ข้อ ใดกล่าว ถูก ต้อง เกี่ยว กับ ศัพท์บัญญัติ

ข้อ ใดกล่าว ถูก ต้อง เกี่ยว กับ ศัพท์บัญญัติ

ภาษาไทยที่เราใช้กันทุกวันนี้ มีทั้งคำไทยแท้  ภาษาถิ่น และภาษาที่เรายืมมาจากต่างประเทศ ซึ่งบางคำไม่เคยมีใช้ในภาษาไทยมาก่อน ทำให้ต้องสร้างคำศัพท์ใหม่ ๆ ขึ้นมา โดยเรียกคำเหล่านี้ว่า ศัพท์บัญญัติ แต่ถ้าคำไหนที่ไม่สามารถหาคำที่เหมาะสมได้จริง ๆ เราก็จะใช้วิธีการทับศัพท์ไปเลย ซึ่งวันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปดูกันว่า ‘ศัพท์บัญญัติ’ กับ ‘คำทับศัพท์’ นั้นแตกต่างกันยังไง และมีหลักการเขียนแบบไหนบ้าง เพื่อที่จะได้ใช้อย่างถูกต้อง เพราะถ้าสังเกตดี ๆ คำเหล่านี้สอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันของเราไม่น้อยเลยทีเดียว

ส่วนใครที่อยากดูแบบคลิปวิดีโอ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee ได้ หรือจะดูคลิปวิดีโอข้างล่างนี้ก็ได้นะ !

คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ

  • คำทับศัพท์ เป็นการออกเสียงเดิมตามภาษานั้น ๆ หรือดัดแปลงให้เหมาะสมกับการออกเสียงของคนไทย โดยการใช้ตัวอักษรและวิธีการสร้างคำแบบไทย และจะใช้ในกรณีที่ไม่มีคำไทย หรือบาลีสันสกฤตที่จะแทนคำนั้นๆ เช่น 

เชิ้ต   มาจากภาษาอังกฤษว่า   shirt  

บุฟเฟต์   มาจากภาษาอังกฤษว่า   buffet

ปาเต๊ะ   มาจากภาษาชวาว่า   batik 

  • ศัพท์บัญญัติ เป็นการสร้างคำขึ้นมาใหม่ และมีความหมายตรงตามคำศัพท์เดิม ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการประสมคำภาษาไทย หรือใช้คำบาลี สันสกฤตมาสมาสกัน เช่น 

ดาวเทียม มาจากคำว่า   satellite     

ไฟฟ้า มาจากคำว่า   electricity

นิตยสาร  มาจากคำว่า   magazine 

วิทยาศาสตร์ มาจากคำว่า   science

หลักเกณฑ์ในการเขียนคำทับศัพท์ และศัพท์บัญญัติ

  • ถ้ามีคำไทยอยู่แล้ว ให้ใช้คำไทย เช่น 

คอร์รัปชัน  ใช้คำว่า ทุจริต /ฉ้อราษฎร์บังหลวง
ชอปปิง  ใช้คำว่า ซื้อของ 

  • ถ้าเป็นภาษาระดับทางการ ให้ใช้ ‘คำศัพท์บัญญัติ’ แทน ‘คำทับศัพท์’ โดยเฉพาะการเขียนตำราวิชาการสาขาต่าง ๆ เช่น

ไร้สาย มาจากคำศัพท์ ไวร์เลส (wireless)
รายการเลือก มาจากคำศัพท์ เมนู (menu)

  • การเขียนคำทับศัพท์ จะใช้วิธีการถอดเสียงจากภาษาต้นฉบับ ตัวอย่างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ เช่น

gas เขียนเป็นภาษาไทยว่า ก๊าซ 

rugby เขียนเป็นภาษาไทยว่า รักบี้       

taxi เขียนเป็นภาษาไทยว่า แท็กซี่

strawberry เขียนเป็นภาษาไทยว่า สตรอว์เบอร์รี

Football เขียนเป็นภาษาไทยว่า ฟุตบอล

ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนอยากจะอ่านแบบละเอียดมากขึ้น ก็สามารถคลิกเข้าไปอ่านในเว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสภาได้ในลิงก์นี้เลย

  • การสร้างศัพท์บัญญัติ สามารถทำได้ ดังนี้
    1. ใช้คำไทยแท้ประสมเป็นคำใหม่ขึ้นมา และมีความหมายตรงตามศัพท์เดิมของคำภาษาอังกฤษ เช่น

ไฟฟ้า หมายถึง พลังงานที่แยกตัวออกมาของอิเล็กตรอน (electricity)

กรดน้ำส้ม ใช้แทนคำภาษาอังกฤษว่า acetic acid

2. ใช้คำบาลี สันสกฤตที่มีความหมายตรงกับคำยืมนั้น เช่น 

สิทธิ มาจากภาษาสันสฤต ใช้แทนคำภาษาอังกฤษว่า  right

3. ใช้คำสมาส  เช่น

เอกภาพ  หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (unity)

ธรณีวิทยา ใช้แทนคำภาษาอังกฤษว่า geology

ข้อ ใดกล่าว ถูก ต้อง เกี่ยว กับ ศัพท์บัญญัติ

Did You Know ?
  • บางคำมีศัพท์บัญญัติ แต่เรานิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่า เช่น 

