ข้อใดกล่าว ถึง ลักษณะ บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ ลูก ไม่ ถูก ต้อง

แกจะมาให้แม่ลออเป็นหมาหัวเน่าหรือ หมาหัวเน่า ในที่นี้มีความหมายว่าอย่างไร

a) บุคคลที่มีนิสัยไม่ดี

b) บุคคลที่สังคมรังเกียจ

c) บุคคลที่ไม่มีคุณลักษณะของกุลสตรี

d) บุคคลที่รูปร่างอัปลักษณ์

ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะของบทละครพูด

a) การกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ

b) การเคารพนับถือผู้ใหญ่

c) การมีน้ำใจต่อผู้อื่น

d) การมีปิยวาจา

นิสัยข้อใดของแม่ลออ ที่นักเรียนสามารถนำมาเป็นแบบอย่างในชีวิตได้

a) การสนทนาโต้ตอบของตัวละคร

b) สอดแทรกแนวคิด ข้อคิด คติเตือนใจ

c) เป็นการแสดงที่จำลองชีวิตจริง

d) มีบทร้อยกรองประกอบ และการร่ายรำประกอบ

นายล้ำมอบสิ่งใดเป็นของขวัญวันแต่งงานแก่แม่ลออ

a) สร้อยของแม่นวลที่นายล้ำซื้อให้

b) แหวนรักของนายล้ำที่ใส่มาตั้งแต่ยังหนุ่ม

c) แหวนของแม่นวลที่นายล้ำเก็บไว้ดูต่างหน้า

d)

จากบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก นักเรียนคิดว่าลักษณะของตัวละครใดที่มีพฤติกรรมสอดคล้องกับชื่อเรื่อง

a) นายล้ำ

b) แม่ลออ

c) อ้ายคำ

d) พระยาภักดีนฤนาถ

เพราะเหตุใดพระยาภักดีฯ จึงให้เงินนายล้ำและขอร้องแกมบังคับให้รีบหนีไป

a) ให้ไปตั้งตัวใหม่

b) ให้ตอบแทนที่สำนึกตัวได้

c) ตอบแทนนายล้ำที่ยกแม่ลออให้

d) ให้เป็นสินน้ำใจในฐานะเพื่อนเก่า

จากบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก การที่นายล้ำยอมกลับโดยไม่เปิดเผยให้แม่ลออรู้ เพราะสาเหตุใดเป็นสำคัญ

a) เพื่อพิสูจน์ความเป็นชายชาตรี

b) เพื่อเอาชนะคำสบประมาทของพระยาภักดี

c) เพื่อแสดงว่าตนมีศักดิ์ศรี

d) เพื่อให้แม่ลออมีชีวิตที่สุขสบาย

“เห็นได้ว่าเป็นคนกินเหล้าจัด แต่งกายจะค่อนข้างจะปอน ๆ แต่ยังเห็นได้ว่าเคยเป็นผู้ดีมาครั้งหนึ่งแล้ว” นักเรียนคิดว่าข้อใดแสดงให้เห็นว่าเคยเป็นผู้ดี ?

a) รูปร่าง

b) คำพูด

c) หน้าตา

d) บุคลิกภาพ

อ้ายคำปฏิบัติต่อแขกของนายเหมาะสมหรือไม่ เพราะเหตุใด

a) เหมาะสม เพราะสุภาพและรักษาประโยชน์ของนาย

b) หมาะสม เพราะแขกแต่งตัวสกปรก

c) ไม่เหมาะสม เพราะไม่ควรให้แขกเข้าบ้านเมื่อไม่น่าไว้วางใจ

d) ไม่เหมาะสม เพราะอ้ายคำเป็นแค่บ่าว

พฤติกรรมทั่วไปของนายล้ำ แสดงให้เห็นว่าเป็นคนเช่นไร

a) ฉ้อโกง

b) เกียจคร้าน

c) ไม่รับผิดชอบ

d) ไม่ชอบทำงานประจำ

อ้ายคำเป็นแบบอย่างที่ดีเด่นชัดในเรื่องใด

a) มีความกตัญญู

b) มีความเสียสละ

c) ไม่ไว้ใจคนแปลกหน้า

d) มีความซื่อ

การที่นายล้ำประพฤติผิดจนกลายเป็นคนสิ้นไร้ไม้ตอกและคิดประกอบอาชีพสุจริตในตอนท้าย ให้ข้อคิดเรื่องใด

a) ผู้หลงผิดเมื่อกลับตัวได้ย่อมได้รับความชื่นชมจากชนทุกชั้น

b) พฤติกรรมมีส่วนสำคัญในการกำหนดชะตาชีวิตมนุษย์

c) โชคร้ายเป็นเรื่องของเคราะห์กรรมที่ไม่มีใครฝ่าฝืนได้

d) มนุษย์ย่อมทำได้ทุกอย่างเพื่อความอยู่รอดเมื่อไม่มีทางเลือก

เมื่ออ่านบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกแล้ว สิ่งที่น่าประทับใจมากที่สุด คือข้อใด

a) ความรักของพ่อกับลูก

b) ความรักในครอบครัว

c) ความรักของหนุ่มสาว

d) ความรักของชู้

ข้อใด ไม่ใช่ ผู้แต่งบทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ลูก

a) พระขรรค์เพชร

b) พระมหาธีรราชเจ้า

c) พระยาอุปกิตศิลปสาร

d) พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

ข้อใดเป็นลักษณะที่สำคัญที่สุดของบทละครพูด

a) มีข้อคิดแลคติธรรม

b) สร้างอารมณ์สะเทือนใจ

c) ดำเนินเรื่องด้วยบทสนทนา

d) มีการบรรยายฉาก

ข้อใดกล่าว ถึง ลักษณะ บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ ลูก ไม่ ถูก ต้อง

มีคำกล่าวว่าความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกนั้นยิ่งใหญ่ที่สุด เพื่อน ๆ เห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ไหม

แน่นอนว่าต้องมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บทเรียนออนไลน์จาก StartDee ในวันนี้จึงอยากพาเพื่อน ๆ ไปอ่านบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก บทละครที่ถ่ายทอดความรักอันยิ่งใหญ่ของคุณพ่อทั้งสองที่มีต่อลูก อ่านมาถึงตรงนี้เพื่อน ๆ คงสงสัยว่า ‘ทำไมถึงมีคุณพ่อตั้งสองคนล่ะ ?’ เรื่องราวจะเป็นมาอย่างไร ติดตามต่อได้ในบทความนี้เลย ! 

หรือจะดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee เพื่อรับชมแอนิเมชันสนุก ๆ ก็ได้เช่นกัน

ข้อใดกล่าว ถึง ลักษณะ บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ ลูก ไม่ ถูก ต้อง

ประวัติความเป็นมาและผู้แต่งบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครเรื่องเห็นแก่ลูกเป็นบทละครพูดขนาดสั้นที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโดยใช้พระนามแฝงว่า ‘พระขรรค์เพชร’ หากเพื่อน ๆ ลองสังเกตงานพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๖ ก็จะพบว่าทรงมีพระนามแฝงหลายพระนามมาก และนามแฝงเหล่านี้จะมีไว้เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน อย่างเช่น อัศวพาหุที่เป็นนามแฝงสำหรับบทความเกี่ยวกับการเมือง และพระขรรค์เพชรที่เป็นนามแฝงสำหรับบทละคร โดยบทละครเหล่านี้มักสอดแทรกแนวคิดเพื่อชี้นำสังคม และทำหน้าที่เป็น ‘เครื่องอบรมจิตใจประชาชน’ เสมอ ๆ 

สำหรับพล็อตเรื่อง รัชกาลที่ ๖ ทรง ‘คิดพล็อต’ บทละครเรื่องเห็นแก่ลูกขึ้นเองทั้งหมด โดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุลสันนิษฐานว่า บทละครเรื่องเห็นแก่ลูกนั้นเป็นบทละครพูดภาษาไทยเรื่องแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโดยมิได้ดัดแปลงมาจากเรื่องอื่นในภาษาอื่น เนื้อเรื่องและฉากของบทละครเรื่องเห็นแก่ลูกจึงสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย แต่ก็มีกลิ่นอายความเป็นบทละครพูด ‘อย่างตะวันตก’ อย่างที่ทรงโปรด

บทละครเรื่องเห็นแก่ลูกนั้นมีความยาวเพียงองก์เดียว (ตอนเดียว) มีฉากเดียว และมีปมเรื่องที่ไม่ซับซ้อน แต่ก็มีความสนุกสนานและให้ข้อคิดที่ดี และหลังจากเผยแพร่เป็นภาษาไทย บทละครเรื่องเห็นแก่ลูกยังได้รับการแปลเป็นภาษาอื่น ๆ อีกกว่า ๑๓ ภาษา เช่น ภาษาเกาหลี จีน ญี่ปุ่น นอร์เวย ฝรั่งเศส มาเลย์ รัสเซีย สเปน สิงหล (ภาษาที่ใช้ในประเทศศรีลังกา) อังกฤษ อาหรับ อินโดนีเซีย และภาษาฮินดี (ภาษาที่ใช้ในประเทศอินเดียตอนกลางและตอนเหนือ)

แนะนำตัวละครในบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก

ด้วยความที่เป็นบทละครพูดเพียงองก์เดียว ตัวละครในบทละครเรื่องเห็นแก่ลูกจึงมีไม่มาก ดังนี้ 

นายล้ำ (ทิพเดชะ)

นายล้ำคือพ่อที่แท้จริงของแม่ลออ ในอดีตนายล้ำเคยรับราชการมีราชทินนามว่า ‘ทิพเดชะ’ แต่เนื่องจากถูกจับได้ว่าทุจริตนายล้ำจึงต้องโทษจำคุก และเมื่อพ้นโทษก็ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ปัจจุบันนายล้ำจึงเป็นชายวัยกลางคน อายุราว ๔๐ ปี หน้าตาทรุดโทรมและการแต่งกายซอมซ่อเนื่องจากติดสุราหนักและฐานะไม่ค่อยจะดีนัก

พระยาภักดีนฤนาถ

พระยาภักดีนฤนาถเป็นเกลอ (เพื่อน) เก่าของนายล้ำตั้งแต่สมัยที่รับราชการอยู่ด้วยกัน ปัจจุบันพระยาภักดีนฤนาถก็ยังรับราชการอยู่และได้เป็นใหญ่เป็นโต นอกจากนี้พระยาภักดีนฤนาถยังเป็น ‘พ่อบุญธรรม’ ของแม่ลออ บุตรของนายล้ำอีกด้วย

แม่ลออ

แม่ลออเป็นหญิงสาวอายุ ๑๗ ปี มีกิริยามารยาทที่เพียบพร้อม เป็นบุตรของนายล้ำและแม่นวล แต่นายล้ำทิ้งแม่ลออไปตั้งแต่ ๒ ขวบและไม่เคยได้เลี้ยงดูแม่ลออในฐานะพ่อเลย ปัจจุบันแม่ลออกำลังจะแต่งงานกับนายทองคำ ลูกชายของเจ้าคุณรณชิตซึ่งเป็นเศรษฐี

อ้ายคำ

คนใช้ของบ้านพระยาภักดีนฤนาถ เป็นคนซื่อสัตย์ รู้หน้าที่ และไม่ไว้ใจใครง่าย ๆ

เรื่องย่อบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก

นายล้ำไปหาพระยาภักดีนฤนาถที่บ้าน แต่ขณะนั้นพระยาภักดีนฤนาถยังไม่กลับจากที่ทำงาน นายล้ำจึงได้เจอกับ ‘อ้ายคำ’ คนใช้ของบ้านพระยาภักดีนฤนาถ นายล้ำตัดสินใจนั่งรอจนกว่าพระยาภักดีนฤนาถจะกลับ อ้ายคำก็เฝ้านายล้ำอยู่ไม่ไปไหน เพราะการแต่งกายและลักษณะหน้าตาของนายล้ำนั้นดูไม่น่าไว้ใจ อ้ายคำก็กลัวว่าจะเป็นโจร

จนกระทั่งพระยาภักดีนฤนาถกลับมาถึงบ้าน นายล้ำจึงกล่าวทักทายพระยาภักดีนฤนาถ แต่ด้วยความที่ไม่ได้พบกันนานและนายล้ำก็เปลี่ยนไปมาก พระยาภักดีนฤนาถจึงต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะจำนายล้ำได้ จากนั้นทั้งสองจึงพูดคุยถามไถ่ความเป็นอยู่กันและกัน

นายล้ำเล่าถึงชีวิตของตนหลังออกจากคุกจนต้องหนีไปอยู่ที่เมืองพิษณุโลกเพราะไม่กล้าสู้หน้าใคร นายล้ำต้องการงานใหม่ที่สบายและได้ผลกำไรดี ในช่วงแรกนายล้ำพยายามหางานตำแหน่งเสมียนบาญชี (พนักงานบัญชี) แต่ก็ไม่มีใครรับ นายล้ำจึงหันไปทำการค้าขายฝิ่นกับจีนกิมและจีนเง็ก เกือบโดนจับแต่ก็รอดมาได้เพราะได้หมอความ (ทนายความ) ฝีมือดีช่วยแก้ต่างให้

