ข้อใดใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกศาสนาเป็นเทวนิยม อ เทวนิยม เอก เทวนิยม หรือ พหุ เทวนิยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อใดใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกศาสนาเป็นเทวนิยม อ เทวนิยม เอก เทวนิยม หรือ พหุ เทวนิยม

เหล่าทวยเทพในภาพ The Triumph of Civilization (ชัยชนะแห่งความศิวิไลซ์)

เทวนิยม[1] (อังกฤษ: Theism) ในความหมายอย่างกว้างหมายถึงความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าหรือเทพเจ้า[2] ความหมายอย่างแคบคือเชื่อแบบเอกเทวนิยมว่ามีพระเจ้าองค์เดียวและทรงสัมพันธ์กับการดำรงอยู่ของเอกภพ[3][4][5] เทวนิยมยังเชื่อว่าพระเจ้าทรงเป็นบุคคล และมีอำนาจปกครองและจัดการโลกและเอกภพ แนวคิดตามแบบแผนนี้อธิบายพระเจ้าในเชิงเอกเทวนิยมซึ่งปรากฏในศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดูในบางสำนัก คำว่า Theism ตามแนวคิดนี้เกิดขึ้นในช่วงการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อให้ต่างจากคำว่าเทวัสนิยม ที่เชื่อว่ามีพระเจ้าเป็นอุตตรภาวะสูงสุด แต่พระเจ้ามิได้ทรงแทรกแซงโลกตามธรรมชาติ และมนุษย์รู้จักพระองค์ได้ด้วยการใช้เหตุผล ไม่ใช่โดยการวิวรณ์ ส่วนสรรพเทวนิยมเชื่อว่าสรรพสิ่งคือพระเจ้า และพหุเทวนิยมเชื่อว่ามีเทวดาหลายองค์ แต่ละองค์มีอำนาจต่าง ๆ กันไป

คำว่า Theism มาจาก theos ในภาษากรีกที่แปลว่า เทพ นักปรัชญาชื่อ Ralph Cudworth ใช้คำนี้เป็นคนแรก[6] ส่วนอเทวนิยมเป็นการปฏิเสธความเชื่อแบบเทวนิยมในความหมายกว้าง คือไม่เชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียว[7] ถ้าปฏิเสธพระเจ้าในความหมายแคบ จะเรียกว่า เทวัสนิยม สรรพเทวนิยม พหุเทวนิยม ตามแต่ลักษณะของความเชื่อ ถ้าเห็นว่าพระเจ้าหรือเทวดาจะมีอยู่หรือไม่เราก็รู้ไม่ได้เรียกว่าอไญยนิยม[8] ถ้าเชื่อว่ารู้ได้ (ว่ามีหรือไม่มี) ก็ถือว่าเป็นเทวนิยมหรืออเทวนิยม (ตามแต่ลักษณะความเชื่อ) เทวนิยมและอเทวนิยมจึงเป็นยืนยันหรือปฏิเสธการดำรงอยู่ของพระเจ้า แต่อไญยนิยมปฏิเสธการรับรู้ ผู้ที่ไม่มีศาสนาจะไม่เชื่อในเรื่องการมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ เลย ศาสนาพุทธอาจจัดว่าเป็นทั้งเทวนิยมและอเทวนิยม นิกายเถรวาทและนิกายเซน เชื่อในกฎธรรมชาติ สร้างสรรพสิ่ง จัดเป็นอเทวนิยม นิกายสุขาวดีและวัชรยาน เชื่อว่ามีพระอาทิพุทธะเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งเฉกเช่นพระเจ้า จึงอาจจัดนิกายเหล่านี้เป็นเทวนิยมได้

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548
  2. "Merriam-Webster Online Dictionary". สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  3. The Oxford Dictionary of the Christian Church, Second Edition, OUP
  4. The Oxford Dictionary of World Religions (1997).
  5. Encyclopædia Britannica.
  6. Halsey, William (1969). Louis Shores (บ.ก.). Collier's Encyclopedia. Vol. 22 (20 ed.). Crowell-Collier Educational Corporation. pp. 266–7.
  7. Nielsen, Kai (2010). "Atheism". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2011-01-26. Atheism, in general, the critique and denial of metaphysical beliefs in God or spiritual beings.... Instead of saying that an atheist is someone who believes that it is false or probably false that there is a God, a more adequate characterization of atheism consists in the more complex claim that to be an atheist is to be someone who rejects belief in God for the following reasons (which reason is stressed depends on how God is being conceived)...
  8. Hepburn, Ronald W. (2005) [1967]. "Agnosticism". ใน Donald M. Borchert (บ.ก.). The Encyclopedia of Philosophy. Vol. 1 (2nd ed.). MacMillan Reference USA (Gale). p. 92. ISBN 0028657802. In the most general use of the term, agnosticism is the view that we do not know whether there is a God or not. (page 56 in 1967 edition)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อใดใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกศาสนาเป็นเทวนิยม อ เทวนิยม เอก เทวนิยม หรือ พหุ เทวนิยม

อเทวนิยม (อังกฤษ: atheism) คือ ทรรศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้า[2] และเชื่อในกฎธรรมชาติ ตรงกันข้ามกับเทวนิยม[3][4] อเทวนิยมแตกต่างจากอไญยนิยม (agnosticism) ซึ่งเป็นมุมมองที่ว่ามนุษย์ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ รวมถึงปรากฏการณ์ที่ไม่อาจรับรู้ได้ด้วยประสบการณ์ทางผัสสะ[3]

