ข้อ ใดเป็น แนวทาง แก้ไขปัญหา ที่ เกิด จากการใช้พลังงานที่ ได้ ผล ระยะ ยาว

ปัญหาหมอกควันภาคเหนือกับแนวคิด Sandbox CMU Model

 

ข้อ ใดเป็น แนวทาง แก้ไขปัญหา ที่ เกิด จากการใช้พลังงานที่ ได้ ผล ระยะ ยาว

          “ทำไมตอนเกิดโควิด 19 คนเชียงใหม่ถึงใส่หน้ากากกันได้เต็มเมืองอย่างสบาย ก็เพราะเขาซ้อมใส่กันตอนมีหมอกควันมาหลายปีแล้วไง” วิทยากรท่านหนึ่งบรรยายในการประชุมจัดทำและทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2561 - 2565 และการทบทวนแผนรอบนี้ได้ยกระดับปัญหา PM2.5 มาเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักที่จังหวัดต้องเร่งแก้ไข

ปัญหาหมอกควันกระทบคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจภาคเหนือ

          จริง ๆ แล้วปัญหาหมอกควันภาคเหนือมีมานานนับ 10 ปี แต่รุนแรงขึ้นมากในช่วง 2 - 3 ปีหลัง ภาคเหนือจะถูกปกคลุมด้วยหมอกควันระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ทำให้ช่วงนั้นหลายจังหวัดในภาคเหนือติดอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศแย่ที่สุดในโลก สาเหตุของปัญหาคือ การเผาพื้นที่เกษตรและไฟป่าในภาคเหนือทำให้เกิดหมอกควันข้ามแดนเพิ่มขึ้นทุกปี ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาซากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ขยายพื้นที่ปลูกในที่สูง เผาอ้อยเพื่อเก็บเกี่ยว และเผาตอซังข้าวในพื้นที่ราบเพื่อเตรียมเพาะปลูกรอบต่อไป การเผาถูกมองว่าเป็นวิธีที่คุ้มค่าที่สุด เพราะต้นทุนต่ำ ใช้เวลาน้อย และทำได้ง่าย นอกจากนั้น ยังมีการเผาตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านในพื้นที่สูง ตามความเชื่อว่าจะทำให้ผลผลิตพืชป่า อาทิ หญ้า เลี้ยงสัตว์ ผักหวาน และเห็ดเผาะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ล่าสุดฤดูหมอกควันปี 2563 นอกจากจะมาเร็วกว่าทุกปีแล้ว ปัญหายังทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะปรากฏจุดความร้อนในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มขึ้นมาก สะท้อนว่าเกิดการลักลอบเผาอันเนื่องมาจากปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนในแต่ละพื้นที่ แม้แต่พื้นที่ใกล้เมืองเชียงใหม่อย่างดอยสุเทพก็สามารถมองเห็นควันไฟได้แทบทุกวัน

 

          หมอกควันกระทบต่อคุณภาพชีวิต สุขภาพของคน และเศรษฐกิจภาคเหนือในวงกว้าง สถิติจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคผิวหนัง และโรคที่เกี่ยวกับดวงตาเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ครัวเรือนมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าซื้ออุปกรณ์ป้องกันมลพิษ ธุรกิจห้างร้านและร้านอาหารต่างได้รับผลกระทบโดยทั่วกัน เพราะลูกค้าลดการออกจากบ้าน ภาคการท่องเที่ยวก็เช่นกัน เมื่อเข้าสู่ฤดูหมอกควัน จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยจะลดลงอย่างรวดเร็วเพราะเป็นกลุ่มที่รับรู้สถานการณ์จากสื่อต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีก่อนก็ชะลอลง คาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวลดลงไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท ส่วนปีนี้ลดลงมากเนื่องจากโควิด 19 เป็นหลัก แต่หากไม่เกิดโควิด 19 หมอกควันคงเป็นประเด็นร้อนของภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง และเมื่อมองไปข้างหน้า ภายใต้การท่องเที่ยวภายในประเทศที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว หากเจอฤดูหมอกควันที่รุนแรง หลายธุรกิจคงสะดุดกันอีกรอบ