พระยาภักดีนฤนาถจึงถามนายล้ำว่าที่มาหาถึงบ้านนั้นต้องการอะไร นายล้ำที่หมดหนทางทำกิน และได้ข่าวว่าแม่ลออ ลูกสาวแท้ ๆ ของตนกำลังจะแต่งงานกับลูกเศรษฐี จึงตั้งใจมาหาแม่ลออเพื่อเปิดเผยความจริงว่าตนเป็นพ่อและหวังให้แม่ลออเลี้ยงดู แต่พระยาภักดีนฤนาถก็ไม่เต็มใจให้นายล้ำพบกับแม่ลออ เกิดการโต้เถียงกันขึ้นมาใหญ่โต นายล้ำตัดพ้อว่าตนไม่ใช่ผู้เดียวที่เคยทำผิดพลาด พร้อมประชดว่าพระยาภักดีนฤนาถไม่เคยติดคุก คงไม่เข้าใจความลำบากนี้ คนที่เคยมีประวัติไม่ดี ทำดีไปก็ไม่มีใครสนใจ สู้ประพฤติชั่วไปเลยยังจะดีเสียกว่า พร้อมบอกว่าอยากเห็นหน้าแม่ลออ และต้องการมาช่วยงานแต่งงานที่จะถึงนี้ด้วย แต่พระยาภักดีนฤนาถไม่อยากให้แม่ลออมาคบค้าสมาคมกับคนมีมลทินอย่างนายล้ำ พร้อมโต้กลับไปว่าแม่ลออนั้นใช่ลูกของนายล้ำจริง ๆ หรือ เพราะนายล้ำเองก็ติดคุก ไม่ได้เลี้ยงดูแม่ลออตั้งแต่ยังเล็ก แม่ลออเองก็เคยเห็นนายล้ำแค่ในรูปถ่าย และก่อนแม่นวล (เมียของนายล้ำ ซึ่งเป็นแม่ของแม่ลออ) จะตาย แม่นวลก็ฝากฝังแม่ลออไว้กับพระยาภักดีนฤนาถ พระยาภักดีนฤนาถเองก็รักและเลี้ยงดูแม่ลออเหมือนลูกแท้ ๆ มาตลอด และบอกว่าพ่อที่แท้จริงของแม่ลออนั้นเสียชีวิตไปแล้ว นายล้ำรู้ตัวว่าตนบกพร่องในหน้าที่ของพ่อจึงอยากจะขอโอกาสอีกครั้ง แต่พระยาภักดีนฤนาถก็เห็นว่าสายไปเสียแล้ว และรู้ทันว่านายล้ำต้องการเงิน พระยาภักดีนฤนาถจึงเสนอเงินให้นายล้ำพร้อมขอให้กลับไปเสีย แต่นายล้ำก็ไม่ยอมเพราะเห็นว่าเงินนี้ใช้เดี๋ยวเดียวก็หมด ไม่ยั่งยืนเท่าการอยู่ให้แม่ลออเลี้ยงดูปูเสื่อ พระยาภักดีนฤนาถจึงเริ่มโกรธจึงไล่นายล้ำให้ออกจากบ้านไปซะ ยิ่งนายล้ำหัวเราะเยาะก็ยิ่งยั่วให้พระยาภักดีนฤนาถโมโหจนหยิบแส้มาไล่ฟาดนายล้ำ

ขณะที่เหตุการณ์กำลังวุ่นวาย แม่ลออก็กลับมาถึงบ้านพอดี เมื่อเห็นคนแปลกหน้าอยู่ในบ้าน แม่ลออจึงถามพระยาภักดีนฤนาถว่านายล้ำเป็นใคร พระยาภักดีนฤนาถจึงตอบว่านายล้ำเป็นเพื่อนเก่า เคยเห็นแม่ลออตั้งแต่ยังเล็ก ๆ และรู้จักแม่นวลเป็นอย่างดี เมื่อได้ยินดังนั้นแม่ลออจึงสอบถามนายล้ำว่ารู้จักพ่อของตนที่ตายไปแล้วบ้างไหม พ่อของตนมีมีนิสัยใจคออย่างไร เพราะตนเองเคยเห็นพ่อแต่ในรูปถ่าย และมั่นใจว่าพ่อของตนจะต้องเป็นคนดีแน่นอน หากใครบอกว่าพ่อของตนเป็นคนไม่ดีนั้นก็คงไม่เชื่อเด็ดขาด

