ข้อใดเป็นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ หรือส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีนำเข้าเรียกว่า "อากรขาเข้า" และในกรณีส่งออกเรียกว่า "อากรขาออก" โดยจะจัดเก็บตามราคาหรือร้อยละของมูลค่าสินค้า และจัดเก็บตามสภาพของสินค้า ตามปริมาณ น้ำหนัก ความยาว หรือปริมาตร เป็นต้น

Show

ปัจจุบันประเทศไทยมีสินค้าที่จะต้อง "ชำระอากรขาออก" เพียง 2 ประเภทเท่านั้น คือ ไม้ และหนังโค-กระบือ นอกนั้นอัตราอากรเป็น 0% ทั้งหมด ส่วน "อากรขาเข้า" จัดเก็บตามพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งกรมศุลกากรได้นำระบบฮาร์โมไนซ์มาใช้ในการจัดหมวดหมู่ของสินค้า โดยแบ่งย่อยเป็นหมวด ตอน ประเภท และประเภทย่อย คือแบ่งเป็น 21 หมวด 91 ตอน แต่ละตอนจะประกอบด้วยประเภทและประเภทย่อยแตกต่างกัน ซึ่งการระบุสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์จะกำหนดเป็นเลข 10 หลัก โดยที่ 7 หลักแรกจะเป็นเลขที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก ส่วนเลข 3 หลักหลัง เป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ

ดังนั้น เมื่อจะนำสินค้าใดเข้าหรือส่งสินค้าใดออก คุณต้องตรวจสอบให้ถูกต้องชัดเจนก่อนว่าสินค้านั้นๆ จัดอยู่ในพิกัดใด อัตราอากรเท่าใด เพื่อที่จะนำไปคิดคำนวณภาษีอากรที่คุณต้องจ่ายนั่นเอง อีกทั้งคุณต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอนตามกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออกให้ครบถ้วน ดังนี้

1. ลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกผู้ผ่านพิธีการศุลกากร

ผู้ประกอบการนำเข้าหรือส่งออกจะต้องไปแสดงตนขอลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกผู้ผ่านพิธีการศุลกากร สียก่อน ซึ่งจะเป็นการลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ เพราะระบบจะจดจำว่าคุณได้ขอเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกแล้ว หลังจากนั้นไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใด ขอเพียงมีคอมพิวเตอร์ก็สามารถขออนุญาตนำเข้า-ส่งออกสินค้าได้

  • ดูแบบคำขอลงทะเบียนผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ประเภทบุคคลธรรมดา คลิก
  • ดูแบบคำขอลงทะเบียนผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ประเภทนิติบุคคล คลิก

1.1 กรณีการขออนุญาตเป็นตัวแทนออกของ

ตัวแทนออกของ (customs broker) คือ นิติบุคคลที่ทำหน้าที่ในการเป็นผู้ติดต่อกับกรมศุลกากรแทนผู้ประกอบการนำเข้าหรือส่งออก หรือเป็นนายหน้าในการจัดการผ่านพิธีการศุลกากรนั่นเอง

  • ดูเอกสารแบบลงทะเบียนเป็นตัวแทนออกของ คลิก

2. พิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออก

การจะนำเข้าหรือส่งออกสินค้าใดๆ ก็ตาม ผู้นำเข้าส่งออก (หรือตัวแทนออกของ) จะต้องทำพิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกด้วย ซึ่งช่องทางสำหรับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า ได้แก่ ทางบก ทางเรือ ทางอากาศ และทางไปรษณีย์

ทั้งนี้ การจัดเตรียมเอกสารและปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้า มีดังนี้

2.1 พิธีการนำเข้า

ประเภทใบขนสินค้าขาเข้า

เป็นแบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องยื่นต่อกรมศุลกากรในการนำเข้าสินค้า ซึ่งจำแนกออกเป็น 9 ประเภท ตามลักษณะการนำเข้า

(1) แบบ กศก. 99/1 ใบขนสินค้าขาเข้า พร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าทั่วไปทุกประเภทที่กรมศุลกากรไม่ได้กำหนดให้ใช้ใบขนสินค้าประเภทอื่น

(2) แบบ กศก. 102 ใบขนสินค้าขาเข้าพิเศษ พร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าทางอากาศยานหรือพิธีการอื่นที่กรมศุลกากรกำหนด สำหรับของที่นำเข้าในลักษณะเฉพาะ เช่น การนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิต เป็นต้น

(3) แบบ กศก. 103 คำร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน ใช้สำหรับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าก่อนปฏิบัติพิธีการครบถ้วนตามที่กรมศุลกากรกำหนด

(4) แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสำหรับนำของเข้าหรือส่งของออกชั่วคราว ใช้สำหรับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าชั่วคราวประเภทต่างๆ ตามที่ระบุในอนุสัญญา

(5) แบบ JDA (Joint Development Area) ใบขนสินค้าสำหรับพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย

(6) แบบใบแนบ 9 ใบขนสินค้าถ่ายลำ ใช้สำหรับพิธีการสินค้าถ่ายลำ

(7) แบบที่ 448 ใบขนสินค้าผ่านแดน ใช้สำหรับพิธีการสินค้าผ่านแดน

(8) ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการนำรถยนต์และจักรยานยนต์เข้ามาในประเทศหรือส่งออกชั่วคราว

(9) ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับเรือสำราญและกีฬาที่นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการนำเรือสำราญและกีฬาเข้ามาในประเทศหรือส่งออกชั่วคราว

เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าสินค้า

  • สำหรับพิธีการชำระอากร พิธีการวางประกัน พิธีการขนถ่ายข้างลำ พิธีการคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร ต้องมีเอกสารประกอบ ได้แก่
    1. ต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้า (กศก. 99/1) พร้อมสำเนา 1 ฉบับ เว้นแต่กรณีที่กรมศุลกากรกำหนดให้มีการจัดทำคู่ฉบับเพิ่ม เช่น สำหรับการนำเข้าอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน กรณีดังกล่าวต้องมีสำเนาใบขนสินค้าขาเข้า 2 ฉบับ
    2. ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading or Air Waybill)
    3. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
    4. แบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.2) (Foreign Transaction Form) กรณีมูลค่าของนำเข้าเกินกว่า 500,000 บาท
    5. แบบแสดงรายละเอียดราคาศุลกากร (กศก. 170)
    6. ใบสั่งปล่อยสินค้า (กศก.100/1)
    7. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
    8. ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice)
    9. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า
    10. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) กรณีขอลดอัตราอากร
    11. เอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารแสดงส่วนผสม คุณลักษณะและการใช้งานของสินค้า แค็ตตาล็อก เป็นต้น
  • พิธีการหลายเที่ยวเรือ ต้องเพิ่มพิมพ์เขียว (BLUE PRINT) แบบแปลน แบบพิมพ์ หรือเอกสารประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาให้ทำใบขนสินค้าหลายเที่ยวเรือ
  • พิธีการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ต้องเพิ่มสำเนาใบขนสินค้าขาเข้า (กศก.99/1) อีก 1 ฉบับ
  • พิธีการส่งเสริมการลงทุนต้องเพิ่มหนังสืออนุมัติให้ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
  • พิธีการคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป ต้องเพิ่มเอกสาร ดังนี้
    1. คำขออนุญาตนำของเข้าคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป (แบบที่ 369)
    2. คำขออนุญาตนำของเข้าคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป ตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนด
  • พิธีการคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า กรณีนำเข้าโดยผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้รับอนุญาตจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า ต้องเพิ่มคำขออนุญาตนำของเข้าคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า
  • พิธีการสินค้าส่งกลับ (RE-EXPORT) กรณีอยู่ในอารักขาของศุลกากร ต้องเพิ่มเอกสารดังนี้ คือ
    1. คำร้องขอผ่อนผันทำใบขนสินค้าส่งกลับ (RE-EXPORT) ชำระอากร 1 ใน 10
    2. ใบขนสินค้าขาออก (กศก.101/1) พร้อมเอกสารประกอบ
  • พิธีการนำของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก (EPZ) ต้องเพิ่มเอกสารดังนี้
    1. แบบ กนอ.02-1 กรณีสินค้านำเข้าเป็นวัตถุดิบ
    2. แบบ กนอ.02-1 และ กนอ.101 กรณีสินค้านำเข้าเป็นเครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องใช้ รวมทั้งส่วนประกอบของสินค้าดังกล่าวที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือการค้าเพื่อส่งออก

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้าสินค้า

1. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนบันทึกข้อมูลบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ทุกรายการเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองหรือผ่าน Service Counter โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะแปลงข้อมูลบัญชีราคาสินค้าให้เป็นข้อมูลใบขนสินค้าโดยอัตโนมัติ และให้ผู้นำเข้าหรือตัวแทนส่งเฉพาะข้อมูลใบขนสินค้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

2. เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นในใบขนสินค้าที่ส่งเข้ามา เช่น ชื่อและที่อยู่ผู้นำของเข้า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร ราคา เป็นต้น ถ้าพบว่าข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าที่ส่งมาไม่ถูกต้อง เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะแจ้งกลับไปยังผู้นำเข้าหรือตัวแทนเพื่อให้แก้ไขให้ถูกต้อง

3. เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าที่ส่งมาถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้า พร้อมกับตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ เพื่อจัดกลุ่มใบขนสินค้าขาเข้าในขั้นตอนการตรวจสอบพิธีการเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ แล้วแจ้งกลับไปยังผู้นำเข้าหรือตัวแทน เพื่อจัดพิมพ์ใบขนสินค้า ใบขนสินค้าขาเข้าที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์จะสั่งการตรวจ หลังจากนั้น ผู้นำเข้าหรือตัวแทนสามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระค่าภาษีอากรและรับการตรวจปล่อยสินค้าได้ ใบขนสินค้าขาเข้าที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่นำของเข้า

4. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องจัดเก็บข้อมูลบัญชีราคาสินค้าตามวรรคแรกในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์เป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบใบขนสินค้าหลังการตรวจปล่อย โดยให้สามารถจัดพิมพ์เป็นรายงานเมื่อกรมศุลกากรร้องขอ ดังนี้

4.1 IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY DECLARATION ITEM

4.2 IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY INVOICE ITEM

4.3 IMPORT/EXPORT INVOICE LIST

2.2 พิธีการส่งออก

ในการส่งออกสินค้า ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกกำหนดไว้ให้ครบถ้วน เช่นเดียวกับการนำเข้า

ประเภทใบขนสินค้าขาออก

เป็นแบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกำหนดให้ผู้ส่งออกต้องยื่นต่อกรมศุลกากรในการส่งออกสินค้า ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการส่งออก ดังนี้

1. แบบ กศก.101/1 ใบขนสินค้าขาออก ใช้สำหรับการส่งออกในกรณี ดังต่อไปนี้

  • การส่งออกสินค้าทั่วไป
  • การส่งออกของส่วนบุคคลและเอกสิทธิ์
  • การส่งออกสินค้าประเภทส่งเสริมการลงทุน (BOI)
  • การส่งออกสินค้าจากคลังสินค้าทัณฑ์บน
  • การส่งออกสินค้าที่ขอชดเชยค่าภาษีอากร
  • การส่งออกสินค้าที่ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
  • การส่งออกสินค้าที่ต้องการใบสุทธินำกลับ
  • การส่งสินค้ากลับออกไป (RE-EXPORT)

2. แบบ กศก.103 คำร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน ใช้สำหรับการขอส่งสินค้าออกไปก่อนปฏิบัติพิธีการใบขนสินค้าขาออกในลักษณะที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ในประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร พ.ศ.2544

3. แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสำหรับนำของเข้าหรือส่งของออกชั่วคราว ใช้สำหรับพิธีการส่งของออกชั่วคราวในลักษณะที่กำหนดในอนุสัญญา

4. ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการส่งออกรถยนต์และจักรยานยนต์ชั่วคราว

เอกสารที่ผู้ส่งออกควรจัดเตรียมในการส่งออกสินค้า

  1. ใบขนสินค้าขาออก ประกอบด้วยต้นฉบับและสำเนา 1 ฉบับ
  2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) 2 ฉบับ
  3. แบบธุรกิจต่างประเทศ (Foreign Transaction Form): ธต.1 จำนวน 2 ฉบับ กรณีสินค้าส่งออกมีราคา FOB เกิน 500,000 บาท
  4. ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่นใดสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก
  5. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการส่งออกสินค้า

  1. ผู้ส่งออกหรือตัวแทนส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออกและบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ทุกรายการจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ส่งออกหรือตัวแทนมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร โดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์
  2. เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าขาออกส่งมาถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้าขาออกและตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ เพื่อจัดกลุ่มใบขนสินค้าขาออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้และแจ้งกลับไปยังผู้ส่งออกหรือตัวแทน เพื่อจัดพิมพ์ใบขนสินค้า

ใบขนสินค้าขาออกที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ ผู้ส่งออกหรือตัวแทนต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่ผ่านพิธีการ

ใบขนสินค้าขาออกที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สำหรับใบขนสินค้าขาออกประเภทนี้ ผู้ส่งออกสามารถชำระค่าอากร (ถ้ามี) และดำเนินการนำสินค้าไปตรวจปล่อยเพื่อส่งออกได้เลยโดยไม่ต้องไปพบเจ้าหน้าที่ประเมินอากร

ใครเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย ดังนี้

บุคคลธรรมดามีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร ประเภทใด

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา..... คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มี ...

บุคคลธรรมดามีใครบ้าง

บุคคลธรรมดา.
บุคคลธรรมดา (บุคคลทั่วๆไป).
คณะบุคคล.
ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล – ห้างหุ้นส่วนสามัญจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน และห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน โดยปกติแล้วห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจะถือว่าเป็นนิติบุคคล ส่วนห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน จะถือว่าเป็นบุคคลธรรมดา.

ใครบ้างที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

5 อาชีพที่ได้รับการยกเว้นภาษีมีอะไรบ้าง?.
คนขายหวย.
พระสงฆ์.
นักลงทุนรายย่อย.
คนประจำเรือ.

ใครเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล บุคคลธรรมดามีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร ประเภทใด บุคคลธรรมดามีใครบ้าง ใครบ้างที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บุคคลใดบ้างที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หมายถึงอะไร ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จะต้องยื่นรายการภาษีเมื่อใด ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีอย่างไร ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา มีกี่ประเภท เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทําอะไรบ้าง ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา คืออะไร การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของใคร