แผนที่ตาม มาตราส่วน ในข้อใดที่ให้ ราย ละเอียด มาก แต่ มี อาณา บริเวณ แคบ

    แผนที่เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกลงบนวัสดุแบนราบด้วยการย่อขนาดให้เล็กลงโดยใช้มาตราส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งที่มีอยู่จริงบนพื้นผิวโลก 

แผนที่เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญต่อการเรียนวิชาภูมิศาสตร์มาก เพราะการศึกษาวิชานี้จะต้องกล่าวสถานที่ต่างๆ บนพื้นผิวโลกเสมอ ถ้าเรารู้จักแต่ชื่อสถานที่เหล่านั้น แต่ไม่เคยไปสถานที่นั้นมาก่อน อาจนึกภาพไม่ออกว่าสถานที่นั้นตั้งอยู่ที่ใด มีสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร แผนที่จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถเข้าใจสิ่งที่ปรากฏในพื้นที่จริงได้ง่ายขึ้นและนำติดตัวไปใช้ได้สะดวก 

    การนำแผนที่มาใช้ในการศึกษาภูมิศาสตร์ผู้ใช้ควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแผนที่ในด้านต่างๆ อาทิ ชนิดของแผนที่ องค์ประกอบของแผนที่ เพื่อที่จะสามารถอ่านและแปลความหมายของแผนที่นั้นๆ ได้ 

1.1.1 ชนิดของแผนที่

ชนิดของแผนที่ที่แบ่งได้หลายแบบแล้วแต่ว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ ในที่นี้จะแบ่งตามลักษณ์การใช้และแบ่งตามมาตราส่วนของแผนที่ 

  •  การแบ่งแผนที่ตามลักษณ์การใช้

พื้นที่โลกมีอาณาเขตและสิ่งที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกหลากหลาย การแสดงรายละเอียดของทุกสิ่งทุกอย่างในแผนที่อาจทำได้สมบรูณ์ครบถ้วน จึงมีการทำแผนที่แสดงรายละเอียดรูปแบบต่างๆ แยกออกจากกันตามลักษณะการใช้ แบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่

    แผนที่อ้างอิง เป็นแผนที่ที่ใช้สำหรับอ้างอิงข้อมูลในการทำเเผนที่ชนิดอื่นๆ

    แผนที่เฉพาะเรื่อง เป็นเเผนที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

    แผนที่เล่ม เป็นเเผนที่ที่นำแผนที่หลายๆชนิด มารวมเข้าไว้ในเล่มเดียวกัน

  • การแบ่งแผนที่ตามมาตราส่วนของแผนที่

แผนที่ที่แบ่งตามขนาดของมาตราส่วน สำหรับประเทศไทยกรมแผนที่ทหารกำหนดไว้ดังนี้

   แผนที่มาตราส่วนขนาดใหญ่ ได้แก่ แผนที่ที่มีมาตราส่วนเท่ากับหรือใหญ่กว่า 1:75000 ใช้สำหรับเขียนแผนที่ของพื้นที่ขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถบรรจุรายละเอียดที่ปรากฎในภูมิประเทศลงในแผนที่ได้มากตามที่ต้องการ
   แผนที่มาตราส่วนขนาดกลาง ได้แก่แผนที่มาตราส่วน 1:75000 ถึง 1:600000 ใช้เขียนแผนที่ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่เพื่อแสดงเฉพาะรายละเอียดที่สำคัญ
   แผนที่มาตราส่วนขนาดเล็ก ได้แก่แผนที่ที่มีมาตราส่วนเท่ากับหรือเล็กกว่า 1:600000 มาตราส่วนขนาดเล็กใช้เขียนแผนที่ของบริเวณที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ จึงสามารถแสดงได้เฉพาะลักษณะที่สำคัญเท่านั้น ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยที่ปรากฎในภูมิประเทศย่อมไม่สามารถเขียนลงในแผนที่ชนิดนี้ได้หมด
 1.1.2 องค์ประกอบของแผนที่

 การใช้แผนที่ให้ปฏิบัติงานได้ดีนั้น จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ ของแผนที่ ได้แก่ ชื่อแผนที่ ชื่อภูมิศาสตร์ ทิศ มาตราส่วน สัญลักษณ์และสี

  • ชื่อแผนที่ ชื่อแผนที่เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่บอกว่าแผนที่นั้นเป็นแผนที่แสดงข้อมูลอะไร เช่น แผนที่ท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี เป็นแผนที่แสดงถนนสายสำคัญ แหล่งท่องเที่ยว ศาสนสถานและขอบเขตการปกครองย่อยของจังหวัดกาญจนบุรี
  • ชื่อภูมิศาสตร์ คือ ตัวอักษรที่ใช้บอกชื่อเฉพาะที่มีความสำคัญในแผนที่ รูปแบบชื่อภูมิศาสตร์ที่นิยมใช้ในแผนที่ทั่วไป มีดังนี้ 

 ชื่อภูมิศาสตร์  รูปเเบบ  ตัวอย่าง
 ทวีป ประเทศ รัฐ เกาะใหญ่ และคาบสมุทร   ใช้ตัวตรง ภาษาอังกฤษ ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ทวีปเอเชีย   ASIA
ประเทศไทย  THAILAND
 เมืองหลวง เมืองใหญ่   ใช้ตัวตรง ภาษาอังกฤษตัวแรกใช้ตัวพิมพ์ใหญ่และต่อด้วยตัวพิมพ์เล็ก กรุงเทพฯ   Bangkok
วอชิงตัน ดี.ซี.  Washington D.C.

