ข้อใดคือลักษณะของบันทึกหรือจดหมายเหตุลาลูแบร์

จดหมายเหตุลาลูแบร์ โดยต้นฉบับนั้นจะมีชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Du Royaume de Siam
ถ้าแปลตามตัวจะหมายความว่า "ว่าด้วยราชอาณาจักรสยาม"
จดหมายเหตุลาลูแบร์เป็นจดหมายเหตุพงศาวดารที่พูดถึงราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2230 โดยซีมง เดอ ลา ลูแบร์ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
ซิมง เดอ ลาลูแบร์ได้อยู่ในกรุงศรีอยุธยาเพียง 3 เดือนกับอีก 6 วัน ในฐานะราชฑูตนั้นไม่ได้ยิ่งใหญ่ไปกว่าการเขียนหนังสือขนาดหนากว่า 600  เพราะเนื้อหาของหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวต่างๆในสายตาของลา ลูแบร์ที่มีต่ออยุธยาในเรื่องราวที่หลากหลาย ตั้งแต่สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต การบริโภค การเพาะปลูก ขนบธรรมเนียม ศาสนา เครื่องแต่งกาย อาหารการกิน การศึกษาความรู้ ภาษา ตัวอักขระ การแพทย์ การดนตรีศิลปะ โครงสร้างทางการเมือง ขุนนาง ตำแหน่ง หน้าที่ และรวมถึงภาพวาดต่างๆ ที่ถูกนำมาอ้างอิงในหนังสือประวัติศาสตร์อยุธยาเกือบแทบทุกเล่มในปัจจุบัน

หน้าที่หลักของ ลาลูแบร์ ในการเข้ามายังกรุงสยามถูกระบุไว้ในจดหมายที่ลาลูแบร์เขียนถึง เสนาบดีของฝรั่งเศส มาร์กีส์ เดอ ตอร์ซี่ ว่า ให้สังเกตเรื่องราวนานาประการที่แปลกๆ เกี่ยวกับประเทศนั้น แล้วมาถ่ายทอดเพื่อเป็นข้อมูลให้ทางฝรั่งเศสใช้ในการวางนโยบายเกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม ซึ่งการนี้ ลาลูแบร์ ก็เตรียมการด้านข้อมูลต่างๆมากมาย ทำให้ ลาลูแบร์รู้จักประวัติศาสตร์ของกรุงสยามได้ดี โดยสามารถเล่าย้อนประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นจาก “จดหมายเหตุต่างๆ ทั้งเก่าและใหม่ที่มีผู้เขียนไว้เกี่ยวกับประเทศต่างๆ ในภาคพื้นบูรพาทิศ” (ลาลูแบร์เล่าไว้เองในตอนต้นของหนังสือเล่มนี้)

จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับแปลในประเทศไทยมีอยู่ 2 ฉบับ คือ 
ฉบับที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพระนิพนธ์แปล โดยทรงแปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษ และฉบับแปลของสันต์ ท.โกมลบุตร จากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส

ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ได้ออกเดินทางจากท่าเรือเมืองแบร็สต์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2230 มาทอดสมอที่กรุงสยาม เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2230 เดินทางกลับเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2231 ขึ้นบกที่ท่าเรือแบร็สต์มื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2231

อ้างอิงข้อมูลจาก : wikipedia
สามารถเข้าไปดูต้นฉบับได้ที่  : http://bit.ly/duroyaumedeSiam

จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม (ปกแข็ง) ***สินค้าหมด***

ISBN: 9786167146607

แปลจากหนังสือ : The Kingdom of Siam Simon de La Loubere

ผู้แต่ง : มองซิเออร์ เดอะ ลาลูแบร์

ผู้แปล : สันต์ ท. โกมลบุตร

สำนักพิมพ์ : ศรีปัญญา

ปีที่พิมพ์ : 2561

จำนวนหน้า : 688

ราคาพิเศษ ฿540.00 ราคาปรกติ ฿600.00

“จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม” ฉบับนี้ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประพันธ์ขึ้นในราวปี พ.ศ. 2231 “ลาลูแบร์” ได้พรรณนาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวาง มีข้อความเป็นประโยชน์ชัดเจน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การกินอยู่ การแต่งงาน ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ตลอดจนเรื่องราวทั่วๆ ไป ทั้งยังได้วิพากษ์วิจารณ์ไปถึงการเมืองการปกครองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ไว้ มากมาย...เรียบเรียงไว้เป็นหมวดหมู่ชัดเจน พร้อมภาพประกอบสวยงาม เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

