ข้อใดเป็นประเพณีของคนไทยเชื้อสายจีน

Main Article Content

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและคติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับประเพณีสารทจีน รวมทั้งขั้นตอนการปฏิบัติและความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีสารทจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋วในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามจากชาวบ้าน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติประเพณีสารทจีน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสังเกต และการถ่ายภาพประกอบ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์พร้อมมีภาพประกอบ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประเพณีสารทจีนสืบเนื่องมาจากความเชื่อดั้งเดิมและประเพณีเซ่นสรวงบูชาในสมัยโบราณของจีนความเชื่อทางศาสนาเต๋าและความเชื่อทางพุทธศาสนามหายาน 2. ประเพณีสารทจีนในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เกิดขึ้นโดยชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพมาตั้งหลักแหล่งในประเทศไทยโดยเฉพาะในจังหวัดชลบุรีหลายระลอกด้วยปัจจัยทั้งภายในและภายนอกตั้งแต่คริส์ศตวรรษที่ 12 จนถึงต้นคริส์ศตวรรษที่ 20 3. การปฏิบัติประเพณีสารทจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรีมี 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการเตรียมงานก่อนวันประเพณีและขั้นตอนการปฏิบัติในวันประเพณี ทั้งนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องเทพเจ้า ความเชื่อเรื่องวิญญาณหรือชีวิตหลังความตาย ความเชื่อเรื่องการทำบุญ ความเชื่อเรื่องอาหารที่เป็นมงคล และความเชื่อเรื่องการเผาเครื่องเซ่นไหว้ เป็นต้น

Abstract

The purpose of this research is to study the origin and related beliefs of the custom of Chinese Spirit Festival of China, as well as the origin of Chinese-Thai people in Chon Buri Municipality, Chon Buri Province and their Chinese Spirit Festival customs. Field data collection were undertaken withvillagers, members, staffs of religious sites and other related personnel who had experience with arranged Chinese Spirit Festival customs. In-depth interview, observation, and photographing were used as the field data collecting tools. The data was analyzed using content analysis and the results are presented in descriptive analysis form.

The results show that 1) the primitive worship and sacrificial customs are derived from ancient China, the belief of Taoism and the belief of Buddhism are the origin of the custom of Chinese Spirit Festival of China; 2) From the 12th century to the beginning of the 20th century, Chaozhou people migrated to Thailand, especially to Chon Buri Province many times due to domestic and foreign factors; 3) The operating stage of Chinese Spirit Festival of Chinese-Thai people in Chon Buri Municipality, Chon Buri Province is divided into two operating stages, the preparation before the festival day and the operation during the festival day which including various beliefs such as belief in god, faith in the soul or belief in life after death, the good faith, faith in meaning auspicious food, belief in burnt sacrifice supplies, etc.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น

ประวัติ/ที่มาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายจีน :

การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่

          ชาวจีนรุ่นแรก ๆ ที่อพยพเข้ามาในไทยจะเข้ามากับเรือสินค้า และส่วนมากเป็นชาวจีนที่อาศัยทำกินอยู่ในดินแดนทางใต้แถบชายทะเลมาก่อน ต่อมาเมืองกวางโจวมีเมืองท่าใหม่แถบชายทะเลทางใต้ ยิ่งทำให้ดินแดนทางใต้มีความสำคัญเพิ่มขึ้นอีก เช่น เมืองท่าจางหลิน ที่ซัวเถาของเมืองแต้จิ๋ว จึงทำให้ชาวจีนกลุ่มภาษาต่าง ๆ อพยพออกนอกประเทศมากขึ้น (เกาะไหหลำเดิมอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ได้รับการยกฐานะเป็นมณฑล ในปี ค.ศ. 1988 ดินแดนที่ชาวจีนทางใต้นิยมอพยพมาอาศัยและทำการค้า คือแถบหนานหยางหรือแถบทะเลจีนใต้ ทั้งนี้หมายรวมถึงประเทศไทยด้วย ความสัมพันธ์ของประเทศจีนกับชาวจีนอพยพในประเทศในแถบหนานหยาง ก่อให้เกิดผลทางการค้าและการเมืองมาก ประเทศแถบหนานหยางต่างส่งเครื่องราชบรรณาการต่อจีนเพื่อขอการคุ้มครองจากจีนซึ่งเป็นพี่ใหญ่ในแถบนี้ ชาวจีนเรียกการถวายเครื่องราชบรรณาการนี้ว่า จิ้นก้ง (进贡) ไทยเรียกกันว่า “จิ้มก้อง” ความมีอำนาจและบารมีของจีนต่อดินแดนแถบหนานหยาง ซึ่งหมายรวมถึงคาบสมุทรมลายู และดินแดนทางตอนใต้ของไทยนั้น ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในพงศาวดารราชวงศ์หยวน เป็นเนื้อความที่ตักเตือนไม่ให้ชาวมลายูมารังแกสยาม

          ในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-1368) นอกจากการค้ากับต่างประเทศที่ยังคงปฏิบัติต่อจากรัชกาลก่อน โดยใช้เมืองท่าสำคัญที่กล่าวมาแล้ว ดินแดนทางเหนือของไทยนอกจากจะมีการติดต่อการค้ากับจีนแล้วก็คงมีชาวจีนอพยพอันเนื่องมาจากการกรีธาทัพเข้าปราบปรามดินแดนทางใต้ของจีนซึ่งต่อแดนกับอาณาเขตทางเหนือของไทยด้วย และเมื่อการทัพจบสิ้นลงก็คงมีชาวจีนติดค้างตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณทางเหนือของไทยบ้าง

          เส้นทางอพยพของชาวจีนในสมัยโบราณ นอกจากพงศาวดารแล้วยังทราบได้จากบันทึกของนักเดินทาง นักแสวงบุญ เช่น บันทึกของหลวงจีนเสวียนจั้ง  (ค.ศ. 602-664) หรือหลวงจีนเหี้ยนจัง หรือพระถังซำจั๋ง ที่มีชื่อว่า “ต้าถังซีอวี้จี้” เป็นการจดบันทึกถึงการเดินทางเข้ามายังอินเดียโดยผ่านดินแดนทางทะเลใต้ในสมัยราชวงศ์ถัง (ประเทศอินเดียในสมัยนั้นเรียกชื่อประเทศว่าเทียนจู๋กั๋ว โดยเริ่มเดินทางในรัชศกเจิงกวนปีที่ 3 แห่งรัชกาลพระเจ้าถังไท้จง คือ ค.ศ. 629 และกลับสู่ประเทศจีนถึงเมืองหลวงฉางอานในปีรัชศกเจิงกวนปีที่ 19 รวมเดินทางไปกลับ 17 ปี สิ่งที่หลวงจีนได้บันทึกไว้ ทำให้รู้ได้ว่าที่ดินแดนแหลมทองมีอาณาจักรทวารวดี อาณาจักรศรีเกษตร และอาณาจักรศรีวิชัย และบอกเล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในแถบนี้ รวมทั้งชาวจีนอพยพมากมาย (พรพรรณ จันทโรนานนท์ ,ออนไลน์ :2563)

          ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน มีมาอย่างยาวนาน ชาวจีนนั้นเริ่มเดินสำเภามาค้าขายในดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคือเมื่อชาวจีนมาถ่ายทอดสอนศิลปะการทำเครื่องถ้วยจานหลักฐานในสมัยสุโขทัยมีพ่อค้าจีนได้บรรทุกสินค้าลงเรือสำเภาจากจีนมาค้าขายบริเวณเมืองนครศรีธรรมราชสุราษฎร์ธานีชุมพร ในช่วงยุคสมัยนี้มีพ่อค้าชาวจีนเดินทางเข้ามาค้าขายในแผ่นดินโดยเฉพาะเครื่องสังคโลกที่เรารู้จักกันดีและซื้อสินค้าจากไทยกลับไปขายที่เมืองจีนสยามจำนวนมาก แต่มีไม่มีที่ตั้งหลักแหล่งอาศัยอยู่อย่างถาวร

          ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา อิทธิพลของจีนมีบทบาทมายาวนานต่อเนื่อง ดังเช่น ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีกษัตริย์ขึ้นเสวยราชย์ที่เมืองกำแพงเพชรเนื่องจากมีหลักฐานที่กล่าวถึงเรื่องพระร่วงไปเมืองจีนและเอกสารของจีนพบว่ามีเจ้านครอินทร์เชื้อสายสุพรรณภูมิได้เดินทางไปเมืองจีนหลายครั้ง เจ้านครอินทร์ผู้นี้เป็นพระร่วงในหลักฐานตำนานสุโขทัย ในหลักฐานจดหมายเหตุจีนได้กล่าวถึงสุพรรณอ๋อง ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างตีกับจีนและได้กล่าวถึง เอี้ยวลกควรอิม ที่ได้ไปเมืองจีนซึ่งก็คือเจ้านครอินทร์นั่นเอง (หรือสมเด็จพระนครินทราธิราชกษัตริย์พระองค์ที่ 5 แห่งกรุงศรีอยุธยา) ในรัชสมัยขุนหลวงพะงั้วเจ้านครอินทร์ (พระราชนัดดา) ทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายกับเมืองจีนอย่างต่อเนื่องเสมอมา ทรงเสด็จไปเมืองจีนหลายครั้งตั้งแต่ยังไม่ทรงครองราชย์จนตลอดรัชสมัยของพระองค์ ในรัชสมัยของพระองค์ ถือเป็นยุคทองทางการค้ายุคต้นของกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงส่งคณะราชทูตกับทั้งเรือสินค้าไปค้าขายกับเมืองจีนถึง 14 ครั้งเจ้านครอินทร์ได้นำช่างทำเครื่องปั้นดินเผาจากจีนมาสยาม พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรก ที่เสด็จไปเมืองจีนด้วยพระองค์เองในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนต้นบางกอก (กรุงเทพฯ) เป็นชุมนุมใหญ่ต่อมามีฐานะเป็นเมืองโดยมีเจ้าเมืองเป็นผู้ดูแลฝั่งบางกอกและฝั่งธนบุรี ซึ่งขณะนั้นยังเป็นแผ่นดินเดียวกัน เพราะลำน้ำเจ้าพระยาสายเก่าไหลลงมาเข้าคลองบางกอกน้อย แล้วออกคลองบางกอกใหญ่จนในปี พ.ศ. 2085 สมเด็จพระไชยราชาธิราชโปรดฯ ให้ขุดคลองลัด ทำให้ลดระยะทางตั้งแต่บริเวณปากคลองบางกอกน้อย ไปจรดปากคลองบางกอกใหญ่ การขยายกว้างกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยาศูนย์กลางชุมชนย้ายทิศทางมาอยู่ฝั่งวัดอรุณฯ จนถึงวัดระฆังฯ ขณะเดียวกันฝั่งตรงข้ามบริเวณพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน มีชาวจีนและชาวสยามมาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยและทำมาค้าขาย หรือในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมัยพระนารายณ์ การค้าขายมีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น มีการจัดเรือสำเภาจีนในสยาม พ่อค้าชาวจีนยุคบุกเบิกเข้ามามีบทบาทสำคัญในสยาม ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ทำให้มีชุมชนชาวจีนในสยามมากขึ้น ในยุคสมัยนี้ มีจำนวนชาวจีนอพยพเพิ่มจำนวนขึ้น ช่วยให้ธุรกิจหลวงออกไปติดต่อค้าขายกับจีน การค้าในราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการสนับสนุนพ่อค้าชาวจีน ในยุคแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์การค้าขายทางเรืออยู่ในการควบคุมของชาวจีนเป็นหลัก ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีกองกำลังอาสาชาวจีนช่วยออกรบทำศึกสงครามโดยเสมอมา พระมหากษัตริย์ทรงไว้วางพระหฤทัยให้ชาวจีนมารับราชการเป็นจำนวนมาก มีหัวหน้าชาวจีนที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลชาวจีน โดยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมท่าซ้ายมีบรรดาศักดิ์ที่โชฎีกราช เศรษฐีชาวจีนร่วมออกรบและปกป้องชาติบ้านเมืองจนถึงคราวกรุงแตกครั้งที่ 2 ชาวจีนได้อพยพเข้ามาส่วนมากมาจากตอนใต้ของประเทศจีน เพื่อมาตั้งรกรากปลูกบ้านเรือนและทำการค้า ในอดีตชาวจีนตั้งบ้านเรือนอยู่หนาแน่นบริเวณวัดพนัญเชิงและริมฝั่งน้ำตรงข้ามวัดพนัญเชิง ปัจจุบันอาศัยหนาแน่นอยู่บริเวณหัวรอตลาดเจ้าพรหม ส่วนใหญ่เป็นจีนแต้จิ๋วและจีนไหหลำ

