บริเวณอวัยวะใด

6 อวัยวะที่ไม่จำเป็นสำหรับมนุษย์อีกต่อไป

19 กุมภาพันธ์ 2020

เราต่างรู้ดีว่า ไส้ติ่ง คืออวัยวะไร้ประโยชน์ที่หลงเหลือมาจากกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์ แต่คุณทราบหรือไม่ว่านอกจากนี้แล้ว ยังมีอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายที่ไม่มีประโยชน์ใช้งานสำหรับคนยุคปัจจุบันอีกต่อไป

ดร.ดอร์ซา อามีร์ นักมานุษยวิทยาที่ศึกษาด้านวิวัฒนาการ ระบุว่า "ร่างกายของคุณก็คือพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติดี ๆ นี่เอง"

แล้วเหตุใดลักษณะสืบสายพันธุ์เหล่านี้ยังหลงเหลืออยู่ในร่างกายของเราแม้ว่ามันจะไม่มีประโยชน์แล้ว

  • ทารกในครรภ์มี "มือตุ๊กแก" กล้ามเนื้อชุดพิเศษที่สลายไปก่อนคลอด
  • ลักษณะที่หลงเหลือจากวิวัฒนาการ 6 อย่างที่พบในมนุษย์
  • ความเป็นมาของทฤษฎีวิวัฒนาการที่โด่งดังของดาร์วิน
  • เหตุใดบางคนจึงมีคุณสมบัติทางกายภาพเหนือคนทั่วไป?
  • มนุษย์อาจกำลังมีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมา

คำตอบจากผู้เชี่ยวชาญก็คือ เพราะวิวัฒนาการเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปนั่นเอง

ในบางครั้งก็ไม่มีแรงกดดันจากการคัดเลือกทางธรรมชาติเพียงพอที่จะขจัดลักษณะสืบสายพันธุ์ที่ไร้ประโยชน์บางอย่างไป ดังนั้นมันจึงยังหลงเหลืออยู่จากรุ่นสู่รุ่น ในบางกรณีลักษณะสืบสายพันธุ์เหล่านี้ได้พัฒนาประโยชน์การใช้งานใหม่ขึ้น ในกระบวนการที่เรียกว่า "การเปลี่ยนหน้าที่ของโครงสร้าง" (exaptation)

นี่คือ ลักษณะที่หลงเหลือจากวิวัฒนาการ 6 อย่างที่พบในมนุษย์ :

1. หางตัวอ่อนมนุษย์

ตัวอ่อนมนุษย์พัฒนาหางขึ้นมาในสัปดาห์แรก ๆ ของการปฏิสนธิ แต่หางนี้จะหายไปก่อนที่เราจะเกิด และกระดูกสันหลังที่เหลืออยู่จะกลายเป็นกระดูกก้นกบ

2. ฟันคุด

ฟันกรามซี่ที่ 3 ของมนุษย์มีประโยชน์น้อยลงเพราะคนเราเปลี่ยนไปรับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มและธัญพืชหุงสุก มนุษย์ยุคปัจจุบันไม่ได้มีฟันคุดกันทุกคน และทันตแพทย์หลายคนมักแนะนำให้ผ่าฟันคุดออกไป

3. กล้ามเนื้อออริคิวลาร์ (auricular muscles)

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นใช้กล้ามเนื้อส่วนนี้เพื่อขยับใบหู รวมทั้งใช้ตรวจจับฟังเสียงของเหยื่อและสัตว์นักล่าต่าง ๆ แต่สำหรับมนุษย์ซึ่งมีคอที่ยืดหยุ่นมากกว่าสำหรับการระแวดระวังภัย จึงไม่จำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนนี้อีกต่อไป

4. กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส (palmaris longus)

เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ตั้งแต่บริเวณข้อมือถึงข้อศอก มันช่วยบรรพบุรุษของเราในการปีนป่ายต้นไม้ ทว่าปัจจุบันมีมนุษย์ราว 10% ที่ไม่มีกล้ามเนื้อส่วนนี้อีกต่อไปแล้ว

5. กล้ามเนื้อเรียบ (arrector pili)

ในอดีตที่บรรพบุรุษของมนุษย์มีขนปกคลุมร่างกายอยู่มาก กล้ามเนื้อส่วนนี้ช่วยให้พวกเขา "พองขน" จนดูตัวใหญ่และน่าเกรงขามกว่าความเป็นจริง หรือเพื่อช่วยให้ร่างกายรักษาความร้อนเอาไว้ในสภาพอากาศหนาวเย็น

แต่ปัจจุบันเมื่อมนุษย์มีขนตามลำตัวน้อยลง กล้ามเนื้อส่วนนี้ทำให้เราเกิดเพียงอาการขนลุกเมื่อมันมีอาการหดตัวจากสิ่งเร้า

"เมื่อเราเริ่มมีขนน้อยลง ปฏิกิริยานี้จึงไร้ประโยชน์ ถึงขั้นที่มันไม่ได้ทำหน้าที่ดั้งเดิมตามธรรมชาติของมัน" ดร.อามีร์ กล่าว

6. หัวนมผู้ชาย

ทารกในครรภ์เพศชายและหญิง มีพัฒนาการแบบเดียวกันในช่วงแรก โดยหัวนมของเด็กชายพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ก่อนที่ฮอร์โมนจะเริ่มทำงานและกระตุ้นให้มีการพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย

ภาวะเชื้อราในช่องคลอด เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยของการอักเสบในช่องคลอด โดยผู้หญิง 3 ใน 4 คนเคยติดเชื้อราในช่องคลอดอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตและหลายคนติดเชื้ออย่างน้อยสองครั้ง ภาวะเชื้อราในช่องคลอดทำให้เกิดอาการบวม คันและระคายเคือง รวมถึงมีตกขาวออกจากช่องคลอดได้

ภาวะเชื้อราในช่องคลอดไม่ถือว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่การมีเพศสัมพันธ์เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อรา เชื้อราที่พบได้บ่อยที่สุดคือเชื้อ Candida Albicans รองลงมาคือเชื้อ Candida Grabata เพราะเป็นเชื้อที่สามารถยึดติดกับเซลล์บุช่องคลอดได้ดี

  • อาการของภาวะเชื้อราในช่องคลอด
  • เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
  • การวินิจฉัยภาวะเชื้อราในช่องคลอด
  • สาเหตุเกิดจากอะไร
  • ป้องกันได้อย่างไร
 

อาการของภาวะเชื้อราในช่องคลอด

อาการของภาวะติดเชื้อราในช่องคลอดมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงปานกลาง บางคนอาจไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ ถึงแม้จะติดเชื้อก็ตาม อาการที่พบได้มีดังนี้

  • คันและระคายเคืองบริเวณช่องคลอดหรือภายในช่องคลอด
  • มีอาการบวมบริเวณอวัยวะเพศ
  • รู้สึกแสบร้อนขณะมีเพศสัมพันธ์หรือปัสสาวะ
  • มีผื่นแดงบริเวณอวัยวะเพศ
  • มีตกขาวเป็นสีขาวครีมข้น ไม่มีกลิ่น บางครั้งอาจมีลักษณะเป็นน้ำได้เช่นกัน

ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะติดเชื้อราที่ซ้ำซ้อนหากมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีอาการบวม แดงคันที่รุนแรงจนทำให้เกิดแผลและเจ็บปวดบริเวณช่องคลอด
  • มีการติดเชื้อรา 4 ครั้งหรือมากกว่าต่อปี
  • ติดเชื้อราสายพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ Candida Albicans
  • กำลังตั้งครรภ์
  • เป็นโรคเบาหวานที่ไม่ได้ควบคุม
  • มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำเพราะโรคบางชนิด เช่น ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี
 

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

  • มีภาวะติดเชื้อราในช่องคลอดเป็นครั้งแรก เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่านั้นและต้องใช้วิธีการรักษาที่แตกต่างออกไป เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ หรือโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • หากผู้ป่วยกำลังตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนที่จะซื้อยามารักษาเอง
  • ติดเชื้อราในช่องคลอด 4 ครั้งหรือมากกว่าต่อปี แพทย์อาจต้องให้ยาต้านเชื้อรานานอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค นอกจากนี้การติดเชื้อราบ่อยครั้งอาจเป็นสัญญาณของโรคเบาหวานหรือโรคอื่นๆ ได้
 

การวินิจฉัยภาวะเชื้อราในช่องคลอด

แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการซักประวัติผู้ป่วย เช่น เคยมีประวัติเกิดการติดเชื้อราหรือมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อนหรือไม่ ตรวจภายในและตรวจดูความผิดปกติของลักษณะภายนอก หลังจากนั้นแพทย์จะเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากช่องคลอดเพื่อนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ

สาเหตุเกิดจากอะไร

การติดเชื้อราในช่องคลอดเกิดจากอะไร

  • การใช้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งทำลายเชื้อแบคทีเรียดีในช่องคลอด ทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องคลอด
  • ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเพิ่มมากขึ้น จากการตั้งครรภ์ การรับประทานยาคุมกำเนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงหรือการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด
  • โรคเบาหวานที่ไม่ได้ควบคุม ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่ได้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีความเสี่ยงในการติดเชื้อราในช่องคลอดมากขึ้น
  • ระบบภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้รับการบำบัดด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
 

ป้องกันได้อย่างไร

การปฏิบัติตัวตามหลักสุขอนามัยช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อราในช่องคลอดได้

  • รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สมดุล
  • รับประทานโยเกิร์ตหรืออาหารเสริมที่มีแลคโตบาซิลลัส ซึ่งช่วยรักษาสมดุลของความเป็นกรดด่างในช่องคลอด
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าลินินหรือผ้าไหม รวมถึงสวมกางเกงและกางเกงชั้นในที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด เพราะเป็นการนำเชื้อแบคทีเรียดีที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อออกจากร่างกาย
  • ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น
  • ไม่สวมใส่เสื้อผ้าเปียกชื้นเป็นเวลานาน เช่น ชุดว่ายน้ำหรือชุดออกกำลัง
  • ไม่ใช้แผ่นอนามัยและเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างสม่ำเสมอขณะมีประจำเดือน เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้น
 

  เรียบเรียงโดย พญ. ปรียานาถ กำจรฤทธิ์   ศูนย์สูติ-นรีเวช  โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

  • ศูนย์สูติ-นรีเวช
    8.00-20.00  (BKK Time)
    Hot line tel. +66 63 189 3406

    20.00-8.00 (BKK Time)
    เบอร์ Contact center +662 066 8888 และ 1378