิญญานี้ก็เป็นรากฐานสำคัญของการเขียนสนธิสัญญาทางสิทธิมนุษยชนที่มีการบังคับใช้อีกมากมาย และกลายเป็นบรรทัดฐานของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนทุกชนชาติในโลก

ทุกวันนี้ UDHR ยังคงเป็นรากฐานในการร่างกฎหมายทั้งภายในและระหว่างประเทศ และสำหรับองค์กรที่ถูกก่อตั้งมาเพื่อปกป้องและสร้างความตระหนักถึงสิทธิในสังคมอย่างเช่นแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ปฎิญญานี้ก็คือภารกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กร

ดูทั้งหมด ซ่อน

องค์กรใดที่ประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

จากอดีตถึงปัจจุบัน

1946

นางเอเลนอร์ รูสเวลท์ (1884 - 1964) นักเขียนชาวอเมริกัน ผู้บรรยาย ทูต นักกิจกรรมเพื่อสังคม และภรรยาของประธานาธิบดีคนที่ 32 ของอเมริกา นายแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ กำลังฟังเนื้อหาการประชุมผ่านหูฟังในฐานะตัวแทนต่อสหประชาชาติ ณ สำนักงานใหญ่ชั่วคราวแห่งสหประชาชาติที่ทะเลสาบซักเซส รัฐนิวยอร์ค

องค์กรใดที่ประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

1948

องค์กรใดที่ประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

นางเอเลนอร์ รูสเวลท์ กรรมการคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน และ ดร. ชาร์ลส มาลิค กรรมการจากคณะกรรมาธิการที่สามในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (คนที่สองจากด้านขวา) ระหว่างการแถลงข่าวเสร็จสิ้นการร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

1950

องค์กรใดที่ประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

กลุ่มสตรีชาวญี่ปุ่นกำลังอ่านปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในระหว่างการเยือนสำนักงานใหญ่ชั่วคราวแห่งสหประชาชาติที่ทะเลสาบซักเซส รัฐนิวยอร์ค

1997

องค์กรใดที่ประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

เด็กๆ กำลังลงชื่อในคำปฏิญาณตนต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่รัฐสภานอร์เวย์ โดยคำปฏิญาณดังกล่าวจัดทำโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

1998

องค์ดาไลลามะที่สิบสี่ได้ลงนามในคำปฏิญาณตนต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ร่วมกับนางอนิต้า รอดดิกค์ และนายบิลล์ ชูลทส์ ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สหรัฐอเมริกา โดยคำปฏิญาณดังกล่าวจัดทำโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เนื่องในโอกาศครบรอบ 50 ปีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

องค์กรใดที่ประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

1998

นายมูฮัมหมัด อาลี นักมวยชื่อดัง ได้ลงนามในคำปฏิญาณตนต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ณ เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกาโดยคำปฏิญาณดังกล่าวจัดทำโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

องค์กรใดที่ประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

2008

องค์กรใดที่ประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ผู้คนเขียนบนกำแพงที่จัดแสดงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ระหว่างแรลลี่ที่จัดโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ในโอกาสครบรอบ 60 ปี ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

"สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสากล ไม่อาจแบ่งแยก และต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันเสมอ"

สิทธิมนุษยชนทุกข้อล้วนมีความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน และทุกรัฐบาลต้องให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนทุกข้ออย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม รัฐทุกรัฐมีหน้าที่ในการปกป้องและทำให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงสิทธิมนุษยชนได้โดยไม่คำนึงถึงอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของชาติ ทั้งของรัฐและของประชาชน

ดังนั้นไม่ว่ามนุษย์จะมีความแตกต่างอย่างไร หนึ่งบรรทัดฐานสำคัญที่เป็นหัวใจของสิทธิมนุษยชนทุกข้อที่ระบุไว้ในปฏิญญา ก็คือมนุษย์ทุกคนมีสิทธิโดยที่ใครก็พรากไปไม่ได้ นั่นหมายถึงไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ ยากดีมีจนอย่างไรล้วนได้รับสิทธิมนุษยชนเหมือนกันทุกๆคน ทุกๆชาติ ศาสนา อุดมการณ์ เพศสภาพ ภาษา ฝ่ายทางการเมือง เพราะในปฏิญญานี้ คำว่าสากลแปลว่าทุกๆคนในทุกๆที่