วัน “ห้ามเผา” และแนวทางแก้ปัญหาในระยะยาว

          การแก้ไขปัญหาหมอกควันเป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายไม่ได้นิ่งนอนใจ ฤดูหมอกควันที่ผ่านมาภาครัฐได้พยายามใช้มาตรการที่เข้มข้นขึ้นเพื่อควบคุมการเผา สำหรับมาตรการระยะสั้น แต่ละจังหวัดประกาศเพิ่มวันห้ามเผา เช่น เชียงใหม่ห้ามเผาช่วง 10 มกราคม - 30 เมษายน 2563 รวม 111 วัน เพิ่มขึ้นจาก 60 วันในปีที่ผ่านมา รวมถึงมีการเพิ่มเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ ส่วนมาตรการระยะยาวได้สนับสนุนการจัดตั้งป่าชุมชนภายใต้ พ.ร.บ. ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 เพื่อให้ชุมชนวางแผนอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวเพิ่งเริ่มใช้ ทำให้ชุมชนที่เข้าร่วมมีไม่มาก จึงต้องการการประชาสัมพันธ์และการขยายผลเพิ่มอีก ส่วนการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทเชิงป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า ยังต้องการการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร เครื่องมือ และการจัดสรรงบประมาณเพิ่ม นอกจากนั้น ยังพบอุปสรรคอีกหลายอย่างทำให้การแก้ไขปัญหาไม่บรรลุผลเท่าที่ควร เช่น ในบางพื้นที่ได้รับความร่วมมือน้อย ยังมีการชิงเผาก่อนกำหนด เกิดการลักลอบเผาพื้นที่เกษตรและพื้นที่ป่า การเข้าดับไฟยังทำได้จำกัด เนื่องจากหลายพื้นที่เข้าถึงยากและห่างไกล จึงต้องรอรอบเวลาดาวเทียมทำให้การรายงานจุดความร้อนล่าช้า และมีการปะทุซ้ำจากไฟใต้ดิน สิ่งสำคัญจากปัญหาที่กล่าวมาคือ การขาดแรงจูงใจให้ทุกฝ่ายเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหา

          ปัญหาที่รุนแรงขึ้นทำให้หลายภาคส่วนในพื้นที่รวมตัวออกมาเคลื่อนไหว เพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขอย่างจริงจัง องค์กรที่เข้ามามีบทบาท เช่น สภาลมหายใจเชียงใหม่ เกิดจากการรวมตัวของภาคประชาชนและเอกชนที่เข้าไปช่วยภาครัฐพัฒนาคุณภาพอากาศของเมือง ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาจากต้นตอควันพิษ ทั้งในชนบทและในเมืองผ่านโครงการต่าง ๆ รวมทั้งขับเคลื่อนให้คนในสังคมได้ตระหนักและลงมือแก้ไขอย่างจริงจัง ส่วนในภาควิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดตั้งคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ เป็นการรวมตัวของคณาจารย์ผู้ชำนาญในหลายสาขาวิชา เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ดำเนินงานศึกษาวิจัย เสนอแนวทาง และถ่ายทอดนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา รวมถึงเริ่มขับเคลื่อน “CMU model” ให้เป็นโมเดลต้นแบบการพัฒนา

 

           “CMU model” เป็นต้นแบบเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันอย่างเป็นรูปธรรม มีการทำงานแบบบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยมีคณะทำงานลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริงเพื่อทำความเข้าใจต้นเหตุของปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ จากนั้นจึงสร้างเป็นโมเดลให้เห็นภาพรวมในการขับเคลื่อนและคัดเลือกโครงการย่อยที่ประยุกต์ใช้ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมเข้าไปพัฒนาแต่ละด้านตามที่พื้นที่ต้องการ โดยพื้นที่นำร่องจะเลือกจากพื้นที่ที่มีปัญหาจริงและมีความพร้อมของผู้นำชุมชนและเครือข่ายในพื้นที่

          หากถอดแนวคิดของ CMU model การแก้ปัญหาเน้น 3 ด้านหลัก คือ (1) การรับมือและป้องกัน เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เริ่มจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศ อย่างในพื้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีการพัฒนา CMU mobile application เพื่อรายงานสถานการณ์ PM2.5 และระบุตำแหน่งห้องปลอดฝุ่นที่มีเครื่องฟอกอากาศแบบ HEPA Filter PM2.5 เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรสามารถเข้าไปใช้บริการ นอกจากนี้ ยังได้ถ่ายทอดนวัตกรรมทำหน้ากากและเครื่องฟอกอากาศ DIY ให้แก่ผู้ที่สนใจไปประดิษฐ์ใช้ (2) การเฝ้าระวังการเกิดไฟ เพื่อลดปริมาณการเกิดหมอกควัน โดยติดตั้งเครื่องตรวจติดตามข้อมูลฝุ่นละอองขนาดเล็กและไฟป่าด้วยระบบเซ็นเซอร์แบบต้นทุนต่ำ และเครื่องตรวจจับความร้อนหรือการเกิดไฟโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (Thermal Imaging UAVs) ตัวอย่างในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย คณะทำงานได้ประสานความร่วมมือกับอุทยานแห่งชาติ และส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ รวมทั้งดำเนินโครงการฟื้นฟูป่าดอยสุเทพควบคู่กัน (3) การพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตแบบองค์รวม เพื่อให้ชาวบ้านอยู่กับป่าได้ โดยมุ่งพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภค และเสริมสร้างความรู้ให้ตระหนักถึงปัญหาหมอกควันและวางแนวทางแก้ไข