นายล้ำได้ยินดังนั้นก็รู้สึกละอายใจและไม่อยากลบภาพพ่อในอุดมคติที่แม่ลออคิดไว้ จึงล้มเลิกความตั้งใจที่จะเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงกับแม่ลออ เพื่ออนาคตที่ดีของแม่ลออ นายล้ำคิดว่าตนควรเดินออกจากชีวิตของลูกไปคงจะดีกว่า ดังนั้นเมื่อแม่ลออชวนนายล้ำมารดน้ำสังข์ในงานแต่งของตน นายล้ำจึงปฏิเสธว่าต้องไปทำธุระที่พิษณุโลก แต่ได้ฝากแหวนของแม่นวลไว้เพื่อเป็นของรับไหว้ในวันแต่งงานของแม่ลออ และกำชับกับพระยาภักดีนฤนาถว่าอย่าบอกความจริงกับแม่ลออเป็นอันขาดว่าตนเป็นพ่อ และด้วยความปรารถนาดีต่อเพื่อนเก่า ก่อนจากกัน พระยาภักดีนฤนาถจึงมอบเงินให้นายล้ำไปตั้งตัวใหม่ พร้อมมอบรูปของแม่ลออไว้ให้นายล้ำดูต่างหน้า

ข้อใดกล่าว ถึง ลักษณะ บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ ลูก ไม่ ถูก ต้อง

วิเคราะห์ลักษณะนิสัยของตัวละครในบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก

ตัวละครทุกตัวในบทละครเรื่องเห็นแก่ลูกนั้นมี ‘คาแรกเตอร์’ ที่ชัดเจน การวิเคราะห์ลักษณะนิสัยของตัวละครจึงทำให้เห็นความเป็นเหตุเป็นผลในการกระทำต่าง ๆ ของตัวละครในเรื่องได้เป็นอย่างดี ลักษณะนิสัยที่โดดเด่นของตัวละครในเรื่องมีดังนี้

นายล้ำ (ทิพเดชะ)

๑. ความเห็นแก่ตัว ทั้งตอนค้าฝิ่นที่โยนความผิดให้จีนกิมจีนเง็ก และเมื่อหมดทางหากินก็หวังจะมีชีวิตที่สุขสบายด้วยการให้แม่ลออเลี้ยงดู

๒. ความเสียสละเพื่อลูก แม้จะไม่ได้เลี้ยงดูแม่ลออมาตั้งแต่เด็ก แต่นายล้ำก็ยังมีความรู้สึก ‘เห็นแก่ลูก’ อยู่ เพราะเมื่อสำนึกได้ นายล้ำก็ยอมเสียสละและทิ้งหนทางสบายเพื่อให้ลูกได้มีอนาคตที่ดี

๓. รักความสบาย นายล้ำรักความสบาย ชอบทางลัด และเลือกทำงานที่ได้เงินเร็วทั้งการทุจริตและการค้าฝิ่น และเมื่อหมดหนทางทำมาหากิน นายล้ำก็ยังหวังว่าแม่ลออจะเลี้ยงดูตน

๔. ฉลาดแกมโกง ความรักสบายของนายล้ำทำให้เลือกทำงานไม่สุจริต และเมื่อตอนค้าฝิ่นก็เกือบจะโดนจับได้ แต่นายล้ำก็รอดมาได้ด้วยความฉลาดแกมโกง โยนความผิดให้จีนกิมจีนเง็กจนตัวเองพ้นผิดไปได้

พระยาภักดีนฤนาถ

๑.​ มีความเมตตากรุณา

พระยาภักดีนฤนาถมีความเมตตากรุณา และเป็นผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน จะเห็นได้จากความเมตตาที่เลี้ยงแม่ลออจนเติบใหญ่ รวมถึงความเมตตาที่มีต่อนายล้ำ ดังจะเห็นได้จากการสนับสนุนให้เพื่อนเก่าได้โอกาสตั้งตัวใหม่ 

๒. มีจิตวิญญาณของความเป็นพ่อและปรารถนาจะให้แม่ลออมีอนาคตที่ดี 

๓. เป็นคนที่มีวาจาสัตย์ เมื่อรับปากแม่นวลไว้ว่าจะเลี้ยงแม่ลออให้ดี ก็ทำได้ตามที่รับปาก