  • สารบัญ
  • การรีวิวสินค้า

หนังสือเล่มนี้เป็นหลักฐานชั้นต้น เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยามสมัย กรุงศรีอยุธยา เมื่อ 324 ปีล่วงมาแล้ว เป็นหลักฐานที่สำคัญมากเพราะว่า เขียนโดย ผู้ที่เห็นเหตุการณ์และเป็นคนฉลาดช่างสังเกต ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมสยาม โดยเฉพาะคนในกรุงศรีอยุธยาที่ละเอียดอย่างไม่เคยมีใครทำมาก่อน ในขณะที่ หลักฐานซึ่งคนไทยบันทึกมีน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่ถูกเผาไปตอนเสียกรุงศรีอยุธยา ให้พม่าในพ.ศ. 2310 อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะพงศาวดารไทยมักบันทึกเรื่องของ ราชวงศ์สงครามและการเมืองแต่เรื่องของชาวบ้านชีวิตความเป็นอยู่ไม่มีใครบันทึกเอาไว้

มองซิเออร์เดอ ลา ลูแบร์(Simon de la Loubere) เป็นเอกอัครราชทูต ฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่14ออกเดินทางจากท่าเรือเมืองเบรสต์ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1687 เรือมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 27 กันยายน ปีเดียวกัน รวมเวลาเดินทางขามา 211 วัน เขาพำนักอยู่ในเมืองไทย 3 เดือน 6 วัน เพื่อถวายพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ต่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้วออกจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ.1688 มาถึงท่าเรือเมืองเบรสต์ เมื่อวันที่27 กรกฎาคม ปีเดียวกัน รวมเวลาเดินทางขากลับ 206 วัน

หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่ยาวมาก แบ่งเนื้อหาเป็น 3 ตอนกับ 1  ภาคผนวก

ตอนที่ 1 ว่าด้วยประเทศสยาม มี 9 บท กล่าวคือลักษณะทางภูมิศาสตร์ ผลผลิตของประเทศ ป่าไม้เหมืองแร่ การเกษตร (การทำนา ทำสวน) และ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของคนสยาม

ตอนที่ 2 ว่าด้วยขนบธรรมเนียมของชาวสยามโดยทั่วๆ ไป มี 15 บท ประกอบด้วย การแต่งกาย รูปร่างของชาวสยาม บ้านเรือน เครื่องเรือน ข้าวของ เครื่องใช้ยานพาหนะ การแสดงการละเล่น การแต่งงานและการหย่าร้าง การศึกษา อบรม วิชาแพทย์วิชาเคมีวิชาคำนวณ ดนตรีกรีฑา การช่าง การค้าขาย และอุปนิสัย ของชาวสยาม

ตอนที่ 3 ว่าด้วยจารีตของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่างๆ ขุนนาง ตุลาการและระบบการศาล เสนาบดีฝ่ายพลเรือน ฝ่ายทหาร พระคลังและการคลัง พระราชลัญจกร พระมหาอุปราช พระบรมมหาราชวัง กองทหารรักษาพระองค์ สตรีในพระบรมมหาราชวัง กรมภูษามาลา ธรรมเนียมในราชสำนัก การทูต ชาวต ่างประเทศที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสยาม พระภิกษุ และสังฆาวาส ลัทธิศาสนาของภิกษุ การปลงศพของชาวสยามและชาวจีน ความบรมสุขและ บรมทุกข์ของชาวสยาม ข้อควรระวังในการเผยแพร่ศาสนาของชาวตะวันตก