คำว่า atheism ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษากรีก ἄθεος (atheos) อันมีความหมายว่า "ปราศจากเทพ" ถือเป็นคำหยาบที่ใช้เรียกผู้ปฏิเสธเทพที่สังคมบูชากัน หลังจากที่มีความคิดอย่างอิสระ (freethought) ความสงสัยทางวิทยาศาสตร์ (skeptical inquiry) และการวิจารณ์ศาสนา (criticism of religion) เพิ่มขึ้นแล้ว การใช้คำนี้ก็มีความหมายอย่างแคบลง บุคคลกลุ่มแรกที่เริ่มถือว่าตนเป็นผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องพระเทพ โดยเรียกตนเองว่า "ผู้ถืออเทวนิยม" (atheist) นั้น ใช้ชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18[5]

เนื่องจากเหตุที่ว่า ความหมายและความเข้าใจของอเทวนิยมนั้น มีความแตกต่างกัน ในปัจจุบันจึงทราบได้ยากว่าในโลกมีผู้ถืออเทวนิยมกี่คน[6] อิงตามการคาดคะเนในปี พ.ศ. 2553 แล้ว มีผู้ถืออเทวนิยมอยู่ราว 2.3% ในโลก ในขณะที่อีก 11.9% เป็นผู้ที่ไม่เคร่งศาสนา[7] อิงตามการสำรวจความคิดเห็นจากคนระดับโลกในปี พ.ศ. 2555 โดย WIN/GIA แล้ว 13% ของผู้ที่เข้าร่วมบอกว่าตนมิเชื่อพระเจ้า[8] อิงตามอีกวิเคราะห์หนึ่ง จำนวนผู้ที่บอกว่าตนเองไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าส่วนมากอยู่ในประเทศพัฒนาแล้ว ตัวอย่างร้อยละของประชากรที่บอกว่าตนเองไม่เชื่อในพระเจ้าหรือไม่นับถือศาสนาใดๆ เช่น สวีเดน 73%, อังกฤษ 69%, ออสเตรเลีย 63%, เยอรมนี 60%, เกาหลีใต้ 60%, ญี่ปุ่น 60%, จีน 90%, อเมริกา 39%, ฟินแลนด์ 55%[9]

มโนคติ[แก้]

ข้อใดใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกศาสนาเป็นเทวนิยม อ เทวนิยม เอก เทวนิยม หรือ พหุ เทวนิยม

การอธิบายศาสนาอย่างย่อ[แก้]

นักปรัชญา ลุดวิก ฟอยเออร์บาค[10] และนักจิตวิเคราะห์ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ กล่าวว่า พระเจ้าและความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อทดแทนความต้องการทางจิตใจและอารมณ์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่พุทธศาสนิกชนหลายกลุ่มเชื่อถือ[11] คาร์ล มาร์กซ์ และฟรีดริช เองเงิลส์ ผู้ได้รับอิทธิพลทางแนวคิดจากลุดวิก ฟอยเออร์บาค กล่าวว่า การเชื่อถือในพระเจ้าและศาสนาคือการปฏิบัติทางสังคมหนึ่งซึ่งผู้ที่มีอำนาจนำไปใช้กดขี่ข่มเหงคะเนงร้ายพวกชนชั้นกรรมกร มีฮาอิล บาคูนิน กล่าวว่า "ความคิดที่ว่าพระเจ้ามีจริงบอกเป็นนัยถึงการปฏิเสธทางเหตุผลและทางความยุติธรรมของมนุษย์ เป็นการปฏิเสธอิสรภาพของมนุษย์อย่างเด็ดเดี่ยวที่สุด และต้องทำให้มนุษย์ตกเป็นทาส ทั้งในทฤษฎีและปฏิบัติ" มีฮาอิลย้อนคำคติพจน์ของวอลแตร์ อันว่าครั้นพระเจ้าไม่มีจริง ผู้คนก็จำต้องสร้างพระเจ้าขึ้นมาเอง มีฮาอิลจึงกลับเขียนว่า "ถ้าพระเจ้ามีจริง คนต้องปฏิเสธพระองค์"[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://web.archive.org/web/20171114113506/http://www.wingia.com/web/files/news/370/file/370.pdf
  2. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 10
  3. ↑ 3.0 3.1 Encyclopædia Britannica 2009
  4. "The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-04. สืบค้นเมื่อ 2009-06-02.
  5. Armstrong 1999.
  6. Zuckerman, Phil (2007). Martin, Michael T (บ.ก.). The Cambridge Companion to Atheism. Cambridge, England: Cambridge University Press. p. 56. ISBN 978-0-521-60367-6. OL 22379448M. สืบค้นเมื่อ 2011-04-09.
  7. "Worldwide Adherents of All Religions by Six Continental Areas, Mid-2007". Encyclopædia Britannica. 2007. สืบค้นเมื่อ 2013-11-21.
    • 2.3% Atheists: Persons professing atheism, skepticism, disbelief, or irreligion, including the militantly antireligious (opposed to all religion).
    • 11.9% Nonreligious: Persons professing no religion, nonbelievers, agnostics, freethinkers, uninterested, or dereligionized secularists indifferent to all religion but not militantly so.
  8. <!-none specified--> (27 July 2012). "Religiosity and Atheism Index" (PDF). Zurich: WIN/GIA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-21. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.
  9. https://web.archive.org/web/20171114113506/http://www.wingia.com/web/files/news/370/file/370.pdf
  10. Feuerbach, Ludwig (1841) The Essence of Christianity
  11. Walpola Rahula, What the Buddha Taught. Grove Press, 1974. Pages 51–52.
  12. Bakunin, Michael (1916). "God and the State". New York: Mother Earth Publishing Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-21. สืบค้นเมื่อ 2011-04-09.