  •  ทิศ แผนที่ต้องกำหนดทิศไว้ เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่สามารถบอกความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ ที่ปรากฎในแผนที่นั้นได้ถูกต้อง แนวทิศเหนือมีอยู่ 3 ชนิด คือ ทิศเหนือจริง ทิศเหนือแม่เหล็ก ทิศเหนือกริด
  • มาตราส่วนแสดงให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางในเเผนที่กับระยะทางจริงบนผิวโลก เนื่องจากแผนที่เป็นภาพย่อส่วนของผิวโลกจึงจำเป็นต้องมีมาตราส่วนกำกับไว้ในแผนที่ด้วย มาตราส่วนที่นิยมใช้มี 3 ชนิด คือ มาตราส่วนคำพูด มาตราส่วนเส้น มาตราส่วนแบบเศษส่วน
  • สัญลักษณ์สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนผิวโลกและนำมาแสดงไว้บนแผนที่ ไม่สามารถแสดงเหมือนจริงได้ สัญลักษณ์แบ่งได้ 3 ประเภท คือ สัญลักษณ์ที่เป็นจุด สัญลักษณ์ที่เป็นเส้น สัญลักษณ์ที่เป็นพื้นที่
  • สี สีที่ใช้เป็นมาตราในแผนที่มี 5 สี คือ 

สีดำ  ใช้แทนสิ่งต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น

สีแดง  ใช้แทนถนนและรายละเอียดพิเศษอื่นๆ

สีฟ้า  ใช้แทนบริเวณที่เป็นน้ำ

สีน้ำตาล  ใช้แทนความสูง

สีเขียว  ใช้แทนพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ทางการเกษตร

1.1.3 แผนที่ภูมิประเทศ

 แผนที่ภูมิประเทศเป็นแผนที่เเสดงข้อมูลลักษณะภูมิประเทศบนพื้นผิวโลก โดยจะแสดงระดับความสูง-ต่ำของภูมิประเทศด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ

 การบอกระดับความสูง-ต่ำของภูมิประเทศจะใช้ระดับทะเลปานกลางเป็นเกณฑ์กำหนดความสูง ในเเผนที่นิยมแสดงระดับความสูง-ต่ำไว้ 4 รูปแบบ ดังนี้

  • เส้นชั้นความสูงคือ เส้นสมมุติที่ลากผ่านบริเวณต่างๆของภูมิประเทศ ที่มีความสูงเท่ากัน โดยมีตัวเลขกำกับค่าระดับความสูงของเส้นชั้นความสูงนั้นๆ
  • การใช้แถบสี คือ การจำแนกความแตกต่างของลักษณะภูมิประเทศทั้งที่เป็นพื้นดินและพื้นน้ำโดยใช้แถบสี
  • เส้นลายขวานสับหรือเส้นลาดเขาเป็นเส้นขีดสั้นๆ เรียงกันตามทิศทางลาดของพื้นดินเพื่อแสดงรูปทรงของภูมิประเทศนั้นๆ หากเป็นพื้นที่ชันสัญลักษณ์ในแผนที่ภูมิประเทศจะแสดงด้วยเส้นขีดที่สั้นหนาและชิดกัน หากเป็นพื้นที่ลาดเทมักจะแสดงด้วยเส้นขีดยาวบางและห่างลายขวานสับแสดงให้ทราบเฉพาะความสูงของภูมิประเทศ ส่วนความสูงที่แผนที่กำหนดขึ้นเป็นตัวเลขไม่นิยมแสดงไว้แผนที่ที่แสดงด้วยเส้นลายขวานสับ
  • การแรเงา เป็นการแสดงความสูงของภูมิประเทศอย่างหยาบๆ โดยเขียนหรือแรเงาพื้นที่ให้มีลักษณะเป็นภาพสามมิติหรือมีทรวดทรงขึ้น ส่วนใหญ่มักจะแรเงาให้มีลักษณะเหมือนกับว่ามีเงา ที่เกิดจากแสงที่ทำมุมประมาณ 45 องศา ส่องลงมาจากทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือทำให้ลาดเขาทางด้านตะวันออกและตอนใต้มีเงาเกิดขึ้น หากเป็นพื้นที่ลาดชันนิยมแสดงด้วยเงาสีเข้มและถ้าเป็นพื้นที่ลาดเทจะนิยมแสดงด้วยเงาบางๆ