          ส่วนในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองธนบุรี เพราะเป็นเมืองหน้าด่าน และท่าเรือ ที่ตั้งสะดวกแก่การติดต่อทางทะเลมีบ้านเรือนราษฎรอยู่หนาแน่น สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินชาวจีนได้เข้ามาทำการค้าและอพยพมายังสยามเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะชาวจีนแต้จิ๋ว ทำให้ชาวจีนโพ้นทะเลในสยามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วการค้าขายของชาวจีนมีความโดดเด่นมาก การสนับสนุนพ่อค้าชาวจีนในสยามได้กลายเป็นนโยบายที่สำคัญในสมัยกรุงธนบุรี ทั้งนี้รวมถึงการให้สิทธิพิเศษแก่ชาวฉางโจวด้วย

          สุดท้ายในสมัยรัตนโกสินทร์ การตั้งรกรากมักจะเข้ามาแต่งงานกับผู้หญิงไทย และกลายเป็นค่านิยมในสมัยนั้น ลูกหลานจากการแต่งงานข้ามเชื้อชาตินี้เรียกว่า ลูกจีน แต่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ กระแสการอพยพเริ่มเปลี่ยนไป ผู้หญิงจีนอพยพเข้ามาในสยามมากขึ้น จึงทำให้การแต่งงานข้ามเชื้อชาติลดลง การคอรัปชั่น ในรัฐบาลราชวงศ์ชิง และการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศจีน ประกอบกับการเก็บภาษีที่เอาเปรียบ ทำให้ชายชาวจีนจำนวนมากมุ่งสู่สยามเพื่อหางานและส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวในประเทศจีน ขณะนั้นชาวจีนจำนวนมากต้องจำยอมขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีเพาะปลูกของทางการ ในรัชสมัยปลายรัชกาลที่ 3 ประเทศไทยต้องระวังผลกระทบจากการที่ฝรั่งเศสได้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และอังกฤษได้มลายูเป็นอาณานิคม ในขณะเดียวกัน ชาวจีนจากมณฑลยูนนานก็เริ่มไหลเข้าสู่ประเทศไทยกลุ่มชาวไทยชาตินิยมจากทุกระดับจึงได้เกิดความคิดต่อต้านชาวจีนขึ้น หลายร้อยปีก่อนหน้านี้ ชาวจีนกุมเศรษฐกิจการค้าส่วนใหญ่ไว้ และยังได้รับอำนาจผูกขาดการค้าและรวมถึงการเป็นนายอากรเก็บภาษีซึ่งเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 3 ด้วย ในขณะนั้นอิทธิพลทางการค้าของชาติตะวันตกก็สูงขึ้น ทำให้พ่อค้าขาวจีนหันไปขายฝิ่นและเป็นนายอากรมากขึ้น นอกจากนี้ เจ้าของโรงสีและพ่อค้าข้าวคนกลางชาวจีนยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสยามซึ่งกินเวลาเกือบ 10 ปี หลังปี พ.ศ. 2448 ด้วยการให้สินบนขุนนาง กลุ่มอันธพาลอั้งยี่ และการเก็บภาษีอย่างกดขี่ ทั้งหมดนี้จุดประกายให้คนไทยเกลียดชังคนจีนมากขึ้น ในขณะเดียวกันอัตราการอพยพเข้าประเทศไทยก็มากขึ้น ในพ.ศ. 2453 เกือบ 10 % ของประชากรไทยเป็นชาวจีน ซึ่งผู้อพยพใหม่เหล่านี้มากันทั้งครอบครัวและปฏิเสธที่จะอยู่ในชุมชนและสังคมเดียวกับคนไทย ซึ่งต่างกับผู้อพยพยุคแรกที่มักแต่งงานกับคนไทย ซุน ยัตเซ็น ผู้นำการปฏิวัติประเทศจีน ได้เผยแพร่ความคิดให้ชาวจีนในประเทศไทยมีความคิดชาตินิยมจีนให้มากขึ้นเพื่อต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ ชุมชนชาวจีนจะสนับสนุนการตั้งโรงเรียนเพื่อลูกหลานจีนโดยเฉพาะโดยไม่เรียนรวมกับเด็กไทย ในปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ชาวต่างชาติในประเทศไทยจดทะเบียนเป็นคนต่างด้าว เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวจีนจำนวนมากต้องเลือกว่าจะเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์หรือจะยอมเป็นคนต่างด้าว ชาวไทยเชื้อสายจีนจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารซึ่งเริ่มประมาณ พ.ศ. 2475 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีการประกาศอาชีพสงวนของคนไทยเท่านั้น เช่น การปลูกข้าว ยาสูบ อีกทั้งประกาศอัตราภาษีและกฎการควบคุมธุรกิจของชาวจีนใหม่ด้วย ในขณะที่มีการปลุกระดมชาตินิยมจีนและไทยขึ้นพร้อมกัน ในปี พ.ศ. 2513 ลูกหลานจีนที่เกิดในไทยมากกว่า 90 % ถือสัญชาติไทยโดยสมบูรณ์ และเมื่อมีการเจริญความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการแล้วในปี พ.ศ. 2518 ชาวจีนที่ไม่ได้เกิดในประเทศไทย ก็มีสิทธิที่จะเลือกที่จะถือสัญชาติไทยได้ (ณัฐวุฒิ  สังข์ต้อง ,ออนไลน์ :ม.ป.ป) 

ถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์

          กลุ่มชาวจีนที่ปะปนจนกลายมาเป็นชาวไทย (เชื้อสายจีน) มีอยู่ด้วยกัน 7 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้

          1) แต้จิ๋ว  เป็นกลุ่มชาวจีนที่มากที่สุด กล่าวกันว่า" ที่ไหนมีศาลเจ้า ที่นั่นจะพบคนจีน เพื่อพบปะกันและเป็นที่พึ่งทางใจเมื่อยามห่างไกลแผ่นดินเกิด ชาวจีนจะตั้งถิ่นฐานอยู่พื้นที่รอบ ๆ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลองและบริเวณภาคกลาง ได้เข้ามาที่แผ่นดินสยามตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาแล้ว โดยสวนใหญ่มาจากมณฑลฝูเจี้ยน และ มณฑลกวางตุ้ง ส่วนมากจะทำการค้าทางด้าน การเงิน ร้านขายข้าว และ ยา มีบางส่วนที่ทำงานให้กับภาครัฐ ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พ่อค้าจีนแต้จิ๋วจำนวนมากได้รับสิทธิพิเศษ ชาวจีนกลุ่มนี้จึงเรียกว่า จีนหลวง (Royal Chinese) สาเหตุเนื่องจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีเชื้อสายแต้จิ๋วเช่นกัน ในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์การอพยพของชาวแต้จิ๋วจึงมีมากขึ้น และในประเทศไทยเองก็มีคนแต้จิ๋วเป็นจำนวนมาก และปัจจุบันจะมีมากในทุกภาคของประเทศไทย แต่ที่มีชาวแต้จิ๋วมากที่สุดคือกรุงเทพฯ ภาคกลางตอนล่าง เช่น นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ตอนบน เช่น ชัยนาท สิงห์บุรี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย ภาคตะวันออก เช่น ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี (เมืองเก่าของพระเจ้าตากสินมหาราช) ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี (ชาวแต้จิ๋วมาเริ่มตั้งต้นถิ่นฐานที่นี่มากที่สุดเพราะเป็นพื้นที่ไม่มีคนอยู่อาศัยเป็นป่าแต่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรน้ำเพื่อเพาะปลูกและที่ปลูกมากที่สุดคือ "ต้นไผ่" เพราะไผ่ขายเพื่อทำเรือแพออกไปค้าขายได้ แล้วกระจายไปในจังหวัดใกล้เคียงในเวลาต่อมา ในรัชสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชาวแต้จิ๋วข้ามาอาศัยแผ่นดินสยามมากที่สุด) ภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน (ส่วนพะเยาจะมีจีนแคะหรือชาวฮากกาจำนวนมาก) ส่วนในภาคอีสานส่วนใหญ่จะเป็นชาวแต้จิ๋วในทุกจังหวัดเช่น นครราชสีมา (โคราช) ชัยภูมิ ขอนแก่น เลย อุดรธานี กาฬสินธ์ มหาสารคาม อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ส่วนพื้นที่ริมโขงเช่น หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร จะปะปนไปด้วยชาวแต้จิ๋ว แคะ และเวียดนาม (ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า) ส่วนทางภาคใต้จะกระจายในฝั่งอ่าวไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชซึ่งพระองค์ยกทัพทางเรือไปปราบกบฎที่ภาคใต้ เช่น เมืองนครศรีธรรมราช (ต้นกำเนิดราชสกุล ณ นคร) พัทลุง (ต้นกำเนิดราชสกุล ณ พัทลุง) ทุกจังหวัดเช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในฝั่งอันดามันนั้นส่วนใหญ่จะเป็นจีนฮกเกี้ยนหรือฝูเจี้ยน ซึ่งดั้งเดิมเดินทางมาจากมลายูแล้วมาขึ้นที่ชายฝั่งทะเล เช่น ภูเก็ต พังงา สตูล ตรัง ระนอง และนอกจากนั้นเป็นจีนแคะ เป็นต้น

          2) แคะ เป็นกลุ่มชาวจีนอพยพที่มาจากมณฑลกวางตุ้งเป็นส่วนมาก อพยพมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และตั้งถิ่นฐานทีแถบจังหวัดสงขลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดราชบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี ส่วนมากจะชำนาญทางด้านหนังสัตว์ เหมือง และเกษตรกรรม นอกจากนี้ ชาวจีนแคะยังเป็นเจ้าของธนาคารอีกหลายแห่ง อาทิ ธนาคารกสิกรไทย

          3) ไหหลำ เป็นชาวจีนที่อพยพมาจากเกาะไหหลำของจีน ชาวไหหลำจะมีเป็นจำนวนมากที่เกาะสมุย เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังปรากฏได้เห็นจากศาลเจ้าจีนหลายแห่งบนเกาะสมุย และ เกาะพะงัน มีหลักฐานการอพยพตั้งแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ซึ่งชาวจีนสามารถกลมกลืนกับชาวไทยได้ดี โดยส่วนมากมาจากตำบลบุ่นเชียว ชาวจีนกลุ่มนี้จะชำนาญทางด้านร้านอาหาร และโรงงาน

          4) ฮกเกี้ยน หรือฝูเจี้ยน คาดกันว่าชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพมาประเทศไทยเป็นจีนกลุ่มแรก ๆ เข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนจีนกลุ่มอื่นและเป็นจีนอาสาช่วยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกอบกู้เอกราชด้วย แม้แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ท่านถือกำเนิดในชุมชนจีนฮกเกี้ยนบริเวณวัดสุวรรณดาราราม ฝั่งตะวันออกของคลองนายก่าย กรุงศรีอยุธยา มารดาของท่านชื่อดาวเรืองหรือหยก เป็นธิดาที่เกิดในสกุลคหบดีจีนที่ร่ำรวยที่สุดในชุมชนชาวจีนฮกเกี้ยน  ชาวฮกเกี้ยนจะเชี่ยวชาญทางด้านการค้าขายทางเรือหรือรับราชการ และชาวจีนกลุ่มนี้จะมีจำนวนมากในพื้นที่ภาคใต้ เป็นประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดภูเก็ต มีจำนวนมากในพังงา ตรัง ระนอง สตูล ชุมพรและจังหวัดทั่วไป

