ข้อ ใด ที่ ไม่ใช่ ประโยชน์ ของ การ วิเคราะห์ วิจารณ์ การ แสดง

                     หลักการวิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์ ผู้วิจารณ์นาฏศิลป์และละครต้องมีความรู้เรื่ององค์ประกอบของ

นาฏศิลป์ทั้งทางด้านผู้แสดง บทร้องและทำนองเพลง การประดิษฐ์ท่ารำ และองค์ประกอบอื่นๆ ในการแสดง

ด้านอื่นๆ ด้วยท่ารำ และองค์ประกอบอื่นๆ ในการแสดงด้านอื่นๆ ด้วย

                                คุณสมบัติของผู้วิจารณ์

                                ผู้ที่จะเขียนบทวิจารณ์ควรมีคุณสมบัติดังนี้

                  1. ต้องมีความรอบรู้ กล่าวคือ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิจารณ์เป็นอย่างดี เช่น จะวิจารณ์ดนตรีก็ควรมีพื้นฐานความรู้ดนตรี จะวิจารณ์ละครเวทีก็ต้องเข้าใจลักษณะของละครเวที มิใช่เอาละครโทรทัศน์ไปเปรียบกับละครเวทีแล้ววิจารณ์ว่าผู้แสดงละครเวทีแสดงเกินจริง เป็นต้น ดังนั้นผู้วิจารณ์ควรศึกษาเพื่อให้เกดความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อนรวมทั้งศึกษาถึงหลักการวิจารณ์งานประเภทต่าง ๆ ด้วยจึงจะทำให้บทวิจารณ์น่าเชื่อถือ

                    2. ต้องติดตามความเคลื่อนไหวของวงการที่จะวิจารณ์ การอ่าน การฟัง การดู การชม อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เป็นผู้มีความรู้รอบ ทำให้มีมุมมองกว้างขวางขึ้น เกิดความเข้าใจ เห็นใจ หาเหตุผลมาแสดงทัศนะไม่ค่อนข้างต่างประเด็น เช่น การวิจารณ์ภาพยนตร์ไทยเปรียบเทียบกับ ภาพยนตร์ต่างประเทศถ้าผู้วิจารย์เข้าใจกระบวนการสร้าง และปัจจัยที่เป็นปัญหาในการสร้าง ภาพยนตร์ไทย ก็จะไม่โจมตีหรือติเตียนแต่ด้านเดียว ความเป็นธรรมจึงเกิดขึ้น ผู้อ่านก็จะเข้าใจ เห็นใจวงการภาพยนตร์ไทย เป็นต้น

                    3. ต้องมีญาณทัศน์ คือ ความคิดเฉียบแหลม หยั่งรู้ถึงแก่นเรื่องไม่พิจารณาแต่เพียง ผิวเผิน และด่วนสรุปเอาง่าย ๆ การจะฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีญาณทัศน์ทำได้โดยการสังเกต การลองตั้งคำถาม ตั้งสมมติฐาน และติดตามหาคำตอบด้วยความตั้งใจ

                    4. มีความเที่ยงธรรม การเป็นผู้วิจารณ์ที่ดีต้องตั้งตัวเป็นกลางไม่ชมเพราะเป็นเพื่อนหรือเพราะมีแนวคิดเหมือนกัน หรือเป็นพวกเดียวกัน ไม่ติเพราะไม่ชอบ ไม่ถูกรสนิยมผู้เขียน ต้องตัดอคติออกไปเอาเหตุผลและหลักการมาเป็นที่ตั้ง

ความเป็นกลางและจริยธรรมของผู้วิจารณ์ เป็นหัวใจสำคัญของงานวิจารณ์ ในปัจจุบัน วงการหนังสือ ดนตรี ละครหรือสื่อบันเทิงต่าง ๆ มีคุณค่าทั้งทางด้านศิลปะและเพื่อการค้า บทวิจารณ์จึงเป็นช่องทาง (Channel) หนึ่งที่จะช่วยชี้แนะให้ผู้อ่านเลือกสรรของดีมีคุณค่าประดับสติปัญญา หากผู้วิจารณ์ขาดความรับผิดชอบขาดคุณธรรมข้อนี้ วงการวิเคราะห์คงไม่ได้รับความเชื่อถือ