แม่ลออ

๑. มีกิริยามารยาทงดงาม รู้จักกาลเทศะ สะท้อนถึงการเลี้ยงดูของพระยาภักดีนฤนาถที่ใส่ใจและอบรมสั่งสอนบุตรเป็นอย่างดี

๒.​  เป็นคนมองโลกในแง่ดี แม้จะไม่รู้จักนิสัยใจคอของพ่อที่แท้จริง แต่แม่ลออก็คิดว่าพ่อของตนเป็นคนดีไว้ก่อน

๓. พูดจาสุภาพอ่อนหวาน เคารพผู้หลักผู้ใหญ่

ข้อคิดจากบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก

นอกจากเรื่องราวจะสนุกเข้มข้นชวนติดตาม บทละครเรื่องเห็นแก่ลูกยังแฝงข้อคิดไว้มากมาย เช่น

๑. บุพการีพร้อมจะเสียสละเพื่อลูก ทั้งนายล้ำที่แม้จะทำหน้าที่ของพ่อไม่สมบูรณ์ และไม่ได้เลี้ยงดูแม่ลออจนเติบใหญ่ แต่นายล้ำก็รักลูกมาก จึงเลือกเสียสละเดินออกมาจากชีวิตของแม่ลออเพื่อให้ลูกสาวของตนมีอนาคตที่สดใส

๒. ไม่มีความรักใดยิ่งใหญ่เท่าความรักที่บุพการีมีต่อบุตร ทั้งนายล้ำที่เป็นพ่อที่แท้จริงและพระยาภักดีนฤนาถที่เป็นพ่อบุญธรรม ต่างก็ปรารถนาดีต่อแม่ลออและอยากให้แม่ลออมีอนาคตที่สดใส

๓. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทั้งพระยาภักดีที่รับปากแม่นวลไว้ว่าจะดูแลแม่ลออ จึงเลี้ยงแม่ลอออย่างดีประหนึ่งลูกแท้ ๆ และอ้ายคำที่ปฏิบัติหน้าที่ของคนใช้เป็นอย่างดี นั่งเฝ้านายล้ำตลอดไม่ยอมลุกไปไหนก็ถือว่าเป็นการรับผิดชอบต่อหน้าที่เช่นเดียวกัน

๔. ความซื่อสัตย์สุจริตทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ส่วนความโลภมากและการทุจริตจะทำให้ชีวิตเจอแต่ความยากลำบาก เหมือนกับพระยาภักดีนฤนาถที่ตั้งใจรับราชการอย่างสุจริตจนได้เป็นใหญ่เป็นโตในหน้าที่การงาน กลับกันกับนายล้ำที่ทุจริตจนต้องโทษอยู่หลายปี และเมื่อพ้นโทษและอยากเริ่มต้นใหม่ก็พบแต่เรื่องที่ยากลำบาก

๕. การให้โอกาสต่อผู้ที่สำนึกผิด ในท้ายที่สุด เมื่อนายล้ำสำนึกผิดจริง ๆ พระยาภักดีนฤนาถก็ให้โอกาสและสนับสนุนให้นายล้ำได้ตั้งตัวใหม่อีกครั้ง

รู้หรือไม่ ?: คำศัพท์น่ารู้และคำทับศัพท์ในบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก

นอกจากรูปแบบของบทละครพูดที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก คำศัพท์ในบทละครเรื่องเห็นแก่ลูกก็มี คำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ เช่นกัน อย่างเช่นคำว่าออฟฟิศ (Office) ที่หมายถึงสำนักงาน ก็ปรากฏให้เห็นในบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก 

จากเรื่องราวทั้งหมดเราจึงเข้าใจได้ว่า ‘เห็นแก่ลูก’ นั้นหมายถึงความปรารถนาดีของบุพการีที่มีต่อบุตร ทั้งนายล้ำที่เป็นพ่อผู้ให้กำเนิดแต่ไม่ได้เลี้ยงดูแม่ลออ และพระยาภักดีนฤนาถที่คอยเลี้ยงดูแม่ลออไม่ต่างจากลูกแท้ ๆ ถึงจะแตกต่างกัน แต่พ่อทั้งสองคนก็รักและปรารถนาดีต่อลูกไม่แพ้กันเลย และนอกจากบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ยังมีวรรณคดีสนุก ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร บทพากย์เอราวัณ และ อิศรญาณภาษิต อย่าลืมไปตามอ่านกันให้ครบนะ !

ขอบคุณข้อมูลจาก:

1. ธีรศักดิ์ จิระตราชู (ครูหนึ่ง)