          5) กวางไสหรือกวางสีเป็นกลุ่มชาวจีนที่อพยพมาจากมณฑลกวางสี ส่วนใหญ่มาจากอำเภอหยง และแถบอำเภอใกล้เคียง ช่วงแรกอพยพมาอยู่แถบประเทศมาเลเซียก่อนแล้วค่อย ๆ เดินเท้าอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทย อาศัยอยู่มากในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา พูดภาษาจีนกวางตุ้งเป็นภาษาหลัก ชาวจีนกวางไสเป็นเกษตรกร ทำสวนยางพารากันเป็นส่วนมาก ไม่สันทัดเรื่องการค้าขาย จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่ยังมีของที่พอเป็นที่รู้จัก ก็คือ ไก่กวางไสหรือไก่เบตง เป็นไก่พันธุ์เนื้อพื้นเมืองที่นำพันธุ์มาจากประเทศจีน มีลักษณะพิเศษกว่าไก่ชนิดอื่น ๆ เคาหยก หมูสามชั้นต้มสุก ทอดส่วนที่เป็นหนังและนำไปหมักด้วยเต้าหู้ยี้ เหล้าจีน น้ำขิง กระเทียมเล็กน้อย แล้วนำมานึ่งเผือก กินคู่กับผักดอง

          6) ฮ่อ เป็นคำที่คนไทยใช้เรียกชาวจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยผ่านทางประเทศพม่าและประเทศลาว ชาวจีนฮ่อส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางภาคเหนือทั้งในเมืองและบนดอย หนึ่งในกลุ่มชนที่สำคัญคือชาวจีนหุย ซึ่งเป็นชาวจีนที่มีลักษณะเหมือนชาวจีนฮั่นทุกอย่างเพียงแต่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวฮ่อในประเทศไทย 1 ใน 3 นับถือศาสนาอิสลาม นอกนั้นนับถือบรรพบุรุษ

          7) เปอรานากัน หรือ บาบ๋า - ย่าหยา เป็นกลุ่มชาวจีนที่มีเชื้อสายมลายูแต่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม เนื่องจากในอดีตชาวจีนโดยเฉพาะกลุ่มฮกเกี้ยนเดินทางเข้ามาค้าขายในบริเวณดินแดนคาบสมุทรมลายู และตัดสินใจตั้งถิ่นฐานในเมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย ซึ่งสมรสกับชาวมลายูท้องถิ่นและภรรยาชาวมลายูจะเป็นผู้ดูแลกิจการการค้าที่นี่ สำหรับสายเลือดใหม่ของชายชาวจีนกับหญิงมลายู หากเป็นชายจะได้รับการเรียกขานว่า บาบ๋าหรือบ้าบ๋า (Baba) ส่วนผู้หญิงจะเรียกว่า ย่าหยาหรือโญญา (Nyonya) และเมื่อคนกลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้น ก็ได้สร้างวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมของบรรพบุรุษมาผสมผสานกันเป็นวัฒนธรรมใหม่ เมื่อพวกเขาอพยพไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ก็ได้นำวัฒนธรรมของตนกระจายไปด้วย วัฒนธรรมใหม่นี้จึงถูกเรียกรวม ๆ ว่า จีนช่องแคบ โดยในประเทศไทยคนกลุ่มนี้จะอยู่ในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีบรรพบุรุษอพยพมาจากปีนังและมะละกา คนกลุ่มนี้มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับกลุ่มเปอรานากันในประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศสิงคโปร์ (ไทยเชื้อสายจีน, ออนไลน์: ม.ป.ป)