ผู้เขียนบทวิจารณ์จึงควรตระหนักในเรื่องจริยธรรม ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับคุณธรรมและมโนธรรม ซึ่งอริสโตเติล (Aristotle) ได้กล่าวถึงคุณธรรม 4 ประการ ที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อมนุษย์ด้วยกัน ดังนี้

                             ความรอบคอบ (Prudence)
                             ความรู้จักประมาณ (Temperance)
                             ความกล้าหาญ (Courage)
                             ความยุติธรรม (Justice)

                                                

ข้อ ใด ที่ ไม่ใช่ ประโยชน์ ของ การ วิเคราะห์ วิจารณ์ การ แสดง

                   นาฏศิลป์เป็นศิลปะการแสดงด้านวิจิตรศิลป์โดยรวมเอาศาสตร์แขนงต่างๆ ผสมกลมกลืนเข้าด้วยกัน นับว่าเป็นสารที่สื่อให้เห็นสุทรียะด้วยการมองและการได้ยินเสียงประเภทหนึ่ง 

                   ดังนั้น หากต้องการวิจารณ์ผลงานนาฏศิลป์ ผู้วิจารณ์จำเป็นต้องมีความรู้ในศิลปะสาขาที่วิจารณ์ มีประสบการณ์เกี่ยวกับศิลปะ และมีความสามารถในการสื่อสารเป็นอย่างดี จึงจะส่งผลให้การวิจารณ์ผลงานนาฏศิลป์ออกมาตรงวัตถุประสงค์และมีคุณค่า  โดยขั้นตอนการวิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์ตามทฤษฎีการวิจารณ์อย่างสุนทรีย์ของราล์ฟ  สมิธ มีดังนี้

                                     ๑. การบรรยาย 

        ผู้วิจารณ์ต้องสามารถพูดหรือเขียนในสิ่งที่รับรู้ด้วยการฟัง ดู รู้สึก รวมทั้งการรับรู้คุณสมบัติต่างๆ ของการแสดง โดยสามารถบรรยายหรือแจกแจงส่วนประกอบต่างๆ ทั้งในลักษณะการเชื่อมโยงหลักเกณฑ์ศิลปะสาขาต่างๆ เข้าด้วยกัน หรือแยกแยะเป็นส่วนๆ

                            ๒. การวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ในผลงานการแสดงนาฏศิลป์ของไทย ประกอบด้วย

๒.๑  รูปแบบของนาฏศิลป์ไทย เช่น ระบำ รำ ร้องและโขน เป็นต้น
๒.๒  ความเป็นเอกภาพของนาฏศิลป์ไทย โดยผู้แสดงต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
๒.๓  ความงดงามของการร่ายรำและองค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ ความถูกต้องของแบบแผน
        การรำ ความงดงามของลีลาท่ารำ ความงดงามด้านวรรณกรรม ความงามของตัวละคร 
        ลักษณะพิเศษในท่วงท่าลีลา เทคนิคเฉพาะตัวผู้แสดง บทร้องและทำนองเพลง 
        เป็นต้น

                             ๓. การตีความและการประเมินผล

        ผู้วิจารณ์จะต้องพัฒนาความคิดเห็นส่วนตัวประกอบกับความรู้ หลักเกณฑ์ต่างๆ มารองรับสนับสนุนความคิดเห็นของตนในการตีความ  ผู้วิจารณ์ต้องกล่าวถึงผลงานนาฏศิลป์โดยรวมว่าผู้เสนอผลงานพยายามจะสื่อความหมายหรือเสนอแนะเรื่องใด โดยต้องตีความการแสดงผลงานนาฏศิลป์นั้นให้เข้าใจ 

        ส่วนการประเมินนั้นเป็นการตีค่าของการแสดงโดยต้องครอบคลุมประเด็น ดังนี้ แสดงได้ถูกต้องตามแบบแผน ผู้แสดงมีทักษะ สุนทรียะ มีความสามารถ และมีเทคนิคต่างๆ นอกจากนี้ ต้องประเมินรูปแบบลักษณะของงานนาฏศิลป์ ความคิดสร้างสรรค์  เป็นต้น

                                    

ข้อ ใด ที่ ไม่ใช่ ประโยชน์ ของ การ วิเคราะห์ วิจารณ์ การ แสดง