 

          ตัวอย่างพื้นที่นำร่องการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตแบบองค์รวมที่บ้านป่าตึงงาม ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา คณะทำงาน CMU model ได้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจความต้องการของชาวบ้าน และดำเนินโครงการหลายด้าน ทั้งการส่งเสริมอาชีพที่ชาวบ้านต้องการและพร้อมจะปรับเปลี่ยน เช่น การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย และการเลี้ยงไก่กระดูกดำ พร้อมยกระดับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ร่วมกับส่งเสริมให้ใช้แอปพลิเคชัน “ผ่อดีดี” เพื่อเฝ้าระวังโรคทั้งในคนและสัตว์อีกทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อเป็นรายได้อีกทาง สำหรับด้านสิ่งแวดล้อม ได้เลือกดำเนินโครงการพัฒนาระบบเซ็นเซอร์แบบต้นทุนต่ำเพื่อติดตามฝุ่นละอองและไฟป่า มีการประเมินคาร์บอนเครดิตในป่าชุมชนและพัฒนาเรือนเพาะชำชุมชนผลิตกล้าไม้ท้องถิ่น เพื่อบรรเทาหมอกควันในระยะยาว ในด้านการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ได้เลือกดำเนินโครงการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกรองน้ำดื่มสะอาด ด้านสังคมและสาธารณสุข เลือกดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาและทักษะการเรียนรู้เพื่อลดปัญหา PM2.5 และรักษ์ป่าอนุรักษ์ รวมถึงเสริมสร้างความรู้ด้านมลพิษหมอกควันและสารเคมีเกษตรแก่กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งการขับเคลื่อนโครงการทุกด้านไปพร้อมกันจะเป็นแรงจูงใจให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาหมอกควันอย่างยั่งยืน

 

          โดยสรุป งานวิเคราะห์และวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหมอกควันในภาคเหนือส่วนใหญ่ชี้ว่า หัวใจของการแก้ปัญหาหมอกควันคือ การดึงเอาชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม แนวคิดแบบ “CMU model” ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของภาควิชาการทั้งในด้านงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีหลากหลายสาขาวิชา ตลอดจนการยอมรับและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยปัจจุบันได้เริ่มดำเนินการในพื้นที่นำร่องแล้ว ซึ่งถ้าประสบความสำเร็จน่าจะสามารถเป็นตัวอย่างในการขยายผลไปยังพื้นที่อื่นต่อไป

>> ดาวน์โหลด PDF Version
>> อ่าน e-Magazine

ข้อใดเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการใช้พลังงานฟุ่มเฟือยที่เหมาะสมที่สุด

ข้อใดเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการใช้พลังงานฟุ่มเฟือยที่เหมาะสมที่สุด รณรงค์ให้สร้างบ้านที่ประหยัดพลังงาน เพิ่มค่าไฟฟ้าเพื่อให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด สร้างเขื่อนเพื่อเพิ่มการผลิตกระแสไฟฟ้า

แนวทางการแก้ปัญหาพลังงานมีอะไรบ้าง

1. ประหยัดการใช้พลังงาน 2. เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน สังเกตฉลากเหล่านี้: ฉลากประสิทธิภาพสูง, ฉลากเขียว (Green Label), ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5, Energy star. 3. ดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเปลี่ยนกรณีที่ไม่มีประสิทธิภาพ

ข้อใดเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด

9 วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน.
1. ประหยัดการใช้สิ่งต่างๆ ในบ้าน ... .
2. ใช้ซ้ำ สำหรับสิ่งของที่สามารถใช้ได้ ... .
3. รีไซเคิลวัสดุต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ... .
4. ซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุด ถ้าไม่เสียอย่าเพิ่งทิ้ง ... .
5. ทดแทนวัสดุที่เป็นมลพิษด้วยของจากธรรมชาติ ... .
6. ป้องกันไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย.

แนวทางการอนุรักษ์พลังงานข้อใดสําคัญที่สุด

1. การใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่าโดยการสร้างค่านิยมและจิตใต้สำนึกการใช้พลังงาน 2. การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าจะต้องมีการวางแผนและควบคุมการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดมีการลดการสูญเสียพลังงานทุกขั้นตอน มีการตรวจสอบและดูแลการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา เพื่อลดการรั่วไหลของพลังงาน เป็นต้น