Computer มีศัพท์บัญญัติว่า คณิตกรณ์ แต่เรานิยมใช้คำทับศัพท์ว่า คอมพิวเตอร์ 

Software ที่มีศัพท์บัญญัติว่า ส่วนชุดคำสั่ง แต่เรานิยมใช้คำทับศัพท์ว่า ซอฟต์แวร์ 

  • คำทับศัพท์ที่มักเขียนผิด 

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

คำทับศัพท์ที่ถูกต้อง

คำอธิบายเพิ่มเติม

Application

แอปพลิเคชัน

เพราะตัว p พยัญชนะต้นจะใช้ พ แต่หากเป็นตัวสะกดจะใช้ ป

Upload

อัปโหลด

Update

อัปเดต

Clinic

คลินิก

ตัว c เมื่อเป็นพยัญชนะต้น แทนด้วย ค แต่หากเป็นตัวสะกดจะแทนด้วย ก

Facebook

เฟซบุ๊ก

สะกด ce แทนด้วย ซ และตัว k เมื่อเป็นตัวสะกดจะแทนด้วย ก

Digital

ดิจิทัล

ตัว t เมื่อเป็นพยัญชนะต้น แทนด้วย ท แต่หากเป็นตัวสะกดจะแทนด้วย ต

Pattern

แพตเทิร์น

Post

โพสต์

Graphic

กราฟิก

คำนี้มี p ตัวเดียว และเป็น ph ที่แทนด้วยตัว ฟ จึงไม่สะกดว่า กราฟฟิก

Like

ไลก์

  • ตัว k ถ้าเป็นพยัญชนะต้นจะแทนด้วย ค แต่หากเป็นตัวสะกดจะแทนด้วย ก 
  • มีการันต์เพราะไม่ได้ออกเสียง k (ก)

Link

ลิงก์

Series

ซีรีส์

คำนี้ลงท้ายด้วย s แต่ไม่ได้ออกเสียงจึงแทนด้วย ส์

ที่มา : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เห็นการสะกดบางคำแล้วเพื่อน ๆ อาจจะรู้สึกไม่ชินกับการสะกดที่ถูกต้องเท่าไร แต่เชื่อว่าถ้าได้ฝึกใช้บ่อย ๆ ทั้งในชีวิตประจำวัน หรือการบ้านที่ทำส่งคุณครู เพื่อน ๆ น่าจะเริ่มสะกดได้แบบชินตากันมากขึ้น แต่ถ้าอยากเรียนเรื่องนี้เพิ่มเติมก็สามารถโหลดแอปพลิเคชัน StartDee มาทบทวนบทเรียนพร้อมทำแบบฝึกหัดกันอีกครั้ง แล้วอย่าลืมติดตามเฟซบุ๊กของ StartDee ไว้อัปเดตข่าวสารและเกร็ดความรู้สนุก ๆ กันด้วยนะ

นอกจากนั้น บล็อก StartDee ของเรายังมีบทความวิชาภาษาไทยที่น่าอ่านอีกเพียบ เราขอแนะนำเรื่องคำไทยแท้ และคำประสม ที่น่าจะต่อเนื่องกับคำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ ลองอ่านกันดูเลย !


ขอบคุณข้อมูลจาก ธีรศักดิ์ จิระตราชู (ครูหนึ่ง)

ข้อใดเป็นความหมายของศัพท์บัญญัติ

ศัพท์บัญญัติ คือ คำที่บัญญัติขึ้นใหม่ในภาษาไทย โดยราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้รับรอง เพื่อรองรับศัพท์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตามเทคโนโลยีและความก้าวหน้าด้านต่าง ๆ ของโลก ศัพท์บัญญัติ การใช้ศัพท์บัญญัติจะเป็นมาตรฐานในการเขียนเอกสารของทางราชการ และการเรียนการสอน

ศัพท์บัญญัติมีคำว่าอะไรบ้าง

ศัพท์บัญญัติจะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ แพทย์ศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเชื่อม พลังงาน ประชากรศาสตร์ พฤกษศาสตร์ ปรัชญา ประกันภัย วรรณกรรม ปรับอากาศ สัทศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปะ เทคโนโลยีสารสนเทศ ยานยนต์ ทันตแพทยศาสตร์ ธรณีวิทยา คณิตศาสตร์

ข้อใดคือคำทับศัพท์

"คำทับศัพท์" หมายถึง "คำที่รับจากภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่ง โดยวิธีถ่ายเสียงและถอดอักษร เช่น เขียนทับศัพท์และแปลทับศัพท์" ประเทศไทยได้รับภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทยมากมายหลายภาษา แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการเขียนทับศัพท์คำที่มาจากภาษาอังกฤษเท่านั้น เพราะคำเหล่านี้มีใช้กันอย่างแพร่หลายทุกวงการ โดยราชบัณฑิตยสถานได้ ...

ข้อใดเป็นศัพท์วิชาการ

คำศัพท์ทางวิชาการ หมายถึง คำศัพท์ที่ใช้เฉพาะวงการวิชาการ หรือวงการอาชีพ ส่วนมากจะพบในงานเขียนทางวิชาการ เช่น ตำรา บทความ หนังสืออ้างอิง หรือในการประชุมทางวิชาการ เช่น การอภิปราย การสัมมนา มักเป็นคำที่ผู้ศึกษาวิชาการนั้นๆ เข้าใจร่วมกันอย่างดี ส่วนผู้ที่ไม่ได้ศึกษาอาจไม่เข้าใจ