ข้อใดเป็นอวัจนภาษาในการพูด

  1. อวัจนภาษาคืออะไร

    1.   ภาษาที่ใช้ถ้อยคำ
    2.   ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ
    3.   ภาษาที่ใช้ทำนอง
    4.   ภาษาที่ไม่ใช้ทำนอง
  2. กิริยาอาการต่างๆ ที่ผู้พูดแสดงออกเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นรู้คืออะไร

    1.   อวัจนภาษา
    2.   ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ
    3.   ภาษาที่ใช้ถ้อยคำ
    4.   ถูกท้งข้อ ก,ข
  3. ข้อใดไม่ใช่อวัจนภาษา

    1.   กระต่าย
    2.   กระต่ายชมจันทร์
    3.   ปฐม
    4.   จันทร์ทรงกรด
  4. ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์การเรียนรู้อวัจนภาษา

    1.   สังเกตอวัจนภาษา จากท่านาฏศิลป์ได้
    2.   พูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้อวัจนภาษาในชีวิตประจำวันได้
    3.   บอกแนวทางการศึกษาได้
    4.   มีมารยาทในการฟัง การดูและการพูด
  5. "แม่ไม่ได้เห็นหน้าลูกมาทั้งวันคิดถึงจังเลย มาให้แม่กอดหน่อยเร็ว...ชื่นใจของแม่จริงๆ"
    อวัจนภาษาที่แม่แสดงออกคืออะไร

    1.   นำเสียง
    2.   นำเสียง,สีหน้า ท่าทาง
    3.   สีหน้า,อาการ
    4.   ท่าทาง,อาการ
  6. ภาษาเป็นสื่อสำคัญที่ใช้ในการสื่อสาร ภาษาแบ่งได้กี่ชนิด

    1.   2 ชนิด
    2.   3 ชนิด
    3.   4 ชนิด
    4.   6 ชนิด
  7. ข้อใดไม่ได้อยู่ในภาษาอวัจนสาร

    1.   ภาษาวัตถุ
    2.   ภาษากาลเทศะ
    3.   ภาษากิริยาท่าทาง
    4.   ภาษาใจ
  8. อวัจนสารหมายถึงอะไร

    1.   ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดหรือถ้อยคำ
    2.   เรื่องราวที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้จากแหล่งต่างๆ
    3.   คำพูดหรือถ้อยคำ
    4.   บอกความหมายปฏิเสธหรือตรงข้าม
  9. อวัจนภาษามีประโยชน์ด้านอะไรบ้าง

    1.   การติดต่อสื่อสาร,การศึกษา,การงาน
    2.   ด้านสังคม,ด้านวัฒนธรรม,การศึกษา
    3.   ด้านการติดต่อสื่อสาร,ด้านสังคม,การงาน
    4.   ไม่มีข้อถูก
  10. ภาษาอวัจนสารมีกี่ชนิด

    1.   ๓ ชนิด
    2.   ๔ ชนิด
    3.   ๕ ชนิด
    4.   ๖ ชนิด

อวัจนภาษา หมายถึงการสื่อสารโดยไม่ใช้ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน เป็นตัวหนังสือ  หรือหมายถึงการสื่อสารโดยไม่ใช้ระบบคำและประโยค ตัวอย่างเช่น ป้ายจราจร ภาษามือ เป็นต้น

จุดประสงค์ในการใช้อวัจนภาษา

  1. เพื่อประกอบการสนทนาให้มีอรรถรสยิ่งขึ้น เช่น การตบลงบนโต๊ะ แสดงถึงความโกรธ
  2. เป็นสัญลักษณ์สากลให้ง่ายต่อการเข้าใจ เช่น การใช้นิ้วชี้ยกขึ้นวางบนริมฝีปาก แสดงถึงความเงียบ
  3. ใช้ประกอบท่าทาง เป็นมารยาท หรือแสดงความเคารพ เช่น การชนแก้ว แสดงถึงความยินดี
  4. ใช้สำหรับผู้พิการ เช่นภาษามือ
  5. ใช้แทนการสื่อสารในยามที่วัจนภาษาใช้ไม่สะดวก เช่น การสื่อสารของทหารที่ต้องเงียบเสียง

ประเภทของอวัจนภาษา

  1. สายตา(เนตรภาษา)  การแสดงออกทางสายตา เช่น  การสบตากันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารก็มีส่วนช่วยในการตีความหมาย  เช่น การสบตาแสดงออกถึงความจริงใจ การแสดงออกทางสายตาจะสอดคล้องกับการแสดงออกทางสีหน้า   การแสดงออกทางสีหน้า และสายตาจะช่วยเสริมการสื่อสารให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น 
  2. กิริยาท่าทาง(อาการภาษา) การแสดงกิริยาท่าทางของบุคคล สามารถสื่อความหมายได้โดยไม่ต้องใช้คำพูด  หรือเสริมคำพูดให้มีน้ำหนักมากขึ้นได้  ได้แก่ การเคลื่อนไหวร่างกาย และอากัปกิริยาท่าทางต่าง ๆ สามารถสื่อความหมายได้มากมาย เช่น การเคลื่อนไหวมือ การโบกมือ การส่ายหน้า การพยักหน้า การยกไหล่ ฯลฯ  
  3. น้ำเสียง(ปริภาษา) เป็นอวัจนภาษาที่แฝงอยู่ในภาษาพูด ได้แก่ สำเนียงของผู้พูด ระดับเสียงสูงต่ำ  การเปล่งเสียง  จังหวะการพูด  ความดังความค่อยของเสียงพูด น้ำเสียงช่วยบอกอารมณ์ และความรู้สึก หรืออาจเป็นเสียงอื่น ๆ เช่น แตรรถ ไซเรน เป็นต้น
  4. สิ่งของหรือวัตถุ(วัตถุภาษา) สิ่งของหรือวัตถุต่าง ๆ ที่บุคคลเลือกใช้ เช่น ของใช้เครื่องประดับ กระเป๋า นาฬิกา สีแว่นตาแสดงให้เห็นรสนิยม หรือฐานะของบุคคล เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้เป็นอวัจนภาษาที่สื่อความหมายได้ทั้งสิ้น
  5. การสัมผัส (สัมผัสภาษา) หมายถึงอวัจนภาษาที่แสดงออกโดยการสัมผ้สเพื่อสื่อความรู้สึก  อารมณ์  ความปรารถนาในใจของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร เช่น การจับมือ การลูบศีรษะ การโอบกอด การตบไหล่ ซึ่งสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของแต่ละสังคม เช่น นักเตะตบไหล่กันหลังเล่นบอลเสร็จแสดงให้เห็นถึงการปลอบใจ หรือในประเทศไทยถือว่ามิให้เด็กสัมผัสหัวผู้ใหญ่ เป็นต้น
  6. กาลเวลา(กาลภาษา) หมายถึงการสื่อความหมายโดยให้เวลามีบทบาทสำคัญ เวลาแต่ละช่วงมีความหมายในตัวคนแต่ละคน และคนต่างวัฒนธรรมจะมีความคิดและความหมายเกี่ยวกับเวลาแตกต่างกัน เช่น การตรงต่อเวลาวัฒนธรรมตะวันตกถือว่ามีความสำคัญมากการไม่ตรงต่อเวลานัดหมายเป็นการแสดงความดูถูก เป็นต้น  
  7. เนื้อที่หรือช่องว่าง(เทศภาษา) คือช่องว่างของสถานที่หรือระยะใกล้ไกลที่บุคคลสื่อสารกัน เป็นอวัจนภาษาที่สื่อสารให้เข้าใจได้ เช่น ระยะห่างของหญิงชาย พระกับผู้หญิง คนกับความเชื่อต่าง ๆ คนสองคนนั่งชิดกันย่อมสื่อสารให้เข้าใจได้ว่าทั้งสองคนมีความสนิทสนมเป็นพิเศษ เป็นต้น

ข้อใดเป็นอวัจนภาษาในการพูด


ข้อใดเป็นอวัจนภาษาในการพูด *

อวัจนภาษา (อังกฤษ: nonverbal communication, NVC) หมายถึงการสื่อสารโดยไม่ใช้ การพูด การอ่านตามตัวหนังสือ และการเขียนเป็นตัวหนังสือ หรือหมายถึงการสื่อสารโดยไม่ใช้ระบบคำและประโยค ตัวอย่างเช่น ป้ายจราจร ภาษามือ สัญรูปอารมณ์ เป็นต้น

อากัปกิริยา มีอะไรบ้าง

อากัปกิริยาหรือการเคลื่อนไหวทางร่างกาย มี5 รูปแบบ ดังนี้ 1. เครื่องหมายหรืออากัปกิริยาที่ใช้แทนคาพูด 2. ใช้ประกอบคาพูด 3. ใช้ควบคุมหรือกระตุ้นเตือน 4. ใช้แสดงอารมณ์ 5. เป็นอุปนิสัย การสัมผัสและการแสดงสีหน้า

คำตอบใดเป็นวัจนภาษา

2) อวัจนภาษา (non - verbal language) คือ ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ เป็นภาษาซึ่งแฝงอยู่ในถ้อยคำ กิริยาอาการต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ แปลความหมาย เช่น น้ำเสียง การตรงต่อเวลา การยิ้มแย้ม การสบตา การเลือกใช้ เสื้อผ้า ช่องว่างของสถานที่ กาลเวลา การสัมผัส ลักษณะตัวอักษร เครื่องหมาย

ข้อใดเป็นเทศภาษา

1. เทศภาษา คือ ภาษาที่เกิดจากสถานที่และระยะห่างของผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น ซีอีโอ จะอยู่บนชั้นสูงสุดของอาคาร คนรักหรือเพื่อนสนิทจะคุยกันอย่างใกล้ชิด 2. อาการภาษา คือ ภาษาที่เกิดจากกิริยาอาการ ท่าทาง การใช้มือ แขน ศีรษะ ประกบการสื่อสาร เช่น การยืนล่วงกระเป๋าพูดคุยกับผู้ใหญ่ถือว่าไม่สุภาพ