สารบัญ

ตอนที่ 1 ว่าด้วยประเทศสยาม
บทที่ 1 ว่าด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์
บทที่ 2 ว่าด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์
บทที่ 3 ว่าด้วยประวัติศาสตร์
บทที่ 4 ผลิตผลของประเทศสยามเเละข้อเเรกคือป่าไม้
บทที่ 5 ว่าด้วยเหมืองเเร่ในประเทศสยาม
ฯลฯ

ตอนที่ 2 ว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณี ของชาวสยามโดยทั่วๆ ไป
บทที่ 1 ว่าด้วยเครื่องนุ่งห่มเเละรูปร่างหน้าตาของชาวสยาม
บทที่ 2 ว่าด้วยบ้านเรือนของชาวสยามเเละฝีมือการก่อสร้าง
บทที่ 3 ว่าด้วยเครื่องเรือนของชาวสยาม
บทที่ 4 ว่าด้วยสำรับกับข้าวของชาวสยาม
บทที่ 5 ว่าด้วยรถเเละยานพาหนะทั่วไปของชาวสยาม
ฯลฯ

ตอนที่ 3 ว่าด้วยจารีตของชาวสยาม ตามชั้นบุคคลในฐานะต่างๆ
บทที่ 1 ว่าด้วยชั้นบุคคลต่างๆ ของชาวสยาม
บทที่ 2 ว่าด้วยประชาชนพลเมืองชาวสยาม
บทที่ 3 ว่าด้วยขุนนางเเห่งราชอาณาจักรสยาม โดยทั่วๆ ไป
บทที่ 4 ว่าด้วยตำเเหน่งตุลาการ
บทที่ 5 ว่าด้วยเเบบเเผนการตุลาการ
ฯลฯ

ราชอาณาจักรสยาม

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง

จดหมายเหตุลาลูแบร์มีลักษณะอย่างไร

จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์นี้ ได้พรรณาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวาง ทั้งด้านเศรษฐกิจ, การกินอยู่, การแต่งงาน, ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ตลอดจนเรื่องราวทั่วๆไป อีกทั้งยังวิพากษ์วิจารณ์ไปถึงการเมืองการปกครองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ไว้มากมายตามความเข้าใจของเขาเอง ซึ่งลา ลู แบร์ เขียนจดหมายเหตุนี้ ขณะอยู่กรุงศรีอยุธยาเพียง 3 ...

จดหมายเหตุลาลูแบร์ประเภทใด

จดหมายเหตุลาลูแบร์ (ฝรั่งเศส: Du Royaume de Siam แปลตามตัวคือ "ว่าด้วยราชอาณาจักรสยาม") เป็นจดหมายเหตุบันทึกเป็นภาษาฝรั่งเศส เอกสารชิ้นนี้กล่าวถึงราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2230 ผู้บันทึก คือ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศ ...

บันทึกของลาลูแบร์เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาชื่อว่าอะไร

“จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม” ฉบับนี้ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประพันธ์ขึ้นในราวปี พ.ศ. 2231 “ลาลูแบร์” ได้พรรณนาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวาง มีข้อความเป็นประโยชน์ชัดเจน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การกินอยู่ การแต่งงาน ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ตลอดจนเรื่องราวทั่วๆ ไป ทั้งยังได้วิพากษ์วิจารณ์ไป ...

จดหมายเหตุลา ลูแบร์ คือหลักฐานชั้นใด

หนังสือเล่มนี้เป็นหลักฐานชั้นต้น เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยามสมัย กรุงศรีอยุธยา เมื่อ 324 ปีล่วงมาแล้ว เป็นหลักฐานที่สำคัญมากเพราะว่า เขียนโดย ผู้ที่เห็นเหตุการณ์และเป็นคนฉลาดช่างสังเกต ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมสยาม โดยเฉพาะคนในกรุงศรีอยุธยาที่ละเอียดอย่างไม่เคยมีใครทำมาก่อน ในขณะที่ หลักฐานซึ่งคนไทยบันทึกมีน้อยมาก ...