 

นอกจากนี้สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ไม่อาจแบ่งแยกได้และต้องพึ่งพากันเสมอ หากเสียไปแม้เพียงหนึ่งข้อ สิทธิที่เหลือก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน และไม่มีใครที่สามารถจะมาตัดสินให้สิทธิใดสำคัญกว่าสิทธิอื่นได้

ดูทั้งหมด ซ่อน

ปฏิญญา 30 ข้อมีอะไรบ้าง?

องค์กรใดที่ประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

แล้วแอมเนสตี้ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนอย่างไร?

UDHR คือรากฐานของเป้าหมายที่แอมเนสตี้และผู้สนับสนุนของเราอีกเจ็ดล้านคนรอบโลกต่อสู้เพื่อให้บรรลุในทุกๆ วันมามากกว่า 50 ปีนับตั้งแต่วันที่ก่อตั้ง พวกเรายังคงลงมือทำกิจกรรมและโครงการต่างๆเพื่อนำมาซึ่งความยุติธรรม เสรีภาพ ความจริงและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในทุกๆที่ ที่ประชาชนถูกพรากสิ่งเหล่านี้ไป 

เราทำสิ่งนี้ได้ด้วยการตรวจสอบและเปิดโปงการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ว่าจะเกิดขึ้นในที่ใดก็ตาม ด้วยการรวมพลังการเคลื่อนไหวจากรอบโลก เราส่องไฟให้โลกได้เห็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และช่วยกันเผยแพร่ข้อมูลให้คนรุ่นต่อไปสามารถทำให้สิทธิมนุษยชนได้กลายเป็นความจริง

องค์กรใดเป็นผู้ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

และเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 (ค.ศ. 1948) ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยการลงคะแนนเสียง ซึ่งมีประเทศลงคะแนนเสียงสนับสนุน 48 ประเทศ รวมทั้งไทย งดออกเสียง 8 ประเทศ และไม่มีประเทศใดลงคะแนนเสียงคัดค้าน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนฉบับนี้ถือเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ในการวางรากฐานด้าน ...

หน่วยงานใดเป็นผู้ก่อตั้งและดำเนินการจัดทำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้น

ปฏิญญาได้ถูกตอบรับในวันที่ 10 ธันวาคม 1948 โดยสหประชาชาติที่เพิ่งจะก่อตั้งได้ไม่นาน หลังจากชาวโลกต้องเผชิญกับ “การกระทำอย่างโหดร้ายป่าเถื่อน... ที่สร้างความเกรี้ยวกราดต่อจิตสำนึกของมวลมนุษยชาติ” ที่ได้เกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สอง การรับรองปฏิญญาในครั้งนั้นได้กลายเป็นรากฐานไปสู่อิสรภาพ ความยุติธรรม และความสงบสุข

หน่วยงานใดที่ดูแลเกี่ยวกับวันสิทธิมนุษยชนโลกมากที่สุด

เอชอาร์ดี จัดขึ้นโดย สหประชาชาติ

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติเป็นข้อตกลงของสหประชาชาติได้กำหนดขึ้น เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ใช้เป็นแนวทางในการคุ้มครองดูแลสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองประเทศของตน

องค์กรใดเป็นผู้ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หน่วยงานใดเป็นผู้ก่อตั้งและดำเนินการจัดทำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้น หน่วยงานใดที่ดูแลเกี่ยวกับวันสิทธิมนุษยชนโลกมากที่สุด ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร เฉลยใบงาน เรื่องปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสากล 30 ข้อ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มีอะไรบ้าง สิทธิมนุษยชน 30 ข้อ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มีกี่ข้อ สิทธิมนุษยชน 20 ข้อ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เกิดขึ้นเมื่อใด วันสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ คือวันใด